คุณปลื้มไม๊จ๊ะทุกคน?!  รุมตี"คสช."ตกเบ็ดการเมืองดึง"พี่น้องคุณปลื้ม"ซ้ำรอยเก่า.. ระวังบทเรียนทางการเมืองไทย?

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

จากปรากฏการณ์ “คุณปลื้ม “ โดยการแต่งตั้ง2พี่น้อง นายสนธยา คุณปลื้ม และนายอิทธิพล คุณปลื้มขึ้นมา ภายหลังที่ประชุมคร. เมื่อวันที่ 17 เม.ย. มีติเห็นชอบตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ให้นายสนธยา เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีด้านการเมือง และนายอิทธิพล  เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 

 

เป้าทางการเมืองตกมาที่ทางฝากฝั่งรัฐบาล ที่สำคัญพุงตรงมาที่บุคคลสำคัญอย่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพราะด้วยสายสำพันธ์อันดีแต่เก่าก่อน และการออกยอมรับของนายสนธยา ว่าถูกทาบทามจากนายสมคิด  ตอกย้ำอีกครั้งด้วยคำสัมภาษณ์จากนายสมคิด  ว่าตนกับนายสนธยารู้จักกันมานาน และนายสนธยาได้อาสามาเพื่อจะสื่อสารกับประชาชน และทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ เพราะพื้นที่ของนายสนธยาเป็นอีอีซีอยู่แล้ว จุดสำคัญของอีอีซีคือประชาชนต้องเข้าใจในผลประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งนายสนธยาเองก็มีคณะทำงานอยู่ในพื้นที่ ไม่มีอะไรมากมาย

แน่นอนว่าการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผลกระทบย่อมตกไปที่ตัวของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เพราะด้วยเหตุที่ว่าพล.อ.ประยุทธ์ มีสิทธิ์ที่จะนั่งเก้าอี้นายกต่ออีกหนึ่งสมัย ในฐานะนายกคนนอก ทำเอาพรรคการเมืองและนักการเมืองที่มุ่งหมายวาดฝันภายหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น คนในพรรคของตนจะคว้าตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการจัดตั้งรัฐบาลมาครอง ต่างพากันดามาหน้าโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ และรัฐบาลอย่างพร้อมเพียง

 

เริ่มผู้ที่ประกาศตัวเป็นศัตรูเบอร์หนึ่งอย่างพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง  อาทิ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ตัวเต็งหัวหน้าพรรคเพื่อไทยคนใหม่ โดยระบุว่า แสดงให้เห็นชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะลงเล่นการเมือง ผู้มีอำนาจขณะนี้อยากอยู่ในอำนาจต่อ

 ที่ผ่านมามีการทำให้กติกาประชาธิปไตยบิดเบี้ยว มีการปูทางไปสู่การสืบทอดอำนาจ ตัดสิทธิของประชาชนไปเยอะมาก สิ่งที่จะเกิดขึ้น จะไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น ผู้มีอำนาจที่ต้องการเข้าสู่การเมือง ขอให้แสดงตัวให้ชัดเจน เปิดเผย เพื่อความสง่างาม และเป็นสุภาพบุรุษ

"ถ้าเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะไม่ทำอะไรที่จะเป็นการเอาเปรียบ อย่างไทยนิยมยั่งยืนถูกมองได้ว่าเป็นการปูฐานเสียง ขณะที่ยังคง ม. 44. ห้ามทุกพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ตัวเองใช้อำนาจเต็มในฐานะรัฐบาลลงพื้นที่สร้างฐานเสียง ซึ่งไม่ใช่กติกาที่ยุติธรรม หรือสิ่งที่สุภาพชนควรกระทำ ไม่ใช่วิถีสุภาพบุรุษ ในฐานะสุภาพชนทำ"

ตัดสินใจแล้วควรทำอย่างสง่างาม สุภาพบุรุษเปิดเผย แข่งกันด้วยกติกา และแฟร์ เพราะการอาสาเข้ามาทำงานให้ประชาชนเป็นเรื่องดี ไม่ควรลับลวงพลาง เพราะจะทำให้คนตั้งคำถามได้

ด้านนายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย ก็ไม่พลาดเช่นกันโดยกล่าวว่า สะท้อนให้เห็นว่า

คสช.ไม่ได้ต้องการเข้ามาเพื่อปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง แต่เป็นการแสวงหาอำนาจของคนกลุ่มหนึ่ง และส่วนตัวไม่เชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะลงสมัครรับเลือกตั้งแต่อาจจะใช้วิธีอื่นเพื่อให้เข้ามาสู่อำนาจ

 

"ผมว่าพล.อ.ประยุทธ์ ไม่มีความกล้า แต่จะใช้วิธีเป็นอีแอบ ไม่ต้องการเข้าสู่อำนาจโดยผ่านประชาชน ถ้าจะไปลงเขตไหน กทม. หรือปราจีนบุรี ผมจะไปลงเป็นเพื่อน" นายวัฒนา กล่าว และว่า โรดแม็ปเลือกตั้งอาจจะไม่เกิดขึ้นในปี 2562 เพราะ เลื่อนมาหลายครั้ง

 

รายต่อมาก็ค่อนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ( นปช.) กล่าวว่า พูดกันบนโลกของความจริง ก็ต้องบอกว่า รัฐบาลนี้จะตั้งใครขึ้นดำรงตำแหน่งการเมืองใดก็ได้ เพราะมีอำนาจ ส่วนฝ่ายการเมือง เช่น นายสนธยา คุณปลื้ม หัวหน้าพรรคพลังชล จะรับตำแหน่งนั้นก็ถือเป็นสิทธิ์ หรืออาจมีเหตุผลจำเป็นอื่นประกอบการตัดสินใจ ส่วนตัวตนมีไมตรีต่อกันจึงไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความชอบธรรม หากกลุ่มนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ จะตั้งพรรคการเมืองจริง เพราะตอนนี้ถือว่า พรรคดังกล่าวเคลื่อนไหวมากที่สุด 

 

"ทุกคนที่ได้รับแต่งตั้งต่างยอมรับว่า คุยกับนายสมคิด มาก่อน ในขณะที่พรรคอื่น แม้แต่รับสมาชิกใหม่ยังทำไม่ได้ แต่ดูเหมือนพรรคนี้มีตำแหน่งทางการเมืองเป็นหลักประกัน ดึงกลุ่มต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกได้ เห็นข่าวผู้มีอำนาจบอกว่า จะจับตาพรรคและกลุ่มการเมืองไม่ให้ผิดกฎหมาย ถ้าคำสั่ง คสช. หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องบังคับใช้แบบไม่เลือกปฏิบัติก็อยากให้หันไปมองความเคลื่อนไหวกลุ่มนี้บ้าง" แกนนำ นปช. กล่าว 

 

นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ส่วนที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ถ้าเกิดพรรคนี้ขึ้นจริงจะเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ในบัญชีนายกรัฐมนตรีเพื่อเป็นนายกฯ คนในนั้นก็อาจมองได้ 

 

"ผมคิดว่า น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง คือ ผู้มีอำนาจไม่ตอบรับให้พรรคไหนเสนอชื่อ แต่พรรคที่เตรียมไว้จะดูดนักการเมืองเข้าร่วม แล้วไปเดินเกมรวมเสียงกับพรรคขนาดเล็กขนาดกลางหลังการเลือกตั้ง ถ้าได้เกิน 80 เสียงกับต้นทุน ส.ว.อีก 250 จะเป็นตัวแปรชี้ขาดจัดตั้งรัฐบาล เงื่อนไขนายกฯ คนนอกที่จะกำหนดให้พรรคใหญ่ต้องยอมรับจะเกิดตรงนั้น ส่วนพรรคเพื่อไทย หรือพรรคประชาธิปัตย์จะไปยกมือให้คนนอกเพื่อเป็นรัฐบาลนั้น เชื่อว่า ประชาชนมองออกอยู่แล้ว" 

 

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ โดย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค กล่าวถึงกรณีการแต่งตั้งดังกล่าว มีลักษณะเหมือนกับการดูดนักการเมืองหรือไม่ ว่า มันชัดอยู่แล้ว เพราะนายกฯ บอกว่าให้มาเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง คิดว่าปีสุดท้ายของนายกฯ แล้วจะมามีที่ปรึกษาเรื่องการเมืองเพื่ออะไร ทำไมเพิ่งมาคิดมีที่ปรึกษาทางการเมืองเอาปีนี้ ทำให้เห็นว่านายกฯ กำลังจะเข้าสู่การเมือง

 
"เดิมไม่ได้สร้างบ่อปลาไว้ ก็ไปตกของคนอื่น ก็เห็นแล้วว่าคนเขายินยอม เพื่อจะยุบรวมเป็นบ่อเดียวกันใครจะไปรู้ แสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า การปฏิรูปการเมืองไม่ง่าย เพราะความจริงยังเป็นน้ำเน่า ภาคปฏิบัติยังแย่ ยังล้าหลัง ซึ่งไม่แปลกใจเรื่องเหล่านี้เลย แต่อยากเตือนประชาชนที่กำลังผิดหวังอยู่ว่าต้องทำใจ และเราอาจจะได้เห็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายกว่านี้ก็ได้"

อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้นี้ ยังกล่าวถึงกระแสการดูดนักการเมือง ว่า มีนักการเมืองอยู่ประเภทหนึ่งที่ยอมให้เขาดูดซึ่งมีประจำ แต่นักการเมืองอีกประเภทไม่ยอมให้ดูด ก็ต้องดูว่าใครมีความเข้มแข็งมีอุดมการณ์มากกว่ากัน ซึ่งชัดอยู่แล้วว่า คสช.ไม่จำเป็นต้องตั้งพรรคก็ได้ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ต้องรับมือเรื่องการดูดอะไร เพราะอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ มีความเข้มแข็งและมีอุดมการณ์อยู่ในตัวทุกคนคงจะไม่ถูกดูดไปได้

 

ขณะที่นายสาธิต ปิตุเตชะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)กล่าวว่า ต้องคิดว่านายกฯ ทำเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของตัวเอง ไม่ได้แก้ไขปัญหาของประชาชน เพราะตนมีความเชื่อมั่นว่า พล.อ.ประยุทธ์  ถึงแม้จะตั้ง นายสนธยา และนายอิทธิพล ก็ไม่ทำให้เศรษฐกิจปากท้องประชาชนดีขึ้น ราคายางยังมีปัญหา อาชีพประมงมีความถดถอย ทำมาหากินไมได้ ความเชื่อมั่นของประชาชนที่กินเงินเดือนก็ไม่มีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย จึงทำให้เศรษฐกิจโดยรวมเป็นปัญหาอย่างมาก


“ดังนั้นการแต่งตั้งบุคคลทั้งสอง จะไปโทษตระกูลคุณปลื้มไม่ได้ ต้องโทษคนตั้งที่มีเป้าหมายพิเศษเพื่อเป็นฐานการเมืองของตัวเองในการกลับมาเป็นนายกฯอีกรอบ ส่วนเหตุผลที่บอกว่าตั้งเพราะให้มาดูเรื่องอีอีซีนั้นไม่ใช่เรื่อง เรื่องก่อนหน้านี้มีการให้ข้อมูลจากฝ่ายการเมืองกับภาคประชาชนนายกฯก็ไม่เคยฟัง แต่คิดจะมาฟังตอนที่จะมีพรรคการเมืองสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯอีกรอบ และอีกอย่างทำเพื่อตัวเอง พล.อ.ประยุทธ์ กำลังหาทางที่จะทำอย่างไรก็ได้เพื่อเป็นนายกฯคนในหรือเป็นนายกฯคนนอก จึงจำเป็นต้องมีฐานเสียงสนับสนุน ทำให้เกิดวิกฤตความน่าเชื่อถือของผู้นำทั้งๆที่เคยด่านักการเมือง และแยกตัวเองว่าไม่ใช่นักการเมือง แต่วันนี้ ก็เอาคนกลุ่มที่ตัวเองเคยด่าไปเป็นที่ปรึกษา เหมือนเป็นการพูดกลับไปกลับมา ทั้งหมดก็เพื่อตัวเอง ไม่ได้แก้ไขปัญหาประชาชน”

 

ขณะที่ทางด้านของประชาชนมีทั้งปลื้ม และไม่ปลื้ม ผสมปะปนกัน ฝ่ายที่ปลื้มบางก็ระบุว่า “ถ้าเขาตั้งใจจะมาสานงานต่อเเนื่อง ไม่ได้ตั้งใจมาโกงต่อเนื่อง มันก็น่าจะดี รัฐบาลเผด็จการโดยมีผู้นำที่ดีบริหารต่อไป”

 

แต่ได้มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือรัฐบาล คสช. ควรเป็นแม่แบบของการปฏิรูปการเมือง แต่กลับใช้ วิธีเก่าๆที่ นายทักษิณ ชินวัตร เคยใช้มาแล้ว คือการชักชวน อดีต สส. มาร่วมก่อตั้งพรรค และในภายภาคหน้า ก็จะ “ควบรวมพรรค” อีกหรือไม่  อีกทั้งบทเรียนทางประวัติศาสตร์ ผ่านพรรคสามัคคีธรรม


แล้วท่านผู้อ่านแหล่ะ..ปลื้มหรือไม่?