มะกันจอมแส่!? บัวแก้วร่อนแถลงการณ์ ตอกหน้าสหรัฐหยุดมโน!!สิทธิ์ไทย มีที่ไหนพูดเองเออเอง เป็นตุเป็นตะ!!!

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เผยแพร่รายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ ประจำปี 2560 ชี้ รัฐบาลไทยยังมีการละเมิดสิทธิรุนแรง และกดดันในเรื่องม.112

 

นายจอห์น ซัลลิแวน รักษาการรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แถลงรายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ ครอบคลุมเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก ประจำปี 2560 โดยรายงานในส่วนของไทยนั้น มีความยาว 44 หน้า อ้างอิงข้อมูลของทางไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2560

รายงานระบุว่า คนไทยยังถูกละเมิดสิทธิรุนแรงในรัฐบาลชุดปัจจุบัน รวมถึง การที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังเกินกว่าเหตุ มีการคุกคาม หรือข่มเหงผู้ต้องหาคดีอาญา ผู้ถูกคุมขัง และนักโทษผู้ต้องขัง

 

นอกจากนี้ ยังพบกรณีที่ทางการจับกุม และคุมขังประชาชนตามใจชอบ เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงข่มเหงกลุ่มผู้ที่มีความเห็นแตกต่างในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ปัญหาการทุจริต การหาประโยชน์ทางเพศกับเด็ก และการค้ามนุษย์

 

รายงาน ยังชี้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทย ยังมีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุต่อ ผู้ต้องสงสัย ผู้กระทำผิด หรือเกี่ยวข้องกับการวิสามัญฆาตกรรม โดยอ้างข้อมูลจากสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ระบุว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559- กันยายน 2560 เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง รวมถึง ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้วิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยระหว่างการจับกุมไป 16 ราย เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากตัวเลขในปีก่อนหน้านี้

สหรัฐระบุด้วยว่า ที่ผ่านมา คสช.มักคุมตัวผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่างทางการเมือง โดยข้อมูลจนถึงเดือนสิงหาคม 2560 กรมราชทัณฑ์รายงานว่ามีผู้ถูกจำคุกหรือควบคุมตัวในความผิดฐานหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพ 135 คน องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนหลายแห่งระบุว่าการดำเนินคดี กับบุคคลเหล่านี้มักมีมูลเหตุมาจากเรื่องการเมือง

คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/ 2558 กำหนดให้ทหารมีอำนาจตรวจค้น ยึด และควบคุมตัวบุคคลไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ต้องมีหมายของศาล การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นลักษณะเดียวกับการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน  ส่งผลให้ที่ผ่านมาพบกรณีทหารใช้อำนาจดังกล่าวคุกคามบุคคลที่แสดงความเห็นตรงข้ามกับ คสช.หรือสมาชิกครอบครัวของบุคคลนั้น

 

นอกจากนี้ ทางการยังเฝ้าติดตามและตรวจสอบผู้เห็นต่าง รวมถึงชาวต่างชาติ โดยเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว รัฐบาลได้ออกประกาศห้ามประชาชนติดต่อ หรือเผยแพร่ข้อความทางสื่อสังคมออนไลน์ จากบุคคลต้องห้าม 3 คน ซึ่งเขียนวิจารณ์ประเทศไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์บ่อยครั้ง

รายงานระบุว่า ทางการไทยใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือเอาผิดผู้ที่วิจารณ์สถาบันอย่างต่อเนื่อง แม้ที่ผ่านมาองค์กรสื่ออิสระจะยังดำเนินงานอยู่ได้ แต่ต้องเผชิญอุปสรรคในการทำงานอย่างอิสระ ผู้คนในแวดวงสื่อหลายรายแสดงความวิตกกังวลว่าคำสั่งของ คสช.จะจำกัดเสรีภาพสื่อ และสั่งระงับการทำงานของสื่อโดยไม่มีหมายศาล

ขณะเดียว กันก็กังวลเรื่องที่ทางการเข้าไปจำกัดหรือ ขัดขวางการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างเสรี รวมถึงการเซ็นเซอร์เนื้อหาต่างๆ ทางออนไลน์ด้วย

 

มะกันจอมแส่!? บัวแก้วร่อนแถลงการณ์ ตอกหน้าสหรัฐหยุดมโน!!สิทธิ์ไทย มีที่ไหนพูดเองเออเอง เป็นตุเป็นตะ!!!

 

 

ขณะที่ล่าสุดทางด้านกระทรวงการต่างประเทศ ออกแถลงการณ์ ระบุว่า ตามที่เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2561 (ตามเวลาในประเทศไทย)  ได้ออกแถลงการตอบโต้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่เอกสารรายงานการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ ประจำปี ค.ศ.2017 (Country Reports on Human Rights Practices for 2017) นั้น 

กระทรวงการต่างประเทศ ขอชี้แจง ดังนี้

1. รายงานการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี ค.ศ. 2017 เป็นรายงานที่ Bureau of Democracy, Human Rights, and Labor กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจัดทำขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีเพื่อรายงานต่อรัฐสภาสหรัฐอเมริกาตามกฎหมาย Foreign Assistance Act ค.ศ. 1961 โดยรายงานประจำปีนี้เป็นรายงานฉบับที่ 42 ครอบคลุม 195 ประเทศ ใน 6 ภูมิภาคทั่วโลก ได้กล่าวถึงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศต่าง ๆ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2560 โดยไม่มีการจัดลำดับและ

 

2. ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย เอกสารรายงานฯ ได้กล่าวถึงทั้งความก้าวหน้าและปัญหาท้าทายเช่นเดียวกับรายงานฯ ของประเทศอื่นๆ โดยปัญหาท้าทายบางเรื่องของไทยเป็นประเด็นที่เคยปรากฏอยู่ในรายงานฉบับก่อนหน้านี้ ในขณะเดียวกัน รายงานฯ ได้ระบุถึงความก้าวหน้าของไทย ซึ่งสะท้อนถึงการดำเนินการอย่างจริงจังของรัฐบาล อาทิ การสอบสวนและลงโทษเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน การแก้ไขกฎหมายเพิ่มบทลงโทษผู้ใช้แรงงานเด็ก การจัดตั้งศูนย์ดูแลเหยื่อที่ถูกทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศในโรงพยาบาลรัฐ และการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ เป็นต้น  

 

3. เอกสารรายงานดังกล่าวเป็นมุมมองของสหรัฐอเมริกาแต่เพียงฝ่ายเดียว และจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูล สถิติ ข้อห่วงกังวล และกรณีศึกษาที่ไม่เปิดเผยและไม่สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ในพิธีเปิดตัวรายงานดังกล่าว ซึ่งนาย John J. Sullivan รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แถลง ก็มิได้มีการกล่าวพาดพิงประเทศไทยในการนำเสนอรายงาน (แม้จะมีการพูดถึงประเทศต่างๆ ที่เป็นปัญหาจำนวน 8 ประเทศ และประเทศตัวอย่างที่มีความคืบหน้า 3 ประเทศ) และในช่วงถาม - ตอบคำถามของผู้สื่อข่าว ก็มิได้มีผู้ใดสอบถามเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทยแต่อย่างใด

 

4. รัฐบาลไทยยืนยันความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน และยึดมั่นการดำเนินการให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชนและสังคมไทย โดยรัฐบาลได้ประกาศให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ และได้ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อาทิ การปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม การคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าว การส่งเสริมความตระหนักรู้ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิบัติสากลภายใต้หลักนิติธรรม