“สุเทพ” ประกาศสู้ตาย คดีทุจริตโรงพัก จับตารอยปริคสช.

“สุเทพ” ประกาศสู้ตาย คดีทุจริตโรงพัก สร้างแฟลตตำรวจ 163 แห่งและโรงพักทดแทน 396 แห่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับตารอยปริ คสช.

จากกรณีที่สุเทพ เทือกสุบรรณ  ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.)  ประกาศต่อสู้โว้ย..หลังจากที่  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้แจ้งข้อกล่าวหากับนายสุเทพ ในสมัยที่เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  กับพวกรวม 17 คน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบสร้างแฟลตตำรวจ 163 แห่งและโรงพักทดแทน 396 แห่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  จนกระทั้งในวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม ได้ไปชี้แจงต่อคณะกรรมการป.ป.ช.ชุดใหญ่

 

หากย้อนไปนับตั้งแต่ที่ป.ป.ชได้แจ้งข้อกล่าวหา นายสุเทพก็ได้ทำการไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว "Suthep Thaugsuban (สุเทพ เทือกสุบรรณ)"อย่างต่อเนื่อง โดยการงัดหลักฐานเอกสารข้อมูลต่างๆมาแฉ  โดยผ่านจากกลไกการทำงานของผบ.ตร.ถึง3คนด้วยกัน นั่นก็คือ พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ ,พลตำรวจเอกปทีป ตันประเสริฐ และพลตำรวจเอก.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ซึ่ง1ใน3คนนั้น คือน้องชายของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของคสช.

ในการออกมารีอบแรกนั้น ดูเหมือนว่านายสุเทพจะพุ่งเป้าไปที่พลตำรวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ ซึ่งแน่นอนว่าอยู่คนละฝากฝั่งทางการเมืองเพราะเคยเป็นผู้สมัครผู้ว่ากทม.ของพรรคเพื่อไทยมา โดยนายสุเทพได้แฉว่า

สตช.ระบุว่า สำนักงบฯมีความเห็น จะเห็นว่าเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณที่ใช้ในปี 2552 เอามาจากไหน งบประมาณปี 2553-2554 จะเอามาจากไหน จะต้องขออนุมัติครม.เรื่องการผูกพันงบประมาณข้ามปี ไม่มีเลยตรงไหนที่จะเขียนว่าสำนักงบฯจะมีความเห็นว่าต้องใช้วิธีการจัดจ้างแบบรายภาค 9 ภาค เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ สตช. ไปตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาแนวทางที่จะจัดจ้าง คือ 1.รวมการจ้างในครั้งเดียวสัญญาเดียว 396 หลัง 2.รวมการจ้างครั้งเดียว แยกเสนอเป็นรายภาค ภาค 1-9 ทำสัญญา 9 สัญญา 3.จัดจ้างโดยตำรวจภูธรภาค 4.จัดจ้างโดยตำรวจภูธรจังหวัด กรรมการชุดนี้มี พลตำรวจเอกพงศ์พัศ พงษ์เจริญ  ผช.ผบ.ตร. เป็นประธานกรรมการ 

 

“สุเทพ” ประกาศสู้ตาย คดีทุจริตโรงพัก จับตารอยปริคสช.

 

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า การที่เอาชื่อ พลตำรวจเอกพงศพัศ มาพูดถึงเพราะมีชื่ออยู่ในเอกสารนี้ และ พลตำรวจเอกพงศ์พัศ เป็นอดีตผู้สมัครผู้ว่า กทม. ของพรรคเพื่อไทย แข่งกับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ในวันนั้นพรรคเพื่อไทยออกมาโจมตีว่าตนทุจริตโครงการนี้ และบอกว่า พลตำรวจเอกพงศ์พัศ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องนั้นไม่จริง ในเอกสารนี้มี คณะกรรมการที่มี พลตำรวจเอกพงศ์พัศ เป็นประธาน ได้พิจารณาข้อดีข้อเสียและมีมติว่าเห็นควรดำเนินการสร้าง โดยแยกการเสนอราคาเป็นรายภาค พล.ต.อ.พัชรวาท ก็เห็นชอบด้วย และก็นำเสนอให้ตนพิจารณาว่า เห็นควรดำเนินการจัดจ้างโดยส่วนกลางครั้งเดียว โดยแยกการเสนอราคาเป็นรายภาค เสนอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบ หรือเห็นควรประการใดได้โปรดสั่งการ

 

ตรงนี้ถ้าประชาชนเป็นรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบ สตช.เหมือนอย่างตนในวันนั้น ฟังเหตุผลข้อเสนอขั้นตอนการปฏิบัติที่ สตช. เสนอมา ก็เชื่อว่าต้องให้ความเห็นชอบอย่างที่ตนได้ทำลงไป โดยตนได้สั่งการว่าเห็นชอบเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 นี่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยสุจริตชอบธรรม ไม่มีเป้าหมายอะไรแอบแฝง ซึ่งการเห็นชอบนั้น ตนไม่มีโอกาสทราบว่าใครเป็นผู้ได้รับสัญญาใครชนะประมูลประกวดราคาทั้ง 9 ภาค เพราะเป็นเรื่องที่ สตช. จะต้องดำเนินการ เป็นกระบวนการที่ สตช. ต้องปฏิบัติและมีข้อกฎหมายมีระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุว่าด้วยวิธีผ่านอิเล็คทรอนิคกำหนดเอาไว้  ถ้าใครฝ่าฝืนหรือทำผิดจะต้องถูกดำเนินคดี 

 

“สุเทพ” ประกาศสู้ตาย คดีทุจริตโรงพัก จับตารอยปริคสช.

 

เป็นที่น่าสังเกตว่าอีกเป้าหนึ่งที่นายสุเทพพุงเป้าเข้าไปหา นั้นก็คือ ป.ป.ช. แม้จะได้กล่าวถึง อนุกรรมการไต่สวนของ ป.ป.ช. ที่นายสุเทพกล่าวหาว่าไม่ให้ความเป็นธรรมกับตัวเอง คิดว่าเป็นการตั้งข้อหาที่มีอคติก็ตามแต่ หากเราย้อนรอยกลับไปที่ป.ป.ช.ก้จะเห็นว่าประธานป.ป.ช.นั้น ก็คือ พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ. ซึ่งเคยเป็นลูกน้องคนเก่าแก่ของพลตำรวจเอกพัชรวาท

 

“สุเทพ” ประกาศสู้ตาย คดีทุจริตโรงพัก จับตารอยปริคสช.

 

ในอดีตที่ผ่านมาพลตำรวจเอก วัชรพล นั้นเมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผบ.ตร.ในยุคที่พลตำรวจเอก.พัชรวาท น้องชายของพล.อ.ประวิตร เป็นผบ.ตร.ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งต้องถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องมีความใกล้ชิดกับผบ.ตร.เป็นอย่างยิ่ง!!! อีกทั้งขณะที่คสช. เข้ายึดอำนาจก็ได้แต่งตั้งให้พลตำรวจเอกวัชรพล ขึ้นนั่งตำแหน่งรักษาการ"ผบ.ตร."แทน พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว ต่อมาเมื่อเกษียณอายุราชการพลตำรวจเอก วัชรพล ก็มาเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีของ พลเอก ประวิตร จากนั้นก็ได้ลาออก เมื่อได้รับเลือกเป็น"ประธานปปช."

 

“สุเทพ” ประกาศสู้ตาย คดีทุจริตโรงพัก จับตารอยปริคสช.

 

ในช่วงการรับตำแหน่ง ประธานปปช.ใหม่ๆ พล.อ.ประวิตร เคยให้สัมภาษณ์ (20ต.ค.58) ถึงการตั้งข้อสังเกตกรณีที่ พลตำรวจเอก วัชรพล ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาล เคยดำรงตำแหน่งรองเลขานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พลเอกประวิตร ยอมรับว่า พลตำรวจเอก วัชรพล เคยทำงานกับตนมาก่อน แต่ยืนยันว่า รัฐบาลไม่เกี่ยวข้อง หรือ สั่งการให้ พลตำรวจเอกวัชรพล ไปทำหน้าที่ใน ป.ป.ช.

 

แน่นอนว่าเมื่อเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นโดยนายสุเทพเองคิดว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นในกรณีของป.ป.ช. จึงทำให้อาจจะเกิดข้อสงสัยว่า มีนัยยะทางการเมืองบ้างประการหรือไม่ เพราะคนในป.ป.ช.ก็คือว่า มีความสนิทกับทาบงผู้มีอำนาจคสช.อยู่ ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องจับตาดูทิศทางของพรรครวมพลังประชาชาติไทยที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศว่าจะได้เป็นรัฐบาลและจะเข้าร่วมกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล้วจะมีท่าทีอย่างไรต่อไป