แทงทะลุหัวใจ "จุติ"อยู่เฉยไม่ได้ โต้รัวกระแส 3 ก๊ก"ปชป.ผลัดใบ" ลุ้นยาวๆไปข้อบังคับใหม่ ฟรีโหวตชื่อว่าที่หน.พรรค

แทงทะลุหัวใจ "จุติ"อยู่เฉยไม่ได้ โต้รัวกระแส 3 ก๊ก"ปชป.ผลัดใบ" ลุ้นยาวๆไปข้อบังคับใหม่ ฟรีโหวตชื่อว่าที่หน.พรรค

หลังจากเกิดกรณีที่มีกระแสข่าว “สามก๊ก” เกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์เพื่อช่วงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ แบ่งความเคลื่อนไหวออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาความพ่ายแพ้  คือ

กลุ่มที่ 1 กลุ่มนายอภิสิทธิ์ ซึ่งมี “นายชวน หลีกภัย” เป็นผู้สนับสนุน ขณะนี้กลับมาจับ มือกับ “นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน” ซึ่งเคยเป็นอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน แต่ต่อมานายอภิสิทธิ์ได้เปลี่ยนมาเป็น“นายจุติ ไกรฤกษ์” แต่สุดท้ายก็เดินคนละทาง กับนายจุติ เพราะ มีจุดยืนท่ีค่อนข้างชัดเจนว่าสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายก

กลุ่มที่ 2 กลุ่มนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ได้มีการชูนายจุรินทร์ ขึ้นมาชิงตําแหน่ง หัวหน้าพรรค โดยมี “นายบัญญัติ บรรทัดฐาน

กลุ่มที่3กลุ่มหมอวรงค์ ได้มีการผลักดันนายแพทย์วรงค์เดชกิจวิกรมโดยการ เคลื่อนไหวของ “นายถาวร เสนเนียม”

แทงทะลุหัวใจ "จุติ"อยู่เฉยไม่ได้ โต้รัวกระแส 3 ก๊ก"ปชป.ผลัดใบ" ลุ้นยาวๆไปข้อบังคับใหม่ ฟรีโหวตชื่อว่าที่หน.พรรค

 

ล่าสุดนาย จุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการหลายเรื่องเพื่อรองรับการปลดล็อคทางการเมืองที่จะเกิดขึ้น ล่าสุดมีกลุ่มคนปล่อยข่าวลือสร้างกระแสให้เกิดความสับสนด้านข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อฯ จึงขอยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นหนึ่งเดียวยึดมั่นอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย และล่าสุดยอมรับว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีแนวคิดเสนอเปิดข้อบังคับพรรคใหม่ให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม โดยเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคให้คนนอกและบุคคลทั่วไปสามารถเสนอตัวลงสมัครตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ และสมาชิกพรรคสามารถโหวตหยั่งเสียงหัวหน้าพรรคได้ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและการปฏิรูปการเมือง

 

นายจุติ กล่าวอีกว่า สำหรับตนในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน ขอยืนยันว่าจะสนับสนุนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แข่งขันดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป หลังการปลดล็อคทางการเมือง เพราะผลงานและความใส่ใจของนายอภิสิทธิ์ในการพบปะรับฟังปัญหาประชาชนทั่วประเทศตลอดเวลา 4 ปี ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และเป็นผู้ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการบริหารราชการและการอยู่ดีมีสุขของประชาชนได้ดีที่สุดคนหนึ่ง

 

“ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวสามก๊กเกิดขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์นั้น เป็นเพียงการวิจารณ์และคาดเดาเท่านั้น ยืนยันว่าพรรคมีความเป็นเอกภาพและไม่มีความแตกแยก แม้จะมีความพยายามในการจะสร้างความสับสนแค่ไหนวิธีการปล่อยข่าวลักษณะนี้จะไม่สามารถทำลายประชาธิปัตย์ได้ ขอร้องว่าวิธีการปล่อยข่าวผ่านสื่อมวลชนบางสำนักให้เกิดความสับสนแบบนี้ใช้ไม่ได้ผลกับประชาธิปัตย์ ผมขอยืนยันว่าเราเป็นหนึ่งเดียว" นายจุติ กล่าว

 

อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องของความแตกหรือไม่... ต้องมาพิจารณาจากข้อเท็จจริง นั้นก็คือไม่นานจะมีการลงแข่งขันในพรรคประชาธิปัตย์ การสมัครเพื่อช่วงชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคกันจริง ทันทีที่คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดปัจจุบัน พ้นวาระลง  ที่ผ่านมานายอภิสิทธิ์ ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอย่างยาวนานนับตั้งแต่เมื่อ 5 มีนาคม  2548 จนถึงปัจจุบัน พรรคประชาธิปัตย์อยู่ภายใต้การบริหารงานของ นายอภิสิทธิ์ รวมระยะเวลา13ปี เรียกได้ว่านานที่สุด รองจากพันตรี ควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรก

 

ในบทบาทแม่ทัพของ นายอภิสิทธ์ ได้นำทัพผ่านสมรภูมิเลือกตั้งมา ทั้งในฐานะฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล แต่ก็พ่ายแพ้มาแล้วทั้ง2ครั้ง เพราฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก หากสมาชิกพรรคคนอื่นๆจะลงสมัครชิงตำแหน่งห้วหน้าพรรค เพื่อนำพาพรรคประชาธิปัตย์ไปสู่ความสำเร็จ  หากจะว่ากันตามเนื้อผ้าจนถึงวันนี้ความโดดเด่นของนายอภิสิทธิ์เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีแนวทางนโยบายอะไรที่จะทำให้พลิกสถานการณ์ได้ ข้อเท็จจริงที่จะต้องยอมรับก็คือความพ่ายแพ้ที่มีมาตลอด ในการเลือกตั้งในภาคอีสาน-เหนือ

 

บาดแผลอันสำคัญ ที่ทำให้คนพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มากก็น้อย ต้องออกมาเรียกร้องให้มีการเปรียบตัวแม่ทัพนำศึก คือ การเลือกตั้งเมื่อ ปี 2550 แพ้พรรคพลังประชาชน  นำโดย”สมัคร สุนทรเวช” ด้วยสัดส่วนที่นั่ง 233:165 เสียง โดยพรรคพลังประชาชน ได้ส.ส. แบบแบ่งเขต 199 เสียง   แบบปาร์ตี้ลืสต์ 34 เสียง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส. แบบแบ่งเขต 132 เสียง   แบบปาร์ตี้ลืส 33 เสียง

 

ขณะที่ในปี2554 พรรคประชาธิปัตย์ค่อนข้างที่จะได้เปรียบเพราะขณะนั้น นายอภิสิทธิ์อยู่ในฐานะนายกรัฐมนตรี แต่ในสนามเลือกตั้ง ก็ยังแพ้พรรคเพื่อไทย ที่มี “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” เป็นผู้นำ ทั้งๆที่ยังไม่ประสีเรื่องการเมืองแต่อย่างใด ด้วยสัดส่วนที่นั่งส.ส.อย่างขาดรอย 265:159 เสียง  และหากโฟกัสไปยังรายภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ  พรรคประชาธิปัตย์สามารถทำได้เพียง 13 เสียง ส่วนภาคอีสาน สามารถทำได้เพียง4 เสียง เท่านั้น ขณะที่พรรคเพื่อไทย สามารถได้ เสียงส.ส.ภาคเหนือไปถึง 49 เสียง ภาคอีสานได้ 104 เสียง