จับตามหาเถรฯยุคใหม่ ล้างบางอิทธิพลธรรมกาย..ใครจะอยู่ใครจะไป!

จับตามหาเถรฯยุคใหม่ ล้างบางอิทธิพลธรรมกาย..ใครจะอยู่ใครจะไป!

ต้องยอมรับว่า กรณีของวัดพระธรรมกายเป็นประเด็นสำคัญที่ทำลาย“ศรัทธา” ครั้งใหญ่ ของพุทธศาสนิกชนไทยมีต่อองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ในนามของ มหาเถรสมาคม(มส.) ตลอดระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา วัดธรรมกายและเครือข่ายธัมมชโย มีสายสัมพันธ์อันดีกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในคณะสงฆ์ อย่างต่อเนื่องยาวนาน สายสัมพันธ์ดังกล่าวเติบโตขึ้น กลายเป็น “อิทธิพล” เบ่งบานอยู่เหนือ มส.จนถูกสังคมตราหน้าองค์กรสงฆ์ตั้งแท่นอุ้ม “ธัมมชโยและวัดพระธรรมกาย”

 

แต่ด้วยพ.ร.บ.สงฆ์ใหม่ โดยมีสาระสำคัญคือ การแต่งตั้งถอดถอนกรรมการ มส. ให้เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2561 ต้องถือว่าเป็นการ Set Zero ปฏิรูปวงสงฆ์อย่างแท้จริง  ทำเอามหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค ทำเอาพระผู้ใหญ่ที่เคยอุ้มชู “ธรรมกาย” หายเรียบ

 จากข้อมูลของสำนักเลขาธิการมหาเถรฯ พบว่า กรรมการ มส.โดยการแต่งตั้ง ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 12 รูป จะแบ่งออกเป็น 2 ชุดในการต่ออายุกรรมการ มส.ในแต่วาระวาระ ละ 2 ปี ซึ่งชุดแรกหมดวาระวันที่ 17 ก.ย.นี้ ส่วนอีกชุด หมดวาระในวันที่ 4 ม.ค.2562

 

เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ก.ย. 61 มีกรรมการมหาเถรสมาคม จำนวน 5รูป สิ้นสุดวาระการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อันได้แก่

1. พระพรหมเมธาจารย์ วัดบูรณศิริมาตยาราม กรุงเทพฯ (ธรรมยุต)

2. พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพฯ (มหานิกาย) เคย กรรมการที่ปรึกษา โครงการ (ธรรมกาย) อุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000 รูป

3. พระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์ กรุงเทพฯ (ธรรมยุต)

4. พระธรรมบัณฑิต วัดพระราชเก้ากาญจนาภิเษก กรุงเทพฯ (ธรรมยุต)

5. พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ (ธรรมยุต)

 

โดยอดีตพระพรหมดิลก อดีตพระพรหมเมธี และอดีตพระพรหมสิทธิ ได้มีพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ มส.แล้ว เนื่องจากมีชื่อเกี่ยวข้องกับการทุจริตงบประมาณของ พศ. โดยทั้ง3คนนี้ ถือเป็นกำลังสำคัญของเครืออข่ายธรรมกาย โดยเฉพะ “อดีตพระพรหมเมธี” ได้ชื่อว่าเป็น “ธรรมยุตนอกคอก” เพราะเป็นพระผู้ใหญ่สาย  ธรรมยุตรูปเดียวที่มีความใกล้ชิดสนิทกับเครือขายธรรมกาย  ส่งผลดุลอำนาจในมหาเถรสมาคมฝ่ายที่กุมเสียงข้างมาก ส่งผลกระเทือนทางตรงถึงวัดพระธรรมกาย ที่เสียงที่เคยปกป้อง-อุ้มชูได้หายไป

 

จับตามหาเถรฯยุคใหม่ ล้างบางอิทธิพลธรรมกาย..ใครจะอยู่ใครจะไป!

 

สำหรับชุด2 ที่จะหมดวาระในวันที่ 4 ม.ค.2562  จำนวน4 รูป ได้แก่

1. พระพรหมวชิรญาณ  วัดยานนาวา (มหานิกาย) กรรมการที่ปรึกษา โครงการ (ธรรมกาย) อุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000 รูป

2. พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (มหานิกาย) กรรมการที่ปรึกษา โครงการ (ธรรมกาย) อุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000 รูป

3.พระพรหมมุนี  วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (ธรรมยุต)

4.พระพรหมโมลี วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (มหานิกาย) กรรมการที่ปรึกษา โครงการ (ธรรมกาย) อุปสมบทหมู่ ภาคฤดูร้อน 100,000 รูป

 

ดังนั้นจะทำให้เหลือเพียงกรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง สมเด็จพระราชาคณะมีทั้งหมด 8 รูป (ไม่รวมสมเด็จพระสังฆราช) แบ่งเป็นมหานิกาย 4 รูป และธรรมยุติกนิกาย 4 รูป ดังนี้

มหานิกาย

 

จับตามหาเถรฯยุคใหม่ ล้างบางอิทธิพลธรรมกาย..ใครจะอยู่ใครจะไป!

1.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ผู้ที่เป็นทั้งอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของ “ธัมมชโย” วัดพระธรรมกาย และประกาศชัดเจนว่า “วัดปากน้ำ กับวัดพระธรรมกาย เป็นพี่น้องกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือกัน” เป็นการประกาศจุดยืนชัดเจนว่า สมเด็จวัดปากน้ำ สนับสนุนวัดพระธรรมกาย 100%

 

2.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ในอดีตสมเด็จสมศักดิ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง “พระธรรมโมลี” ได้รับการแต่งตั้งจาก สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ให้ตั้งศาลสงฆ์เพื่อเอาผิดต่อ “ธัมมชโย” แต่ก็ทำด้วยความล่าช้า จนสมเด็จวัดชนะสงครามมรณภาพ และพระธรรมโมลี ก็เปลี่ยนตัวเองไปเป็นพยานให้การสนับสนุนธัมมชโย ว่าเผยแผ่คำสอนถูกต้อง จนคดีถูกถอนฟ้องในที่สุด และพระธรรมโมลี ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “สมเด็จพระพุทธชินวงศ์” ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ สมเด็จสมศักดิ์ เป็นหนึ่งในพระราชาคณะที่ปรากฏชื่อสนับสนุนกิจกรรมวัดพระธรรมกาย ทุกงาน

 

3.สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร สมเด็จสนิท เป็นพระราชาคณะอีกหนึ่งองค์ที่ปรากฏชื่อเป็นผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมของวัดพระธรรมกายเกือบทุกกิจกรรม

 

4. .สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม   ซึ่งที่ประชุมมหาเถรสมคมมีมติพิจาราณาเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะแทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ฯ มรณภาพ สิริอายุ 86 ปี วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน 2559

 

ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นี้ ได้มีงานเขียนที่ชี้ให้เห็นถึงภัยจากลัทธิคำสอนของวัดพระธรรมกายที่บิดเบือนพระธรรมวินัย เป็นภัยอย่างร้ายแรงอีกด้วย

ธรรมยุติกนิกาย

1.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร เป็นพระที่สังกัดธรรมยุตเพียงรูปเดียวที่ให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกาย โดยปรากฏเป็นกรรมการจัดโครงการบวชแสนรูป และกิจกรรมอื่น ๆ ของวัดพระธรรมกาย โดยมีผู้สันนิษฐานว่า สมเด็จมานิตป่วยมิได้รับรู้อะไรมาก แต่เพราะมีอดีตพระพรหมเมธี (จำนง ธัมมจารี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ฯ และโฆษกมหาเถรสมาคม ที่แสดงตนชัดเจนว่าฝักใฝ่และให้การสนับสนุนวัดพระธรรมกาย เป็นผู้อยู่เบื้องหลังทำให้สมเด็จมานิต ไปร่วมงานธรรมกายบ่อย ๆ

 

2.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

3.สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

4.สมเด็จพระธีรญาณมุนี สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

โดยทั้ง3รูปที่เหลือ นั้นไม่มีประวัติใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย

 

อย่างไรก็ตาม  www.alittlebuddha.com  ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นจับตากรรมการมส.โดยตำแหน่ง 3รูป บางช่วงระบุว่า...

กรรมการมหาเถรสมาคมระดับ "สมเด็จพระราชาคณะ" อีก 3 รูป ได้แก่

1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวรโร) วัดสัมพันธวงศ์ อายุ 100 ปี

2. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรธมฺโม) วัดปากน้ำ อายุ 93 ปี

3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน อายุ 80 ปี

 

จับตามหาเถรฯยุคใหม่ ล้างบางอิทธิพลธรรมกาย..ใครจะอยู่ใครจะไป!

 

สมเด็จฯ ทั้งสามรูปข้างต้น บางรูปอายุมาก ไม่สามารถเข้าประชุม มส. ได้ และบางรูปก็ป่วยมานาน ก่อนจะได้เป็นสมเด็จฯ ครั้นได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จฯ แล้ว ก็ไม่สามารถเข้าประชุมได้ แถมเมื่อสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ได้สิ้นพระชนม์ลง และมีการสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพรมหาเถร) วัดราชบพิธ ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คราวนั้นมิได้มีการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะแทนตำแหน่งที่ว่างลงด้วย และยังคงว่างอยู่เช่นนั้นจนกระทั่งวันนี้

 

 

 

จึงสรุปว่า มีตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม จะว่างลงในวันที่ 17 กันยายน เป็นจำนวนถึง 12 รูปด้วยกัน

 

ครั้นนำเอาจำนวนกรรมการมหาเถรสมาคมมาดู ก็พบว่า กรรมการมหาเถรสมาคมมีทั้งสิ้น 21 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็นธรรมยุตและมหานิกาย ฝ่ายละ 10 ตำแหน่ง และสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมอีก 1 พระองค์ รวมเป็น 21 ดังกล่าว

 

ครั้นเมื่อกรรมการ มส. ว่างลงถึง 12 รูป ก็จะเหลือกรรมการ มส. เพียง 9 รูป ที่จะทำหน้าที่ได้ต่อไป แต่ถึงกระนั้นก็ดูเหมือนว่า กรรมการ มส. ที่ยังเหลืออยู่นั้น จะกลายเป็น "เสียงข้างน้อย" ไปเสียแล้ว เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ถูกปลด-หมดอายุ และเข้าประชุมไม่ได้ ในอัตรา 12/9

 

การแต่งตั้งกรรมการ มส. ตาม พรบ.คณะสงฆ์ ฉบับใหม่นั้น ต้องเป็นไปโดยพระบรมราชโองการ มิใช่พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเหมือนเดิม ดังนั้น วันนี้ พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนชาวพุทธไทยทั่วโลก จึงต่างรอคอยและลุ้น "รายชื่อ" กรรมการมหาเถรสมาคม ชุดใหม่ ชุดประวัติศาสตร์ ชุดแรกที่มาจากการทรงคัดเลือกและโปรดเกล้าฯแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ ยิ่งกว่าลุ้นโผคณะรัฐมนตรี

 

อย่างไรก็ตาม ต้องไม่ลืมว่า ตาม พรบ.คณะสงฆ์ใน ม.17 ที่ระบุว่า..

    การประชุมมหาเถรสมาคมต้องมีกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการโดยการแต่งตั้งรวมกันมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงเป็นองค์ประชุม

    ระเบียบการประชุมมหาเถรสมาคมให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม

จับตามหาเถรฯยุคใหม่ ล้างบางอิทธิพลธรรมกาย..ใครจะอยู่ใครจะไป!

 

เท่ากับว่านับจากนี้ไปการประชุมมส.ถูกนัด กรรมการที่เหลืออยู่ทุกรูปต้องมาประชุมทุกครั้ง และที่น่าสนใจไปกว่านั้น หากกรรมการ โดยการแต่งตั้ง ชุด2 ที่จะหมดวาระในวันที่ 4 ม.ค.2562  พ้นจะตำแหน่ง นั้นหมายความว่า กรรมการมส.ที่เหลืออยู่จะไม่สามารถดำเนินการใดๆต่อไปได้ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ..แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับมส. งานนี้ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด