โซเชียลหนุน"หมอวรงค์"นั่งหัวหน้าประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนพรรค-ยกเทียบ"มหาเธร์" ปราบคนชั่วร้าย

คาดหวังว่าถ้าท่านได้เป็นหัวหน้าพรรคและมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีท่านจะเทียบได้กับดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด มาเลเซีย เลยทีเดียว ให้ท่าน ยืนหยัดในความเข้มแข็งมีความซื่อสัตย์ปราบคนชั่วร้ายในบ้านเมืองเราตลอดไป

ติดตามกันอย่างต่อเนื่องสำหรับความคืบหน้าให้การเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นที่แน่ชีดแล้วว่า นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม  ชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โดยการสนับสนุนของนายถาวร เสมเนียน อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นั้น จะเป็นหนึ่งในแคนดิเดตลงชิงตำแหน่งกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน

 

ที่น่าสนใจคือการเลือกหัวหน้า และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่  ก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์  เคยได้ประกาศว่า การเลือกหัวหน้าพรรคคร้ังนี้ ต่างจากเดิมที่ใช้การโหวตจาก คณะกรรมการบริหารพรรค แต่ครั้งนี้นายอภิสิทธิ์ ได้ประกาศ “ให้มีการทําไพรมารี่ โหวตในการเลือกหัวหน้าพรรค” อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้คนนอก สามารถเป็นหัวหน้าพรรคได้ โดยต้องผ่านข้อกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับคนนอกที่จะเข้ามามีส่วนร่วม จะต้องมีผู้รับรองการเสนอชื่อหรือมีการสมัครและมีเงื่อนไข

โซเชียลหนุน"หมอวรงค์"นั่งหัวหน้าประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนพรรค-ยกเทียบ"มหาเธร์" ปราบคนชั่วร้าย

อย่างไรก็ตามภายหลังการประชุมกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมา มีกระแสความไม่พอใจของกรรมการบางคน ที่ไม่เห็นด้วยกับกติกาการหยั่งเสียงหัวหน้าพรรค และมองว่าไม่เป็นธรรม ตั้งแต่เรื่องการนับคะแนนการหยั่งเสียงของสมาชิกทั้งประเทศ ควรเป็นหลักสากลที่เคยคุยกันไว้คือ 1 สิทธิ์ 1 เสียงเท่ากัน

ประเด็นที่สอง เรื่องการเสนอผลการหยั่งเสียงต่อที่ประชุมใหญ่ ควรกำหนดให้เสนอที่ประชุมใหญ่เพียงคนเดียวคือคนที่ชนะการหยั่งเสียงจากสมาชิก ไม่ใช่เขียนเปิดกว้างให้เสนอกี่คนก็ได้

 

ประเด็นที่สามคือ เรื่องแอพที่ใช้ในการหยั่งเสียง ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะสามารถล็อคผลคะแนนได้ ควรมีคณะกรรมการที่มีตัวแทนทุกฝ่ายเป็นผู้ร่วมประชุมกับบริษัทที่ออกแบบให้ แต่กลับมอบหมายให้นายศิริโชค โสภา ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดนายอภิสิทธิ์ เพียงคนเดียวไปจัดการเรื่องดังกล่าว

 

ประเด็นที่สี่ มีการพูดถึงการจะให้อดีตสมาชิกของพรรคที่เคยมีอยู่กว่า 2 ล้านคนมาร่วมหยั่งเสียง หลายคนในพรรคกังวลว่า อาจจะทำให้เป็นปัญหากับพรรคในอนาคตได้ เพราะอาจจะไปขัดกับกฎหมายพรรคการเมือง คือให้คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกมาร่วมเลือกหัวหน้าพรรค

 

ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่า หากไม่มีการปรับเปลี่ยนร่างข้อบังคับในการหยั่งเสียงหัวหน้าพรรคดังกล่าว นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีตส.ส.พิษณุโลกที่จะลงชิงหัวหน้าพรรค และทีมงานจะเข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค เพื่อหารือให้ปรับร่างดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

 

โซเชียลหนุน"หมอวรงค์"นั่งหัวหน้าประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนพรรค-ยกเทียบ"มหาเธร์" ปราบคนชั่วร้าย

ล่าสุดวันนี้ (20 ก.ย. 61) นายถาวร เปิดเผยว่า ทีมงานได้หารือกับอดีต ส.ส.หลายคน พบว่ายังมีความสงสัยในระเบียบข้อบังคับพรรคเรื่องการเลือกหัวหน้าพรรค ที่ทีมงานของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยกร่าง ที่มีบางประเด็นอาจทำให้เกิดความไม่ชัดเจน

 

ทั้งนี้ ตนพร้อมด้วย นพ.วรงค์ และทีมงานบางส่วน จึงจะเข้าพบนายอภิสิทธิ์ ในวันพรุ่งนี้ (21 ก.ย.) เวลา 13.00 น.เพื่อขอทราบความชัดเจนก่อนนำเข้าที่ประชุมใหญ่ของพรรค ในวันที่ 26 ก.ย.นี้ เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นการประชุมกรรมการบริหาร โดยที่อดีต ส.ส.ไม่ได้ทราบรายละเอียด ทำให้บางคนมีคำถามอยู่ในใจ จึงอยากคุยให้เกิดความกระจ่าง

 

นายถาวร กล่าวว่า มีหลายประเด็นที่ยังมีข้อสงสัย เช่น สิทธิของสมาชิกพรรคที่จะลงคะแนน แทนที่จะนับคะแนน 1 คน 1 เสียง แต่กลับคำนวณเป็นสัดส่วน ไม่เท่าเทียมกับอดีต ส.ส.และตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นองค์ประชุมใหญ่ ทั้งที่มีความเป็นสมาชิกเท่ากัน และระบบการทำแอพพลิเคชั่นการลงคะแนน ควรมีคนกลางเข้าไปรับรู้ในระบบผลการประมวลคะแนน แทนการใช้คนเพียงคนเดียวประสานบริษัท เพื่อให้กรรมการบริหารพรรคที่ว่าจ้างบริษัทมา จะได้ไม่ถูกระแวงสงสัยและมีข้อครหา รวมทั้งจะพูดคุยถึงห้วงเวลาของการรับสมาชิก เพื่อให้สมาชิกเดิมได้กลับเข้ามามีส่วนร่วมในการเลือกหัวหน้าพรรค

 

"ขอย้ำว่าคะแนนของสมาชิกพรรคที่จะเข้าสู่การหยั่งเสียง ไม่ควรกำหนดค่าน้ำหนักที่จะทำให้ที่ประชุมใหญ่ลดทอนลงมา เพราะไปเขียนให้บางกลุ่มมีค่าน้ำหนักเสียงของสมาชิก ถือเป็นความสงสัยที่เราไม่ได้นั่งในห้องประชุมกรรมการฯ เราจึงขอไปทำความเข้าใจ อันไหนที่น่าจะเปลี่ยนได้ก็ควรเปลี่ยน อันไหนที่ดีแล้วเราก็พร้อมจะยอมรับ ไม่มีปัญหา เป็นเรื่องภายในของพรรคที่คิดว่าพี่น้องน่าจะคุยกันได้ และสุดท้ายต้องแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่ เราเดินเข้าไปเพื่อขอหลักการเหตุผล ถ้าขอให้เปลี่ยนได้ก็ดี จะได้ไม่ต้องไปซักไซร้ในวันประชุมใหญ่" นายถาวร กล่าว

 

โซเชียลหนุน"หมอวรงค์"นั่งหัวหน้าประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนพรรค-ยกเทียบ"มหาเธร์" ปราบคนชั่วร้าย

 

ขณะเดียวกัน เสียงตอบรับหลังจากที่นพ.วรงค์ ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะลงชิงชัยหัวหน้าพรรคนั้น ค่อนข้างที่จะได้เสียงตอบรับที่ดีจากประชาชน อาทิ  Pat Hemasuk หรือ “ภัทร เหมสุข” นักวิชาการอิสระ มีผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คถึง 136,404 คนก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงสนับสนุนระบุว่า..ภาพนี้ถ่ายเมื่อสองวันก่อน ในภาพนี้มี สส.น้ำดีคนที่ผมเชียร์อยู่หลายคน และผมบอกได้เลยว่ามีคนที่ผมรักสองคน และใครก็ได้ในสองคนนี้ นั่งเป็นหัวหน้าพรรค ปชป. เมื่อไรนั่นคือจุดเปลี่ยนที่ไม่เล็กเลยของพรรค

 

 

โซเชียลหนุน"หมอวรงค์"นั่งหัวหน้าประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนพรรค-ยกเทียบ"มหาเธร์" ปราบคนชั่วร้าย

 

หรือข้อความด้วยลายมือของ  รศ.ดร.ปราโมทย์ จันทร์เรือง ที่ส่งหานพ.วรงค์ มีเนื้อหาทั้งหมดดังนี้

18 ก.ย61

เรียน หมอวรงค์ที่นับถือ

นายปราโมทย์ จันทร์เรือง เลขที่บัตรประชาชน x-xxx-xxxxx-xx-x ขอสนับสนุนท่านเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์พร้อมด้วยเพื่อนพ้องศิษย์และญาติเป็นจำนวนมาก และได้พยายามติดต่อทุกคนให้ขยายเครือข่ายไปทั่วทุกทิศ ด้วยความรักและศรัทธาอย่างจริงใจ ผมคาดหวังว่าถ้าท่านได้เป็นหัวหน้าพรรคและมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีท่านจะเทียบได้กับดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด มาเลเซีย เลยทีเดียว ให้ท่าน ยืนหยัดในความเข้มแข็งมีความซื่อสัตย์ปราบคนชั่วร้ายในบ้านเมืองเราตลอดไป

ขอเป็นกำลังใจให้ตลอด

ขอแสดงความนับถือ

ลงชื่อ  รศ.ดร.ปราโมทย์ จันทร์เรือง

 

โซเชียลหนุน"หมอวรงค์"นั่งหัวหน้าประชาธิปัตย์ จุดเปลี่ยนพรรค-ยกเทียบ"มหาเธร์" ปราบคนชั่วร้าย