ชำแหละค่าโง่ 1.8ล้าน “ต่อขยายโทลล์เวย์” ที่การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ไม่ได้ก่อM

สืบเนื่องจากกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางที่ให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการที่ชี้ขาดให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)ชำระเงินค่าชดเชยรายได้ที่ลดลงแก่บริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด สำหรับ ปี พ.ศ. 2542 จำนวน 730,800,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ตามที่กำหนดในสัญญา และปี พ.ศ. 2543 จำนวน 1,059,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ตามที่กำหนดในสัญญา รวมเป็นเงิน 1,790,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย

 

ตามที่กำหนดในสัญญา กรณีมีการสร้างทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ – รังสิต เป็นทางแข่งขันที่ทำให้ปริมาณการจราจรและรายได้ค่าผ่านทางของทางด่วนสายบางปะอิน – ปากเกร็ด ของบริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด  (NECL) ลดลงจากที่ประมาณการไว้ ซึ่งมีผลกระทบตามสัญญา และยกคำร้องของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าว  เมื่อวันที่21 ก.ย.2561 ที่ผ่านมา

 ทั้งนี้ศาลปกครองสูงสุด โดยที่ประชุมใหญ่เห็นว่า การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่คดีถึงที่สุด

 

สำหรับจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดเรื่องราวดังกล่าว เมื่อย้อนไปเมื่อวันที่ 21 พ.ย.38 ครม. ได้มีมติให้ กทพ.ดำเนินโครงการทางด่วนสายบางประอิน-ปากเกร็ด (แจ้งวัฒนะ-บางพูน-บางไทร) โดยให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินฌครงการ ต่อมาเมือวันที่ 27 ก.ย.39 กทพ. ได้ลงนามในสัญญากับNECL  มีระยะเวลา 30ปี ซึ่งสัญญาดังกล่าส ข้อ 16 ได้กำหนดถึง ทางที่มีลักษณะแข่งขันสรุปได้ว่า

 

“ถ้าในระหว่างระยะเวลาของสัญญากทพ. หรือรัฐบาลได้ดำเนินการก่อสร้าง หรือปรับปรุงถนนหรือทางหลวงจนได้มาตรฐานเช่นเดียวกับทางพิเศษภายในขอบเขตพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับทางด่วน และการก่อสร้างหรือปรับปรุงถนนดังกล่าวมีผลประทบอย่างแรงที่ทำให้ปริมาณการจราจรที่ใช้ทางด่วน หรือรายได้ที่จะได้รับจากการใช้งานดังกล่าวลดลงจากประมาณการที่กำหนดไว้ในแต่ละปี เกินกว่าร้อยละ 5กทพ. จะชดเชยรายได้ค่าผ่านทางส่วนที่ลดลง...”

 

ชำแหละค่าโง่ 1.8ล้าน “ต่อขยายโทลล์เวย์” ที่การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ไม่ได้ก่อ?

 

เมื่อวันที่ 18 ก.พ.40 ครม.ได้มีมติให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างต่อขยายทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ ช่วงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ-รังสิต จากมติครม.ดังกล่าว NECL ได้มีหนังสือถึง กทพ. เมื่อวันที่ 11 มี.ค 40 แจ้งว่า จะเกิดผลกระทบทางด้านการเงินของบริษัทอย่างแรง เพราะส่วนต่อขยายดังกล่าวถึงเป็นทางแข่งขันกับทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ดต่อมา กทพ.ได้รายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย (กระทรวงเจ้าสังกัด) และกระทรวงมหาดไทยได้นำเสนอครม. เพื่อทราบว่า ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ดอยู่บนสมมติฐานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 39 ซึ่งรัฐจะพิจารณาก่อสร้างโครงการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ในชั้นต้นให้สิ้นสุดเพียงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ

 

ดังนั้นมติครม 18 ก.พ.40 ย่อมทำให้สมมติฐานข้างต้นเปลี่ยนแปลงไป และอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นไปได้ทางการเงินของบ. จนถึงขนาดที่ กทพ. ต้องชดเชยรายได้ให้แก่บ. โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 ก.ย.40 รับทราบผลกระทบของการต่อขยายโครงการทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์ไปจนถึงรังสิตที่จะมีต่อโครงการทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ดของกทพ. ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสมอ

จากกรณีดังกล่าว ในวันจันทร์ที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมาผู้บริหาของการทางพิเศษ จะประชุมเพื่อหาแนวทางในการดำเนินการต่อไป ขณะที่คณะกรรมการ(บอร์ด) กทพ. มีกำหนดประชุมในวันที่ 26 ก.ย.

 

ชำแหละค่าโง่ 1.8ล้าน “ต่อขยายโทลล์เวย์” ที่การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ไม่ได้ก่อ?

 

และล่าสุดวันเมื่อวันที่25ก.ย.ทางสหภาพแรงงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (สร.กทพ.)ได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ สร.กทพ. ร่วมรับฟัง กรณี “กทพ.แพ้คดี #ทางแข่งขันทางพิเศษอุดรรัถยา ต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้เอกชน เป็นเงินกว่า 4 พันล้านบาท “  พร้อมทั้งการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ นัดแต่งดำผูกริบบิ้นสีดำเป็นการประท้วงเพื่อเป็นการแสดงออก " ว่าพวกเราไม่เห็นด้วย กับความเสียหายที่พวกเราไม่ได้ก่อไว้ "

 

ชำแหละค่าโง่ 1.8ล้าน “ต่อขยายโทลล์เวย์” ที่การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ไม่ได้ก่อ?

 

 โดยทาง สร.กทพ.เห็นว่า ค่าชดเชยตามคำพิพากษาที่เกิดขึ้น  การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมิได้เป็นผู้ก่อสร้างทางแข่งขันดังกล่าว หากแต่เป็นผลเนื่องจากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวัน 18 ก.พ.40 ให้ดำเนินการโดยการทางพิเศษฯ ได้แจ้งถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจนถึงขนาดที่การทางพิเศษฯจะต้องชดเชยรายได้ให้แก่บ. และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวะนที่30ก.ย.40 รับทราบผลกระทบดังกล่าวแล้ว สร.กทพ. ในฐานะตัวแทนพนักงานขอวิงวอนต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน โปรดพิจารณาเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการทางพิเศษฯ เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างว่า หากหน่วยงานภายใต้รัฐบาลดำเนินการตามนโยบายของรัฐแล้ว รัฐจะร่วมรับผิดชอบและดูแล  อย่าปล่อยลอยแพให้การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่เราไม่ได้ก่อ

 

ชำแหละค่าโง่ 1.8ล้าน “ต่อขยายโทลล์เวย์” ที่การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ไม่ได้ก่อ?

 

ทั้งนี้หากย้อนไปตรวจสอบมติรัฐบาลเมื่อ 30ก.ย.40  ซึ่งตรงกับยุคของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายเสนาะ เทียนทองเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย