ทำไมวันนี้ถึงดาหน้าออกมาเรียกร้องให้มีการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี และทั้ง ๆ ที่กระบวนการเลือกตั้งเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น

ยังคงเป็น  Talk of The town  จนถึงชั่วโมงล่าสุดสำหรับ "พรรคพลังประชารัฐ"    นับจากวันเปิดตัวคณะผู้บริหารจนมาถึงการชี้แจง เหตุผลทำไมยังคงเลือกทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน  ในส่วนที่ต้องรับผิดชอบสำหรับ 4 รัฐมนตรีต่อไปในระยะนี้  พร้อมอธิบายชัดเจนว่ามีขั้นตอนลำดับดำเนินการอย่างไร  เพื่อให้ทุกฝักฝ่ายหยุดวิพากษ์วิจารณ์รายวัน ว่าเอาเปรียบทางการเมือง  ทั้ง ๆ ที่มีหลายองค์ประกอบให้ต้องพิจารณา  โดยเฉพาะข้อกฎหมาย ไม่นับรวมกับประสบการณ์การเมืองในอดีต   ที่เห็นๆกันอยู่ว่าโดยข้อเท็จจริงแต่ละคนมีสปริตมากน้อยกันขนาดไหน  ทำไมวันนี้ถึงดาหน้าออกมาเรียกร้องให้มีการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี  และทั้ง ๆ ที่กระบวนการเลือกตั้งเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น

 

กม.ตรงไหนให้ลาออก!? 4 รมต.แค่เปิดตัวเป็นผู้บริหาร"พลังประชารัฐ" พวกอ้างธรรมาภิบาลเจอ"บิ๊กตู่"ตอกหน้ายับ

 

ลงลึกในรายละเอียดเพื่อประเด็นความเข้าใจอย่างถูกต้องว่าจำเป็นอย่างถีงที่สุดแล้วหรือไม่  ในการที่ 4 รัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐต้องลาออกจากตำแหน่ง  โดยการแสดงสปริตเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง 

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  โต้ทุกกระแสกดดัน! 4 รมต."พลังประชารัฐ"แจงยิบมีภารกิจพัฒนาปท.ค้างต้องสานต่อ "สมคิด"พูดชัดถึงเวลาเขาจะลาออก)  

ล่าสุด  นายสนธิรัตน์  สนธิจิรวงศ์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  และในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ   เน้นย้ำประเด็นนี้อีกรอบแบบชัดเจนไม่ต้องตีความว่า  ตนมีไทม์มิ่งอยู่ในใจแล้วว่าจะตัดสินใจสวมหมวกใบเดียวเมื่อใด  พร้อมยังระบุถึงขั้นว่า  จะทำให้ดีกว่ามาตรฐานที่เคยทำกันมา นี่คือสิ่งที่เรายืนยัน ทุกคนตระหนักดีว่าอะไรเหมาะอะไรควร  เมื่อถูกถามว่าการตัดสินใจจะเกิดขึ้น  เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมาหรือไม่ ?? 

 

กม.ตรงไหนให้ลาออก!? 4 รมต.แค่เปิดตัวเป็นผู้บริหาร"พลังประชารัฐ" พวกอ้างธรรมาภิบาลเจอ"บิ๊กตู่"ตอกหน้ายับ

 

จากคำยืนยันนายสนธิรัตน์อีกรอบ และอาจต้องตอบซ้ำ ๆ เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเกิดประเด็นใหม่ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์  ตามธรรมชาติการสู้ศึกเลือกตั้ง   ควรยิ่งจะได้มีการพิจารณาข้อกฎหมายประกอบเพื่อความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ว่าโดยข้อเท็จจริงการที่ 4 รัฐมนตรียืนยันหลักการ  ยังไม่ถึงเวลาเหมาะสมต้องลาออกจากตำแหน่งเป็นข้อกล่าวอ้างลอย ๆ หรือไม่  อย่างไร

 

เริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560   ซึ่งไม่มีข้อห้ามใด ๆ  สำหรับการประกาศตัวทำงานการเมืองในนามพรรคประชารัฐของทั้ง 4 รัฐมนตรี   ต้อง "ลาออก" จากตำแหน่ง  ส่วนในอนาคตเมื่อเข้าสู่โหมดการเลือกตั้ง  เป็นอีกกรณีต้องตรวจสอบต่อไปว่า   4  รัฐมนตรีจะสามารถการลงรับสมัครเลือกตั้งได้หรือไม่  หรือ มีทางเลือกการทำงานการเมืองในรูปแบบอย่างไร เพื่อต่อยอดยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ 20 ปีให้ประสบผลสำเร็จ     จากรายละเอียดของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ   ว่าด้วยคุณสมบัติผู้รับสมัครเลือกตั้ง ที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบ

 

อาทิเช่น  ตามมาตรา 98  ระบุว่า  บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ

(2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

(4) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 96 (1) (2) หรือ (4)

(5) อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง

(6) ต้องคําพิพากษาให้จําคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล

(7) เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิด

อันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(8) เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่

หรือถือว่ากระทําการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ

(9) เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน

เพราะร่ํารวยผิดปกติ หรือเคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุกเพราะกระทําความผิดตามกฎหมาย

ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(10) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ หรือต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือหรือเจ้าสํานัก

กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน

(11) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง

(12) เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํานอกจากข้าราชการการเมือง

(13) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

(14) เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี

(15) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ  เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ

(16) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ

(17) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง

(18) เคยพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม

 

รวมถึงยังต้องพิจารณาประกอบกับตัวบทกฎหมายว่าด้วยบทเฉพาะกาล   รัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2560    ซึ่งระบุข้อตามรายละเอียดปรากฎว่า   มาตรา 264   ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้    เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้  จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่  และให้นําความในมาตรา 263  วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม

 

รัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง  นอกจากต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แล้ว ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้สําหรับรัฐมนตรีตามมาตรา 160  ยกเว้น (6) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา 98 (12) (13) (14) และ (15) และต้องพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 170 ยกเว้น (3) และ (4)

 

แต่ในกรณีตาม (4) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรา  98  (12) (13) (14) และ (15) และยกเว้นมาตรา 170 (5) เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการตามมาตรา 188 (1)

การดําเนินการแต่งตั้งรัฐมนตรีในระหว่างเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช  2557  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช  2557  แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559 แต่ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามวรรคสองด้วย

 

ขณะเดียวกันให้นําความในมาตรา 263 วรรคเจ็ด มาใช้บังคับแก่การสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งและวรรคสามด้วยโดยอนุโลม (เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกภายหลังจากวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้)

 

อย่างไรก็ตามในชั้นนี้  คงไม่ต้องอธิบายว่า  4 รัฐมนตรีจะตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่  หรือมีคุณสมบัติขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสมัครรับเลือกตั้ง  ว่าด้วยเงื่อนเวลาการพ้นจากตำแหน่งภายใน 90 วันนับจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560  เมื่อวันที่ 6 เม.ย.  2560  อย่างไร    เนื่องจากโดยข้อเท็จจริง  ดร.วิษณุ  เครืองาม  รองนายกรัฐมนตรี  ได้ชี้แจงอย่างมีนัยสำคัญแล้วว่า  "จะให้ทั้ง 4 คนหยุดทำงานคงไม่ได้  และ 4 รัฐมนตรีไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเอง   ต่างจากรัฐบาลของพรรคการเมืองที่ผ่านมา ที่หัวหน้ารัฐบาลและแกนนำรัฐบาลลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยตัวเอง"

 

เพราะประเด็นสำคัญที่สุดต้องย้ำก็คือ  4 รัฐมนตรีในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  ซึ่งยังเป็นเพียงผู้บริหารพรรคพลังประชารัฐ   คงสามารถปฏิบัติภารกิจต่อไปได้ตามกฎหมาย  เพื่อไม่ให้เกิดสุญญากาศทางการบริหารประเทศ   และทุกคนก็เข้าใจบทบาทของตนเองอย่างชัดเจน  เนื่องจากเป็นที่เฝ้าจับตาอย่างหนักจากกลุ่มพรรคการเมือง  และมวลชนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามคสช.   เช่นเดียวกับทุกรัฐบาลที่ผ่านมา  ซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรัฐบาลรักษาการ จนกระทั่งมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่

 

กม.ตรงไหนให้ลาออก!? 4 รมต.แค่เปิดตัวเป็นผู้บริหาร"พลังประชารัฐ" พวกอ้างธรรมาภิบาลเจอ"บิ๊กตู่"ตอกหน้ายับ

 

และด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของคำพูดของ  พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ว่าคิดอย่างไรกับกระแสกดดันต่อ 4 รัฐมนตรี ... การที่รัฐมนตรีไปทำงานการเมืองนั้น เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล  พูดมาหลายครั้งแล้ว และย้ำเตือนในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้วย  ว่า อย่าทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเสียหาย ขอให้ระมัดระวัง อย่าใช้อำนาจในทางการเมือง จนเกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ  อย่าทำให้เกิดการเข้าใจผิด  เพราะคำว่าประชารัฐในมิติของรัฐบาล หมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างประชาชนกับรัฐบาล เพื่อผลักดันให้งานพัฒนาประเทศเดินหน้าไปได้  

 

กม.ตรงไหนให้ลาออก!? 4 รมต.แค่เปิดตัวเป็นผู้บริหาร"พลังประชารัฐ" พวกอ้างธรรมาภิบาลเจอ"บิ๊กตู่"ตอกหน้ายับ

 

“คงไม่ได้ไปเอื้อประโยชน์อะไรกับใครทั้งสิ้น ไม่ได้เอื้อประโยชน์อย่างเช่นที่ผ่านมา หรือเปล่าก็ไม่รู้นะ  เพราะหลายคนออกมาพูดว่าจะเกิดอย่างนั้นอย่างนี้  แล้วเคยเกิดขึ้นบ้างหรือเปล่า แล้วใครเป็นคนทำ ถ้าไม่มีก็แล้วไป แต่ขอร้องอย่ามาอ้างว่า วันนี้จะมีการทำอย่างนั้นอย่างนี้ รัฐบาลนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดการเอื้อประโยชน์อยู่แล้ว เราจะดูแลพี่น้องประชาชนต่อไป สานต่องาน รักษาความสงบเรียบร้อย อะไรผิดกฎหมาย ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม”

 

ประเด็นโฟกัสสิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์  เน้นย้ำก็คือ  ข้อกฎหมายมีรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นที่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์กดดันให้ 4 รัฐมนตรีดำเนินการอย่างไร    “ผมเป็นรัฐบาลที่ต้องบอกว่ามีธรรมาภิบาล  สมัยที่คุณเป็นคุณมีธรรมาภิบาลหรือเปล่า ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน”??

 

ประโยคท้ายนี้ไม่ต้องแปรความเป็นอย่างอื่นใดในทางการเมือง  เพราะถ้าย้อนเทียบกับในยุคอดีต  ทุกพรรคการเมือง  ทั้งเพื่อไทย ,  ประชาธิปัตย์  และพรรคต่าง ๆ ในฐานะพรรครัฐบาล ต่างก็อยู่ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนถึงนาทีสุดท้ายทั้งสิ้น

 

ยกตัวอย่าง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้ประกาศยุบสภาอย่างเป็นทางการ โดยมีผลในวันที่ 10 พ.ค. 2554  เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 3 ก.ค. 2554  โดยนายอภิสิทธิ์ได้ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี จนถึงวันที่ 5 ส.ค. 2554  ก่อนพ้นจากตำแหน่งไป

 

กม.ตรงไหนให้ลาออก!? 4 รมต.แค่เปิดตัวเป็นผู้บริหาร"พลังประชารัฐ" พวกอ้างธรรมาภิบาลเจอ"บิ๊กตู่"ตอกหน้ายับ

 

ขณะที่ในยุคของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ตัดสินใจประกาศยุบสภา  เมื่อวันที่  9 ธ.ค. 2556  หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.จำนวนนับล้านคน  เดินขบวนกดดันให้รับผิดชอบนโยบายทุจริตรับจำนำข้าว  แต่ยังคงรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากการรักษาการในวันที่ 7 พฤษภาคม  2557 จากกรณีการโยกย้าย “ถวิล เปลี่ยนศรี” จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติโดยมิชอบ  จากนั้นนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล  ได้ทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทน  จนท้ายสุดเกิดการยึดอำนาจทางการเมืองโดยคสช.เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557   

 

กม.ตรงไหนให้ลาออก!? 4 รมต.แค่เปิดตัวเป็นผู้บริหาร"พลังประชารัฐ" พวกอ้างธรรมาภิบาลเจอ"บิ๊กตู่"ตอกหน้ายับ