"สุริยะใส" สรุปบทเรียน "14 ตุลา" คุณค่าของประชาธิปไตยที่มากกว่าการเลือกตั้ง

14 ตุลา วันมหาวิปโยค  นายสุริยะใส กตะศิลา พรรครวมพลังประชาชาติไทย  เล่าสรุป ถึงคุณค่าของประชาธิปไตยแท้จริง ที่มีความสำคัญมากกว่าการเลือกตั้ง

ครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์การก่อการกำเริบโดยประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก

 

เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นอกจากนี้ จอมพล ถนอม กิตติขจร จะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกไป ทั้งพลเอก ประภาส จารุเสถียร บุคคลสำคัญในรัฐบาล ที่มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพล ถนอม กิตติขจร กลับจะได้รับยศจอมพล และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตในวงราชการ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก

ล่าสุดทางด้านของ นายสุริยะใส กตะศิลา  หนึ่งในแกนนำผู้รวมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย  ออกมาแสดงความคิดเห็น..หยิบยกบทเรียน  วันมหาวิปโยค ในอดีต  กับสถานการณ์การเมือง ในปัจจุบัน อย่างน่าสนใจ ในหัวข้อ "รำลึก 45 ปี 14 ตุลาฯ 16 ...สถาปนาคุณค่าประชาธิปไตยที่มากกว่าการเลือกตั้ง"

 

นายสุริยะใส กตะศิลา

 

เนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถือเป็นโอกาสที่ภาคฝ่ายต่างๆควรสรุปบทเรียนทางการเมืองมองคุณค่าของประชาธิปไตยที่มากกว่าการเลือกตั้งและเปลี่ยนประชาขนจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นหุ้นส่วนของประเทศได้แล้ว

 

และการเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนอาจจะคาดหวังมากกว่าการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มาเพราะประชาชนอยากเห็นการเมืองไทยเดินไปในทิศทางที่เป็นการเมือง แบบใหม่หรือการเมืองที่มีประสิทธิภาพและมีประชาธิปไตยที่สามารถแก้ปัญหาทุกๆด้านได้อย่างเท่าทัน

 

แม้ประชาชนมีความเบื่อหน่ายทางการเมืองและไม่ไว้วางใจนักการเมืองมากขึ้นก็ตาม แต่ก็เป็นความเบื่อหน่าย ต่อการเมืองภาคผู้แทนหรือการเมืองของนักการเมือง

เพราะในอีกด้านหนึ่งนั้นการเมืองของภาคพลเมืองหรือการเมืองของพรรคประชาชนมีความตื่นตัวสูงมากขึ้นประชาชนได้แสดงบทบาททางการเมืองเรียกร้องสิทธิและอำนาจตัดสินใจทางการเมืองผ่านกลุ่มองค์กร และช่องทางใหม่ๆ ที่ไม่ใช่แค่ช่องทางพรรคการเมืองเท่านั้น

 

ที่สำคัญในรอบทศวรรษที่ผ่านมาแม้จะมีความขัดแย้งแตกแยกทางการเมืองแต่ในขณะเดียวกันประชาชนก็ได้เรียนรู้ ตื่นตัวและเท่าทันการเมืองภาคนักการเมืองมากขึ้นเช่นกัน

 

เหตุการณ์ 14 ตุลา

 

ดังนั้นถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคการเมืองและนักการเมืองยังมองประชาชนเป็นเพียงผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ว่านอนสอนง่าย หรือ ยังหลงเชื่อว่าวัฒนธรรมทางการเมืองของชาวบ้านอย่างติดกับดักอยู่ภายใต้ เครือข่ายอุปถัมภ์ดังเดิมนั้นอาจจะเป็นการประเมินที่ผิดพลาด

 

พรรคการเมืองและนักการเมืองต้องเรียนรู้และเข้าถึงรวมทั้งต้องยอมรับการเติบโตทางการเมืองและวัฒนธรรมใหม่ทางการเมืองที่ประชาชนเรียนรู้มากขึ้น และนักการเมืองต้องเลิกคิดเป็นผู้รับเหมาทำแทน ผมเชื่อว่าถ้านักการเมืองยอมรับและปรับตัวจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความหวังมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ไม่อธิบายก็มีพวกติดมั่ว!!! "พล.ท.นันทเดช" เฉ่งนักวิชาการย้อนประวัติศาสตร์14 ตุลาไม่รู้ลึก แค่อยากลุกขึ้นมาโจมตีรัฐบาลและทหาร... ??
- "เลขาฯสมช."ยันไร้สัญญาณชุมนุมบานปลายซ้ำรอย 14 ตุลา 16 ด้านการข่าวยังไม่มีอะไรน่าห่วง

 

14 ตุลา เรียกร้องประชาธิปไตย