เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?

การเข้ามาของ "วัฒนธรรมไอดอล" แบรนด์ BNK48 ได้สร้างปรากฏการณ์อันแปลกใหม่ขึ้นในวงการบันเทิงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นับเป็นเรื่องชวนฉงนอยู่ไม่น้อยเมื่อพบว่า สังคมไทยสามารถปรับตัวรับเอาวัฒนธรรมรูปแบบใหม่

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?

การเข้ามาของ "วัฒนธรรมไอดอล" แบรนด์ BNK48 ได้สร้างปรากฏการณ์อันแปลกใหม่ขึ้นในวงการบันเทิงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นับเป็นเรื่องชวนฉงนอยู่ไม่น้อยเมื่อพบว่า สังคมไทยสามารถปรับตัวรับเอาวัฒนธรรมรูปแบบใหม่ ที่เคยถูกท้าทายถึงความเป็นไปได้ว่าจะทนอยู่รอดไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือจะเลือนหายไปตามกระแสชั่ววูบ เฉกเช่นหลากหลายเรื่องราวที่ "เข้ามา" และ "ผ่านไป" 

และแน่นอน คงไม่มีใครคาดคิดว่า วงไอดอลวัยกระเตาะที่มีอายุย่างเข้าสองขวบปี จะสามารถสร้างกระแสคลื่นที่ถาโถม จนสะเทือนไปถึง "การเมือง" เมื่อ หัวหน้าวง นางสาวเฌอปราง อารีย์กุล หรือ "แคปเฌอ" ผู้ถือครองสถานภาพทางสังคมใหม่ที่เรียกว่า "ไอดอล" ถูกทาบทามจากรัฐบาลให้เป็นประหนึ่ง "กระบอกเสียง" ช่วยโปรโมทรายการ "เดินหน้าประเทศไทย" ในฐานะพิธีกร เหตุการณ์ดังกล่าวได้ลุกลามกลายเป็นประเด็นร้อนเพียงชั่วข้ามคืน เมื่อมีเสียงจากฟากฝั่ง "ลิเบอรัล" ที่เป็นไม้เบื่อไม้เบากับรัฐบาล คสช. กล่าวบริภาษเธออย่างรุนแรง พร้อมประดิษฐ์ถ้อยวลี "ผงซักฟอกเผด็จการ" ให้อย่างเสร็จสรรพ

 

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?
 

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?

จะด้วย "จำยอม" หรือ "เต็มใจ" ก็ตามที แต่สถานะและบทบาททางสังคมได้บังคับให้เธอตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก หาก "แคปเฌอ" ก็ยังเต็มเปี่ยมด้วยสปิริตทำหน้าที่ต่อไปอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ทว่าชนวนเหตุดังกล่าวได้กลายเป็นประเด็นทับซ้อนระหว่าง "การเมือง" และ "บันเทิง" จนบานปลายถึงกรณีการวิพากษ์รัฐบาล เมื่อ "การเลือกตั้งนายกฯ" ที่หลายฝ่ายจับตามอง กำลังกระชั้นชิดเข้ามาทุกขณะ เป็นเวลาเดียวกับที่  "การเลือกตั้งไอดอล" กำลังจะอุบัติขึ้นในไม่ช้า หากแต่อย่างหลังได้เริ่มเปิดม่านขึ้นก่อนแล้ว จึงนำมาซึ่งข้อถกเถียงจากความเข้าใจอันคลาดเคลื่อน ในกลุ่มคอการเมืองและคอไอดอล (บางคน) ทำนองว่า "การเลือกตั้ง BNK48 เกิดขึ้นก่อน การเลือกตั้งนายกฯ" หรือยิ่งกว่านั้นกับคำกล่าวที่ว่า "วงการไอดอลมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าการเมืองไทยเสียอีก . . ."  

หากเป็นแฟนคลับเดนตาย หรือ "โอตะ" คงไม่สะทกสะท้าน เพราะย่อมกระจ่างถึงกฏการเลือกตั้งไอดอลกันดีอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่กับอีกหลายคนโดยเฉพาะคอการเมือง ที่เกาะกระแสอย่างฉาบฉวย ไม่ถ่องแท้ว่าระบบการเลือกตั้งไอดอล "ไม่ได้เป็นการเลือกตั้งแบบ 1 สิทธิ์ 1 เสียง"  เพราะแท้จริงแล้ว เป็นเพียงประเพณีการคัดเลือกสมาชิกในวง (เมมเบอร์) ให้เข้ามามีส่วนร่วมหน้าฉากในซิงเกิ้ลถัดไป หรือที่เรียกว่า "เซมบัตสึ" ด้วยการใช้ "กำลังทรัพย์" ของเหล่าแฟนคลับเป็นตัวกำหนด ผ่านวิธีการซื้อซีดีที่ทาง Official ประกาศขาย ราคา 350 บาท โดยในกล่องจะมีบัตรลงคะแนนเพื่อใช้โหวตไอดอลคนที่ตนชื่นชอบ จะซื้อกี่แผ่นหรือกี่โหวตก็สุดแล้วแต่เงินในกระเป๋าจะอำนวย

 

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?

นั่นหมายความว่า เมมเบอร์คนใดมีฐานแฟนคลับเหนียวแน่นมีกำลังจ่ายสูงกว่า ก็แทบจะ "ลอยลำ" ขณะที่เมมเบอร์บางคน ที่กึ้งกึ่งจะเป็นไอดอลชายขอบเพราะด้อยกว่าในแง่ปริมาณแฟนคลับ อาจต้องลุ้นให้มีเศรษฐีเร้นกายอยู่ในกลุ่มแฟนคลับ มาช่วยอุปถัมภ์ทุ่มเงินซื้อเสียงโหวตเพื่อมาเกทับ มิฉะนั้น โอกาสที่จะได้เป็นเซมบัตสึในครั้งนี้ อาจถึงกับต้องมืดมนอนธการ 

แต่อย่างน้อยคำว่า "เลือกตั้ง" ก็ยังดูมีมนต์ขลังชวนให้น่าสนใจ มากกว่าคำว่า "ประมูลตำแหน่ง" ที่ฟังแล้วไม่น่าอภิรมย์ คล้ายจะเป็นการใช้อำนาจเงินตรามาตัดสินชะตาอนาคตของเหล่า "ไอดอล" แบบไม่ชวนฝัน . . .

 

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?

การล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตยไทย ส่งผลให้ความเข้าใจของสังคมไทยที่มีต่อระบบการปกครองอันซับซ้อนเป็นไปอย่างตื้นเขิน จนเกิดเป็นการผลิตซ้ำในรูปแบบของ การยึดมั่นถือมั่นกับ "การเลือกตั้ง" ที่เป็นเพียงองค์ประกอบและเครื่องมือที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย มากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับหลักมูลฐานในแง่ของ การให้ความเคารพ ความเท่าเทียม และสิทธิเสรีภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริบททางสังคมและการเมืองได้สร้างขอบเขตบางประการ ทำให้การรับรู้ถูกจำกัดอยู่เพียงการยกมือหามติเอกฉันท์เลือกหัวหน้าห้องในวัยเยาว์ หรือการเข้าคูหาเพื่อกากบาทเท่านั้น

ท่ามกลางการชักเย่อทางความคิดของหลายฝักฝ่าย ที่เฝ้ารอคอยการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ส่งผลให้บรรยากาศในห้วงเวลานี้เริ่มเขม็งเกลียวขึ้นตามลำดับ แต่อย่างน้อยอีกหนึ่งการเลือกตั้งที่กำลังจะอุบัติขึ้นในวันที่ 26 มกราคม 2562

 

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?

ในคอนเซปต์ "Senbatsu Members" will be chosen by "YOU" ก็อาจเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างสีสัน และช่วยลดความตึงเครียดได้ไม่มากก็น้อย คงจะเป็นการดีหากต่างฝ่ายต่างลดราวาศอก หันมาร่วมทัศนาเหล่าไอดอล พร้อมชูแท่งไฟ เอาใจช่วย "เมมเบอร์" ที่ใช่ "โอชิ" ที่ชอบ ส่วนอนาคตและผลบั้นปลายของการเลือกตั้งจะออกมาเป็นอย่างไรนั้น . . . ให้คุกกี้ทำนายกัน

 

เกาะกระแส "ไอดอลสาว" บนทาง "สองแพร่ง" กับ "การเลือกตั้ง 選抜総選挙" ที่ไม่ใช่ "การเลือกตั้ง 首相総選挙" ?