"อุตตม" ลั่นเดินหน้าพัฒนาแรงงานทุกมิติ รับมือเศรษฐกิจโลกเปลี่ยน

"อุตตม" ลั่นเดินหน้าพัฒนาแรงงานทุกมิติ รับมือเศรษฐกิจโลกเปลี่ยน

"อุตตม" ลั่นเดินหน้าพัฒนาแรงงานทุกมิติ รับมือเศรษฐกิจโลกเปลี่ยน

 

วันนี้ (30 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "นายอุตตม สาวนายน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "Factory 4.0 : อุตสาหกรรมมั่นคง ของแรงงานไทย" ณ สำนักงานเทศบาลตำบลแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการว่า ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้า และระบบเศรษฐกิจโลกมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมาจากปัจจัย ด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และนวัตกรรมทำให้ทุกภาคส่วน เริ่มมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการทำงานตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยอีกปัจจัยที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสาคัญและเล็งเห็นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการ ดาเนินธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม โดยการปรับเปลี่ยนทักษะ (Re-skill) และเพิ่มทักษะ (Up-skill) ฝีมือและความชำนาญทั้งในเชิงคุณภาพและมาตรฐานของแรงงานไทย ให้สอดรับกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง


"นายอุตตม" กล่าวด้วยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงความสาคัญในพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในเรื่อง Factory 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งรัฐจะให้การสนับสนุนส่งเสริมให้ภาคเอกชน มีประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น ช่วยลดต้นทุนและความยุ่งยากในการใช้บริการกับภาครัฐลง การพัฒนาชุมชน การส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และการดูแลองค์ประกอบสาคัญ ของเศรษฐกิจฐานราก รวมไปถึงการใส่ใจสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ อีกทั้งยังคงมุ่งเน้นเรื่อง การพัฒนาแรงงานควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมไปถึงการสร้างงานและอาชีพเสริมโดยเฉพาะผู้สูงวัยในภาคการผลิตที่จะกลับสู่ชุมชน คนเหล่านี้ต้องอยู่ได้โดย "ไม่เป็นภาระลูกหลาน" ซึ่งจะเน้นการทางานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน

 

นอกจากนี้ปัจจัยความสาเร็จของการช่วยยกระดับชุมชน คือ การส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ประกอบการโรงงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต Productivity) ให้ดีขึ้นเพื่อให้ธุรกิจเกิดความเข้มแข็ง มีแรงขับเคลื่อนเสมือนหัวรถจักรที่จะช่วยดึงภาคชุมชนและสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้เข้มแข็งเช่นกัน ดังนั้น ภาคเอกชนจะเป็นกลไกในการช่วยเหลือชุมชน ส่วนภาครัฐจะเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุน เชิงนโยบาย ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อให้การขับเคลื่อนและพัฒนาด้านแรงงานภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้ครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 3 กลุ่ม ได้แก่

 

1. การพัฒนากาลังคนในระดับอาชีวะ เน้นผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนร่วม และสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในระดับอาชีวะร่วมกับภาครัฐและภาคการศึกษาให้สอดคล้อง กับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น โครงการสัตหีบโมเดล Kosen โมเดล Flex Campus โมเดล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบผสมผสาน ทั้งการทดลอง การฝึกงานทั้งใน และต่างประเทศเพื่อให้มีประสบการณ์ในสถานการณ์จริงและการบรรยายเชิงทฤษฎี ให้ความรู้ ด้านเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

 

2. การพัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับผลิตภาพและประสิทธิภาพ ของอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เตรียมตัวเข้าสู่ Thailand 4.0 ซึ่งมีการดาเนินการอย่างครบวงจร ตั้งแต่ การอบรมพัฒนาแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเฉพาะ การพัฒนาทักษะแรงงานแบบ Multi-Functional Skill การสร้างนักฝึกอบรม และผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภาพไปพร้อมกับวางแผนกาลังคน ตลอดจนการสนับสนุนการกาหนดมาตรฐานและวางแนวทางการพัฒนาฝีมือแรงงานตามสมรรถนะหลัก (Core Competency) มีการบ่มเพาะสมรรถนะหลักในอนาคตที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละอุตสาหกรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงสู่ Industry 4.0 โดยในปี 2562 เฉพาะในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมเองจะมีการพัฒนาแรงงานประมาณ 70,000 คน และหากนับการได้มีการดาเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2560 2562 จะมีการพัฒนาแรงงานรวมถึง 210,000 คน

 

3. การพัฒนาแรงงานสูงอายุหลังเกษียณ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับแรงงานสูงอายุหลัง การเกษียณ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่วัยเกษียณ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่ม ผู้เกษียณอายุ ในช่วงอายุ 55 60 ปีที่มีความตั้งใจที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจ ให้สามารถเขียนโมเดลธุรกิจอย่างง่าย มีเครือข่ายเชิงธุรกิจ และเกิดความภูมิใจในการประกอบธุรกิจของตนเอง นายอุตตม กล่าวสรุป โดย วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดปาฐกถา ในหัวข้อ "Factory 4.0 : อุตสาหกรรมมั่นคงของแรงงานไทย" เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แสดงความคิดเห็นและมุมมองที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาแรงงานภาคอุตสาหกรรมและการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกลสู่อนาคต ณ สานักงานเทศบาลตาบลแพรกษา สมุทรปราการ