จับตา ..การลงสัตยาบันฝ่าย”ประชาธิปไตย”? หนทางขวาง “บิ๊กตู่” นั่งต่อ นายก!!

จับตา ..การลงสัตยาบันฝ่าย”ประชาธิปไตย”? หนทางขวาง “บิ๊กตู่” นั่งต่อ นายก!!

ภาพใหญ่การเมืองประเทศไทย ปัจจุบันเป็นการต่อสู้กันระหว่างของ 2 ขั้วใหญ่   แบ่งออกได้เป็น 4กลุ่ม คือ 1. "ฝ่ายทักษิณ" เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย และ 2.ฝ่ายคสช.    ขณะที่ 3.พรรคประชาธิปัตย์  ที่ได้เปลี่ยนจากอดีตเคยเป็นคู่ขัดแย้ง มาถึงตอนนี้ได้เปลี่ยนมาเป็นตัวแปรหลัก และ 4. ตัวแปรอื่นๆ พรรคการเมืองที่พร้อมจะเข้าร่วมกับทุกฝ่าย ขอเพียงได้แต่จัดตั้งรัฐบาล

 

ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวจากพรรคประชาชาติ หนึ่งในพรรคการเมืองในเงาระบอบทักษิณ ที่นำโดย “วันมูหะมัดนอร์ มะทา” หัวหน้าพรรค ได้มีการเผยแพร่กระพือข่าวกิจกรรมทางการเมือง การลงสัตยาบัน ของพรรคการเมืองที่อ้างตนเป็นฝ่ายประชาธิปไตย  ที่จะเกิดขึ้น ในวันที่21 ธ.ค.นี้ พรรคการเมืองหลายพรรคที่สนับสนุนประชาธิปไตยจะไปร่วมลงสัตยาบัน เพื่อที่จะสนับสนุนว่า พรรคการเมืองใดที่รวบร่วมเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นเสียงของประชาชน ที่เกินครึ่งหนึ่ง หรือเกินกว่า250เสียง เราจะสนับสนุนให้พรรคการเมืองนั้นจัดตั้งรัฐบาล  ส่วนจะร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้นก็แล้วแต่เงื่อนไขที่ผู้ตั้งรัฐบาลกำหนด ทั้งนี้ หนึ่งในนั้นมีพรรคประชาชาติ แต่ยังไม่อยากกล่าวถึงพรรคอื่น ซึ่งมีประมาณเกือบ 10 พรรคการเมือง  เช่น พรรคอนาคตใหม่ พรรคภูมิใจไทย หรือแม้กระทั้งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนในการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวหรือไม่

 

เบื้องต้นการลงสัตยาบันในครั้งนี้จะไม่เอาพรรคการเมืองที่ได้เสียงจากสภาผู้แทนราษฎรต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง เนื่องจากจะเป็นปัญหา และจะเป็นการแสดงความที่ไม่เคารพต่อเสียงของประชาชน ในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในครั้งหน้า

 

จับตา ..การลงสัตยาบันฝ่าย”ประชาธิปไตย”? หนทางขวาง “บิ๊กตู่” นั่งต่อ นายก!!

 

ประเด็นที่น่าจับตามองคือพรรคประชาธิปัตย์จะตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวหรือไม่  เพื่อให้เกิดความกระจ่างสำนักข่าวทีนิวส์ทีนิวส์ได้สอบถามไปยังทางด้านของนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ถึงความชัดเจนในกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะเข้าร่วมการลงนามครั้งนี้ โดยนายนิพิฏฐ์ กล่าวว่าในส่วนตัวนั้นตนไม่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว แต่ยังไม่แน่ใจว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้มอบให้ใครไปหรือไม่ อีกทั้งยังไม่ชัดว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้

 

หากพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆที่เกิด ดูเหมือนว่าจะมีความพยายามจากฝั่งระบอบทักษิณ ในการเชื้อเชิญ อ้าแขนรับต้อนรับพรรคประชาธิปัตย์ เหมาร่วมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  การที่จะผนึกกำลังหรือด้วยวาทกรรม”ฝ่ายประชาธิปไตย”ก็ดี  นั้นเพราะนี่อาจเป็นโอกาสเดียวที่จะขว้างทางไม่ให้ “บิ๊กตู่”  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นั่งเก้าอี้นายกฯต่ออีกหนึ่งสมัย

 

 จากสภาวะทางการเมืองหลังการเลือกตั้งตามรูปแบบการเลือกตั้งใหม่แบบสัดส่วนผสม ด้วยกลไกที่ถูกออกแบบมาไม่ให้มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด จึงสาเหตุรัฐบาลหน้าจะต้องเป็นรัฐบาลผสม ดังนั้นวินาทีนี้พรรคประชาธิปัตย์ และร่วมไปถึงพรรคภูมิใจไทย จะกลายเป็นตัวแปรสำคัญทางการเมือง   ส่วนหนึ่งสมการตัวเลขในการชี้ชะตาอนาคตประเทศชาติ ในการจัดตั้งรัฐบาล   และจะต้องเลือกว่าอยู่ขั้วไหน ระหว่าง ฝ่ายที่อ้างตัวเป็น “ฝ่ายประชาธิปไตย” หรือ ฝ่ายที่สนับสนุน  พล.อ.ประยุทธ์

 

 

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ โดยนายอภิสิทธิ์เอง ก็ยังสงวนท่าที  ประกาศยึดหลักการประชาธิปไตย  ตั้งแง่กับพรรคการเมืองที่สนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ ขณะเดียวกันก็ประกาศ ไม่ร่วมสังฆกรรมพรรคเพื่อไทย หากยังอยู่ในความดูแลของครอบครัวชินวัตร  แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่คำพูดชัด ๆออกมาจากปากนายอธิสิทธิ์

 

ก่อนหน้านี้ได้เกิดกิจกรรมทางการเมืองในรูปแบบที่คล้ายกัน  ภายใต้ชื่อ "ปฏิญญาหลานหลวง"  เบื้องหน้านำโดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วยมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิองค์กรกาเพื่อประชาธิปไตย เป็นเจ้าภาพเชิญทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคพลังประชารัฐ เพื่อประชุมหารือเพื่อแสวงหาความเห็นพ้องก่อนเลือกตั้ง

ครั้งแรกมีการพูดคุยกันที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ในครั้งนี้พรรคประชาธิปัตย์ให้น้ำหนักถึงขั้นส่ง นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์   ในการพูดคุยครั้งนี้ได้แนบโครงการถกแถลงแสวงหาความเห็นพ้องระหว่างพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้งทั่วไป. สาระสำคัญคือการหาฉันทามติของทุกพรรคการเมือง ก่อนและหลังเลือกตั้ง ถ้ามีความเห็นร่วมทั้งสองกรณีก็จะมีการเชิญชวนลงนามในสัตยาบัน

 

ต่อมาได้มีการเชิญประชุมครั้งที่สองเมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมงาน ทั้งฝั่งจากประชาธิปัตย์  ขั้วเพื่อไทยและพรรคสาขา  นาย นิกร จำนง จากพรรคชาติไทย  , นายสรอรรถ กลิ่นประทุม จากพรรคภูมิใจไทย   ได้มีการแนบร่างสัญญาฉบับที่หนึ่ง สัญญาที่พรรคการเมืองของไว้ให้กับประชาชนในโอกาสการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2562 สัญญาที่พรรคการเมืองของให้ไว้แก่ ประชาชนว่าจะปฏิบัติตามสัญญาที่ลงนามร่วมกันอย่างเคร่งครัดและจริงใจ

 

ก่อนการเลือกตั้งพรรคการเมืองของให้สัญญาว่าจะปฏิบัติตามจรรยาบรรณการหาเสียงการเลือกตั้งดังต่อไปนี้

 

1 จะเคารพและปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกฎหมายเลือกตั้งและ กฎระเบียบที่กำหนดโดยชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

2 จะไม่กระทำการใดใดที่เป็นการซื้อเสียง จะไม่ใช้กลไกหรือ ทรัพยากรของรัฐเพื่อประโยชน์ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงเลือกตั้ง

3 จะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งด้วยสันติวิธีและไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ

4 จะไม่ใช้ถ้อยคำและภาษาที่ร้อนแรงจะไม่ให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะไม่ใช้การข่มขู่และไม่ใช้วาจาที่ปลุกเร้าให้เกิดความรุนแรง

5 จะเคารพสิทธิของพรรคการเมืองทุกพรรคที่จะรณรงค์หาเสียงโดยปลอดจากความหวัดกลัวและการถูกข่มขู่และขอยืนยันว่าจะไม่ไปก่อกวนการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองใดๆ

 

ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ทำสัญญาหลังการเลือกตั้งพรรคการเมืองขอให้สัญญาว่าจะเคารพเสียงของประชาชนและเร่งดำเนินการเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรมที่ระบุว่า

 

 “พรรคการเมืองที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลจะต้องมีเสียงสนับสนุนเกินกว่าตึงหนึ่งของสมาชิกผู้แทนราษฎร”

 

นั่นหมายความว่าถ้าแต่ละขั้ว - พรรคการเมือง ร่วมลงนามและยึดปฎิบัติตามร่างสัญญานี้  ก็จะสอดคล้องกันทันทีกับการที่พรรคประชาชาติไทย  ได้เปิดเผยกิจกรรมการลงสัตยาบัน ในวันที่21 ธันวาคมที่จะถึงนี้