"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"

ก็มิใช่เรื่องเหนือคาดหมายหากเป็นปกติวิสัยด้วยซ้ำ กับพฤติกรรมตามประสาคนวัยดึกที่มีความเป็น "นักการเมือง" กำซาบอยู่ในทุกอณู ภายหลังประกาศ "ปลดล็อคพรรคการเมือง" ที่ราวกับเป็นการปลดโซ่ตรวนให้ออกมาโลดแล่นโผงผาง เพราะนอกจากจะเป็นสัญญาณให้เริ่มเคลื่อนไหวเชิงนโยบายได้แล้วนั้น

ก็มิใช่เรื่องเหนือคาดหมายหากเป็นปกติวิสัยด้วยซ้ำ กับพฤติกรรมตามประสาคนวัยดึกที่มีความเป็น "นักการเมือง" กำซาบอยู่ในทุกอณู ภายหลังประกาศ "ปลดล็อคพรรคการเมือง" ที่ราวกับเป็นการปลดโซ่ตรวนให้ออกมาโลดแล่นโผงผาง เพราะนอกจากจะเป็นสัญญาณให้เริ่มเคลื่อนไหวเชิงนโยบายได้แล้วนั้น พลพรรคพวกใครพวกมัน...ก็ต่างเฮฮะโลเกทับข่มกันไปมา สาดเสียเทเสียทำประหนึ่งว่าประชาชนหูตามืดมัว..เขลาเบาปัญญาในยุคที่ข่าวบ้านการเมืองและข้อเท็จจริงในโลกหล้าอยู่เพียงปลายนิ้วสัมผัส

"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"


ใครจะปฏิเสธไปเสียได้ว่า ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จัดเป็นนักการเมืองมือเก๋าที่ผ่านร้อนหนาวในเกมแห่งอำนาจและทรงอิทธิพลสูงยิ่งในหมู่มวลชนโทนแดน ทุกความเคลื่อนไหวจึงถูกจับจ้องและได้รับความสนใจมาโดยตลอด ล่าสุดเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้า กับการแถลงข่าวในฐานะหัวหน้าคณะกรรมการรณรงค์หาเสียง "พรรคเพื่อไทย" ที่ไม่วายพาดพิงถึง "พรรคพลังประชารัฐ" ที่ตัวเขานั้นถือมั่นว่าเป็นขั้วตรงข้าม ด้วยการ "ชักแม่น้ำทั้งห้า" จูงให้คล้อยตาม ด้วยการพุ่งเป้าประเด็นไปยังกระบวนการได้มาซึ่งนายกฯ ที่เขาเชื่อว่า "ไม่มีความชอบธรรม" พร้อมโอ่ว่าตนนั้นอยู่ในสนามการเมืองมานาน อ่านเกมขาดอย่างปรุโปร่งว่า "พรรคพลังประชารัฐ" เอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น ผลบั้นปลายอย่างไรเสีย "พรรคเพื่อไทย" จะชนะ และ "พรรคพลังประชารัฐ" ต้องแพ้อย่างแน่นอน 

 

"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"

กึ้งกึ่งจะเป็นการ "ตีรวน" อยู่ในที...แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือการที่ ร.ต.อ.เฉลิมประหวัดไปยัง คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ที่แม้นจะอยู่วิมานพรรคเพื่อไทยจงรักภักดีต่อนายคนเดียวกัน แต่ใครก็ต่างรู้ดีว่าทั้งสอง นั้น "ศรศิลป์ไม่กินกัน" เท่าใดนัก แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้ ทางคุณหญิงสุดารัตน์ เครื่องจะร้อนเดินหน้าเต็มกำลังเล่นลูกออดหยอดคำหวานอย่างมีชั้นเชิงสร้างหวังกระจายฐานแฟนคลับ ที่แต่แรกกระจุกตัวอยู่แต่เหนือ-อีสาน ตรงข้ามกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ถึงแม้จะปัดว่าตนไม่ได้อยู่ในส่วนของยุทธศาสตร์พรรคอาจด้วยเพราะอายุอานามและสังขารที่ร่วงโรยตามวัย...แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่าคงครองลุคดำเนินกลยุทธ์แบบ old-school โพทนาฝ่ายตรงข้ามมากกว่าที่จะเน้นเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์

อีกด้านหนึ่งก็ดูเหมือนว่า "ตำราพิชัยฉบับแตกพรรค" ของ "พรรคเพื่อไทย" ก็มีอันต้องตกไป เมื่อมีกระแสข่าวว่า พรรคเครือข่ายอย่าง "พรรคเพื่อธรรม" ได้รับคำสั่งตรงจากนายทักษิณ ให้ผู้อยู่เบื้องหลังคือเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ผู้มีศักดิ์เป็นน้องสาว ลดบทบาทลงอาจด้วยเพราะมี "ชนักติดหลัง" จากคดีโกงมโหฬาร "โครงการรับจำนำข้าว" ที่รู้กันไปทั้งบาง

 

"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"

กลับมาที่ความเป็นไปได้ถึงชัยชนะของ "พรรคเพื่อไทย" การไปถึงฝั่งฝันในการเลือกตั้ง 2562 ดูจะไม่ง่ายเช่นแต่ก่อน จากกฏหมายฉบับใหม่ว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อมิให้พรรคใดพรรคหนึ่งมีอภิสิทธิ์ผูกขาดฐานเสียงในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะ "พรรคเพื่อไทย" ที่ก่อนหน้าดูประหนึ่งว่าถือครองสัมปทานพื้นที่ อีสาน-เหนือ ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธ์แบบ "ผีโม่แป้ง" หรือเป็นเพราะนโยบายที่ถูกตาต้องใจก็ดี แต่การเลือกตั้งในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "สัดส่วนผสม" แทนที่ระบบเดิมนั้น ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นระบบเลือกตั้งที่เป็นธรรมที่สุด เพราะทุกเสียงของประชาชนจะมีความหมาย และเป็นการกำหนดเพดานของ สส. แต่ละพื้นที่ไปในตัว จึงทำให้พรรคเก่าแก่และคนหน้าเดิมเกิดอาการอกสั่นขวัญแขวนมิอาจชะล่าใจได้อีกต่อไป...จนต้องแตกเป็นพรรคเล็กพรรคน้อยดังที่ปรากฏ

"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"

 

จากข้อมูลเชิงตัวเลขในปี 2554 ระบุว่า ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ "พรรคเพื่อไทย" ได้รับชัยชนะนั้นคือจำนวน ส.ส. ในพื้นที่ภาคอีสานและเหนือที่มีถึง 104 คน และ 49 คน ตามลำดับ ในขณะที่ ส.ส.ของ "พรรคประชาธิปัตย์" ที่มีสถานะเป็น "คู่ขับเคี่ยว" ในพื้นที่ดังกล่าว มีเพียง 4 และ 13 คน ตามลำดับเท่านั้น ตรงกันข้ามกับพื้นที่กรุงเทพฯ และ ภาคใต้ ที่ "พรรคประชาธิปัตย์" กวาดเก้าอี้ ส.ส. ได้ถึง 23 และ 50 คน ตามลำดับ อันจะเห็นได้ว่าการเลือกระบบสัดส่วนผสมและการแบ่งเขตแบบใหม่ จะเป็นการกระจายโอกาสให้การแข่งขันเป็นไปอย่างยุติธรรม เพราะเป็นที่แน่นอนแล้วว่า "พรรคเพื่อไทย" มิอาจผูกขาดเก้าอี้ ส.ส. ในพื้นที่เดิมได้อีกต่อไป

"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"

และสำหรับ "พรรคพลังประชารัฐ" ที่ดูจะมาแรงจนเป็นที่น่าจับตามองในห้วงเวลานี้ ด้วยเพราะเป็นการรวมตัวของบุคลากรจากหลากหลายวิชาชีพ ทำให้จินตนาภาพได้ถึงเหล่า "เทคโนเครต" ที่จะมาบริหารงานในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมหากชนะการเลือกตั้ง จึงมีภาษีดีกว่าอีกหลายพรรค อีกประการหนึ่งที่น่าจับตามองคือการสงวนท่าทีของ "พรรคประชาธิปัตย์" ที่มีอำนาจแฝงในแง่ของผลคะแนนการเลือกตั้ง เสมือนพรรคตัวแปรทีอาจพลิกเกม ให้ "พรรคเพื่อไทย" ที่เคยผงาดตกกลายเป็น "มวยรอง" 

ครั้นแล้วก็ยิ่งให้ประจักษ์ถึงความลักลั่นต่อคำกล่าว ของ ร.ต.อ.เฉลิม  เพราะมิต้องถึงขนาดปราดเปรื่องนักก็รู้แกวกันดีว่าเป็นการข่มไปตามประสาเสียมากกว่า...เพราะความเป็นไปได้ที่ "พรรคเพื่อไทย" และก๊กที่สวามิภักดิ์จะได้ฉลองชัยชนะกันนั้น...ดูจะเลือนลางเต็มทีส่วนความขยันขันแข็งเพื่อเป็นการทิ้งทวนในสนามการเมืองที่เขากล่าวไว้นั้นก็อาจเป็นความ "สูญเปล่า" ก็เป็นได้

 

"เฉลิม" เย้ย  "พรรคพลังประชารัฐ" ความเป็นไป(ไม่ได้)ของ "พรรคเพื่อไทย" กับความขยันในบั้นปลายที่ดูจะ "สูญเปล่า"