ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด

สืบเนื่องจากกรณีที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับการนำเสนอของสื่อมวลชนบางสำนักมีลักษณะสวนทางกับข้อเท็จจริง จนทำให้ผู้เสพสื่อเข้าใจผิด ว่าด้วยประเด็นการแก้ปัญหาการถือครองที่ดินและการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 จนถึง ปัจจุบันว่า ทางนางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด

 

สืบเนื่องจากกรณีที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เกี่ยวกับการนำเสนอของสื่อมวลชนบางสำนักมีลักษณะสวนทางกับข้อเท็จจริง จนทำให้ผู้เสพสื่อเข้าใจผิด ว่าด้วยประเด็นการแก้ปัญหาการถือครองที่ดินและการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน ตั้งแต่ปี 2558 จนถึง ปัจจุบันว่า ทางนางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ออกมาเผยว่า ขณะนี้ได้วางกรอบพื้นที่ไว้ 884 พื้นที่ครอบคลุม 70 จังหวัด รวมเนื้อที่กว่า 1.3 ล้านไร่ ใน 6 ประเภทที่ดิน คือ ป่าสงวนแห่งชาติ 248 พื้นที่ 61 จังหวัด รวมกว่า 1.14 ล้านไร่

ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด

 

โดยเป็นการดำเนินงานต่อเนื่อง ในเบื้องต้นการจัดสรรที่ดินและออกหนังสืออนุญาตไปแล้วกว่า 473,050 ไร่ ใน 140 พื้นที่ 57 จังหวัด จัดสรรคนลง 165 พื้นที่ 52,362 คน รวม 66,733 แปลง ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ 118 พื้นที่ ใน 56 จังหวัดคือ ป่าสงวน ป่าชายเลน ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ที่ดินสาธารณประโยชน์ และที่ราชพัสดุ จะเน้นให้ประชาชนในพื้นที่ปลูกไม้มีค่า และไม้ยืนต้นสร้างรายได้ในระยะยาว แทนการปลูกพืชเชิงเดียว
 
พร้อมกันนั้นนายวีระยุทธ วรรณเลิศสกุล ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินและชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจในเบื้องต้นทำให้ ครม. มีมติเห็นชอบการแก้ปัญหาการอยู่อาศัยและทํากินในพื้นที่ป่าไม้ทุกประเภทที่มีการแก้กฎหมายพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพื่ออนุญาตให้ราษฎรอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์อย่างเกื้อกูลธรรมชาติภายในป่าอนุรักษ์ได้เป็นครั้งแรกของประเทศ

 

ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด

จากข้อมูลเหล่านี้สะท้อนได้ว่าแท้จริงแล้ว...เจตนารมณ์ของรัฐ ผ่านทางมติ ครม. คือการมุ่งเน้นจัดสรรปันส่วนให้ประชาชนในพื้นที่มีที่ดินทำกิน สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปรกติสุขและคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้กรอบมาตรการ 4 ประการอันได้แก่

1.จัดระเบียบการใช้ที่ดินทำกิน และรับรองการอยู่อาศัยทำกินในลักษณะแปลงรวม
2.กำกับควบคุมจัดการการใช้ที่ดินและป่าไม้ภายใต้การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ห้ามบุกรุกขยายพื้นที่
3.ฟื้นฟูสภาพป่าในรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมราษฎรปลูกป่า 3 อย่าง
4.ใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการชะล้างพังทลาย

 

ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด
 
ตอกย้ำเจตนารมณ์ของรัฐบาลให้ชัดเจนมากขึ้น ผ่านคำยืนยันจาก เลขาธิการ สผ. ว่า ไม่ได้ส่งเสริมให้คนเข้ามาบุกรุกป่า แต่เป็นการแก้ปัญหาด้วยโจทย์ว่าจะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าโดยไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์และรักษาป่าเดิมไว้ และที่สำคัญเพื่อให้ประชาชนสามารถอาศัยอยู่ในผืนป่าได้อย่างถูกกฏหมายจึงจำเป็นต้น ปลดล็อกกฎหมายบางตัว เช่น พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เรื่องพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นต้น

เพียงพอที่จะบ่งชี้ชัดว่า เป็นการ "จัดระเบียบ" มิได้เป็นการ "บุกรุก" เพื่อหวังผลอันเป็นอื่น ดังที่สื่อบางสำนักพยายามชักจูงให้คล้อยตาม แบบ "ยุแยงตะแคงรั่ว" โดยเฉพาะสื่อเจ้าใหญ่ที่มีพฤติการณ์คล้ายว่านัดแนะกันนำเสนอไปในทิศทางเดียวกัน ผ่านการ "พาดหัว" ที่ย้อนแย้งกับ "เนื้อหา" อย่างสิ้นเชิง ทำเอาผู้เสพสื่อที่ขาดวิจารณญาณบางรายนำไปแชร์ต่อบนโลกออนไลน์จุดประเด็นให้บานปลายมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วต่างผสมโรงวิพากษ์รัฐบาลอย่างรุนแรงทั้งที่ยังมิได้สังเคราะห์ข้อมูลหรืออ่านเนื้อหาให้ถี่ถ้วนเสียด้วยซ้ำ

 

ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด
 
แต่เมื่อพินิจแล้วจะพบว่าในห้วงเวลาที่บรรยากาศทางการเมืองคุกรุ่นขึ้นตามลำดับ การนำเสนอของสื่อจะมีลักษณาการเอนเอียงหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยเฉพาะข่าว "การเมือง" ที่มีรัฐบาลเป็น "ตัวแสดงหลัก" แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมต่อสังคมเพราะสื่อมวลชนถือเป็น "กระบอกเสียง" ของประชาชน การเผยแพร่ข่าวสารและเหตุการณ์ควรเป็นไปอย่างเที่ยงตรงปราศจาก "อคติ" ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงจะคิดเป็นอื่นใดไปเสียมิได้นอกจากเป็น "ผลประโยชน์" ที่แฝงอยู่ในเบื้องลึกเบื้องหลัง...หรือมิฉะนั้นอาจเป็นไปได้ว่าสื่อสำนักดังกล่าวถูกกลุ่มบุคคลใดแทรกแซงก็เป็นได้ทั้งสิ้น

 

ปม "จัดสรร" พื้นที่ป่า 5.9 ล้านไร่ "ปลดล๊อค" กม.​เดิม​..."พาดหัว" ชวนเข้าใจผิด ปัญหา "จรรยาบรรณ" สื่อหรือเคลือบแฝง "ผลลัพธ์" อันใด
 
อย่างไรก็ตามผลงานที่ประจักษ์ในระดับที่จับต้องได้ของรัฐบาลนั้น ก็มีอยู่หลากหลายมาตรการและนโยบายอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หนึ่งในนั้นคือ "แผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน" โดยกำหนดเป้าหมายคือ "การพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่าไม้ให้มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้ได้พื้นที่ป่าไม้อย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศภายใน 10 ปี" 
 
สะท้อนเป็นอย่างดีว่า รัฐบาล คสช. นั้นให้ความสำคัญทรัพยากรธรรมชาติไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านอื่น...ท้ายสุดแล้วในยุคสมัยที่เทคโนโลยีการสื่อสารเติบโตอย่างก้าวกระโดด ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็วได้เพียงชั่วอึดใจ หากทว่าจะมีการนำเสนอข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใดนั้น...ขึ้นอยู่กับ "จรรยาบรรณ" ของสื่อมวลชนส่วนหนึ่งแต่อีกด้านหนึ่ง "วิจารณญาณ" ของผู้เสพสื่อก็สำคัญด้วยเช่นกัน