รู้จัก “โบว์  อยากเลือกตั้ง” บทบาทนักประชาธิปไตย-ปราบโกง (ของเรา)..ไม่เท่ากัน?!!

รู้จัก “โบว์ อยากเลือกตั้ง” บทบาทนักประชาธิปไตย-ปราบโกง (ของเรา)..ไม่เท่ากัน?!!

นาทีคงไม่มีใครไม่รู้จัก “โบว์ อยากเลือกตั้ง” หรือ ณัฏฐา มหัทธนา เป็นหนึ่งในคณะบุคคลที่เดินหน้ารณรงค์เร่งการเลือกตั้ง นักเคลื่อนไหวทางการเมืองตัวยง  ผู้ที่ประกาศชัดเป็นว่าผู้ต่อต้านรัฐบาลคสช.   โดยยกเอาคำว่า “ประชาธิปไตย” เป็นเป้าหมายหลัก อยู่เหนือกว่าบริบทแวดล้อมใดๆที่เกิดขึ้น

 

รู้จัก “โบว์  อยากเลือกตั้ง” บทบาทนักประชาธิปไตย-ปราบโกง (ของเรา)..ไม่เท่ากัน?!!

แน่นอนว่าสังคมรู้จักน.ส.ณัฏฐาในบทบาทของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ก้าวออกมาต้านรัฐประหาร โดยเฉพาะในฐานะแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง อีกทั้งเคยเป็นอดีตพิธีกรให้กับช่องดังอย่าง “วอยซ์ทีวี” ดำเนินรายการ ดีว่าส์ คาเฟ่ และโคซี่ ลิฟวิ่ง  ซึ่งขณะนี้ประกอบอาชีพเป็น “ฟรีแลนซ์” งานคือเป็นวิทยากรองค์กร - อาจารย์พิเศษ ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สอนวิชาเกี่ยวกับการสื่อสาร และเป็นครูภาษาอังกฤษด้วย

 

จุดเริ่มต้นในการเข้าสู่เส้นทางการเมือง เกิดขึ้นหลังการรัฐประการยึดอำนาจเมือปี 49  หากย้อนไปเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 น.ส.ณัฏฐาได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Thai Voice โดยมีนายจอมเพชร ประดับ เป็นผู้ดำเนินรายการ ช่วงกลางของรายการนายจอมได้ตั้งคำถามถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้น.ส.ณัฏฐาเริ่มสนใจการเมืองและได้เข้ามาต่อสู้บนเส้นทางประชาธิปไตยได้อย่างไร ซึ่งน.ส.ณัฏฐากล่าวว่า ตนเริ่มสนใจถูกกระตุกหนักๆน่าจะเป็นตอนรัฐประหารเมื่อปี49 ซึ่งก่อนหน้านั้นก็เหมือนคนทั่วไปรู้ข่าวบ้าง แต่พอเกิดรัฐประหารปี49รู้สึกเหมือนถูกกระตุกว่า สิ่งนี้มันเกิดขึ้นได้ในพ.ศ.นี้ด้วยหรอ  เกิดขึ้นกับรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างถล่มทลายแบบนี้ด้วยวิธีแบบนี้ได้ด้วยหรอ จึงเกิดความสนใจที่จะยกระดับขึ้นมา

 

เมื่อพอติดตามมาเรื่อยๆ จึงเห็นความไม่เป็นธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นความสองมาตรฐานของกระบวนการจนกระทั่งมาถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุดที่เริ่มมี Actionเพราะว่าเป็นครั้งที่มีการประเมิน สิทธิมนุษยชนมากที่สุดและกระทบความรู้สึกของตน เป็นความรู้สึกที่บอกเมื่อกี้ ความรู้สึกพื้นฐานของความยุติธรรมทำให้รู้สึกว่านั่งดูอยู่เฉยๆน่าจะเจ็บกว่าการเดินออกมา ทำอะไรบ้าง

 

รู้จัก “โบว์  อยากเลือกตั้ง” บทบาทนักประชาธิปไตย-ปราบโกง (ของเรา)..ไม่เท่ากัน?!!

 

ทั้งนี้ น.ส.ณัฏฐา ในประเด็นการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการชักชวนของ ทนายอานนท์ นำภา ซึ่งเป็นหนึ่งในนักกิจกรรม และได้จัดกิจกรรม “เปิดหมวกช่วยนักโทษการเมือง”  โดยน.ส.ณัฏฐา ไปเล่นดนตรี ตีขิม บริเวณถนนข้าวสาร เป็นจุดเริ่มต้นในการเคลื่อนไหวครั้งแรก ต่อมาเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในฐานะ แกนนำ mbk39  ชุมนุมบริเวณสกายวอล์ก แยกปทุมวัน เมืองช่วงต้นปี ก่อนกลายร่างมาเป็น กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย แนวร่วมคนอยากเลือกตั้ง และเริ่ม จัดการชุมนุม เดินสายต่อต้านรัฐบาล ภายใต้วาทกรรม”โค่นล้ามเผด็จการ”  ร่วมกับนายรังสิมันต์ โรม ,นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว , นายเอกชัย หงส์กังวาน ,นายสุกฤษฎ์ เพียรสุวรรณ และ นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล เป็นต้น ที่ทำหน้าที่ให้การตรวจสอบโครงการต่างๆของรัฐบาลอย่างเข้มข้น อาทิ  การตรวจสอบนาฬิกาหรู ที่ไม่ได้ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี การจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพ และอื่นๆ

 

รู้จัก “โบว์  อยากเลือกตั้ง” บทบาทนักประชาธิปไตย-ปราบโกง (ของเรา)..ไม่เท่ากัน?!!

ตัวอย่างกรณี เมื่่อวันที่ 12 มิ.ย. 2561 น.ส.ณัฏฐา ได้ออกมาแสดงความเห็นบนเฟซบุ๊กส่วนตัวพร้อมกับประณามการใช้อำนาจริดลอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน จากที่มีรายงานข่าว การดำเนินคดีกับกลุ่มบุคคลที่แชร์ข้อความที่มีการเผยแพร่จากเฟซบุ๊กแฟนเพจที่มีจุดยืนต่อต้านรัฐบาล คสช.  โดย พล.ต.ต.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ได้ดำเนินคดีประชาชนที่แชร์ข้อความจำนวนทั้งสิ้น 7 ราย และอยู่ระหว่างออกหมายเรียกกว่า 20 ราย และออกหมายจับแอดมินเพจซึ่งอยู่ที่อังกฤษนั้น

 

ระบุว่า.. "ขอประณามอย่างรุนแรงต่อการออกหมายจับแอดมินเพจ KonthaiUk และตั้งข้อหากับประชาชนที่แชร์ข้อมูลวิพากษ์วิจารณ์ต่อกรณีที่มีข่าวว่ารัฐบาลจะซื้อดาวเทียมมูลค่า 91,200 ล้านบาท และตั้งคำถามต่อการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้ ในประเทศประชาธิปไตย การวิจารณ์และตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าวไม่เพียงไม่เป็นความผิด แต่ยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการตั้งคำถามและการตรวจสอบจากภาคประชาชนเป็นโอกาสให้รัฐบาลได้ตื่นตัวเพื่อป้องกันการคอรัปชั่นและชี้แจงอย่างเป็นทางการหากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความจริง คงมีเพียงเผด็จการเท่านั้นที่ต้องการตัดตอนกระบวนการดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้น ทั้งที่ในสภาก็ไม่มีฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบ และสื่อก็ถูกควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จผ่านการใช้อำนาจตามม.44และคำสั่งหัวหน้าคสช."

 

 "สิ่งที่นายตำรวจคนสนิทของพล.อ.ประวิตรทำกับประชาชนผู้ถูกตั้งข้อหาในวันนี้ คือการย้อนศรกฎหมาย คำว่า“ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ” ที่กล่าวหาว่าประชาชนได้ทำผ่านการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวนั้น แท้จริงคือพวกท่านต่างหากที่กำลังทำให้เกิดความเสียหาย ประเทศที่มี"นายพลที่มีนาฬิกาหรูยี่สิบกว่าเรือนและไม่ได้แสดงบัญชีรายการทรัพย์สิน" แล้วเวลาผ่านไปครึ่งปีนับแต่มีการตั้งคำถามก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการตรวจสอบ แต่กลับดำเนินคดีปิดปากประชาชนที่วิจารณ์และตั้งคำถามกับนายพลคนเดิมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะกับสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเกือบแสนล้านบาท จะเป็นประเทศที่มีความมั่นคงไปได้อย่างไร?"

 

ที่หน้าแปลกใจ กลับไม่มีใครในกลุ่มนี้ หรือแม้แต่ น.ส.ณัฏฐา ปฏิเสธในตัว“นายวัฒนา เมืองสุข” ทั้งๆที่ ข้อเท็จจริงได้พัวพันคดีฉาว คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทรในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ได้สร้างความเสียหายให้กับชาติบ้านเมือง ทำให้รัฐเสียหายกว่า 2,500 ล้านบาท ในปี 2548 แต่กลุ่มคนอยากเลือกตั้งกลับยินดีและอ้าแขนเปิดรับ ในการเข้าร่วมเป็นแนวร่วมเนื้อเดียวกัน ของนายวัฒนา เพียงข้ออ้างเพื่อ “ประชาธิปไตย”

 

รู้จัก “โบว์  อยากเลือกตั้ง” บทบาทนักประชาธิปไตย-ปราบโกง (ของเรา)..ไม่เท่ากัน?!!

 

ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 24 ก.พ.61 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในการชุมนุมของ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย หรือกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง  จัดกิจกรรม “ปากปราศรัย น้ำใจเชือดเผด็จการ: 3-2-1 ถึงเวลาเปลี่ยน” นายวัฒนา เดินทางมายังบริเวณที่จัดงาน โดยอ้างว่า มาให้กำลังใจในนามประชาชน  โดยระบุตอนหนึ่งว่า...

 

“เมื่อเขาเรียกก็ต้องมา พลังทุกคนที่อยากเลือกตั้งล้วนบริสุทธิ์ทั้งนั้น พลังที่ไม่อยากเลือกตั้งต่างหากที่เป็นพลังไม่บริสุทธิ์ การอยากเลือกตั้งเป็นการเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองโดยชอบ ผมมาเรียกร้องสิทธิ์ของผมแล้วหนักหัวใคร ฝากถามคสช.ด้วย และฝากบอก พล.อ.ประยุทธ์ว่าตอนยึดอำนาจไปไม่มีเงื่อนไข แต่พอประชาชนจะมายึดคืนอำนาจกลับมีเงื่อนไข แล้วที่บอกให้คิดเหมือนกันอย่าแตกแยก ผมไม่สามารถคุยกับเผด็จการได้ ตอนนี้ประชาชนพร้อมเลือกตั้งมานานแล้ว กกต.พร้อม นักการเมืองพร้อม แต่คสช.ไม่พร้อมฝ่ายเดียว ผมว่าเป็นอาการลิเกใกล้ลาโรงแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกพยายามถ่วงเลือกตั้ง ไปโยนว่าสนช.ขยายเวลาบังคับใช้กฎหมาย แต่ใครเป็นคนออกคำสั่งไม่ให้ทำกิจกรรมการเมือง แบบที่น้องๆเขาพูดว่าท่านนายกฯต้องหัดเรียนอะไรเยอะๆจะได้ไม่เป็นที่อับอาย การเรียนรู้ทำให้สมองฉลาด บั้นปลายชีวิตคนจะได้ไม่สงสัยสติปัญญา”

 

ตัดมาที่การชุมนุมครั้งล่าสุด ของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย หรือกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง   เมื่อวันที่22 พ.ค. 61ตรงกับวันครบรอบ4ปี ยึดอำนาจของคสช.  กลุ่มดังกล่าวก็ได้จัดกิจกรรมทางการเมือง การเคลื่อนขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ไปยังทำเนียบรัฐบาล การเริ่มเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ประมาณ 9.00 น.  จนสิ้นสุดใน เวลา 15.40 น. ทางแกนนำกลุ่มคนอยากเลือกตั้งได้อ่านแถลงการณ์และประกาศยุติการชุมชุม เข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

ปรากฏว่า นายวัฒนา ทั้งผ่านโซเชียล ทำการโพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว สดุดีวีรกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ทั้งยกย่องแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหมดเป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ พร้อมประกาศอาฆาต”นายพลแห่งกองทัพไทย” เตรียมคิดบัญชี ชำระแค้นหากกลับมาอีกอำนาจเมื่อใด  และได้เดินทางมายัง สน.ดินแดง เพื่อเข้าให้กำลังใจแกนนำม็อบกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง 5 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวมายัง สนพร้อมกับ นายเนติวิทย์

 

โดย นายวัฒนา กล่าวว่า ในวันนี้ตนได้เดินทางมาเพื่อให้กำลังใจน้อง ๆ แกนนำ หลังถูกตำรวจจับกุม ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่า การกระทำดังกล่าว เป็นสิ่งที่ถูกต้องเพราะขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทย จะต้องเดินหน้าเข้าสู่เส้นทางของการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้มีกระบวนการที่สามารถตรวจสอบได้ ตนพร้อมที่จะช่วยเหลือกลุ่มแกนนำทุกคนเท่าที่จะสามารถทำได้อย่างเต็มที่

 

ท้ายที่สุดก็คงต้องตั้งข้อสังเกต  “โบว์ อยากเลือกตั้ง” หรือ ณัฏฐา มหัทธนา  ถึงยอมรับนายวัฒนา  ผู้ซึ่งมีส่วนพัวพันเกี่ยวข้องกับการทุจริตต่างบ้านเมือง เป็นเรื่องที่สังคมที่หมู่เหล่ารับไม่ได้  บางอาจมองว่าเรื่องนี้ยิ่งใหญ่ สำคัญ เลือกตั้ง ..ไม่เลือกตั้ง หรือว่าเผด็จการ ..ประชาธิปไตย