"บิ๊กตู่" เผย ปฏิรูป ตร.มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายส่วน-ต้องพิจารณารอบคอบ ยันรัฐฯ เดินหน้าอยู่

"บิ๊กตู่" เผย ปฏิรูป ตร.มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายส่วน-ต้องพิจารณารอบคอบ ยันรัฐฯ เดินหน้าอยู่

 

"บิ๊กตู่" เผย ปฏิรูป ตร.มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายส่วน-ต้องพิจารณารอบคอบ ยันรัฐฯ เดินหน้าอยู่ ระบุต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงจะเกิดการปฏิรูปได้อย่างแท้จริง

 

วันนี้ (25 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความคืบหน้ากฎหมายปฏิรูปตำรวจว่า การปฎิรูปตำรวจนั้นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายส่วนด้วยกัน จะเห็นได้ว่ากระบวนการยุติธรรมนั้นประกอบไปด้วยตำรวจ  อัยการ ศาล ซึ่งมีพ.ร.บ.อยู่หลายตัว ต้องมีการพิจารณา พ.ร.บ.ต่างๆ ที่ประกอบ  ในส่วนที่เราปฏิรูปนั้นเป็นกิจกรรม ซึ่งเรากำลังดำเนินการในเรื่องนี้อยู่ วันนี้ ครม.ได้พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา ซึ่งมีผลกับกระบวนการยุติธรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ และประชาชนด้วย เช่น วันนี้มีการหารือมาตรการห้ามนำผู้ต้องหา ผู้ถูกจับมาแถลง ข่าว การแจ้งความร้องทุกข์นอกพื้นที่ได้ การไม่นับอายุความระหว่างหลบหนีคดี  เหล่านี้จะต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน วันนี้เป็นการรับหลักการในกฎหมายนี้  แต่จะต้องมีการพิจารณาต่ออีกหลายประเด็นที่กฤษฎีกา

 

"การจะกำหนดอะไรออกมาสักอย่าง การปฏิรูปอะไรสักอย่าง มันผ่านขั้นตอนมากมายจากหน่วยงาน สอบถามความคิด เห็น ถ้าเกี่ยวข้องกับหลายกระทรวง หลายหน่วยงาน ก็ต้องสอบถามหลายกระทรวงว่า มีข้อสังเกตอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อนำมาเข้าสู่การ พิจารณาของ ครม. ซึ่งครม.อนุมัติในหลักการชั้นต้น และนำกลับไปสู่การพิจารณาของกฤษฎีกา ในการที่จะเสนอกฎหมายต่อไปได้ ดังนั้น ขอเรียนว่าการปฏิรูป ไม่ว่าจะเรื่องการศึกษา หรือการปฏิรูปตำรวจนั้นมีกฎหมายเกี่ยว ข้องหลายประการ เพราะฉะนั้นเราต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก็จะเกิดการปฏิรูปได้อย่างแท้จริง" นายกฯ ระบุ

 

อย่างไรก็ดี ทางด้าน "นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. … ซึ่งเป็นกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับการปฏิรูปตำรวจ ที่ประชาชนได้สอบถามมาตลอดถึงความคืบหน้า โดยสาระสำคัญที่น่าสนใจของกฎหมายฉบับนี้คือ 

1. เมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหาห้ามมิให้นำผู้ต้องหามาแถลงข่าวเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต 


2. ในการสอบสวนจะต้องมีการถ่ายบันทึกวิดีโอและเสียงโดยตลอด เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ถูกกล่าวหาและเจ้าหน้าที่ 


3. ในการสอบสวนนอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ต้องมีพนักงานอัยการอยู่ด้วยใน 2 กรณีคือ กรณีที่มีโทษรุนแรง และกรณีที่ผู้ต้องหามีความจำเป็นและเรียกร้องอยากจะให้ทางอัยการเข้ามาทำการสอบสวนด้วย

 

4. การกำหนดระยะเวลาในการที่จะส่งสำนวนไปสู่ชั้นศาล จะต้องมีระยะเวลาที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งเรื่องกรอบระยะเวลาที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไรนั้น ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการพิจารณาต่อไป และ5.ในอดีตส่วนใหญ่เกือบทุกคดีจะต้องกลับไปแจ้งความที่สถานีที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับนี้ให้ผู้ที่จะต้องแจ้งความสามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจที่ใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นที่เกิดเหตุ นอกจากนี้ ยังสามารถแจ้งความและร้องทุกข์ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้

 

"กฎหมายฉบับนี้เป็นหนึ่งในการปฏิรูปตำรวจ เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย เนื่องจากในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เพราะมีการปรับระบบการสอบสวนของตำรวจไปหลายเรื่อง รวมทั้งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปร่วมด้วย เพื่อความเป็นธรรมและให้โอกาสทั้งผู้ต้องหาและเจ้าหน้าที่ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะมีการส่งไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป" โฆษกรัฐบาล ระบุ