"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง

สืบเนื่องจากกรณี "คลิปหลุด" ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างนักเคลื่อนไหวแกนนำคนอยากเลือกตั้งและนักการเมืองอาวุโส ผู้มีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล คสช. มาโดยตลอดทั้งนี้จากภาพที่ปรากฏก็ทำให้สังคมระบุตัวตนได้โดยง่ายว่าเป็นใคร...แต่สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่คือคำถามว่า ใครเป็นผู้กระทำและทำไปเพื่อหวังผลอันใด?

สืบเนื่องจากกรณี "คลิปหลุด" ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ระหว่างนักเคลื่อนไหวแกนนำคนอยากเลือกตั้งและนักการเมืองอาวุโส ผู้มีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาล คสช. มาโดยตลอดทั้งนี้จากภาพที่ปรากฏก็ทำให้สังคมระบุตัวตนได้โดยง่ายว่าเป็นใคร...แต่สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่คือคำถามว่า ใครเป็นผู้กระทำและทำไปเพื่อหวังผลอันใด?

อย่างไรก็ตามทางฝั่งหญิงที่รับบทผู้เสียหายนั้น ก็ไม่ได้มีท่าทีปฏิเสธต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างแข็งขันหรือเก็บตัวเงียบหายอย่างเป็นปกติวิสัย แต่กลับมีเคลื่อนไหวทั้งบนโลกออนไลน์และสื่อโทรทัศน์ ล่าสุดกับการยืนกรานว่าจะทำการฟ้องเพื่อขยายผลไปสู่องค์กรสิทธิระดับโลก ประเด็นดังกล่าวก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะคืบหน้า แต่อีกหนึ่งที่น่าสนใจคือข้อความที่โพสต์บนบัญชีเฟสบุ๊กส่วนตัว "Bow Nuttaa Mahattana"

 

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง
 
ระบุว่า "โบว์ไม่ทราบว่าคุณสุรชัยลี้ภัยเพราะเรื่องอะไร แต่ผู้ลี้ภัยทางการเมืองทุกคนควรได้กลับบ้าน เมื่อประเทศไม่อยู่ใต้อำนาจของคณะรัฐประหารแล้ว นั่นคือเมื่อฝ่ายประชาธิปไตยชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย จะต้องมีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ต้องหาและนักโทษทางการเมืองอย่างที่พรรคอนาคตใหม่เสนอมา #24กุมภาจับปากกาฆ่าเผด็จการ" แต่ในเวลาต่อมาโพสต์ดังกล่าวได้หายไปจากระบบเรียบร้อยแล้ว

คล้ายว่าจะเป็นการเบี่ยงประเด็นอื่นเข้ามาแทนที่ แต่ก็ไม่ทั้งหมดไปเสียทีเดียวเพราะ เป็นประเด็นหลักที่คลับคล้ายว่าจะเป็นการอ้างอิงถึงบุคคลที่เป็นชนวนเหตุของความขัดแย้ง ซึ่ง "คุณสุรชัย แซ่ด่าน" ที่เธอกล่าวถึงนั้น เป็นผู้ต้องหาคดี ม.112 ที่หนีกบดานอยู่ประเทศใกล้เคียง แต่น่าสนใจที่ว่าโบว์นั้นหยิบยกเรื่องการ "นิรโทษกรรม" มาเป็นเครื่องมือเพื่อลบล้างความผิด ซึ่งตามเป้าประสงค์ของการมีไว้ซึ่ง "นิรโทษกรรม" ก็อาจเป็นเช่นว่านี้จริง แต่ข้อเสนอของโบว์นั้นกลับนำมาสู่คำถามที่ว่าการนิรโทษกรรมแก่ตัวบุคคลที่มีชนักติดหลัง ที่เธอยกขึ้นมานั้นมีความเหมาะสมหรือไม่

แท้จริงแล้วการ "นิรโทษกรรม" ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแต่มีมาอย่างยาวนาน ประหนึ่งเป็น  "ดาบสองคม" ที่มีไว้เพื่อฟื้นคืนความสงบ หากอีกด้านหนึ่งก็สามารถนำมาอภิปรายได้ว่าเมื่อนำมาใช้อย่างไม่เหมาะสม ก็เป็นต้นเหตุของ "ความขัดแย้ง" ได้เช่นกัน

 

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น การนำวิกฤตการณ์การเมืองไทยในอดีตมาทำความเข้าใจใหม่ก็สมควรกระทำยิ่ง กับเหตุการณ์พลังมวลชนปะทะกับการใช้อำนาจรัฐ ที่มี "ประชาชน" และ "กองทัพ" เป็นตัวแสดงหลัก นับแต่ 14 ต.ค. 2516 จนถึง 6 ต.ค. 2519 มีการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทั้งสิ้น 2 ฉบับ โดยมีสาระคัญคือ

1.พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2516
2.พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 4 - 6 ต.ค. 2519
 

อย่างไรก็ตามในเนื้อหาสาระอาจมีความต่างกัน แต่คงความเหมือนในแง่ของเป้าประสงค์ กล่าวคือ เหตุการณ์ความขัดแย้งขั้นรุนแรงนั้น ไม่มีฝ่ายใดต้องการให้บานปลายจนถึงระดับที่นองเลือดทั้ง "ผู้กระทำ" และ "ผู้ถูกกระทำ" ซึ่งในฝ่ายผู้กระทำอาจเข้าใจได้ว่าเป็นกำลังพลของกองทัพและเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ไม่สามารถเลือกปฏิบัติอย่างไรได้ทั้งสิ้น ขณะที่ฝ่ายผู้ถูกกระทำที่เป็นนิสิตนักศึกษาที่ถึงแม้จะมีความตื่นตัวทางการเมืองเพียงใด แต่ด้านหนึ่งก็ยังไร้เดียงสาทางการเมืองแม้จะยืนยันมาตลอดว่าเป็นการต่อสู้แบบ "สันติอหิงสา" แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้นไปเสียทั้งหมด โดยกระชับ พ.ร.บ. นิรโทษกรรมทั้งสองฉบับนี้ เป็นประหนึ่งเครื่องชำระสะสางความบาดหมาง คับแค้นใจ ละทิ้งไว้ซึ่งความขัดแย้งไว้เบื้องหลังเพื่อก้าวเดินต่อ...แต่ก็อาจยังไม่เป็นรูปธรรมเท่าใดนัก

 

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง
 
เพราะเมล็ดพันธุ์แห่งภัยร้ายที่ไม่มีใครปรารถนากลับผลิดอกออกผล จะด้วยความแค้นที่สั่งสมหรือการรับเอาแนวคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมไทยมาอย่างไม่เดียงสา เมื่อนิสิตบางกลุ่มที่หนีเตลิดเข้าป่าได้ตั้งตนฝักใฝ่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทำให้สังคมไทยนับแต่ช่วงปี 2520 เป็นต้นมาต้องเผชิญภัยคอมมิวนิสต์ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างรุนแรง ความรับผิดชอบทั้งหมดจึงตกอยู่รัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่จำต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ด้วยเพราะเห็นว่านิสิตเหล่านั้นถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นความหวังที่จะพัฒนาชาติในอนาคต

 

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง

 

"การเมืองนำการทหาร" คือนโยบายของ พล.อ.เปรม เพื่อยุติการทำสงครามสู้รบ ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กับ ฝ่ายรัฐบาล ผ่านคำสั่ง 66/2523 โดยหมายหลักเพื่อเป็นการ "นิรโทษกรรม" ให้แก่ผู้หลงผิด เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์มอบตัว พร้อมหยิบยื่นความช่วยเหลือให้สามารถใช้ชีวิตใหม่ร่วมกันต่อไปในสังคมได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันฝ่ายต่างชาติที่สนับสนุนคอมมิวนิสต์ที่เคยหวังครอบงำประเทศไทยก็ลดทอนบทบาทลง จนท้ายสุดพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ถดถอยเสื่อมสลายหายไปในที่สุด
 
พร้อมกับการ "นิรโทษกรรม" ที่ห่างหายไปจากสังคมไทยและไม่ถูกหยิกยกมากล่าวถึงเท่าใดนัก จนกระทั่งปี 2556 ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้เป็นน้องสาวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมตรีที่ขาดความชอบธรรมทางการเมือง จนถูกรัฐประหารออกนอกประเทศ ได้ทำการร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม สาระสำคัญคือ "นิรโทษกรรม" แก่ให้ผู้กระทำผิดตั้งแต่ 1 ม.ค. 2547 - 8 ส.ค. 2556 ซึ่งผู้ที่จะได้รับอนิสงค์ชำระล้างความผิดก็ไม่ใช่ใครอื่นแต่เป็น นายทักษิณ แน่นอนว่านำมาซึ่งการรวมตัวของมวลชนขนานใหญ่ที่ออกมาต้อต้านที่เรียกขานกันว่า "กปปส." จนท้ายสุด พ.ร.บ. ดังกล่าวก็มีอันต้องตกไป แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ขาดความชอบธรรมทางการเมืองจนท้ายที่สุด กองทัพก็จำต้องเข้ามายุติความขัดแย้งด้วยการรัฐประหารทำให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ต้องระเห็จตามพี่ชายไป

 

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง
 
เมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ว่าการ "นิรโทษกรรม" ไม่ใช่ทางออกของประเทศไปเสียทั้งหมด เพราะในอดีตการ "นิรโทษกรรม" เป็นไปเพื่อฟื้นคืนความสงบสุขกลับสู่สังคมไทยเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อ ตรงข้ามกับปี 2556 ที่ดูจะมุ่งหวังผลลัพธ์อันเป็นอื่น

ในขณะที่การเมืองไทยอยู่ในสภาวะลูกผีลูกคน เจตคติอันรุนแรงของฝักฝ่ายที่ขับเคี่ยวกันไปมา การนำเสนอให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้เป็นชนวนเหตุของความขัดแย้งดังที่ "คุณโบว์" เสนอมานั้น...มันสมควรแล้วกระนั้นหรือ

 

"นิรโทษกรรม" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายแก้ขัดแย้ง? เปรียบเทียบอดีต-ปัจจุบัน เมื่อการเมืองซ่อนประโยชน์แแอบแฝง