เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"

เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"

เนื่องจากววานนี้ (30 ธันวาคม) "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั้งนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกรณีที่สุดแห่งปี โดยขั้นตอนแรกได้ทำการสำรวจเป็นคำถามปลายเปิดที่ให้แต่ละคนได้นำเสนอที่ตนเองชื่นชอบ จากนั้นจึงนำคำตอบที่มีคะแนนสูงสุดมาทำเป็นตัวเลือกให้ประชาชนได้ตัดสินใจเลือกอีกครั้งหนึ่ง และสรุปเป็นฐานข้อมูลเพื่อสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่และความคาดหวังของคนไทย โดยในปี 2561 นี้ ได้สำรวจ ความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 8,347 คน ระหว่างวันที่ 10 – 28 ธันวาคม 2561 ทั้งนี้ มาโฟสกัสกันที่"ที่สุดของการเมือง" คือ "นักการเมืองชาย" ที่ "ชื่นชอบ" มากที่สุด ไล่จากอันดับสุดท้าย (ที่3) ได้แก่ "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" 21.58 

 

เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"

 

      หากย้อนกลับไป "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นั้น เคยเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของประเทศไทย  โดยเป็นผู้นำประเทศ  ภายหลังชนะโหวตในสภาฯ  เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค และส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน  23 คน เปลี่ยนใจมาให้การสนับสนุน  เพราะไม่สามารถทนวิธีการคิดหักหลัง นายสมัคร สุนทรเวช โดยนายทักษิณ ชินวัตร  ได้  ตามข้อมูลข่าวที่เคยนำเสนอไปก่อนหน้าว่าสมาชิกพรรคพลังประชาชนส่วนใหญ่  รับคำสั่งการจากนายทักษิณให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แทนที่จะเป็นนายสมัคร ตามข้อตกลง  และเป็นเหตุให้นายสมัครเจ็บช้ำน้ำใจเป็นที่สุด

 อย่างไรก็ตามการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลอภิสิทธ์  ล้วนเต็มไปด้วยความขลุกขลัก  เพราะทันทีที่เข้าบริหารประเทศไม่กี่เดือน  คนเสื้อแดงที่ถูกปลุกระดมให้เกลียดชังรัฐบาลอภิสิทธ์  ก็ก่อม็อบขึ้นเมื่อกลางเดือนเมษายน  2552  เริ่มต้นด้วยการเอานำรถก๊าซมาปิดที่สามแยกดินแดง ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการนำมวลชนบุกล้อมการประชุมประชมสุดยอดผู้นำมาเซียนที่พัทยา เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552  กระทั่งผู้นำในแต่ละประเทศต้องหนีกันจ้าระหวั่น รวมทั้งตัวของนายอภิสิทธิ์  ในฐานะนายกรัฐมนตรี สร้างความเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับประเทศอย่างมาก  เพียงเพราะความต้องการให้ประเทศเกิดความวุ่นวาย และนำไปสู่การจลาจล  เพื่อเปิดทางให้มีการนิรโทษกรรมทางการเมืองให้กับตัวนายทักษิณเท่านั้นเอง

 

เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"

 

 

นอกจากนี้ ยังไม่นับรวมการจุดชนวนความขัดแย้งในปี 2553 โดยใช้เรื่องของชนชั้นมาเป็นเครื่องมือต่อรองทางการเมืองให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ลาออก  และถือเป็นการชุมนุมทางการเมืองครั้งรุนแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากมีการนำกองกำลังติดอาวุธเข้ามาแทรกอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม และใช้อาวุธทำลายชีวิตผู้บริสุทธิ์ทั้งประชาชน และ ทหารที่ถูกคำสั่งให้เข้ามาดูแลความปลอดภัย  ก่อนสุดท้ายจะมีการยัดเยียดความผิดให้กับทหารว่ามีการใช้กำลังกับประชาชนมาจนถึงทุกวันนี้ 

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2554 เวลา 20.30 น. "นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น ได้ประกาศยุบสภาอย่างเป็นทางการ ผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์   นำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2554  แต่นายอภิสิทธิ์  ก็พ่ายแพ้ให้กับเพื่อไทย ภายใต้การนำของ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ซึ่งขณะนั้นถือว่ายังอ่อนหัดมากทางการเมือง แต่มีพี่ชาย นายทัก ษิณให้การหนุนหลังทั้งการกำหนดนโยบายบริหารประเทศ และการสร้างเครือข่ายทางการเมือง อย่างไรก็ตามด้วยเป้าหมายทางการเมืองของ ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการใช้น้องสาวเป็นเครื่องมือเบิกทางสร้างช่องทางกลับประเทศ  สุดท้ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ถึงอวสานทางการเมืองเหมือนพี่ชาย  

 

เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"
 

โดยหลังจาก ยิ่งลักษณ์  เข้ามาเป็นรัฐบาล  ก็มีการกระทำบางสิ่งบางอย่าง ที่ถูกสังประณามอย่างรุนแรงว่า "เป็นการทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน" โดยการออก "พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย ลักหลับตอนตี4" หวังล้างโทษความผิดให้ "ทักษิณ"  ซึ่งเปรียบได้กับ นายใหญ่ของพรรคกลับมาประเทศไทย โดยไม่มีความผิดใดๆ เรื่องนี้ไม่มีประชาชนผู้รักความเป็นธรรมคนใดยอมได้ โดยพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้านในขณะนั้น ได้ยื่นกระทู้คัดค้านต่อกรณีนี้ แต่พรรคเพื่อไทยที่เป็นเผด็จการรัฐสภาฯ กลับไม่สนใจใดๆเลย  การออก"พ.ร.บ.ลักหลับตอนตี 4" 

 

เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"

 

นับเป็นจุดเปลื่ยนสำคัญยิ่งของรัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ เมื่อมีการชุมนุมเรียกร้องต่อต้านเรื่องนี้ที่สามเสน ที่ผู้คนทั่วทุกสารทิศรวมทั้งสมาชิกประชาธิปัตย์ในขณะนั้นเรียกว่า "จากสามเสนมาสามแสน"   ขยายผลจนนำมาสู่ม็อบ "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ "กปปส."   และมีการรุกไล่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ นับเป็นการชุมนุมการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของเมืองไทย  โดยตัวนายอภิสิทธิ์เองก็มีส่วนร่วมในการชุมนุมใหญ่ในครั้งนั้นด้วย แม้ว่าจะไม่ใช่การกระทำในนามของพรรคประชาธิปัตย์โดยตรงก็ตาม  


ท้ายสุดเมื่อมีการเข้ายึดอำนาจโดยคสช. และวันนี้มีการประกาศกำหนดเลือกตั้ง วันที่ 24  ก.พ. 2562   ชื่อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็กลับมาโดดเด่นอีกครั้ง ตามกระบวนการสรรหาของพรรคประชาธิปัตย์  ซึ่งต้องลุ้นกันต่อไปว่าการเข้าสู่สามเลือกตั้งอีกครั้งของ นายอภิสิทธิ์  จะประสบผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร  ท่ามกลางคำเดิมพันว่าถ้าพ่ายแพ้หนนี้คงต้องถึงขั้นลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

 

เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"