วันนี้ในอดีต น้อยคนที่รู้  "ทักษิณ" สั่ง 31 ธ.ค. 46 ทำงาน คาบลูกคาบดอกเลี่ยงค่าโอนที่ดินรัชดาฯ ก้อนโตหรือไม่?

วันนี้ในอดีต น้อยคนที่รู้ "ทักษิณ" สั่ง 31 ธ.ค. 46 ทำงาน คาบลูกคาบดอกเลี่ยงค่าโอนที่ดินรัชดาฯ ก้อนโตหรือไม่?

31 ธันวาคม วันสุดท้ายของปี61 ทำให้นึกถึงเหตุการณ์หนึ่งเมื่อย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้ว "นายทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันเป็นนักโทษหนีคดีหลบหนีอยู่ต่างแดน เคยสั่งให้ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ให้เป็นวันทำงาน และให้ไปหยุดวันที่ 2 มกราคม 2547 แทน โดยอ้างว่าไม่อยากให้ข้าราชการเสียวันลา และอยากให้หยุดต่อเนื่อง รวมทั้งเหตุผลอีกจิปาถะนั้น คาบลูกคาบดอกเกี่ยวข้องกับการโอนที่ดินรัชดาฯ ที่ "คุณหญิงพจมาน-ภรรยา" ซื้อเอาไว้หรือไม่? เพราะหากการโอนกรรมสิทธิ์เสร็จไม่ทัน 31 ธันวาคม 2546 ผู้ซื้อจะเสียค่าธรรมเนียมการโอนเพิ่มอีกหลายล้านบาท...เรื่องนี้มีคนไทยไม่มากคนที่รู้...และตระหนักในสิ่งที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว  

 

วันนี้ในอดีต น้อยคนที่รู้  "ทักษิณ" สั่ง 31 ธ.ค. 46 ทำงาน คาบลูกคาบดอกเลี่ยงค่าโอนที่ดินรัชดาฯ ก้อนโตหรือไม่?


 
หากอยากจะทำความเข้าใจเรื่องนี้ ต้องย้อนกลับไปดู มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 พ.ย. 2546 หรือเมื่อกว่า 15 ปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นยุคที่ "ทักษิณ" เรืองอำนาจถึงขีดสุด เพราะบริหารประเทศ และหว่านประชานิยมไปทั่วทุกหัวระแหงกว่า 3 ปีแล้ว และเป็นวันเดียวกันกับที่กองทุนฟื้นฟูฯ ประกาศให้มีการประมูลที่ดินรัชดาฯ รอบ 3 อีกด้วย โดย มติ ครม.ในวันนั้นให้เหตุผลในการบังคับให้วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2546 ซึ่งเป็นวันสิ้นปี และถือเป็นวันหยุดมาตลอดนับจากที่ไทยเราหันมาใช้ปฏิทินแบบฝรั่ง เป็นวันทำงานปกติโดยให้เหตุผลด้วยสาระสำคัญว่า... เรื่อง กำหนดให้วันที่ 2 มกราคม 2547 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ กำหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2547 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ และให้วันพุธที่ 31 ธันวาคม 2546 เป็นวันปฏิบัติราชการ

 

ทั้งนี้ การกำหนดให้วันที่ 2 มกราคม 2547 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เป็นการดำเนินการแนวทางเดียวกับวันหยุดเทศกาลปีใหม่ในปีที่แล้ว จะช่วยลดปัญหาการใช้สิทธิลาก่อน – หลังวันหยุดราชการเพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ทำให้ข้าราชการ ลูกจ้างของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้มีโอกาสกลับไปเยี่ยมครอบครัว และภูมิลำเนาของตน รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย ทั้งนี้ สำหรับรัฐวิสาหกิจ และหน่วยราชการใดที่มีภารกิจจำเป็นเร่งด่วนหรือราชการสำคัญที่จะต้องดำเนินการในวันดังกล่าว หากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ก็ให้รัฐวิสาหกิจและหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป

 

 

 

 

พูดกันตามตรง ข้ออ้างของมติ ครม.ในครั้งนั้น..ไม่ได้สะกิดใจ และทำให้คนไทยเอะใจมากนัก เหตุเพราะ "ตัวของทักษิณ" นั้นเป็นยิ่งกว่า "ซุปเปอร์สตาร์" ของสังคมไทยในยุคนั้น คิดสิ่งใด-ทำสิ่งใดคนส่วนใหญ่ย่อมเห็นดีเห็นงามไปหมด (กระทั่งหลงเหลือมาเป็นคนเสื้อแดงที่ภักดีต่อระบอบทักษิณแบบไม่สนใจถูกผิดในวันนี้) แต่สำหรับผู้จัดเจนทางการเมืองกลุ่มหนึ่ง ก็ได้เฝ้ามองมติ ครม.ในครั้งนั้น ด้วยสายตาของคนรู้ทันระบอบทักษิณ และมองทะลุเรื่องนี้ออกได้ไม่ยากว่า...การประกาศให้วันที่ 31 ธันวาฯ เป็นวันทำการโดยอ้างเหตุผลสวยหรูต่าง ๆ นานาดังกล่าวของต้นนั้น...ไม่มีทางที่จะไม่แฝงฝังผลประโยชน์ทางการเมืองที่ "ระบอบทักษิณ" ถนัดเอาไว้ด้วย

 

โดยนางกัลยาณี รุทระกาญจน์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานลูกหนี้ และนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ย้อนมอง และร่วมกันพูดคุยถึงประเด็นคดีที่ดินรัชดาฯ อีกครั้งในวันที่ 21 พ.ย. 2554 ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เอาไว้อย่างน่าสนใจตอนหนึ่งว่า "การประกาศวันที่ 31 ธ.ค. 2546 ไม่เป็นวันหยุดราชการ เพราะวันที่ 1 ม.ค. 2547 (เช้าวันรุ่งขึ้น-ผู้เขียน) ราคาประเมินที่ดินจะเปลี่ยนไป คือเปลี่ยนทุก ๆ  4 ปีครั้ง ฉะนั้น 1 ม.ค. 2547 กรมที่ดินเปลี่ยนราคาประเมินเฉพาะตรงนั้นเป็นตารางวาละ 7 หมื่นบาท ซึ่งตอนนั้นเสียภาษีอยู่ที่ 48,000 บาท ซึ่งมันนิดเดียวเอง พ.ต.ท.ทักษิณประหยัดค่าธรรมเนียมไปแค่ 5,977,000 บาท เงินแค่นี้เองทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องไปทำงานในวันที่ 31 ธ.ค. 2546

 

วันนี้ในอดีต น้อยคนที่รู้  "ทักษิณ" สั่ง 31 ธ.ค. 46 ทำงาน คาบลูกคาบดอกเลี่ยงค่าโอนที่ดินรัชดาฯ ก้อนโตหรือไม่?

 

 

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่ามันมีพฤติกรรมไม่เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้" นางกัลยาณี ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีดังกล่าว นางกัลยาณี ยังระบุในวันนั้นด้วยว่า มันเกี่ยวข้องกันหมด กองทุนฟื้นฟูฯ อยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ก็อยู่ภายใต้กระทรวงการคลัง กรมที่ดินก็อยู่ภายใต้กระทรวงมหาดไทย การเปลี่ยนผังเมืองก็อยู่ภายใต้กรุงเทพมหานคร มาดูที่คนซื้อบ้าง เวลาภรรยาซื้อทรัพย์สิน สามีต้องเซ็นอนุญาต พ.ต.ท.ทักษิณใช้บัตรนายกรัฐมนตรีไปเซ็นให้ภรรยาซื้อที่  และท่านสั่งไม่หยุดราชการในวันที่ 31 ธ.ค. 2546 จะบอกท่านไม่รู้เรื่องคงไม่ได้

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มที่เชียร์ทักษิณ ก็อาจจะโต้แย้งประเด็นดังกล่าว โดยหยิบยกคำฟ้องของ คตส. คดีที่ดินรัชดาฯ ซึ่งระบุตอนหนึ่งมากล่าวอ้างว่า "ต่อมากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวใหม่ โดยกันส่วนที่เป็นสาธารณะประโยชน์ออก การแบ่งแยกที่ดินจาก 13 โฉนด เหลือเพียง 4 โฉนด เลขที่ 2298, 2299, 2300 และ 2301 เหลือเนื้อที่เพียง 33-0-78.9 ไร่ แล้วประกาศประมูล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 โดยกำหนดให้ผู้เข้าประกวดราคาต้องวางเงินมัดจำการยื่นซองเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ซึ่งเกิน 10% ตามที่ระบุในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นระเบียบที่นำมาใช้ในการปฏิบัติ มีผู้ซื้อแบบ 4 ราย

 

แต่มีผู้ยื่นซองเสนอราคาและชำระเงินมัดจำการยื่นซอง 3 ราย คือ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 730,000,000 บาท, บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา 750,000,000 บาท และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สมรสจำเลยที่ 1 เสนอราคา 772,000,000 บาท กระทั่งคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯอนุมัติให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชนะการประมูลและกำหนดให้จำเลยที่ 2 นำเงินมาชำระก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ต่อมาได้ทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์พร้อมส่งมอบที่ดินวันที่ 30 ธันวาคม 2546 โดยการทำนิติกรรมจำเลยที่ 1 ได้ลงนามยินยอมพร้อมแสดงสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทข้าราชการการเมือง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ... "

 

อย่างไรก็ดี ในคำฟ้องของ คตส. กลับระบุชัดว่า การประกาศขายที่ดินโดยวิธีประกวดราคาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 นั้นน่าเชื่อว่า มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม เพราะ 1) การประกวดราคาไม่กำหนดราคาที่ดินขั้นต่ำ  2) กำหนดวางเงินในการยื่นซอง 100 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า 10% ของราคากลาง  และ 3) มีการยกเลิกข้อจำกัดเรื่องความสูงในการก่อสร้างอาคาร ภายหลังที่จำเลยที่ 2 ประมูลได้ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น ทั้งยังระบุในข้อ 3 ใหญ่ ด้วยว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3-30 ธันวาคม 2546 ต่อเนื่องกัน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ 

 


 

3.1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 100 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และ พ.ศ.2544 และจำเลยที่ 2 คู่สมรสของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังกล่าว ได้ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดิน 4 โฉนด เลขที่ 2298, 2299, 2300 และ 2301 เนื้อที่ 33-0-78.9 ไร่ ดังกล่าว

 

ที่ทำสัญญากับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่จำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีดังกล่าว จึงเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หมวด 9 มาตรา 100 
 

3.2 จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการการบริหารสินทรัพย์ของกองทุน เมื่อจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สมรสในการทำสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดิน 4 โฉนด แปลงดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียทำให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯได้รับความเสียหาย อันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต 

 

อย่างที่บอกไว้แต่ต้น คนที่เชียร์ระบอบทักษิณ...จะหยิบยกคำฟ้องบางส่วนของ คตส. มาใช้อ้างว่า...การสั่งให้วันที่ 31 ธ.ค. 2546 เป็นวันทำงานไม่เกี่ยวอะไรกับการโอนที่ดินรัชดาฯ เพราะการโอนกรรมสิทธิ์ และส่งมอบที่ดินเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2546 หรือก่อนหน้านั้น 1 วัน แต่ทว่า...ในความเป็นจริงคนเหล่านั้นก็หลงลืมไปว่า...เรื่องดังกล่าวถูกใช้อำนาจรัฐฯ ผลักดันเร่งรัดให้แล้วเสร็จในวันที่ 30 ธ.ค.46 ให้จงได้ แถมยังเผื่อเวลาไว้แบบเผื่อเหลือเผื่อขาดในวันที่ 31 ธ.ค. 2546 อีก 1 วัน เพราะหากเข็มนาฬิกาเดินเคลื่อนเข้าสู่วันที่ 1 ม.ค.2547 เมื่อใด การโอนที่ดินในครั้งนั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก...นับ 6 - 7 ล้านบาท นอกจากนี้ กลุ่มคนที่เชียร์ทักษิณ ยังไม่ใส่ใจในข้อเท็จจริงกรณี

 

"การประกาศขายที่ดินโดยวิธีประกวดราคาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 นั้น น่าเชื่อว่า มีการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม"...ตามที่ คตส. ระบุไว้โต้ง ๆ อีกด้วย แต่ไม่ว่าจะอย่างไร สำหรับคดีนี้ แม้กรณีการประกาศให้วันที่ 31 ธ.ค. 2546 เป็นวันทำงาน จะคาบลูกคาบดอก เผื่อเหลือเผื่อขาดเอื้อประโยชน์การโอนที่ดินรัชดาฯ และยังถกเถียงกันไม่จบว่า... เอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัวผู้ถืออำนาจรัฐฯ ในครั้งนั้น...มากน้อยแค่ไหน?? แต่ทว่าท้ายที่สุดคดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษาที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานคดีดังกล่าว เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ

 

ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157 ขอให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน โดยศาลฯ สั่งจำคุก "ทักษิณ" 2 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วน"พจมาน"ให้ยกฟ้อง เพราะไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐ...ตามที่คนไทยทุกคนรับรู้รับทราบ..ทักษิณบินออกไปอยู่ต่างแดน แต่ก็ยังเคลื่อนไหวคอยบัญชาการอยู่รอบๆประเทศ...

 

วันนี้ในอดีต น้อยคนที่รู้  "ทักษิณ" สั่ง 31 ธ.ค. 46 ทำงาน คาบลูกคาบดอกเลี่ยงค่าโอนที่ดินรัชดาฯ ก้อนโตหรือไม่?