"บิ๊กตู่" กล่าวรับปีใหม่ ครั้งที่ 5 ของ รัฐบาล คสช. คืนความสงบสุขสู่พี่น้องประชาชน

รายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการตอนหนึ่ง ถึง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ว่า จนถึงตอนนี้นับเป็นปีใหม่ครั้งที่ 5 ของ รัฐบาล คสช. ที่นำ ความสงบสุข กลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"

 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

วานนี้ 4 ม.ค. 2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ตอนหนึ่งความว่า จนถึงตอนนี้นับเป็นปีใหม่ครั้งที่ 5 ของ รัฐบาล คสช. ที่นำ ความสงบสุข กลับคืนมาสู่พี่น้องประชาชนชาวไทย ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข และนำพาชาติบ้านเมืองไปสู่ความ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน"

และกล่าวถึงปัญหาของประเทศ ที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการแก้ไข ด้วยการบริหารจัดการในรูปแบบที่เรียกว่า "กลไลประชารัฐ" ทำให้ต้องกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน บางเรื่องก็อาจเป็นเรื่องที่ไกลตัว ซึ่งก็อยากให้คิดว่าเป็นปัญหาความรู้รอบตัวเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและร่วมมือกัน คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สำคัญคือไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาหนี้นอกระบบ ของพี่น้องเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยที่เป็นส่วนหนึ่ง ของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หากปัญหานี้ ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน ก็จะเป็นเหมือนมะเร็งเรื้อรัง ฉุดรั้งการพัฒนาประเทศไม่มีวันสิ้นสุด

 

 

(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "บิ๊กตู่" ใช้ม.44 เดินหน้ายกเลิกคำขอต่างชาติ แห่จดสิทธิบัตรจ้องฮุบกัญชาไทย )
(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง "ผู้พันเบิร์ด" เผย "นายกฯบิ๊กตู่-ผู้รักในความเป็นทหาร" กว่า 4 ปีที่ผ่านมามีแต่สิ่งดีๆ พิสูจน์ให้คนทั้งประเทศเห็นแล้ว)

บิ๊กตู่

ทั้งนี้ได้กล่าวต่อว่าา ตนขอหยิบยก 2 ประเด็นหลัก ที่เป็นการแก้ปัญหาในอดีตได้อย่างยั่งยืน เรื่องแรกก็คือปัญหาด้านการศึกษา ซึ่งประเด็นการพัฒนาปฏิรูปการศึกษา เป็นสิ่งที่ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญ และพยายามแก้ไขปัญหามาต่อเนื่อง แม้จะมีงบประมาณ และลงทุนด้านการศึกษามากกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี แต่ปัญหานี้ยังคงเรื้อรังและรุนแรงขึ้น รัฐบาลจึงร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา เร่งดำเนินการสำหรับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา  เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยดูแลกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ตั้งแต่เด็กแรกเกิด จนถึงวัย 18 ปีขึ้นไป รวมทั้งสิ้นประมาณ 4.3 ล้านราย

โดย กสศ. ได้จัดให้มีระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือเรียกว่า ไอ-ซี (iSEE) ที่เป็นระบบรายงานข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของ กสศ. เพื่อจะช่วยให้ผู้ทำนโยบายมองเห็นสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำได้ชัดเจนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นอกจากนี้แล้วรัฐบาลยังให้การสนับสนุนให้จัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษา ภายใต้บทบาท ความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับบริษัท  มูลนิธิ องค์กร –หรือสถาบันต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนทรัพยากร และมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาตามโครงการนี้ โดยทำงานร่วมกันตามรูปแบบประชารัฐ

นายกรัฐมนตรี

และกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับเรื่องที่สองเป็นเรื่องการสร้างความยั่งยืนให้กับการประมงของไทย การทำการประมงของไทยในอดีตเกิดปัญหาการใช้แรงงานบังคับและค้ามนุษย์ประกอบกับกฎกติกาที่มีอยู่ มีความล้าสมัย ทั้ง พ.ร.บ. ประมง (พ.ศ. 2490) และ พ.ร.บ. เรือไทย (พ.ศ. 2481) ไม่เป็นสากล จนเกิดปัญหาการประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) และปัญหาค้ามนุษย์ตามมา ซึ่งรัฐบาลนี้ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ก็ได้ยึดหลักแก้ปัญหาด้วยการทำประมงที่ยั่งยืน โดยจะต้องเคารพกติกาสากล 3 ส่วน คือ เรือจับปลา คนจับปลา และการทำการประมงที่มีกฎกติการองรับ โดยกำหนดกรอบการทำงานออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการจัดการกองเรือ ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ ด้านการบังคับใช้กฎหมาย และด้านแรงงานภาคประมง ซึ่งต้องดำเนินการไปพร้อมๆกัน จากทุกภาคส่วน  

พร้อมทิ้งท้ายว่า ลจากการดำเนินการที่ผ่านมาทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำ กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เห็นได้จากการบันทึกการทำประมงของชาวประมงพาณิชย์ (logbook) ในปี 2561 ที่มีปริมาณการจับสัตว์น้ำได้ เพิ่มมากขึ้นกว่าปี 2560 ประมาณ 200,000 ตัน อีกทั้งรัฐบาลได้มอบหมายให้กรมประมงปรับเพิ่ม วันทำการประมง ประจำปีการประมง 2561 เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. สำหรับเรือประมงพาณิชย์ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน อันเป็นผลสัมฤทธิ์ จากการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ที่ทำให้ท้องทะเลไทยมีความยั่งยืน