สำหรับการเคลื่อนไหว"คนอยากเลือกตั้ง"ที่นับวันจะเหิมเกริมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการตราพระราชกฤษฎีกา ถือเป็นพระราชอำนาจของเบื้องสูงที่จะทรงใคร่ครวญ ความถูกต้อง ชอบธรรม ภายใต้บทบัญญัติกฎหมาย ซึ่งผู้ใดไม่อาจก้าวล่วงได้

จากการที่สำนักงานพระราชวังออกประกาศว่า ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 จะมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามพระราชประเพณี  ซึ่งถือเป็นวาระอันเป็นมหามงคลยิ่งสำหรับประชาชนคนไทย แต่ขณะเดียวกันก็มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการเตรียมความพร้อมจัดพระราชพิธี เนื่องจากก่อนหน้านั้นเคยมีการพูดถึงกำหนดเลือกตั้งตามโรดแมปในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

 

กลุ่มอยากเลือกตั้ง เหิมเกริมหนัก รู้หรือไม่? การตราพระราชกฤษฎีกา...คือพระราชอำนาจ

 

จากการที่สำนักงานพระราชวังออกประกาศว่า ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 จะมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามพระราชประเพณี  ซึ่งถือเป็นวาระอันเป็นมหามงคลยิ่งสำหรับประชาชนคนไทย แต่ขณะเดียวกันก็มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกับการเตรียมความพร้อมจัดพระราชพิธี เนื่องจากก่อนหน้านั้นเคยมีการพูดถึงกำหนดเลือกตั้งตามโรดแมปในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562

และนี่คือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นจากภาพการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่ต่อต้านรัฐบาลคสช.มาโดยตลอด จนล่าสุดมีการแสดงเจตนาผ่านข้อความ และคำพูดสื่อนัยยะในทำนองที่มิบังควรหลายต่อหลายครั้ง

 

กลุ่มอยากเลือกตั้ง เหิมเกริมหนัก รู้หรือไม่? การตราพระราชกฤษฎีกา...คือพระราชอำนาจ

 

โดยเมื่อช่วงเย็นของเมื่อวันที่ 13 ม.ค.2562 บริเวณแยกราชประสงค์ เขตปทุมวัน กทม. ทางกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง นำโดย นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ “จ่านิว” , น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ , นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมปราศรัย แสดงพลังในจุดยืน “ไม่เลื่อน ไม่ล้ม ไม่ต่อเวลาการเลือกตั้ง” คู่ขนานไปพร้อมๆกับการจัดกิจกรรมดังกล่าวที่บริเวณศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งในและนอกเครื่องแบบคอยดูแลความสงบเรียบร้อยทั่วบริเวณ

 

นายสิรวิชญ์ หรือ จ่านิว  ที่มีคดีความติดตัว และเคยถูกศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษาลงโทษ  ยังกล่าวอ้างในเชิงปลุกระดมว่า  เนื่องจากข้อเรียกร้องความชัดเจนเรื่องวันเลือกตั้งไม่ได้รับการตอบสนอง ทางกลุ่มขอยื่นคำขาดต่อรัฐบาล คสช. 3 ข้อ ดังนี้ 1.ไม่เลื่อนวันเลือกตั้งให้ล่วงเลยกว่าวันที่ 10 มี.ค. 2.ไม่ล้มการเลือกตั้งด้วยการใช้เล่ห์กล ข้ออ้าง หรือเทคนิคทางกฎหมายใดๆ และ 3.ไม่ต่อเวลาให้กับการอยู่ในอำนาจของตน ผ่านกลไกรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความได้เปรียบ

 

“หากภายในวันที่ 18 ม.ค.ไม่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง เพื่อเปิดทางให้ กกต.กำหนดวันเลือกตั้ง มวลชนจะยกระดับการชุมนุมสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เวลา 17.00 น. วันที่ 19 ม.ค.2562”

 

 

กลุ่มอยากเลือกตั้ง เหิมเกริมหนัก รู้หรือไม่? การตราพระราชกฤษฎีกา...คือพระราชอำนาจ

ทั้งนี้ยังได้มีการเผยแพร่แถลงการณ์ตามโลกโซเชียล มีเนื้อหาระบุว่า..

 

นับตั้งแต่วันที่เรามารวมตัวกันที่นี่เมื่อ 8 มกราคม 2562 จนถึงวันนี้ ข้อเรียกร้องเพื่อความชัดเจนเกี่ยวกับวันเลือกตั้งก็ยังไม่ได้รับการตอบสนอง จนถึงวันนี้ เวลาได้ล่วงเลยจนการเลือกตั้งตามกำหนด 24 กุมภาพันธ์ 2562 ที่รัฐบาลได้เคยให้คำมั่นไว้ ไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกแล้วตามกฎหมาย อันถือว่าการเลื่อนเลือกตั้งและการตระบัดสัตย์ครั้งที่ 5 โดยหัวหน้า คสช. โดยมีประชาคมโลกเป็นสักขีพยาน ได้เกิดขึ้นแล้วโดยสมบูรณ์

 

วันนี้เราใกล้หมดความอดทนกับความปลิ้นปล้อนตลบแตลง และความพยายามในการใช้สารพัดข้ออ้างรวมถึงการใส่ร้ายป้ายสี เพื่อปิดปากสื่อและประชาชนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง เราขอยื่นคำขาดต่อรัฐบาล คสช.

 

1. “ไม่เลื่อน” วันเลือกตั้งให้ล่วงเลยหลัง 10 มีนาคม 2562 เพราะจะสุ่มเสี่ยงให้ กกต. ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งภายในกรอบ 150 วันนับจากวันประกาศ พรป.เลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 อันอาจส่งผลทำให้การเลือกตั้งนั้นถูกชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญ และกลายเป็นโมฆะ

2. “ไม่ล้ม” การเลือกตั้งด้วยเล่ห์กลหรือข้ออ้าง รวมถึงเทคนิคทางกฎหมายใดๆ ทั้งที่มีความพยายามทำอยู่ในวันนี้ และที่จะมีขึ้นในอนาคต

3. “ไม่ต่อเวลา” ให้กับการดำรงอยู่ในอำนาจของตนเอง ผ่านกลไกตามรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบ ไม่ว่าจะในรูปของการใช้เสียงของ ส.ว. 250 คนจากการแต่งตั้งมาสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ใช้ความเป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มในการใช้งบประมาณและโยกย้ายข้าราชการอย่างไร้การตรวจสอบระหว่างช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้ง รวมถึงการเลือกปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการสืบทอดอำนาจ ซึ่งล้วนแล้วแต่ถือเป็นการโกงการเลือกตั้งทั้งสิ้น

 

ภายในวันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2562 หากยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาในราชกิจจานุเบกษา เพื่อเปิดทางให้ กกต. กำหนดวันเลือกตั้งได้ เราจะถือว่ารัฐบาลคสช. ได้แสดงออกอย่างชัดเจนที่สุดถึงความไม่จริงใจในการคืนอำนาจให้ประชาชน และเราจะยกระดับการชุมนุมสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 17.00 น. พบกันที่ถนนราชดำเนิน

 

กลุ่มอยากเลือกตั้ง เหิมเกริมหนัก รู้หรือไม่? การตราพระราชกฤษฎีกา...คือพระราชอำนาจ

ประเด็นที่สำคัญที่สังคมไทยต้องร่วมกันพิจารณามากขึ้น  ก็คือการรับรู้พร้อมกันว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ดังกล่าว มีเจตนาใดแอบแฝงหรือไม่

 

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุกเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 27 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้การดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ระบุไว้ใน บทเฉพาะกาล

 

มาตรา 171 ในวาระเริ่มแรก ให้ตราพระราชกฤษฎีกากําหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภามีผลใช้บังคับและให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดวันเลือกตั้งซึ่งต้องไม่ช้ากว่า หนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

 

สำหรับ “พระราชกฤษฎีกา” คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด

 

โดยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าการตราพระราชกฤษฎีกา เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ โดยระบุว่า...มาตรา 175 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจในการตราพระราชกฤษฎีกาโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย

 

ทั้งสำหรับขั้นตอนการตราพระราชกฤษฎีกา เริ่มจากการรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้นๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง

 

เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้นๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป

 

ทั้งหมดทั้งมวลคือสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองกลุ่มนี้ที่นับวันจะเหิมเกริมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการตราพระราชกฤษฎีกา ถือเป็นพระราชอำนาจของเบื้องสูงที่จะทรงใคร่ครวญ ความถูกต้อง ชอบธรรม ภายใต้บทบัญญัติกฎหมาย ซึ่งผู้ใดไม่อาจก้าวล่วงได้ โดยเฉพาะขบวนการทางการเมืองต่าง ๆ ที่ใช้เรื่องประชาธิปไตยมาเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรม