อยู่กับใครกระเป๋าแฟบ? ธนาคารโลกชี้​นโยบายลวงโลก "จำนำข้าว" ทำการคลังประเทศพัง!

ธนาคารโลก แจง โครงการจำนำข้าว เป็นนโยบายลวงโลก ทำประเทศเสียหาย ชี้ ประเทศไทยต้องไม่กลับไปทำโครงการนี้อีก

ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นทางการเมืองซึ่งถูกมาใช้ดิสเครดิต   ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนต่อจากนี้  สำหรับภาวะเศรษฐกิจประเทศไทยที่ทุกพรรคการเมืองชูเป็นนโยบายหลัก แต่ก็มีการเหน็บแนมผลการทำงานรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะกับวลีล่าสุด "อยู่กับเรา กระเป๋าตุง" ของคุณหญิงสุดารัตน์  เกยุราพันธุ์   ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย นำไปใช้ปราศรัยที่ศูนย์ประสานงานพรรคเพื่อไทย อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์  ก่อนจะกลายเป็นวิวาทะของ 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่าง "เพื่อไทย" กับ "พลังประชารัฐ  เพราะมีการนำคำดังกล่าวไปเติมแต่ง จนกลายเป็นคำโจมตีทางการเมืองว่า "อยู่กับเรา กระเป๋าตุง"  ต่อด้วย "อยู่กับลุง กระเป๋าแฟบ" 

 

หญิงหน่อย

 

ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ  อัตรารายได้โดยเฉลี่ยต่อเตือน  ต่อครัวเรือน ของคนไทยที่ประธานยุธศาสตร์การเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย นำมาประโคมเรียกความน่าสนใจทางการเมือง  มีความถูกต้องแค่ไหน หรือว่าเป็นการหยิบฉวยอารมณ์  มาปลุกเร้าให้เกิดกระแสร่วม   เนื่องด้วยความรู้สึกของประชาชนหาเช้ากินค่ำ  มีความคิดในลักษณะดังกล่าวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

 

ตลาด


เนื่องจากเมื่อตรวจสอบกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  พบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่าทุกจังหวัดของประเทศไทย ในปี 2560 ซึ่งมีการเก็บข้อมูลล่าสุด ตัวเลขรายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือน ต่อตัวครัวเรือน  มีค่าตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างในยุคพรรคไทยรักไทยอย่างชัดเจน และบางจังหวัดก็เพิ่มขึ้นจากยุคพรรคเพื่อไทย ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี  และใช้งบประมาณประเทศหลายแสนล้าน อัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบโดยไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  

 

ยกตัวอย่าง กรุงเทพมหานคร  ปี 2545 ตัวเลขรายได้อยู่ที่ 29,589.08 บาท  ขยับมาเป็น  45,707.31 บาท ในปี  2560  ลดลงจากปี 2556  ในระดับ 49,190.80 บาท   ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่มีนโยบายเพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็น  300 บาท  และ การรับจำนำข้าวเปลือกตันละ  15,000  บาท  ฯลฯ   ขณะที่ภาคเหนือ อาทิ  จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นฐานคะแนนสำคัญของพรรคไทยรักไทย  พบว่าในปี  2545 มีตัวเลขอยู่ที่เพียง 9,581.56 บาท  ก่อนขยับมาที่ 14,904.00 บาท ในปี 2549 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลไทยรักไทย ภายใต้การกุมอำนาจของ ทักษิณ ชินวัตร  จนกระทั่งในปี 2560 ตัวเลขรายได้เฉลี่ยครัวเรือน อยู่ที่  18,970.11 บาท

 

ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  หรือ ภาคอีสาน  อาทิ จังหวัดนครราชสีมา  ในปี 2545 ตัวเลขรายได้อยู่ในระดับ 9,494.25 บาท  ก่อนขึ้นแตะจุดสูงสุดในปี 2558  ซึ่งเป็นยุครัฐบาลคสช. ที่ 26,376.30  และปี 2560 อยู่ที่  24,428.92 บาท  หรือแม้แต่จังหวัดอุดรธานี  เมืองหลวงคนเสื้อแดง ตัวเลขเงินรายได้ต่อครัวเรือน ปี 2545 อยู่ที่ 9,884.82 บาท  และ  20,718.24 ในปี 2560 

 

สำหรับภาคใต้  อาทิ  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ปี 2545  ตัวเลขรายได้อยู่ที่  12,317.43 บาท  และ 26,239.27 บาท ในปี 2560  ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เริ่มต้นที่ 14,055.92 บาท  แต่การสำรวจครั้งล่าสุดในปี  2560 ขยับขึ้นมาที่ 38,025.69 บาท   

 

เรือประมง
 

อีกหนึ่งข้อมูลจากการจัดเก็บของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  ก็คือ  จำนวนคนจน ซึ่งวัดจากรายจ่าย  จำแนกเป็นรายภาค และจังหวัดในช่วงปี 2551-2560 พบว่ามีลำดับลดลงตามลำดับ  โดยในค่าสถิติรวมทั้งประเทศในปี 2551 อยู่ที่ 13,116,000  คน  จากนั้นในปี 2556 ซึ่งเป็นการบริหารช่วงสุดท้ายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์  มีตัวเลข 7,305,000 คน แต่น่าสนใจมาก ๆ พบว่าในปี 2560 จำนวนคนจนจาการจัดเก็บในเชิงสถิติ มีตัวเลขอยู่ที่ 5,324,000 คน 

 

จากตัวเลขอ้างอิงของสำนักงานสถิติแห่งชาติข้างต้น   ย่อมนำมาใช้อ้างอิงและประกอบการพิจารณา ได้ว่าการโจมตีทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย  เรื่องภาวะเศรษฐกิจ หรือ ความยากจน  เป็นไปโดยเจตนาแฝงเร้น  และมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน  ในขณะที่มีความชัดเจนว่ารัฐบาล  พล.อ.ประยุทธ์   ได้ดำเนินการหลายนโยบายเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มสวัสดิการประชาชน ผ่านโครงการประชารัฐ  และ สามารถเข้าถึงตรงยังประชากรที่มีรายได้ในเกณฑ์ เป็นผู้มีรายได้น้อยมากถึงกว่า 11 ล้านคน และเป็นการแก้ปัญหาที่แม้แต่ธนาคารแห่งประเทศ ยังมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยเดินมาถึงจุดแกร่งเพียงพอ เผชิญหน้ากับภาวะการถดถอยเศรษฐกิจโลกได้   ในขณะที่ธนาคารโลกก็ชี้ชัดเจนในลักษณะเดียวกัน พร้อมเน้นย้ำว่า ประเทศไทยจะต้องไม่ย้อนกลับไปดำเนินโครงการรับจำนำข้าวอีกต่อไป      

 

ทั้งนี้   นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา  นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทยของธนาคารโลก (world bank) เป็นบุคคลที่ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2562  โดยระบุว่า จากการประเมินของธนาคารโลก  มั่นใจว่าภาคการส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน  โดยเฉพาะกับกรณีของมาเลเซียที่จะได้รับผลกระทบชัดเจนเรื่องอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์  เนื่องจากมีพื้นฐานการส่งสินค้าไปยังจีนและสหรัฐอีกทอดหนึ่ง

 

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา

 

ขณะเดียวกันด้วยความสามารถของผู้ประกอบการส่งออกไทยในช่วงปี 2561 ที่ผ่านมา  ก็เห็นได้ชัดว่าสามารถปรับตัวหาตลาดทดแทนได้ดี  เมื่อวัดมูลค่าจากสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่เพิ่มขึ้น  ทำให้ในปี 2562  ธนาคารโลกประเมินปรับลดประมาณการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย  หรือ จีดีพี  ลงเพียงเล็กน้อยคือ 3.8% จากเดิม 3.9%  ส่วนการเติบโตเศรษฐกิจในปี 2563 คาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง 3.8% เช่นกันโดยได้แรงสนับสนุนจากการลงทุนภาครัฐ และการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวได้สูง  นอกจากนี้ธนาคารโลกยังสนับสนุนให้รัฐบาลไทยดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจัง  เนื่องจากจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้สูงกว่า 4% ต่อปีในอนาคต


นอกจากนี้ธนาคารโลกยังประเมินว่าในส่วนของรายได้ภาคเกษตร อาจมีการปรับลดลงและกระทบกับรายได้ภาคเกษตรในชนบท  ด้วยผลกระทบจากจากภัยแล้งที่ส่งผลสืบเนื่องมากตั้งแต่ปี 2559 และราคาสินค้าเกษตรที่ปรับลดลง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือธนาคารโลกไม่แนะนำให้ประเทศไทย ดำเนินนโยบายจำนำข้าวอีกในอนาคต  เพราะถือว่าส่งผลเสียต่อการคลังของภาครัฐอย่างรุนแรง  เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสูง และมีความโปร่งใสต่ำ  หากควรทำนโยบายอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิตของภาคเกษตรมากกว่า

 

เกษตรกร

 

 

ขณะเดียวกันถ้าหลายคนยังจำได้  ดร.กิริฎาเภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ได้เคยประเมินค่าใช้จ่ายโครงการประชานิยมของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์  ที่ล่าสุด คุณหญิงสุดารัตน์นำมาใช้โปรโมทพรรคเพื่อไทย ว่า ธนาคารโลกมีความเป็นห่วงในหลายโครงการที่เป็นแนวนโยบายของรัฐบาลขณะนั้น  แต่โครงการที่ธนาคารโลกคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดคือ  โครงการจำนำข้าว  ซึ่งตั้งราคารับจำนำสูงกว่าราคาข้าวในตลาดโลกประมาณร้อยละ 50 หรือประมาณ 200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อข้าวสาร 1 ตัน  และประเมินวาโครงการนี้ต้องใช้เงิมากกว่า  3.76 แสนล้านบาท เมื่อคิดจากปริมาณข้าวที่เข้าโครงการจำนวน 25 ล้านตัน แค่เฉพาะในฤดูกาลเก็บเกี่ยว 2554/2555 


จวบจนปิดโครงการรับจำนำข้าว คนไทยถึงได้รู้ว่าประเทศไทยได้รับความเสียหายมากกว่านั้นหลายเท่า  โดยเป็นทางด้าน นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว  ระบุว่า   การปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว 15 โครงการ ตั้งปี 2547 ถึง 2556   ซึ่งเป็นการปิดบัญชีถึงวันที่ 22 พ.ค.2557    มีการรับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการทั้งสิ้น 85 ล้านตัน ใช้เงินดำเนินการทั้งสิ้น 1.1 ล้านล้านบาท และมีผลขาดทุนอยู่ที่ 6.82 แสนล้านบาท โดยในส่วนนี้เป็นผลขาดทุนใน 11 โครงการแรก ช่วงก่อนรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวน 1.63 แสนล้านบาท และผลขาดทุนจากโครงการรับจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาท สำหรับอีก 4 โครงการหลัง ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์อีกจำนวน 5.19 แสนล้านบาท 

 

โกงจำนำข้าว

 

ทั้งนี้จากการปิดบัญชีดังกล่าว พบว่าการจำนำข้าวทั้ง 15 โครงการ มีรายได้ 3.7 แสนล้านบาท มีรายจ่าย 1.05 ล้านล้านบาท โดยการปิดบัญชีในครั้งนี้ใช้การตีราคาตามราคาตลาด เช่น ข้าวขาว 5% ที่ราคา 1.17 หมื่นบาทต่อตัน โดยปัจจุบันยังมีข้าวเหลือตามบัญชี จำนวน 19.2 ล้านตัน โดยหากคิดตามราคาตลาด ข้าวที่เหลือดังกล่าวจะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.25 แสนล้านบาท

 

สำหรับผลขาดทุนจำนำข้าวที่เกิดขึ้น ได้รวมค่าบริหารจัดการ ค่าดอกเบี้ย และค่าเสื่อม ซึ่งมีการคิดในปีแรกที่ 10% ปีที่สอง 20% ปีที่สาม 30% และปีที่สี่ 40% โดยจะคิดค่าเสื่อมแค่ 4 ปีเท่านั้น โดยผลขาดทุนที่ปิดล่าสุดมีขาดทุนจากค่าเสื่อมอยู่ที่ 3.3 หมื่นล้านบาท


ประเด็นนี้ต้องย้ำว่าปัญหาหนึ่งในเชิงเศรษฐกิจที่พรรคเพื่อไทยนำมาดิสเครดิตรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์  แท้จริงแล้วก็มาจากความผิดพลาดจากการดำเนินนโยบายของพรรคเพื่อไทยในอดีตนั่นเอง  ในทางตรงข้ามจากสิ่งที่รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการแก้ไข กลับทำให้ภาวะเศรษฐกิจไทยก้าวข้ามมาอยู่ในจุดที่ไว้วางใจได้ในระดับหนึ่ง ว่าจะไม่กลับไปซ้ำรอยวิกฤตเหมือนที่ผ่านๆมา ในยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่นักเลือกตั้งกำลังทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นผลเพราะความล้มเหลวจากการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 
- ไล่ออก!! "ธ.ก.ส." เลิกจ้าง พนักงานสาว หลังแฉพิรุธบัญชีจำนำข้าว ทางธนาคารโร่แจงสาเหตุ? (คลิป)
- "บุญยอด" จัดหนัก ถามดังๆ"จำนำข้าว"ทุจริตผิดกฎหมายทำไมไม่ยุบ เพื่อไทย?

 

บิ๊กตู่