ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

เรียกได้ว่าเป็นที่น่าจับตามองยิ่งกับศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มี.ค. 2562 ด้วยเพราะเป็นการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "สัดส่วนผสม"

ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

 

เรียกได้ว่าเป็นที่น่าจับตามองยิ่งกับศึกเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มี.ค. 2562 ด้วยเพราะเป็นการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า "สัดส่วนผสม" เป็นการเปลี่ยนแปลงกลไกการได้มาซึ่งรัฐบาล ด้วยเหตุที่ว่าในห้วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่ามักมีพรรคการเมืองที่ผูกขาดฐานเสียงในแต่ละพื้นที่ ปิดกั้นโอกาสพรรคอื่นให้ได้ต่อสู้กันอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม ดังจะเห็นได้ว่าภายหลังประกาศกฏเกณฑ์เลือกตั้งแบบใหม่

ปรากฏมีหลายพรรคการเมืองเก่าแก่ออกมาโพทนารัฐบาล คสช. ด้วยความคับข้องใจ พร้อมเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฏหมายการเลือกตั้งกลับเป็นแบบเก่า ซึ่งก็มิใช่เรื่องแปลกเมื่อผ่านมุมมองของกลุ่มเหล่านี้ ด้วยเพราะเสียผลประโยชน์ทางการเมืองชนิดทั้งขึ้นทั้งล่อง จนต้องปรับตัวด้วยการแตกกิ่งก้านสาขากลายเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย รีดเค้นทุกกลยุทธ์ด้วยหวังชัยชนะ ซึ่งก็ไม่ใช่พรรคใดอื่นหากแต่เป็นพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐบาลบริหารประเทศ ผูกขาดพื้นที่อีสาน-เหนือ พ่วงด้วยอดีตนายกฯ ที่หนีคดีถึง 2 คน

 

ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้จะเห็นได้ว่า เวปไซต์ราชกิจจาเริ่มทะยอยประกาศเกี่ยวกับระเบียบและกฏเกณฑ์การเลือกตั้ง เป็นสัญญาณที่ชัดเจนแล้วว่าการเลือกตั้งต้องเกิดขึ้นตามหมายกำหนด 24 มี.ค. 2562 อย่างแน่นอน ล่าสุด 25 ม.ค. 2562 มีการเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจํานวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ด้วยได้มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปพ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. ๒๕๖๑ และประกาศสํานักทะเบียนกลาง เรื่องจํานวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคมพ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

อันถือได้ว่าเป็นที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงประกาศจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและจํานวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ดังนี้

๑.ราษฎรทั่วราชอาณาจักรณวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐มีจํานวน ๖๖,๑๘๘,๕๐๓ คน

๒.จํานวนราษฎรโดยเฉลี่ย ๑๘๙,๑๑๐ คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน

๓.จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และจํานวนเขตเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด

 

แต่ที่น่าสนใจคือประกาศดังกล่าวเป็นประเด็นสืบเนื่องมาจาก ประกาศเขตเลือกตั้งหลังจากมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 16/2561 เมื่อช่วงเดือน พ.ย. 2561 ที่ผ่านมา เรื่อง แบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จำนวน 350 คน จาก 350 เขต ทั่วประเทศ ทั้งนี้พบว่ามี ส.ส. ลดลงเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งปี 2554 ที่มี ส.ส.แบบแบ่งเขต 375 คน ตามการแบ่งเขต

ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

จากประกาศล่าสุดนี้ ในภาพรวมนั้นจังหวัดที่มี ส.ส. มากที่สุดยังเป็นกรุงเทพฯ แต่ลดจำนวนลงจากการเลือกตั้งปี 2554 เป็น 30 คน จากเดิม 33 คน ถัดมาคือนครราชสีมา 14 คน จากเดิม 15 คน ส่วนขอนแก่นและอุบลราชธานีจังหวัดละ 10 คน แต่ในส่วนของอุบลฯ ก็ลดลงไป 1 คนเช่นกัน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 กำหนดให้ ส.ส. แบบแบ่งเขตมี 350 คน จากเดิม 375 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 150 คน จากเดิม 125 คน เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งประเทศ จึงมี 23 จังหวัดที่จำนวน ส.ส. ลดลง

ทั้งนี้เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น จำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตในภาคเหนือ จังหวัดที่มีจำนวนมากที่สุดคือ เชียงใหม่ ครั้งที่แล้วเพื่อไทยกวาดทั้ง 10 ที่นั่ง น้อยที่สุดคือ แม่ฮ่องสอน ครั้งที่แล้วประชาธิปัตย์ได้ที่นั่งที่เดียวไป ส่วน จำนวนส.ส. แบบแบ่งเขตในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีจำนวนมากที่สุดคือ นครราชสีมา ครั้งที่แล้วเป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคเพื่อไทย ได้ 8 ที่นั่ง ภูมิใจไทย 3 ที่นั่ง และชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 4 ที่นั่ง น้อยที่สุดคือ มุกดาหาร ครั้งที่แล้วเพื่อไทยกวาดไปทั้งสองที่นั่ง

 

ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

สำหรับภาคกลาง กรุงเทพฯยังคงเป็นจังหวัดที่จำนวน ส.ส. มากที่สุดเช่นเดิม ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคเก่าแก่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ที่ครั้งที่แล้วได้ส.ส.เขต 23 ที่นั่ง และที่เหลือเพื่อไทย 10 คน น้อยที่สุดคือ สมุทรสงคราม สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก เฉลี่ยกันไประหว่างเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยพัฒนา ภูมิใจไทย ส่วนจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตในภาคตะวันออก จังหวัดที่มีจำนวนมากที่สุดคือ ชลบุรี ครั้งที่แล้ว พรรคพลังชลได้ 6 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ 1 ที่นั่ง และเพื่อไทย 1 ที่นั่ง น้อยที่สุดคือ ตราด ที่นั่งเป็นของประชาธิปัตย์

ส่วนภาคตะวันตก จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือ กาญจนบุรี ครั้งที่แล้วเพื่อไทยได้ 2 ที่นั่ง และประชาธิปัตย์ 3 ที่นั่ง ราชบุรี ภูมิใจไทยได้ 4 ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา 1 ที่นั่ง น้อยที่สุดคือ ตาก เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ประชาธิปัตย์กวาดไปหมด และภาคใต้จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นของประชาธิปัตย์หมดทุกที่นั่ง น้อยที่สุดคือ พังงา และระนอง เป็นพื้นที่ประชาธิปัตย์ได้ไปในครั้งที่แล้วเช่นกัน

ทั้งหมดทั้งมวลจะเห็นได้ว่าบรรดาจังหวัดที่ยอด ส.ส. ลดลง นั้นเป็นถิ่นของพรรคการเมืองที่ผูกขาดคะแนนเสียงมายาวนานเช่น จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นบ้านเกิดของนายทักษิณ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือจังหวัดตรัง เป็นบ้านเกิดของนายชวน หลีกภัย อดีตนายกฯ และประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ จังหวัดบุรีรัมย์ถูกยกให้เป็นฐานเสียงของพรรคภูมิใจไทยเพราะเป็นบ้านเกิดของนายเนวิน ชิดชอบ ผู้ก่อตั้งพรรค เช่นเดียวกับพรรคชาติไทยพัฒนาที่ได้รับเสียงสนับสนุนจาก จากจังหวัดสุรรณบุรีและอ่างทองส่งต่อมาแต่รุ่นพ่อสู่รุ่นลูก และอีกหนึ่งจังหวัดที่น่าจับตามองคือ จำนวน ส.ส. ในจังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดฐานเสียงของพรรคชาติพัฒนา โดยมีนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็นที่ปรึกษา และโดนหางเลขถูกลดยอด ส.ส. ในพื้นที่ลงด้วยเช่นกัน

ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

เพียงพอที่จะเข้าใจถึงเจตนาของวิธีการได้มาซึ่งรัฐบาลในครั้งนี้เป็นอย่างดีว่า เป็นไปเพื่อความยุติธรรมของกฏกติกาในสนามการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ และแน่นอนว่าจะไม่มีพรรคใดจะผูกขาดคะแนนเสียงได้อีกต่อไป ทั้งนี้น่าสนใจว่ามีพรรคที่เพิ่งก่อตั้งและน่าจับตามองยิ่ง อาทิ พรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นการรวมตัวของบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมจะเป็นเทคโนแครตบริหารประเทศ อีกทั้งล่าสุดยังมีรายงานจากทางพรรคว่า ได้วางตัวบุคคลไว้แล้ว และจะใช้สิทธิเสนอชื่อนายกฯ เต็มจำนวนตามที่กฎหมายกำหนด 3 คน ตามลำดับ ดังนี้ 1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. 2.นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ 3.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี 

ศึกปีหมูที่ไม่หมู! สนามการเลือกตั้ง 62 ยกเครื่องใหม่ ไม่มีพรรคใดผูกขาดฐานคะแนนเสียง จับตามองพรรคเก่าแก่ พท.-ปชป. งานนี้มีร้อนๆหนาวๆ

สำหรับนายสมคิดนั้น ทางพรรคฯให้เหตุผลว่าเป็นผู้ประสานระหว่าง นายกฯ และพรรค และเป็นสัญลักษณ์สร้างความมั่นใจในนโยบายเศรษฐกิจของพรรค และเป็นมือเศรษฐกิจให้กับพล.อ.ประยุทธ์มาโดยตลอด

แต่ทั้งหมดล้วนขึ้นวิจารณญาณของประชาชนผู้มีสิทธิในการเลือกตั้ง เพราะหนึ่งเสียงของท่านนั้นจะชี้ชะตาประเทศในศึกที่มีเดิมพันสูงยิ่ง