กรมการปกครอง แถลงแล้ว รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องปมสนับสนุนงบฯ สร้างมัสยิด

จากกรณีปรากฏการเผยแพร่ข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ว่า รัฐบาล คสช. ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างมัสยิด และมัสยิดกลางประจำจังหวัดจำนวนหลายแห่ง

กรมการปกครอง แถลงแล้ว รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องปมสนับสนุนงบฯ สร้างมัสยิด

 

จากกรณีปรากฏการเผยแพร่ข่าวบนสื่อสังคมออนไลน์ว่า รัฐบาล คสช. ภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างมัสยิด และมัสยิดกลางประจำจังหวัดจำนวนหลายแห่ง ตลอดจนตั้งเงินเดือนโต๊ะอิหม่าม เดือนละ 18,000 บาท และคณะกรรมการประจำมัสยิดมีเงินเดือนทุกคน จนนำมาซึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

ล่าสุด 28 ม.ค. 2562 กรมการปกครองได้ออกแถลงระบุว่าขอเรียนว่าข่าวสารดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเรื่องเท็จและเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง จึงขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อโปรดทราบ ดังนี้

กรมการปกครอง แถลงแล้ว รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องปมสนับสนุนงบฯ สร้างมัสยิด

 

1. มัสยิดกลางประจำจังหวัดที่กล่าวอ้างถึงในสื่อสังคมออนไลน์ข้างต้น มีข้อเท็จจริง ดังนี้

1.1 มัสยิดกลางประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช จะก่อสร้างด้วยงบประมาณแผ่นดิน จำนวน 104 ล้านบาทเศษ แต่เป็นโครงการที่ผูกพันมาจากการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น (พ.ศ.2555) ตามแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนบน (อ่าวไทย) โดยเป็นงบผูกพัน 3 ปี พ.ศ.2557-2559 ซึ่งมอบหมายให้กรมการปกครองเป็นหน่วยขอรับงบประมาณและโอนจัดสรรให้แก่ จ.นครศรีธรรมราช มิได้เป็นการอนุมัติของ ครม.ชุดปัจจุบันแต่อย่างใด

1.2 มัสยิดกลางประจำจังหวัดนนทบุรี เป็นการก่อสร้างอาคารศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามจังหวัดนนทบุรี ซึ่งก่อสร้างด้วยงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 85 ล้านบาท มิได้เกิดจากการอนุมัติของ ครม.ชุดปัจจุบัน

1.3 มัสยิดกลางประจำจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดยะลา เป็นมัสยิดกลางที่มีมาแต่ดั้งเดิมแล้ว บางแห่งสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2424 พ.ศ.2468 และ พ.ศ.2497 โดยเงินส่วนใหญ่ที่ใช้ในการก่อสร้างก็มาจากเงินบริจาคของประชาชนในพื้นที่ แต่อาจมีการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในขณะนั้นบ้าง ตามนโยบายด้านความมั่นคง มิใช่การก่อสร้างขึ้นใหม่แต่อย่างใด ซึ่งรัฐบาลในยุคต่อๆ มา ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการบูรณะและต่อเติมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัยต่อชาวไทยมุสลิมที่มาประกอบกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งใช้งบประมาณจำนวน 22 ล้านบาทบ้าง 28 ล้านบาทบ้าง สูงสุดประมาณ 35 ล้านบาทเท่านั้น

1.4 มัสยิดกลางประจำจังหวัดภูเก็ต มีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามจังหวัดภูเก็ตและศูนย์พัฒนาอาหารฮาลาล ไม่ใช่อาคารมัสยิดกลางประจำจังหวัด ก่อสร้างโดยงบประมาณขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต และเงินบริจาคของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 250 ล้านบาทเศษ

1.5 สำหรับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดบึงกาฬ ยังไม่มีมัสยิดกลาง จะมีเฉพาะมัสยิดทั่วๆ ไป ซึ่งมาจากเงินบริจาคของประชาชนเท่านั้น

กรมการปกครอง แถลงแล้ว รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องปมสนับสนุนงบฯ สร้างมัสยิด

 

2. เนื่องจากผู้นำศาสนาอิสลามมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 ในการดูแลพี่น้องชาวไทยมุสลิมในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดทำทะเบียนสัปปุรุษ การสอนหลักธรรมศาสนาให้สัปปุรุษ การออกหนังสือรับรองการสมรสตามหลักศาสนา การจัดกิจกรรมทางศาสนา และการประนีประนอมข้อพิพาทว่าด้วยครอบครัวและมรดกตามหลักศาสนา

ดังนั้น รัฐจึงได้กำหนดให้ผู้นำทางศาสนาบางตำแหน่งได้รับเงินค่าตอบแทนมาตั้งแต่ พ.ศ.2539 ซึ่งก็ได้มีการปรับปรุงค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจโดยปัจจุบัน

2.1 อิหม่าม ได้ค่าตอบแทนเดือนละ 1,200 บาท

2.2 คอเต็บ และบิหลั่น เดือนละ 1,000 บาท

2.3 ประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 1,900, 2,700 หรือ 3,500 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนมัสยิดในแต่ละจังหวัด

2.4 กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ไม่มีค่าตอบแทนแต่อย่างใด

2.5 นอกจากนี้ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้รับค่าเบี้ยประชุมครั้งละ 1,100 บาท ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.2547 อีกด้วย

3.ดังนั้น ข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ในกรณีดังกล่าว จึงเป็นการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จและบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความขัดแย้งในสังคมไทย ซึ่งเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจผิดต่อรัฐบาลชุดปัจจุบัน นอกจากนี้การกระทำดังกล่าวย้งเป็นการนำเข้าข้อมูลและเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมายอีกด้วย

กรมการปกครอง แถลงแล้ว รัฐบาลไม่เกี่ยวข้องปมสนับสนุนงบฯ สร้างมัสยิด