หยุดซ้ำรอยโง่!!ติดเบรคขยายสัมปทานทางด่วนให้ BEM อีก 37 ปี "ดร.สามารถ"ข้องใจบอร์ดกทพ.ใช้หลักอะไรคิดเอาใจเอกชน??

หยุดซ้ำรอยโง่!!ติดเบรคขยายสัมปทานทางด่วนให้ BEM อีก 37 ปี "ดร.สามารถ"ข้องใจบอร์ดกทพ.ใช้หลักอะไรคิดเอาใจเอกชน??

กำลังเป็นประเด็นร้อนในหลายมิติ หลังจากคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มีมติแก้ปัญหากรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 21 ก.ย. 2561 ให้กทพ.จ่ายเงินชดเชยแก่บริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด  หรือ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในปัจจุบัน พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงินราว 4,200 ล้านบาท  และมีข้อหนึ่งในการเจรจาหาทางออกปัญหากับบริษัทเอกชน โดยการการขยายอายุสัญญาสัมปทาน ทางด่วนขั้น 2 ออกไปอีก 37 ปี จากสัญญาสัมปทานเดิมจะสิ้นสุด ในเดือน ก.พ. 2563

 

 

หยุดซ้ำรอยโง่!!ติดเบรคขยายสัมปทานทางด่วนให้ BEM อีก 37 ปี "ดร.สามารถ"ข้องใจบอร์ดกทพ.ใช้หลักอะไรคิดเอาใจเอกชน??

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ชำแหละค่าโง่ 1.8 ล้าน “ต่อขยายโทลล์เวย์” ที่การทางพิเศษฯต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ไม่ได้ก่อ?)

 

 

ต่อมาทางด้าน  สหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจ  การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(สร.กทพ.) ได้ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านกับการตัดสินใจของบอร์ดกทพ.  ในหลายประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก 37  ปี  ประกอบด้วยเหตุผลดังนี้

 

1. ไม่เห็นด้วยกับตัวเลข 1.3 แสนล้านบาท โดยการนำมูลคดีทางแข่งขัน 4,200 ล้านบาท ที่ยุติแล้ว มารวมกับมูลค่าของ คดีปรับค่าผ่านทางที่ยังไม่มีการตั้งเรื่องฟ้องคดีจาก BEM อีกจำนวน 70,000 ล้านบาท ซึ่งอาจทำให้รัฐเสียประโยชน์

2. ไม่เห็นด้วยกับการนำรายได้ทางด่วนขั้นที่ 1 ไปรวมในการขยายสัมปทาน

3. ขอความชัดเจนเรื่องการนำ 1.3 แสนล้านบาทมาลงบัญชี

4. ถ้าเกิดการต่อสัมปทานไปอีก 37 ปี เรื่องมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ( vat) ประมาณ 700 ล้านบาทต่อปี มูลค่ารวม 2.6 หมื่นล้านบาทใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ??

 

หยุดซ้ำรอยโง่!!ติดเบรคขยายสัมปทานทางด่วนให้ BEM อีก 37 ปี "ดร.สามารถ"ข้องใจบอร์ดกทพ.ใช้หลักอะไรคิดเอาใจเอกชน??

 

อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ ข้อเรียกร้องของสหภาพการทางพิเศษฯ ก็ยังไม่สามารถระงับยับยั้งแนวคิดของบอร์ดกทพ.ได้ และไม่รู้ท้ายสุดปัญหานี้จะมีข้อสรุปอย่างไร   เพราะกรณีนี้เป็นการตัดสินใจตามมติครม.ตั้งแต่ปี 2540  แล้ว แต่ไม่มีความพยายามแก้ไขปัญหา  ในทางตรงข้ามกับดันทุรังเดินหน้าโครงการดังกล่าว  จนเกิดข้อขัดแย้งทางธุรกิจ  กลายเป็นเหตุผลทำให้บริษัทเอกชนฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย

 

ล่าสุด  ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์  อดีตรองผู้ว่ากทม. และ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่าว  ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว   "จับตา!ต่อสัญญาทางด่วน 37 ปีเพื่อใคร?" ระบุใจความสำคัญว่า "เป็นข่าวที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งเมื่อคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือบอร์ด กทพ.มีมติเห็นชอบให้ กทพ.ต่อสัญญาสัมปทานให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้รับสัมปทานออกไปเป็นเวลา 37 ปี ในขณะที่สัญญาสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563

 

หยุดซ้ำรอยโง่!!ติดเบรคขยายสัมปทานทางด่วนให้ BEM อีก 37 ปี "ดร.สามารถ"ข้องใจบอร์ดกทพ.ใช้หลักอะไรคิดเอาใจเอกชน??

ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์

 

กทพ.สร้างทางด่วนขึ้นมาหลายสายตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะทาง 224 กิโลเมตร การลงทุนก่อสร้างทางด่วนบางสายเป็นการลงทุนโดย กทพ. และบางสายเป็นการร่วมทุนกับเอกชนเพื่อลดภาระทางเงินของ กทพ. หรือของรัฐ ทางด่วนที่ลงทุนโดย กทพ.ทั้งหมด 100% ประกอบด้วยทางด่วนสายแรกคือทางด่วนขั้นที่ 1 (ดินแดง-ท่าเรือ, บางนา-ท่าเรือ, ดาวคะนอง-ท่าเรือ) และทางด่วนอาจณรงค์-รามอินทรา รวมทั้งส่วนต่อขยาย ส่วนทางด่วนที่ร่วมลงทุนกับเอกชน หรือ BEM ประกอบด้วยทางด่วนสายที่เหลือทั้งหมด รวมทั้งทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน ซึ่ง กทพ.ร่วมลงทุนกับบริษัทลูกของบีอีเอ็ม

 

การร่วมลงทุนกับ BEM  ในทางด่วนหลายสายทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่าง กทพ.กับ BEM หลายคดี ซึ่งประกอบด้วยคดีที่ศาลตัดสินแล้ว คดีที่ศาลยังไม่ได้ตัดสิน และคดีที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการของศาลหรือยังไม่มีการฟ้องร้อง คดีที่ศาลตัดสินแล้วคือคดีทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน โดยศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้  กทพ.จ่ายเงินชดเชยให้บริษัทลูกของบีอีเอ็มจำนวน 4,318.4 ล้านบาท เนื่องจากมีการก่อสร้างทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ช่วงอนุสรณ์สถาน-รังสิตมาเป็นคู่แข่งขันกับทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน ส่วนคดีอื่นที่เหลือซึ่งศาลยังไม่ได้ตัดสินหรือยังไม่มีการฟ้องร้องเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นค่าทางด่วน ซึ่ง BEM เห็นว่า กทพ.ขึ้นค่าทางด่วนต่ำกว่าอัตราที่ระบุไว้ในสัญญา แต่ กทพ.เห็นว่าถูกต้องตามสัญญาแล้ว

 

ในส่วนของคดีที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินและคดีที่ยังไม่มีการฟ้องร้องนั้น   คณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางดำเนินการตามผลคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ซึ่งแต่งตั้งโดยคำสั่งบอร์ด กทพ.อ้างว่าที่ปรึกษาของ กทพ.ได้ประเมินค่าชดเชยที่ กทพ.จะต้องจ่ายให้ BEM  ในกรณีที่ กทพ.แพ้ทุกคดีเป็นเงินจำนวน 137,515.6 ล้านบาท  เงินจำนวนมากขนาดนี้ คณะอนุกรรมการฯ คงเห็นว่าคงเป็นภาระหนักของ กทพ.ที่จะจ่ายให้ BEM  จึงเจรจาต่อรองต่อสัญญาสัมปทานให้ BEM เป็นเวลา 37 ปี จนถึงปี พ.ศ.2600 พร้อมกับให้  BEM  สร้างทางด่วนชั้นที่ 2 จะทำให้มีทางด่วน 2 ชั้น ช่วงประชาชื่น-อโศก ระยะทาง 14 กิโลเมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มีรถติดบนทางด่วนมาก วงเงิน 31,500 ล้านบาท ผลการเจรจาของคณะอนุกรรมการฯ ได้รับความเห็นชอบจากบอร์ด กทพ.เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561

 

คำถามที่เกิดขึ้นมีดังนี้

1. ค่าชดเชยจำนวน 137,515.6 ล้านบาท ที่ กทพ.จะต้องจ่ายให้ BEM  นั้นประเมินมาได้อย่างไร และใครเป็นผู้ประเมิน เพราะในขณะนั้น กทพ.ยังไม่ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา

2. เหตุใดบอร์ด กทพ.จึงยินยอมที่จะจ่ายค่าชดเชยให้ BEM  เป็นเงินจำนวนมากถึง 137,515.6 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ หลายคดีศาลยังไม่ได้ตัดสินและ/หรือยังไม่มีการฟ้องร้อง

3. เหตุใดบอร์ด กทพ. จึงเห็นชอบให้ต่อสัญญาให้ BEM  เป็นเวลานานถึง 37 ปี และในช่วงระยะเวลา 37 ปี ซึ่งปริมาณรถบนทางด่วนจะเพิ่มมากขึ้นทุกปี BEM  จะมีรายได้จากค่าผ่านทางเท่าไหร่ ซึ่งอาจจะมากกว่าค่าชดเชย 137,515.6 ล้านบาท รวมกับเงินลงทุนก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 ช่วงประชาชื่น-อโศก ระยะทาง 14 กิโลเมตร วงเงิน 31,500 ล้านบาท ที่ BEM จะสร้างให้ กทพ.ก็ได้

 

ด้วยเหตุนี้ ผมขอเสนอแนะดังนี้

1. ขอให้บอร์ด กทพ.พิจารณาทบทวนการต่อสัญญาให้ BEM เป็นระยะเวลา 37 ปี

2. ขอให้บอร์ด กทพ.พิจารณาให้ กทพ.ดำเนินการบริหารทางด่วนสายที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานเอง ซึ่งจะทำให้สามารถลดค่าผ่านทางลงได้ เป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ทางด่วน

 

ถ้าบอร์ด กทพ.ทำได้ตามข้อเสนอแนะดังกล่าว จะถือว่าเป็นการแก้ปัญหาเพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนคนใช้ทางด่วน หรือประเทศชาติโดยส่วนรวม!??

 

หยุดซ้ำรอยโง่!!ติดเบรคขยายสัมปทานทางด่วนให้ BEM อีก 37 ปี "ดร.สามารถ"ข้องใจบอร์ดกทพ.ใช้หลักอะไรคิดเอาใจเอกชน??