ใครกันแน่ เป็นปฏิปักษ์การปกครอง.."บิ๊กตู่-ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" ?

ใครกันแน่ เป็นปฏิปักษ์การปกครอง.."บิ๊กตู่-ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" ?

สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น..เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ  ได้มีตัวแทนพรรคการเมือง ถึง 2 พรรค ที่เรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปัตย์ อย่างพรรคไทยรักษาชาติและพรรคเสรีรวมไท ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ กกต.ให้ยุบพรรคพลังประชารัฐ ในข้อกล่าวหาพล.อ.ประยุทธ์ เป็นปฏิปักษ์ การปกครอง

พรรคแรกพรรคไทยรักษาชาติ นำโดยนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ว่า ขอให้กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) จาก 3 ประเด็นที่ยื่นมาก่อนหน้านี้ โดยกกต.ต้องใช้มาตรฐานเดียวกับที่ยื่นยุบ ทษช.

 

อีกทั้งได้เห็นคำร้องยุบ ทษช.ที่กกต.ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้วอ้างเหตุย้อนแย้งกันเอง โดยกกต.อ้างเพียงว่า กกต.ไม่รับพิจารณาแคนดิเดตนายกฯของพรรค แต่กลับใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 ว่า ทษช.กระทำการเป็นปฏิปักษ์ ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค ขณะเดียวกันกลับใช้มาตรา 14 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. รับรองส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรค

 

นายเรืองไกร กล่าวว่า เรื่องที่ตนให้สอบพปชร. 3 เรื่อง ล้วนเป็นความผิดที่เข้าข่ายยุบพรรคชัดเจนยิ่งกว่า โดยกรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคสช. เข้าข่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่พปชร. กลับเสนอชื่อให้เป็นแคนดิเดตของพรรค เท่ากับกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง

 

ส่วนนายอุตตม สาวนายน เป็นหัวหน้าพรรคก่อนเป็นสมาชิก ถือว่าเป็นบุคคลภายนอกตามมาตรา 28 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่เข้าข่ายครอบงำพรรค ผิดมาตรา 92 วรรคหนึ่ง เป็นเหตุให้ถูกยุบพรรค

 

ขณะที่กรณีโต๊ะจีน ถือว่าเข้าข่ายแสวงหาผลกำไรมาแบ่งปันกัน เข้าข่ายขัดหลักการจัดตั้งพรรค มาตรา 20 (2) ของพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องยุบพรรคตามมาตรา 92 (3) เช่นกัน

 

คนที่สอง หัวหน้าพรรคเสรีรวมไท  พล.ต.อ.เสรีพิสุทธ์ เตมียเวช ก็เดินทางมายื่นคำร้องต่อ กกต.ให้ยุบพรรคพลังประชารัฐ เช่นกัน กรณีเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เนื่องจากการเข้ามาบริหารประเทศของ พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช.เป็นการยึดอำนาจจากบุคคลอื่น ทั้งยังมีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองต่อระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

ดูเหมือนว่าข้อกล่าวหาที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์  เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง ถือเป็นข้อกล่าวหาหลักที่ทั้ง คนจากไทยรักษาชาติ และพล.ต.อ.เสรีพิสุทธ์ ใช้เป็นเหตุผลต่อยืนต่อกกต. เพื่อยุบพรรคพลังประชารัฐ

 

ใครกันแน่ เป็นปฏิปักษ์การปกครอง.."บิ๊กตู่-ยิ่งลักษณ์-ทักษิณ" ?

 

ทั้งนี้หากย้อนไปถึงต้นสายปลายเหตุที่ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ ต้องตัดสินใจยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว นายทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 57

 

อย่างที่บอกความจริง รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ หมดความชอบธรรมที่จะบริหารประเทศ ตั้งแต่ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ จากกรณีแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมปีเดียวกันแล้ว

 

แต่รัฐบาลเพื่อไทยก็พยายามทู่ซี้อยู่ในอำนาจ ทั้งที่ไม่อาจบริหารราชการบ้านเมืองได้เลย เพราะติดขัดทั้งข้อกฎหมายของการเป็นรัฐบาลรักษาการ หลัง ประกาศยุบสภาเมื่อปลายปี 2556 ขณะถูกเครือข่ายภาคประชาชนในนามว่า "กปปส." ที่มีชื่อเต็มว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากทั่วประเทศรุกไล่อย่างหนัก ต้นต่อมาจากการที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เห็นหัวประชาชนออก "พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบสุดซอย" หวังฟอกผิดช่วย "พี่ชาย" ทักษิณ ชินวัตร ให้กลับ ประเทศไทยแบบเท่ๆ ไม่มีคดีติดตัว ไม่ต้องติดคุก  ใช้สภา “ลักหลับ”  ออกกฎหมายตอนตี3ตี4 ทำลายหลักนิติรัฐกลายเป็นชนวนให้มวลมหาประชาชนหลายล้านคนออกมาแสดงพลังครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เพื่อคัดค้านร่างพ.ร.บ.อัปยศฉบับนี้ จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างหนัก ขณะนั้นมีการประเมินสถานการณ์จากหลายฝ่าย เป็นกังวล ว่าอาจเป็นชนวนนำไปสู่ สงครามกลางเมือง.

 

เรียกได้ว่าประเทศไทยขณะนั้นไม่สามารถไปต่อได้ การชุมนุมรุนแรงขึ้น กองทัพโดยพล.อ.ประยุทธ์ พยายามอย่างยิ่ง ที่จะทำให้สถานการณ์ไปได้ด้วยดี อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยพยายามประสานให้ทุกฝ่ายหาทางออกร่วมกัน แล้วไม่สำเร็จ

 

มีรายข่าวว่า กองทัพ ได้ส่งคนไปรับ แกนนำกปปส.จากเวทีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ประกอบไปด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นายถาวร เสนเนียม และเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ นั่งรถทหารเดินทางมายังกรมทหารราบที่ 1.

 

 

เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่ได้แยกออกเป็น2 ห้อง ห้องแรกพานายสุเทพไป ซึ่งในดังกล่าวประกอบไปด้วย นายสุเทพ , พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคาดว่าน่าจะมีผู้บัญชาการเหล่าทัพอื่นๆ รวมไปถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ส่วนอีกห้องหนึ่ง ประกอบไปด้วย ทหารระดับแม่ทัพ ทหารฝ่ายเสนาธิการ และระดับปฏิบัติการ  ได้เชิญ นายถาวร และนายเอกนัฏ  พูดคุยแลกเปลี่ยนสถานการณ์

 

 

เมื่อคุยเสร็จทหารก็ได้พาทั้ง4คนกลับมาส่งที่ม๊อบ  รายงานข่าวระบุว่า นายสุเทพได้เล่าให้ฟังว่า “ไม่สำเร็จ”  โดยกองทัพอยากให้บ้านเมืองไปต่อ ไม่อยากยึดอำนาจ เป็นการเชิญมาคุยเพื่อหาทางออก โดยที่กองทัพไม่ต้องเข้ามายุ่งเกี่ยว  ขณะที่ ทางด้านน.ส.ยิ่งลักษณ์ รัฐบาลขณะนั้น ไม่เอาอย่างเดียว ต้องเป็นประชาธิปไตย และต้องการเดินหน้ากฎหมายนิรโทษกรรม

 

 

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าพล.อ.ประยุทธ์พยายามยับยั้ง และทำให้เรื่องจบในทางการเมือง แต่ปรากฏว่าไม่จบ ขณะที่ประเทศใกล้จะถึงวิกฤตทางตัน ไม่สามารถไปต่อได้ สถานการณ์ความรุนแรงจากเหตุการณ์ชุมนุมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการปิดล้อมเขตเลือกตั้ง  จนทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 เป็น "โมฆะ"

 

และในเวลาต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ ได้เชิญ 7ฝ่ายการเมือง มาประชุม เมื่อวันที่21 พ.ค. 57 ในประชุม 7 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวแทนพรรคเพื่อไทย , ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ ตัวแทน กปปส. , ตัวแทน นปช. ,ฝ่าย กกต., ฝ่ายรัฐบาล  โดยคณะ กอ.รส. ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงห์แก้ว ผบ.ตร. และ พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส. พร้อมนายทหารระดับ 5 เสือ ทบ.เขาประจำที่ ที่กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (กอ.รส.) สโมสรกองทัพบก

 

ต่อเนื่องจนกระทั้ง 2พ.ค. 57เมื่อการประชุมเริ่มขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางตามที่ได้ให้การบ้านไปก่อนหน้านี้ โดยแต่ละฝ่ายก็ยังคงนำเสนอแนวทางในมุมของตัวเองซึ่งเห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศแล้ว เมื่อแต่ละฝ่ายไม่มีจุดร่วมที่ตรงกันพล.อ.ประยุทธ์ ได้ขอพักการประชุมและเชิญแกนนำฝ่าย นปช.  โดยนายจตุพร และ กปปส. ไปหารือร่วมกันอีกห้องหนึ่ง ประมาณ 45 นาที เมื่อกลับมาที่วงหารือแล้วก็ยังได้เชิญเฉพาะ นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธานนปช. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. ไปพูดคุยกันส่วนตัวประมาณ 1 นาที ก่อนที่จะกลับมาที่วงหารือ

 

จากนั้นพล.อ.ประยุทธได้สอบถามนายชัยเกษม นิติสิริ รมว.ยุติธรรมในฐานะหัวหน้าคณะฝ่ายรัฐบาล ว่าตกลงรัฐบาลยืนยันไม่ลาออกทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่งนายชัยเกษม ระบุว่า "นาทีนี้ไม่ลาออก" พล.อ.ประยุทธ์ จึงบอกว่า "ถ้างั้นตั้งแต่นาทีนี้ ผมตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง"

นี่เป็นเส้นทางการเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน จากผบ.ทบ. สู่ตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” ของพล.อ.ประยุทธ์ ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทว่าจะ ชอบธรรม หรือไม่นั้น ก็อยู่ในฝ่ายไหน-สีใด เป็นผู้มอง

อีกทั้ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔๘ บรรดาการกระทําทั้งหลายซึ่งได้กระทําเนื่องในการยึดและควบคุมอํานาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ของหัวหน้าและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รวมทั้งการกระทําของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือของผู้ซึ่งได้รับคําสั่งจากผู้ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ อันได้กระทําไปเพื่อการดังกล่าวข้างต้นนั้น การกระทําดังกล่าวมาทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทําเพื่อให้มีผลบังคับในทางรัฐธรรมนูญ ในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทําอันเป็นการบริหารราชการอย่างอื่น ไม่ว่ากระทําในฐานะตัวการผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทํา หรือผู้ถูกใช้ให้กระทํา และไม่ว่ากระทําในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทํานั้นผิดต่อกฎหมาย ให้ผู้กระทําพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง

 

ขณะที่รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ผ่านการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญผลออกมาปรากฏว่าร่างรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบของคนใหญ่ทั้งประเทศ ด้วยคะแนนเสียง 15,562,027 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม  2559นั้น

 

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในบทเฉพาะกาล มีบทบัญญัติใน ม.๒๖๕ ให้ คสช.ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปเข้ารับหน้าที่ และในระหว่างนี้ หัวหน้า คสช.ยังมีอำนาจครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวทุกฉบับ โดยให้ถือว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจของหัวหน้า คสช.และคณะยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไป

 

นั้นก็เท่ากับว่าคสช. มีอำนาจในการดูแลรักษาความสงบตามกฏหมายทุกประกาศ คสช. สามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จต่อไปได้อีก จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาแทนที่..แล้วแบบนี้ ใครที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง.. “พล.อ.ประยุทธ์” ที่เข้ามาเพื่อหยุดสงครามกลางเมือง , “น.ส.ยิ่งลักษณ์” ที่ฟอกขาวให้กับพี่ชาย..หรือ “นายทักษิณ” ที่หนีคดี ทุจริต คอรัปชั่น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

บิ๊กแดงไล่เพื่อไทยฟังเพลงหนักแผ่นดิน หลังหาเสียงตัดงบกห.-เลิกเกณฑ์ทหาร

จตุพรสังหรณ์เกิดรัฐประหารล้มกระดานลต. จับสัญญาณผบ.ทบ.พูดหนักแผ่นดิน จบแบบเหตุ6ตุลา

โฆษก "พรรคเพื่อไทย" เห็นดีเห็นงาม หนุน นศ. รวมหัวจุดเทียน อ้าง "ต้านรัฐประหาร"

“โอ๊ค” สลัดคราบผู้ต้องหาคดีฟอกเงิน! นำทัพ “พรรคเพื่อไทย” เยือน “ขอนแก่น” ขอพรศาลหลักเมือง หวังชนะศึกเลือกตั้ง?

ชำแหละนโยบายพรรคไหนโม้ Part1 : "พรรคเพื่อไทย" ประชานิยมขายฝัน? ทำชาวนาน้ำตาตก เก่งแต่ทำนาบนหลังคน!

"บิ๊กป้อม" ย้ำ เลือกตั้งภายใน 150 วันแน่! สวนกลับ "พรรคเพื่อไทย" ไปถามกันเองคนไหนกระเป๋าตุง-แฟบ