เปิดประวัติเครื่องบินเจ้ากรรม C 130 ! "บิ๊กตู่" แคล้วคลาด เมินคำสาปแช่ง เผยห้อยพระติดตัว ในใจก็มีพระอยู่

ประวัติ ของเครื่องบิน C 130 ที่ "บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยสารและแคล้วคลาดรอดชีวิต

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี อาทิ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ,พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ตำบลบ่อผุด อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตรวจราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดกระบี่ ด้วยเครื่องบิน C 130 เลขเครื่อง 60109 ของกองทัพอากาศ โดยมีกำหนดบินสนามบินนานาชาติสมุย ในเวลา 08.20 นาที

 

บิ๊กตู่ลงเครื่อง

 

แต่หลังขึ้นบินไปได้ประมาณ 45 นาที ปรากฏว่าใบพัดขัดข้อง ทำให้ต้องวนเครื่องกลับมาที่สนามบินดอนเมืองเพื่อเปลี่ยนลำ เป็นเครื่องบิน CN 295 เลขเครื่อง 16150 ของกองทัพบกแทน ทั้งนี้ นากรัฐมนตรีได้กล่าวขณะลงพื้นที่ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยย้ำเรื่อง สาเหตุใช้งบประมาณของกองทัพ ในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ เพราะเริ่มใช้การไม่ได้แล้ว รวมถึงในวันข้างหน้า ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ ก็ต้องใช้เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ไม่ได้ใช่แค่นายกรัฐมนตรี


ทั้งนี้ กรณีที่เกิดขึ้นทำให้โซเชียลมีการตั้งคำถามว่าถึงเครื่องบินลำดังกล่าวว่ามาอยู่ในประเทศไทยทั้งแต่เหมือนเมื่อไหร่ และบางส่วนก็ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามนายกฯ ถึงขั้นโพสต์แช่ง ซึ่งกรณีดังกล่าว ล่าสุด นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาระบุว่า ที่มีคนแช่งให้เครื่องบินตก ว่า “แช่งไปเถอะ ผมก็ไม่เห็นเป็นอะไร ผมห้อยพระอยู่แล้ว” อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ เคยเปิดพระเครื่องที่ห้อยติดตัวประจำให้สื่อมวลชนดู ซึ่งมีอยู่นับสิบองค์ พร้อมระบุว่า “พระของผมมีมาตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ตอนเป็นทหารก็ได้มาตลอด เช่น หลวงปู่ทวด แต่ไม่ได้นับว่าทั้งหมดกี่องค์ ผมไม่หนัก เพราะพระอยู่กับผม ในใจผมมีพระอยู่ ในใจมียิ่งกว่าพระประธานอีก”

 

นายกบิ๊กตู่

 

อย่างไรก็ดี มาทำความรู้จักกับเครื่องบิน ซี-130 เฮอร์คิวลิส (Lockheed C-130 Hercules) เป็นเครื่องบินลำเลียงใช้เครื่องยนต์เทอร์โบใบพัด 4 เครื่องยนต์ ได้ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและยาวนานที่สุด เครื่องเฮอร์คิวลิสบินครั้งแรกเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เริ่มประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อพ.ศ. 2497 เฮอร์คิดลิสได้รับการพัฒนาตลอดมา และใช้กันในหลายประเทศ

ในปี พ.ศ. 2511 เฮอร์คิวลิสได้เริ่มเข้าสู่การบินพาณิชย์โดยกำหนดสัญลักษณ์ใหม่สำหรับรุ่นใช้งานทางพลเรือนเป็น ล็อกฮีดแอล 100 เฮอร์คิวลิส ซึ่งมีลำตัวยาวกว่าเฮอร์คิวลิสทางการทหาร และต่อมาได้มีการพัฒนาเฮอร์คิวลิส เป็นเครื่องบินลำเลียงชั้นสูง ชื่อรุ่นว่า แอ็ดวานซ์ เฮอร์คิวลิส


ตลอดการใช้งานของมันเครื่องตระกูลเฮอร์คิวลิสนั้นได้ทำหน้าที่ในกองทัพของหลายประเทศ ทั้งปฏิบัติการพลเรือนและช่วยเหลือมนุษย์ มันเป็นตระกูลที่มีการผลิตต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์เครื่องบินทางทหาร ในปีพ.ศ. 2550 ซี-130 ได้กลายมาเป็นเครื่องบินลำที่ห้า ต่อจากอิงลิช อิเลคทริก แคนเบอร์รา บี-52 สตราโตฟอร์เทรส ตูโปเลฟ ตู-95 และเคซี-135 สตราโตแทงค์เกอร์ ที่ถูกใช้ติดต่อกัน 50 ปีโดยกองทัพอากาศสหรัฐ ซี-130 ยังเป็นอากาศยานทางทหารเพียงแบบเดียวที่ยังคงทำการผลิตมา 50 ปีโดยลูกค้ารายเดิม จนได้พัฒนาเป็นซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส

 

เครื่องบิน C 130

 

ประเทศไทย ซี-130 เป็นเครื่องบินของกองทัพอากาศเข้าประจำการในปี พ.ศ. 2523 ให้บริการสำหรับขนส่งข้าราชการของหน่วยงานรัฐ ที่ต้องไปราชการหรือปฏิบัติภารกิจตามหัวเมืองต่าง ๆ และภารกิจอื่นอีกมากมาย เช่น ภารกิจสำนักพระราชวัง ลงตรวจพื้นที่ที่ได้รับภัยพิบัติธรรมชาติ รับ-ส่งคณะ ครม. สับเปลี่ยนกำลังพล ลำเลียงผู้เสียชีวิต ฯลฯ มีชื่อเรียกอย่างติดตลกในหมู่นักข่าวว่า “หมูหิน” เนื่องจากรูปร่างในส่วนหัวเครื่องที่มีส่วนจมูกยื่นออกมาสีดำคล้ายหมู ส่วนลำตัวที่ดูอ้วนๆ และด้วยการที่มันสามารถปฏิบัติภารกิจหนักๆ ต่างๆ

 

C 130 ของกองทัพอากาศ