บทเรียนผู้รับใช้:บทเรียนยงยุทธ บทเรียนที่ทักษิณสอน ใครรายต่อไป?เมื่อข้าราชการ-นักการเมืองไม่จำ

คงจะมีไม่กี่คนที่ชีวิตบั้นปลายจะต้องประสบกับความยากลำบาก เสี่ยงคุกตะราง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานเมื่อถึงช่วงท้ายของชีวิตมักจะหันหน้าสู่ความสงบ ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขสูงสุด หากแต่สัจธรรมของชีวิตก็หาใช่เป็นเช่นนั้นทุกคน อย่างน้อยนายยงยุทธ คนหนึ่งซึ่งวันนี้อายุล่วงเข้า77ปีแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าขาข้างหนึ่งดูเหมือนจะแหย่เข้าไปในเรือนจำเสียแล้ว จากคำพิพากษาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในคดีทุจริตที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ ซึ่งเมื่อพินิจเนื้อในคำของศาลที่อธิบายไว้ ได้สะท้อนความจริงหลายประการ และหนึ่งในนั้นคือเป็นการกระทำต่างตอบแทนกัน จนท้ายที่สุดต้องรับผล!?! นี่คือผลแห่งกรรม การกระทำการเป็นข้ารับใช้ที่ข้าราชการและนักการเมืองควรต้องจดจำเป็นบทเรียนจากคนชื่อทักษิณ ชินวัตร หรือไม่โปรดใคร่ครวญ?!?

 

สำหรับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ปัจจุบัน อายุ 77 ปี เป็นอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต้องตกเป็นจำเลยในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยระหว่างที่นายยงยุทธ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ใช้ตำแหน่งอำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ในการพิจารณาอุทธรณ์ และสั่งเพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน โดยมีเจตนาช่วยเหลือ บริษัท อัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด, บริษัท กอล์ฟ แอนด์ สปอร์ตคลับ จำกัด และผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในเวลาต่อมา ให้ได้รับประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

 

คดีนี้ ศาลอาญาคดีทุจริตฯ โดยชั้นต้น มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2559 เห็นว่า การที่นายยงยุทธ จำเลยพิจารณาอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งให้ยกเลิกโฉนดที่ดินที่จดทะเบียนในนาม ‘สนามกอล์ฟอัลไพน์’ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์จากการที่นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหารนั้น จำเลยออกคำสั่งโดยมิชอบ โดยจงใจละเลยข้อเท็จจริงต่างๆ และยังจงใจตีความกฎหมายให้ผิดเพี้ยนไปจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2482 ที่ระบุให้กระทรวงถือปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

 

 

เปิดคำพิพากษา:ผลประโยชน์ต่างตอบแทนทักษิณ บทเรียนยงยุทธ?

 

ดังนั้น คำสั่งของนายยงยุทธ จำเลยจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแก่ผู้อื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัดธรรมิการามวรวิหาร ทั้งยังทำลายศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จำเลยจึงมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา ต่อมานายยงยุทธ จำเลยได้รับอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ โดยศาลตีราคาประกัน 5 แสนบาทต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์

 

และล่าสุดศาลอุทธรณ์ ได้พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 2 ปีโดยไม่รอลงอาญานั้นเหมาะสมแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น จึงพิพากษายืน ต่อมาศาลพิจารณา ให้จำเลยประกันตัว ในวงเงินหลักทรัพย์ 900,000 บาท ห้ามออกนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้มีการเปิดเผยถึงสาระสำคัญในการอุทธรณ์ของฝ่ายนายยงยุทธ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็น และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือประเด็นที่สอง ที่ว่ากรณีนี้ถือเป็นการใช้อำนาจหน้าในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริต และแสวงหาผลประโยชน์หรือไม่ โดยนายยงยุทธ อุทธรณ์ว่า การกระทำดังกล่าวที่ทำไป ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ขณะนั้น) และกลุ่มบริษัทอัลไพน์ จึงขอให้ศาลลงโทษสถานเบา

 

เปิดคำพิพากษา:ผลประโยชน์ต่างตอบแทนทักษิณ บทเรียนยงยุทธ?

 

ศาลพิเคราะห์พิจารณาจากข้อเท็จจริงพบว่า เดิมสมัยจำเลยเป็นอธิบดีกรมที่ดิน ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นของกลุ่มบริษัทอัลไพน์ ที่มีนายเสนาะเป็นเจ้าของโดยพฤตินัย และเมื่อปี 2542 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) ซื้อหุ้นกลุ่มบริษัทอัลไพน์ต่อจากนายเสนาะ โดย พ.ต.ท.ทักษิณ เคยให้สัมภาษณ์กับนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นคลิปเสียงยอมรับว่า ได้ซื้อหุ้นกลุ่มบริษัทอัลไพน์ต่อจากนายเสนาะจริง ขณะที่จำเลยช่วงเป็นอธิบดีกรมที่ดิน พร้อมทำตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่ต่อมาภายหลังรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย กลับไม่ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา เชื่อได้ว่ามีมูลเหตุจูงใจทำให้การปฏิบัติหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป

 

เมื่อพิเคราะห์อีกว่า ช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ซื้อหุ้นกลุ่มบริษัทอัลไพน์ ต่อจากนายเสนาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เมื่อปี 2545 ในช่วงที่จำเลยรักษาราชการแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย และไม่ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯแล้ว จึงน่าเชื่อว่าการกระทำของจำเลยเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ต่างตอบแทน หวังให้ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งระดับสูงในภายหลัง

 

ข้อเท็จจริงปรากฏอีกว่า ภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี ทางจำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย และหลังเกษียณราชการ ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในช่วง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯด้วย จึงเชื่อได้ว่า จำเลย ปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มบริษัทอัลไพน์ และ พ.ต.ท.ทักษิณ อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น

 

กระนั้นมีสาระสำคัญในคดีนี้ที่เกี่ยวข้องกับศาลฯที่ประชาชนทั่วไปควรรับทราบ เมื่อนายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงข้อกฎหมายภายหลังศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจำคุกนายยงยุทธว่า กรณีนี้เป็นคดีที่ฟ้องภายหลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว จึงต้องใช้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 มาบังคับ ซึ่งมาตรา 42 กำหนดว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบให้เป็นที่สุด หากคู่ความประสงค์จะฎีกาต้องปฏิบัติตามมาตรา 44 ที่กำหนดให้การฎีกาผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาด้วย ซึ่งเหตุที่ศาลฎีกาจะพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาได้ระบุไว้ในมาตรา 46 คือ ต้องเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย

 

เปิดคำพิพากษา:ผลประโยชน์ต่างตอบแทนทักษิณ บทเรียนยงยุทธ?

 

นั่นคือสาระสำคัญที่มากกว่าความน่าสนใจก็คือ น่าใคร่ครวญสำหรับข้าราชการ นักการเมืองที่ทุจริต ประพฤติไม่ชอบในหน้าที่เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์จากผู้มีอำนาจและผู้มีเงิน จนในที่สุดก็ต้องประสบชะตากรรมเข้าไปติดคุก โดนฟ้องร้องจนตัวเองต้องได้รับความเดือดร้อน แม้ในช่วงแรกๆอาจมีความสุขดีกับสิ่งที่ได้รับตอบแทน แต่ต้องจดจำไปจนตายเมื่อท้ายที่สุดแล้ว ต้องกลับมารับผลกรรมนั้น!!!

 

อย่างไรก็ตาม คดีทุจริตอัลไพน์ของ นายยงยุทธ แกนนำพรรคเพื่อไทย ถือว่าเป็นวิบากกรรมช่วงบั้นปลายชีวิต อีกหนึ่งบทเรียนหนึ่งสำหรับผู้รับใช้ระบอบทักษิณ โกงที่ดินธรณีสงฆ์ เอาไปสร้างสนามกอล์ฟอัลไพน์ และบ้านจัดสรร ซึ่งว่ากันว่าเป็นผลงานชิ้นแรกที่นายยงยุทธ ที่แสดงตัวให้นาย ทักษิณ ชินวัตร เห็นว่า ยอมรับใช้ โดยไม่สนใจว่า ตนเอง เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีหน้าที่ต้องรักษากฎหมาย ดูแลผลประโยชน์ส่วนรวม ผลประโยชน์ชาติ ไม่ใช่ตอบสนองผลประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมือง

      

ทั้งนี้จะเห็นได้จากที่ศาลได้อ่านคำพิพากษา ซึ่งนายยงยุทธ ได้รางวัลตอบแทนคือ แต่งตั้งให้เป็น ปลัดกระทรวงมหาดไทย เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการ เพียง 8 เดือน หลังจากนั้นนายยงยุทธ ก็เข้าสังกัดทางการเมืองในสีเสื้อพรรคเพื่อไทยปวารณาตัวเป็นข้ารับใช้ระบอบทักษิณ ประเดิมด้วยการเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ช่วยงานคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น เมื่อปี 2546

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2551 ขึ้นชั้นนั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่ถูกมองเป็นหัวหน้าพรรคตัวปลอม  เป็นผู้นำพรรคเพียงในนาม แต่อำนาจการสั่งการพรรคตัวจริงยังอยู่ที่ “ทักษิณ ชินวัตร” ก่อนมีการเลือกตั้งในปี2554 ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ขึ้นชั้นเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกรัฐมนตรี ชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวนายทักษิณ ชินวัตร

 

ประชาชนทั้งหลายจะเห็นแล้วใช่หรือไม่ว่า ท้ายที่สุดชะตากรรมนายยงยุทธเป็นอย่างไร แม้ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนฏีกาหากแต่ด้วยผลกรรมของการกระทำนั้น ย่อมสะท้อนกลับไปอย่างยากหลีกเลี่ยง และนี่คือบทเรียนของข้าราชการนักการเมือง ที่รับใช้ผู้มีอำนาจ ซึ่งนายยงยุทธ ไม่ใช่รายแรก และก็เชื่อว่าคงไม่ใช่รายสุดท้ายที่นายทักษิณ จะสอนบทเรียนเมื่อมนุษย์ยังติดอยู่ในความลุ่มหลงของลาภ ยศ ตำแหน่ง ตราบนั้นเราคงเห็นเหยื่อรายต่อไป และต่อไป???

 

เปิดคำพิพากษา:ผลประโยชน์ต่างตอบแทนทักษิณ บทเรียนยงยุทธ?

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กล้าพูด "ลูกทักษิณพร้อมตั้งแต่เกิด" เปิดปูมวีรกรรมฉาว จับตานับถอยหลังบินนอกไปแล้วไปลับ??

ทักษิณขุดต้มยำกุ้ง พูดความจริงไม่แท้??? ยกคำสอน โลภทำให้พลาด ครอบครัวเดือดร้อน!?!

ไร้ราคา!​ Good Monday ทักษิณโหนกระแสฝุ่นพิษ​ ไม่อยู่ในสายตาสื่อหลัก โบ้ย "สาเหตุเพราะรถ" ทวนความจำ "นโยบายรถคันแรก" เป็นของใคร

สุดยอดวิชาโกง!!! ครบ 9 ปีเต็มยึดทรัพย์ “ทักษิณ” จำไม่ลืมคำสาปแช่ง สุดท้ายดาบคืนสนอง...จบสิ้น(หวัง)กลับแผ่นดินไทย

ยิ่งกว่าเชื้อโรค? ... อันตรายต่อประเทศ! "กำนันสุเทพ" ลั่น "รปช." ไม่ร่วมกับระบอบทักษิณ ย้ำ ไม่แทงกั๊กเหมือนบางพรรค!

กระชากความจริงเบื้องหลัง​ "พลังบริสุทธิ์" คนรุ่นใหม่​ของ​ธนาธร​ คือ​ เครือข่าย​ IO​ จัดตั้งของธนาธรและแนวร่วมทักษิณ

"ทักษิณ"เป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข??