กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ เรื่อง เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี  เนื่องจากถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาถึงที่สุดลงโทษจำคุก และยังมีข้อหาฐานอื่น ๆ คดีติดตัวยาวเป็นหางว่าว หนำซ้ำยังเป็นนักโทษหนีคดีไปอยู่ต่างแดนอีกด้วย ซึ่งเป็นพฤติการณ์การกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง 


 

กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

 

สำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ถูกเรียกคืนประกอบไปด้วย 1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ 2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์ช้างเผือก จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก

3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย 4. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ และเหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1

 

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร สำหรับรายชื่อนักการเมือง ที่อยู่ในข่ายที่จะต้องถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เช่นเดียวกับ นายทักษิณ นั้น  มีอีกอย่างน้อย 4 ราย ด้วยกัน  คือ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” อดีตนายกฯ “บุญทรง เตริยาภิรมย์” อดีต รมว.พาณิชย์ “ภูมิ สาระผล” อดีต รมช.พาณิชย์ และ “มนัส สร้อยพลอย” อดีตอธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ

 

กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

 

โดยยึดข้อกำหนดตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชฯ ดังนี้

- ระเบียบดังกล่าว กำหนดเหตุแห่งการเรียกคืนเครื่องราชฯ ไว้ ทั้งหมด 8 ข้อด้วยกัน ซึ่งมีข้อหนึ่งที่เข้าเหตุ “ยิ่งลักษณ์-บุญทรง-ภูมิ-มนัส” ได้แก่ ข้อที่ 6 ระบุว่า เป็นผู้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งที่ดำรงอยู่เพราะมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย

- “ยิ่งลักษณ์-บุญทรง-ภูมิ-มนัส” ต่างถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ทั้งในทางถอดถอน และคดีอาญา แบ่งเป็น

1. “ยิ่งลักษณ์” กรณีไม่ระงับยับยั้งความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว

ป.ป.ช. เห็นว่า มีพฤติการณ์เป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 178 และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 11 (1) อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญฯ  มาตรา 270 ซึ่งมีมูลเพียงพอที่จะดำเนินการส่งให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอนต่อไปได้

 

ยิ่งลักษณ์

 

ต่อมาที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปฏิบัติหน้าที่แทนวุฒิสภา ได้ดำเนินการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยมีมติเสียงข้างมาก 190 เสียง ให้ถอดถอน ซึ่งคะแนนเกินกว่า 3 ใน 5 ของ สนช. ทั้งหมด 220 ราย ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี

 

ส่วนในทางอาญา มีมูลความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ฐานเป็นเจ้าหน้าทีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

หรือใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ จึงส่งรายงาน และสำนวนให้อัยการสูงสุด (อสส.) ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้รับพิจารณาคดีนัดแรกไปแล้ว เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา และได้นัดตรวจพยานหลักฐานนัดแรกในวันที่ 21 และ 28 ก.ค. 2558

2. “บุญทรง-ภูมิ-มนัส” กรณีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยมิชอบ

ป.ป.ช. เห็นว่า ร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 พร้อมกับส่งรายงานและสำนวนการไต่สวนให้แก่อัยการสูงสุด (อสส.) และส่งให้วุฒิสภาดำเนินการถอดถอน

 

ต่อมาที่ประชุม สนช. ปฏิบัติหน้าที่แทนวุฒิสภา ได้ดำเนินการถอดถอน นายบุญทรง นายภูมิ และนายมนัส โดยมีมติเสียงข้างมาก 182 เสียง 180 เสียง และ 158 เสียง ตามลำดับ ซึ่งคะแนนเกินกว่า 3 ใน 5 ของ สนช. ทั้งหมด 220 ราย ทำให้ทั้งหมดถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง และถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี

ส่วนในทางอาญา กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 เช่นกัน จึงส่งรายงาน และสำนวนให้ อสส. ฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

ปัจจุบันคดีทุจริตระบายข้าวจีทูจีล็อตแรก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาลงโทษจำคุก บุญทรง-ภูมิ-มนัส ว่ามีความผิดตามกฎหมายไปแล้ว   ส่วน น.ส.ยิ่งลักษณ์ อยู่ระหว่างการหลบหนีคดีในต่างประเทศ 

ทั้งนี้ เครื่องราชฯของ “ยิ่งลักษณ์” ที่จะต้องถูกเรียกคืน ได้แก่

1.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
3.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)


4.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นเบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
5.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.
6.เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1

 

เครื่องราชฯของ “บุญทรง” ที่จะต้องถูกเรียกคืน ได้แก่

1.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

 

กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

 

เครื่องราชฯของ “ภูมิ” ที่จะต้องถูกเรียกคืน ได้แก่

1.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
2.เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

 

กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาจำคุกอดีตนักการเมืองใหญ่อย่าง ‘วัฒนา อัศวเหม’ อดีต รมช.มหาดไทย ถูกศาลตัดสินจำคุก 10 ปี ฐานร่วมสนับสนุนทุจริตการก่อสร้างโครงการบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เมื่อปี 2551 

 

กางรายชื่อ "นักการเมือง - อดีตข้าราชการ" อีก 7 คน ที่ยังไม่ได้ถูกยึดเครื่องราชฯ เหมือน "ทักษิณ"

 

และกรณี ‘ประชา มาลีนนท์’ อดีต รมช.มหาดไทย ถูกศาลตัดสินจำคุก 12 ปี และ พล.ต.ต.อธิรักษ์ ตันชูเกียรติ อดีต ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ถูกศาลตัดสินจำคุก 10 ปี ฐานร่วมสนับสนุนทุจริตในโครงการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง กทม. เมื่อปี 2556 ด้วย 

 

ประชา มาลีนนท์

 

ซึ่งทั้งสองรายหลบหนีไปต่างประเทศเรียบร้อย ก่อนหน้ามีคำพิพากษาศาล !  รวมไปถึงกรณีล่าสุดเมื่อปี 2557 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์กว่า 68 ล้านบาท ของ น.ส.นฤมล หรือณัฐกมล หรือณฐกมล หรืออินทร์ริตา นนทะโชติ หรือนนทะวัชรศิริโชติ ข้าราชการฝ่ายการเมือง

ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฐานร่ำรวยผิดปกติ ลูกสาว พล.อ.สัมฤทธิ์ นนทะโชติ ซึ่งเป็นคนสนิทของ ‘บิ๊กจิ๋ว’ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เข้าข่ายตามข้อ 6 ของระเบียบดังกล่าวด้วย (อ่านประกอบ : 9 'บิ๊กการเมือง-อดีต ขรก.'ถูกศาลสั่งคุก-สนช.ถอด ยังไม่ถูกเรียกคืนเครื่องราชฯ)

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อนับรวมรายชื่อทั้งหมดจะอยู่ที่ 7 ราย คือ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, บุญทรง เตริยาภิรมย์, ภูมิ สาระผล , มนัส สร้อยพลอย, วัฒนา อัศวเหม, ประชา มาลีนนท์, น.ส.นฤมล หรือณัฐกมล หรือณฐกมล หรืออินทร์ริตา นนทะโชติ หรือนนทะวัชรศิริโชติ 


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
"ไพศาล"เปิดประเด็น รัฐบาลไหนบ้างไม่ทำหน้าที่ ปล่อยละเลยให้นักการเมืองทำผิด ยังถือครองเครื่องราชย์

อ้างอิงจาก สำนักข่าวอิศรา
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก สำนักข่าวอิศรา