3นักวิชาการ ดีเบต​เดือด! ร้อนกว่าสงกรานต์​ สุวินัย-เกษียร-เวทิน​ เรื่องหนังสือเจ้าปัญหาของธนาธร

สืบเนื่องจากกรณีที่ ดร. สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ นาย ธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ในหัวข้อ "Portrait ธนาธร : แกะรอยความคิดและความจริงในตัวธนาธร " 

สืบเนื่องจากกรณีที่ ดร. สุวินัย ภรณวลัย' อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ 'นาย ธนาธร ชื่นฤทัยในธรรม' หัวหน้า'พรรคอนาคตใหม่' ในหัวข้อ "Portrait ธนาธร : แกะรอยความคิดและความจริงในตัวธนาธร "  (อ่านรายละเอียด ได้ที่ >> สุวินัย แฉหมดเปลือกธนาธร ประกาศต้องการมีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับ xxxx ในหนังสือportrait ธนาธร) จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก ทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย 

 

3นักวิชาการ ดีเบต​เดือด! ร้อนกว่าสงกรานต์​ สุวินัย-เกษียร-เวทิน​ เรื่องหนังสือเจ้าปัญหาของธนาธร

 

กระทั้งเมื่อวันที่ 13เม.ย.ที่ผ่านมา ทางด้าน นายเกษียร เตชะพีระอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาแสดงความคิดเห็นเกียวกับประเด็นกังกล่าว ระบุว่า.."ดราม่า" วันสงกรานต์

 

3นักวิชาการ ดีเบต​เดือด! ร้อนกว่าสงกรานต์​ สุวินัย-เกษียร-เวทิน​ เรื่องหนังสือเจ้าปัญหาของธนาธร

ตื่นเช้าหลังจากเขียนทักทายมิตรรักนักกลอนตามระเบียบแล้ว ผมก็เตรียมปั่นต้นฉบับคอลัมน์ประจำสัปดาห์ ทว่าเผอิญมีคำขอร้องที่มิอาจปฏิเสธได้ให้ช่วยตอบโต้ข้อเขียนในโพสต์ของอ.สุวินัย ภรณวลัยเกี่ยวกับธนาธรอย่างเป็นงานเป็นการหน่อย เมื่อทำแล้วก็ทำเลยและอ้างอิงแสดงเอกสารแง่คิดข้อมูลข้อถกเถียงในประเด็นใกล้เคียงกันไปด้วยในตัวเลยทีเดียว (บันทึกของคนบ้าโดยหลู่ซิ่น, ด่านวาทกรรมสิทธิมนุษยชนไทย, ฐานันดรสี่ของเอ็ดมันด์ เบิร์ค ฯลฯ) เล่นเอาหมดไปครึ่งเช้ายังเดินหน้าต้นฉบับคอลัมน์ไปไม่ถึงไหน กว่าจะลากจนเสร็จก็ตกบ่ายแก่แล้ว

 

เมื่อผมบ่นไปตามประสา ก็มีเพื่อนให้แง่คิดสะกิดใจมาในทำนองว่า... 
๑) เชื่อว่าเหตุผลย่อมเหนือกว่าอคติในท้ายที่สุด
๒) ปล่อยให้การแสดง/ผู้แสดงอคติดำเนินของมันไป ปลีกตัวปลีกใจไปนิ่งชม/ฟังข้าง ๆ อย่างไม่อินังขังขอบกับดราม่าที่มีเยอะแล้วในแต่ละวันจะมิดีกว่าหรือ

ผมรับฟังและรับปากว่าจะลองไปคิดต่อดู...

พอดีคิดต่อเรียบร้อยแล้วครับ ก็เลยอยากมาคุยต่อไว้ในที่นี้

 

ผมนึกถึงบทความบทหนึ่งนานมาแล้วของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนสุดสัปดาห์ (จำชื่อและช่วงปีลงบทความไม่ได้ ต้องขออภัยด้วยครับ) ซึ่งพูดถึงกำเนิดและที่มาของการแสดงละครพูด (แบบฝรั่ง) ในสยาม โดยอาจารย์เชื่อมโยงไปถึงกำเนิดของมันในตลาดนครรัฐกรีกโบราณและพัฒนาการของชีวิตสาธารณะ (public life) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมประชาธิปไตย....

 

ในขณะที่ไม่ปฏิเสธเหตุผลของความเชื่อและการนิ่งข้างต้น ผมไม่แน่ใจว่าเหตุผลจะชนะอคติได้โดยอัตโนมัติ/ธรรมชาติเสมอไป ผมกลับคิดว่าการโต้แย้งในเวทีสาธารณะ (public debate เช่นในตลาด เวทีประชุมอภิปรายเปิด สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโซเชียลมีเดีย ฯลฯ) เป็นการสำแดงทางสาธารณะชนิดหนึ่ง (public performance) ถ้าไม่ทำ ก็ไม่เกิดขึ้น แปลว่าถ้าไม่แสดงหลักวิชาเหตุผลข้อเท็จจริง การคาดหวังให้เหตุผลชนะอคติก็ดูเป็นความเพ้อฝัน (pipe dream) ที่อาจเปล่าดาย

 

นอกจากเป็นการสำแดงทางสาธารณะแล้ว การโต้แย้งสาธารณะยังสมทบส่วนให้แก่การคลี่คลายขยายตัวของชีวิตทางปัญญาสาธารณะและประชาสังคม (public intellectual life & civil society) ซึ่งการเติบใหญ่เข้มแข็งและคุณภาพทางการคิดและเหตุผลส่วนรวมของมันจำเป็นแก่การเมืองและรัฐที่อารยะ

 

ก็แลอนารยะ (uncivility) สังคมและการเมืองที่อนารยะ (uncivil society & uncivil politics) และรัฐที่นิยมอำนาจกว่าเหตุผล (authoritarian state) ส่งผลเสียต่อชีวิตสาธารณะของส่วนรวมกระทั่งชีวิตส่วนตัวของผู้คนอย่างไร สังคมไทยเราก็ได้เห็นมาแล้วในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา (ดูบทความของ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติเรื่อง "ประชาสังคม ความรุนแรงและการล่มสลายของประชาธิปไตย: ความสำคัญของแนวคิดเรื่องความมีอารยะและการเมืองแบบอารยะของเอ็ดเวิร์ด ชิลส์", เมืองไทยสองเสี่ยง?, รัฐศาสตร์ มธ., ๒๕๕๔)

 

นอกจากเหตุผลความจำเป็นของ public debate มันก็ยังเป็นเรื่องของจังหวะและสายสัมพันธ์/เหตุผลแบบการณ์จรอื่น ๆ เช่น เผอิญประเด็นที่เป็นที่โต้แย้งถกเถียงกันอยู่นั้น ผมเผอิญค้นคิดเรื่องนั้นมานาน มีข้อมูลข้อความเห็นเกี่ยวข้องตรงเป้าเข้าประเด็นอยู่พอดี คิดว่าสำคัญ ควรนำมาแสดง, เบื้องหลังความสัมพันธ์กับคู่โต้แย้ง, สถานการณ์เฉพาะหน้าตอนนั้น ฯลฯ ที่ทำให้การเข้าร่วมโต้เถียงวิวาทวาทาสาธารณะมีเหตุพึงทำ

 

ผมไม่ปฏิเสธว่าต้นทุนด้านเวลา พลังแรงงานทั้งสมองและร่างกาย และการเปลืองอารมณ์ความรู้สึกก็ย่อมมี และเป็นต้นทุนที่ควรคำนึงและนำมาชั่งวัดด้วย ซึ่งบางทีก็อาจ "ไม่คุ้มค่า" แต่สิ่งที่อยากชี้คือ ที่เรียกว่า "ดราม่า" นั้นมีแง่มุมสาธารณะ, การเมืองและสังคมเกี่ยวข้องอยู่ที่เกินกว่าแค่ทะเลาะกันให้คนดูถือหางร้องเชียร์เท่านั้น

ล่าสุดนาย เวทิน ชาติกาสร อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกียวกับประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ระบุว่า..  Mindset แบบ​สุวินัย​

 

3นักวิชาการ ดีเบต​เดือด! ร้อนกว่าสงกรานต์​ สุวินัย-เกษียร-เวทิน​ เรื่องหนังสือเจ้าปัญหาของธนาธร

ถ้าคุณอายุล่วงเข้าวัยเกษียณราชการแล้ว? ถ้าคุณเคย​ "รบแพ้" มาอย่างบอบซ้ำตอนสมัยคุณยังหนุ่ม? แต่ถ้าคุณยังคงมีจิตวิญญาณที่จักเปลี่ยนแปลงสังคม​  คุณควรมี​ Mindset​ แบบไหน?

ผมกำลังพูดถึง​ คน​ 3 คน เสกสรรค์ สุวินัย เกษียร

ผมยังจำประโยค​ "น้อง...พี่ขอโทษ" ของเสกสรรค์ในวันที่กลับจากป่าเข้ามาในเมืองได้​  เสกสรรค์เขียนเล่าเรื่องนี้เอาไว้เอง​ สุวินัยเคยเอามาเขียนถึง

 

ทั้งสามคน​ล้วนเคยเป็น​ คนหนุ่ม​ ที่มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน​ ต่อสู้​ กระทั่งยอมตายเพื่อมัน​ และล้วนผ่านประสบการณ์แห่งความพ่ายแพ้ที่เจ็บปวด

 

ประสบการณ์ที่คนรุ่นต่อๆมา​ อาจพอเข้าใจ​ เห็นใจ​ ได้แต่​ "มิอาจรู้สึกให้เสมอเหมือน" ได้เลย​ ไม่ว่าจะเป็น​ Baby boom แบบผม​ หรือ​ Gen​Z​ อย่างธนาธร​

เพราะ​เราๆคนรุ่นหลังไม่มี​ "รอยประทับ" ที่เสมือน​ ตราของประสบการณ์ที่กระแทกโครมเข้าไปในความคิด​ จิตใจ​ จิตวิญญาณ​ แบบที่พวกเขาโดนประทับมา​ อย่างดีก็ได้ยิน​ ได้ฟังเป็น​ เรื่องเล่าขาน​ ประวัติ​ ที่บอกเล่าต่อๆกันมาในรูปแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น

 

เหมือนให็บัญเอิญ​ ถ้าไม่นับความสนิทสนมกับ(อ.)​สุวินัย​ หรือ​ "อดีตสหาย" คนอื่นๆที่เคยได้ทำงานด้วยกัน​  เมื่อครั้งที่ผมเรียนอยู่หัวข้อที่เสมือนถูกบังคับให้ทำวิจัยคือเรื่อง​ประมาณ "วิกฤติศรัทธา​ ความพ่ายแพ้​ ความบอบซ้ำ​ ในขบวนการนักศึกษาฯ​ ก่อนและหลังนโยบาย​ 66/23" (โดยเฉพาะขบวนการฝ่ายผู้หญิง​ฯ​ แต่คงไม่พูดเรื่องนี้ตอนนี้)​

 

ความพ่ายแพ้​ ย่อมเจ็บปวด​ ย่อมมีบาดแผล บาดแผลย่อมต้องการการเยียวยา​ ทางใดก็ทางหนึ่ง ผ่านล่วงจากปี​ 2523  ถึงวันนี้ก็ 40​ ปีแล้ว​ น่าสนใจว่าตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้

 

สำหรับ​ สุวินัย​ เนื่องจากความสนิทสนมผมคงไม่พูดถึงในรายละเอียดให้ถูกมองว่า​ "เชียร์พวกเดียวกันเอง" แต่หนังสือที่ตกผลึกจากความคิดของเขาคือ​ "มูซาชิ" คงเป็นบทพิสูจน์ในตัวมันเองได้ดีกว่าสิ่งอื่น​  หรือถ้ายังสงสัยก็ลองสอบถาม

 

สำหรับ​ เสกสรรค์​ ผมไม่สนิทสนม​ แต่เคารพในความคิดและจิตวิญญาณ​ผ่านในงานเขียนในช่วงหลายๆปี​ ผมเชื่อว่า​ เสกสรรค์​ มี​ "วิถี" ของตนในการก้าวข้ามผ่าน​ "สิ่งชำรุดในประวัติศาสตร์" ในจิตใจ และเติบใหญ่ทางจิตวิญญาณในพรตวัตรแบบหนึ่ง​ ที่นับวันเราแทบไม่เห็นเขาเข้ามาข้องแวะกับโลกการเมือง​(แม้ผมจะเชื่อเอาเองว่าเขาอาจเลือกพรรคอนาคตใหม่)​

 

ส่วน​ เกษียร​ นั้นผมไม่รู้​ และไม่เคยสนใจอยากจะไปรู้​ แต่เท่าที่อ่านผ่านตามาบ้าง​ หลายเรื่องก็ได้​ "ความรู้" เพิ่มแบบในตำรับตำรา​ ... ประมาณนั้น เกษียร​ ถาม​ สุวินัย​ ว่า​ Mindset​ แบบไหนถึงได้มองความเป็นจริงอย่างมีมิจฉาทิฐิ

 

ผมยอมรับ​ เป็นไปได้​ เรา(อ.สุวินัยและผมและคนอื่นๆ)​อาจมีมิจฉาทิฐิ​ มิได้บริสุทธิ์ใสในตำรา​ประชาธิปไตยแบบเกษียร​ แต่เมื่อถามเรื่อง​ Mindset​ ผมพอรู้มาบ้าง​ อยากขอตอบ

 

Mindset​ นั้นมี​ 2​ แบบ​

Fixed Mindset​ คิด​ เชื่อ​ ตอกย้ำ​ อยู่กับกรอบความคิดเดิม​ๆ​ เรื่องเดิมๆ​

Growth​ Mindset​ ทบทวน ปรับ​ เปลี่ยน​ กรอบความคิดเดิมๆ​ ไปสู่​ กรอบความคิดใหม่

ส่วนใหญ่ของคนที่ประสบความสำเร็จก็ล้วนมี​ Growth​ Mindset​ ทั้งนั้น

 

ผมไม่รู้ว่า​ สุวินัย​ มี​ Mindset​ แบบไหน​ แต่ที่รู้จักกันมานาน​ เขาไม่เคยบังคับให้ใครต้องเชื่ออะไรอย่างที่เขาเชื่อ​ เขาเปิดกว้างรับฟังผู้คนทุกฝ่ายทุกความคิด​ เขาลุ่มลึกและควบคุม​ ความคิด​ ความรู้สึก​ จุดยืนที่เป็นตัวของตัวเองได้อย่างมั่นคง​ เขากล้าลุกทายท้า​ และกล้าเปลี่ยนแปลง​เสมอเมื่อมีมิตรทักท้วง​

 

ที่สำคัญ​ เขาไม่เคยเอาความเจ็บแค้นของตน​ ไปยัดใส่คนรุ่นหลัง​ สร้าง​ "ปีศาจ" ขึ้นมาจากความขลาดของตน

สุวินัยไม่เคยทำ

Mindset​ แบบไหนผมไม่รู้​ แต่สุวินัยไม่เคยส่งมอบ "ความชำรุดทางประวัติศาสตร์" ให้ใคร​ แล้วอวดอ้างว่านั่นคือ​ สัมมาทิฐิ