"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของมิ่งขวัญ  ความหมายเดียวกันกับ "ปิยบุตร-ธนาธร"หรือไม่?

ประเด็นร้อนทางการเมือง ตอนรับเทศกาลสงกรานต์ คงหนีไม่พ้น กรณีกระแสข่าวลือการ จัดตั้งรัฐบาล ที่มีแกนนำ คือ พรรคพลังประชารัฐ 

ประเด็นร้อนทางการเมือง ตอนรับเทศกาลสงกรานต์ คงหนีไม่พ้น กรณีกระแสข่าวลือการ จัดตั้งรัฐบาล ที่มีแกนนำ คือ พรรคพลังประชารัฐ   ว่าขณะนี้สามารถรวบรวมเสียงส.ส.ทะลุเป้าเกินครึ่ง มากกว่า 250เสียง ได้เป็นผลสำเร็จ ที่สำคัญในกระแสข่าวลือดังกล่าว ยังระบุอีกด้วยว่า ว่าที่ส.ส.5 เสียงจากพรรคเศรษฐกิจใหม่ของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคจะเข้าร่วมกับพลังประชารัฐ ส่วนตัวนายมิ่งขวัญนั้น ยังเจรจาเงื่อนไขกันอยู่ โดยให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี

 

แม้เจ้าตัวนายมิ่งขวัญ จะออกมาปฏิเสธข่าวลือดังกล่าว ว่าหาใช่ความจริงแต่อย่างใด  บางช่วงบางตอนระบุว่า “ผม และ ว่าที่ สส. ทุกคน ในนามพรรคเศรษฐกิจใหม่ ขอยืนยัน ว่าข่าวดังกล่าว ไม่เป็นความจริง และ ผมไม่เคย เข้าไปร่าวมเจรจา ทางการเมือง กับพรรคพลังประชารัฐ ใดๆทั้งสิ้น”

(อ่านรายละเอียด >> พวกอ้างปชต.ก็อย่ามั่วลากพวก!! มิ่งขวัญแค่ปัดข่าวต่อรองเก้าอี้ ยังไม่เคยคุยพลังประชารัฐ )

มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์

 

จนนำมาสู่การออกมาดาหน้ากันออกมา “ล็อกคอ”  นายมิ่งขวัญ ของพลพรรคฝ่ายอ้างประชาธิปไตย  ทั้งจากพรรคการเมืองเก่า ที่กำลังหมดไฟ  หรือพรรคการเมืองใหม่ ไฟแรง  เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือแม้นักเคลื่อนไหวทางการเมือง  รุ่นเล็ก รุ่นกลาง และรุ่นใหญ่ พร้อมใจกันออกมาขู่กรรโชกนายมิ่งขวัญ ในทำนองว่าอย่าริอาจเข้าร่วมพลังประชารัฐโดยเด็ดขาด

 

ในข้อเท็จจริงแล้ว ดูเหมือนว่า พรรคเศรษฐกิจใหม่ หรือนายมิ่งขวัญเองนั้น ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะร่วมกับฝ่ายใดเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งนั้นก็หมายความถึงฝ่ายพรรคเพื่อไทยด้วย่นกัน เพราะ ในงานแถลงข่าวตั้งรัฐบาลของฝ่ายเพื่อไทย ที่ รร.แลงคาสเตอร์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ เมื่อวันที่27 มี.ค. 62  ไม่ปรากฏแม้เงาของนายมิ่งขวัญ หรือตัวแทนพรรคเข้าร่วมงานแถลงแต่อย่างใด มีเพียง  6 พรรคการเมือง อันประกอบด้วย  เพื่อไทย , อนาคตใหม่ , เสรีรวมไทย , ประชาชาติ , เพื่อชาติ และ พลังปวงชนไทย รวม "ลงสัตยาบรรณ" และคำกล่าวอ้างของ นายภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ว่าพรรคเศรษฐกิจใหม่จะร่วมอุดมการณ์เดียวกัน

 

"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของมิ่งขวัญ  ความหมายเดียวกันกับ "ปิยบุตร-ธนาธร"หรือไม่?

 

โดยในเวลาต่อมา ในช่วงค่ำของวันเดียวกัน นายมิ่งขวัญ แถลงข่าวยืนยันเกี่ยวกับจุดยืนทางการเมืองผ่านทาง THE STANDARD Daily ย้ำจุดยืนทางการเมืองของพรรค หากแกะกันคำต่อคำ เมื่อจับมือกับพรรคเพื่อไทยแล้วพร้อมสนับสนุนแคนดิเคตนายกจากพรรคเพื่อไทยหรือไม่ หรือมีความคิดเห็นอย่างไร

 

นายมิ่งขวัญ ตอบว่า โอ๊ย อันนี้คุณอย่าเพิ่งถามเลย ผมยังไม่รู้เลยว่าเขาคิดอะไรกันยังไง ผมยังไม่ได้คุยกับเขา ผมเป็นคนตรงคนชัดนะครับ ผมยังไม่เคยไปคุยรายละเอียดแบบนี้กับเขาเลย ผมจะไปรู้ได้ยังไง เขาคิดอะไรอยู่หรือเปล่าไม่รู้ ถูกไหมครับ

 

“เมื่อวานเขาโทรมาอย่างงี้ ก็ตรงตามที่เขาแถลงข่าว คุณอ้วน ภูมิธรรม อยู่ๆก็มีคนมาโดยไม่ได้นัดหมายผมก็งงอยู่ มืดแล้วหัวค่ำแล้ว แล้วเขาก็บอกว่าแล้วก็ต่อโทรศัพท์ให้ผมพูด ผมก็ถามอะไรยังไง เขาก็บอกว่าพรุ่งนี้มีแถลงข่าว ผมบอกว่าพรุ่งนี้ผมไปไม่ได้ ผมมีนัดจะไปที่นี่  แล้วตรงเลยนะ ผมยังไม่เคยคิดเลยว่าจะมีการแถลงแล้วประกาศชื่อพรรคผม ผมพูดแฟร์ๆนะ คุณกำลังยั่วให้ผมพูดอะไรบางอย่าง”

 

หากท่านใด มีโอกาสได้ชมแถลงของนายมิ่งขวัญ ซึ่งจะรับรู้ได้ทันทีว่า นายมิ่งขวัญอยู่ในอาการที่กำลังกระอักกระอ่วน อึกอัด หรือที่เรียกกันว่า กลืนไม่เข้าคายไม่ออก...อีกทั้งหากถอดรหัสจากคำพูดประกอบด้วยนั้น หลายคนอาจตีความหมายไปได้ว่า นายมิ่งขวัญกำลังถูกมัดมือชุก..ใช่หรือไม่

 

ทั้งนี้ ในวันแถลงดังกล่าว นายมิ่งขวัญได้ย้ำชัดถึง เจตนารมณ์ทั้งในนามส่วนตัวและพรรคเศรษฐกิจใหม่ไว้อย่างชัดเจน จะอยู่ภายใต้ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”  และมีเงื่อนไขเพียงว่าใครก็ตามที่บอกว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ถ้าไม่ซื่อสัตย์สุจริตก็จะพร้อมถอนตัวทันที ซึ่งในประเด็นนี้เอง เป็นประเด็นที่สังคมกำลังตั้งคำถามต่อทัศนะ ของนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคพรรคอนาคตใหม่ ที่ได้แสดงทัศนคติเอาไว้ ในฐานะ นักวิชาการ ก่อนสวมหมวก นักการเมือง  ที่ตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยไม่ควรใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยที่อนุญาตให้พระมหากษัตริย์เป็นประมุขมากกว่า

 

“..ผมก็เลยตั้งคำขึ้นมาใหม่ ย้อนกลับไอ้คำว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็คือต้องปรับชื่อใหม่ ถ้าจะใช้คำแบบพวกทำนองแบบนี้ ก็คือประชาธิปไตยที่อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุข คือเป็นประชาธิปไตย เป็นคนอนุญาตให้กษัตริย์มาเป็นประมุขอยู่ในระบอบประชาธิปไตย..."

"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของมิ่งขวัญ  ความหมายเดียวกันกับ "ปิยบุตร-ธนาธร"หรือไม่?

 

..คำถามคือ ประชาธิปไตยในแบบของนายปิยบุตร จะใช้ประชาธิปไตยในความหมายของนายมิ่งขวัญหรือไม่??

ขณะที่โลกออนไลน์ ตั้งคำถาม ถึงเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ ”portrait ธนาธร” ราคา 300 บาท สำนักพิมพ์บางลำพูเขียนโดย นายวรพจน์ พันธุ์พงศ์  โดย 'ดร. สุวินัย ภรณวลัย' อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจระบุว่า... Portrait ธนาธร : แกะรอยความคิดและความจริงในตัวธนาธร

 

"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของมิ่งขวัญ  ความหมายเดียวกันกับ "ปิยบุตร-ธนาธร"หรือไม่?

 

โดยส่วนตัวผมรู้จักคุณวรพจน์ พันธุ์พงศ์ คนสัมภาษณ์ธนาธรในหนังสือ " Portrait ธนาธร" มานานร่วมยี่สิบปี(ในฐานะที่ผมเคยถูกเขาสัมภาษณ์ไม่ต่ำกว่าสองครั้งในอดีต) เขาเป็นนักสัมภาษณ์มืออาชีพและมือหนึ่งระดับต้นๆที่หาคนทัดเทียมยากมากแม้ในยุคนี้

 

ผลงานหนังสือ " Portrait ธนาธร" (ตุลาคม 2018) คือเครื่องพิสูจน์อย่างดี เขาสัมภาษณ์ได้ดียิ่ง และธนาธรก็เต็มใจเปิดเผยความคิดของเขาแทบทุกเรื่องที่โดนซักถาม

 

นี่เป็นหนังสือสัมภาษณ์ที่เร้าใจที่สุดเล่มหนึ่งที่ผมเคยอ่านมา  ผมมีหนังสือเล่มนี้หลายเดือนแล้ว ก่อนทราบผลเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ผมจงใจไม่อ่านมัน แต่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้ ในวันที่ธนาธรกำลังจะเจอบททดสอบของจริง ซึ่งเจ้าตัวก็รู้ดีว่าวันนั้นต้องมาถึงอย่างแน่นอน แต่ธนาธรคงคิดไม่ถึงว่ามันจะมาเร็วขนาดนี้

ธนาธรเป็นคนที่ชัดเจนมากในความคิดของตัวเอง เขาบอกว่า "ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนประเทศ" (หน้า 270) ธนาธรตระหนักดีว่า สิ่งที่เขาพูด เขาทำ มีคนฟัง มีคนเอาด้วย เห็นด้วยกับเขา (หน้า 272)

ธนาธรมองว่า คุณสมบัติสำคัญของผู้นำประเทศ คือต้องมีเจตจำนงทางการเมืองเป็นหลัก  เมืองไทยมีคนเก่งกว่าเขาเยอะแยะไปหมด  แต่มีตัวเขาคนเดียวเท่านั้นที่มีเจตจำนงทางการเมืองที่ต้องการ "ให้ไทยออกจากวังวนของเผด็จการ วังวนของอำนาจนิยมที่รับใช้ชนชั้นนำให้ได้" (หน้า 273)

 

เจตจำนงทางการเมืองของธนาธรในวัยสี่สิบตอนนี้ มีความห้าวและอหังการในระดับเดียวกับเสกสรรค์ ประเสริฐกุลอดีตผู้นำนักศึกษาในวัยก่อนสามสิบหรือในช่วงระหว่างปี 2516-2523   ก็เห็นจะไม่ผิดนัก

 

ธนาธรไม่เคยมองว่าตำแหน่งนายกฯ คือ ลิมิตสูงสุดของตัวเขา ธนาธรเป็นนักผจญภัย  เขาต้องการท้าทายลิมิตสูงสุดของตัวเขาเองในทุกเรื่อง ในฐานะผู้นำทางการเมือง ธนาธรมุ่งเป้าไปที่การทำให้ตัวเขา "มีอำนาจมากพอที่จะไปต่อรอง (กับ)××××"(หน้า 277)

เขายอมรับว่าในการเคลื่อนไหวสร้างพรรคหาเสียง เขาพูดความจริงได้แค่ครึ่งเดียว ที่เขาพูดออกไปให้สังคมรับรู้ "ไม่เป็นความจริง มันเป็นความจริงแค่ครึ่งเดีบว เราถึงโดนฝ่ายก้าวหน้าด่า" (หน้า 277)

 

"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของมิ่งขวัญ  ความหมายเดียวกันกับ "ปิยบุตร-ธนาธร"หรือไม่?

 

"ถามว่าเรารู้มั้ย รู้

เหี้ย มันก็รู้เหมือนกันหมดแหละ ปัญหาคือใครจะทำยังไง

เราคิดว่า วิธีการของเราคือต้องมีอำนาจและต่อรอง (กับ)××××

นี่ต่างหากคือเป้าหมาย ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ เอาทหารออกจากการเมืองไม่ได้หรอก

จัดการเรื่องนี้ไม่ได้ จัดการเรื่องศาลไม่ได้หรอก

จัดการเหี้ยห่าอะไรไม่ได้

ถามว่าเรารู้มั้ย สิ่งที่เราพูดโดยไม่พูดเรื่องนี้ มะนไม่จริง มันเป็นไปไม่ได้

ถามว่ารู้มั้ย รู้ แต่มันพูดไม่ได้ ยังมีข้อจำกัด " (หน้า 277)

 

ตรงนี้แหละ คือ ความจริงอย่างที่สุดในความคิดและตัวตนของธนาธร  เพราะเขาคือนักปฏิวัติที่มีเจตจำนงแรงกล้าที่ต้องการสานต่อภารกิจการปฏิวัติ 2475ให้สมบูรณ์

 

จึงไม่แปลกที่เมื่อธนาธรเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตรจึงต้องเป็นเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่เพราะมีอุดมการณ์ปฏิวัติ 2475 เหมือนกัน

 

ธนาธรคือผู้นำทางการเมืองคนเดียวในประทศนี้ตอนนี้ ที่ขีดเส้นแบ่งชัดเจนให้ประชาชนต้องตัดสินใจเลือกข้างว่าจะเลือกอยู่ฝั่งเดียวกับเขาแล้วช่วยกันผลักดันการปฏิวัติ 2475 ให้สำเร็จต่อไปหรือไม่

 

ผม (สุวินัย) ไม่ใช่คนโลกสวยและไร้เดียงสาทางการเมือง ผมตระหนักดีว่าอะไรจะตามมาถ้าธนาธรมีอำนาจและต่อรองกับ ×××× เพื่อบรรลุเจตจำนงทางการเมืองของเขา

 

ผมเลือกอยู่ฝั่งเดียวกับธนาธรไม่ได้จริงๆ ผมไม่อยากเห็นสงครามกลางเมืองและเลือดนองแผ่นดินหลังจากนี้

ผมก็อยากเห็นการเปลี่ยนประเทศนี้ แต่มันจะเปลี่ยนได้จริงเมื่อแต่ละปัจเจกสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ด้วยพลังสติและ mindset ที่เป็นบวกเท่านั้น

หาใช่การเปลี่ยนแปลงแบบมุ่งพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินอย่างที่ธนาธรและเหล่าสหายคิดแต่อย่างใดไม่

มันคือมิจฉาทิฐิ และเป็นทางเลือกแบบทุรโยชน์ ในภควัทคีตา มหาภาตะยุทธอย่างชัดเจน

ไม่ ....ไม่เด็ดขาด ไม่มีวันที่ผมจะเลือกแบบธนาธร  เพราะผมเลือกที่จะอยู่ข้างพระกฤษณะเสมอ เป็นคนของพระจ้าเสมอ ในภควัทคีตา มหาภารตะยุทธ  ผมต่างอย่างสิ้นเชิงกับธนาธรในเชิงวิถีและทางเลือก

 

"ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ของมิ่งขวัญ  ความหมายเดียวกันกับ "ปิยบุตร-ธนาธร"หรือไม่?

 

ทั้งนี้.อีกทั้ง ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 87ง. หน้า 105-106 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2561 อุดมการณ์และนโยบายของพรรคอนาคตใหม่

 

"พรรคอนาคตใหม่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ" และ "พรรคอนาคตใหม่  มุ่งแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญ กฏหมาย และสถาบันการเมืองทั้งหลายให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน" พรรคอนาคตใหม่ ไม่ระบุคำว่า "อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ในนโยบายพรรค แต่ใช้คำว่า "ตามรัฐธรรมนูญแทน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

"ธนกร"จวก "หญิงหน่อย-ภูมิธรรม" กุลีกุจอตอบแทน‘มิ่งขวัญ’ทั้งทีไม่เกี่ยวด้วย-ข้องใจยังใช้วาทกรรม สร้างความขัดแย้ง?

ดราม่าฝุ่นตลบ! เพื่อไทยพล่านล็อคตัวมิ่งขวัญ "หญิงหน่อย"ผสานเสียงภูมิธรรม อ้างต้องยึดสัจจะการเมือง