อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129 ในความหมาย “ปิยบุตร” เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

ตามติดต่อเรื่องกับประเด็นร้อนว่าด้วยการถือครองหุ้นวี-ลัค มีเดีย  ของ นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่   ซึ่งเข้าข่ายต้องห้ามตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ   พ.ศ. 2560 มาตรา 98  และ  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42

ซึ่งระบุถึงข้อห้าม  บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   โดยเฉพาะเนื้อความในวงเล็บ  (3)  ระบุชัดเจนถึงข้อห้าม สำหรับบุคคลที่เข้าข่าย   การเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

 

โดยเบื้องต้นนายธนาธรมีกำหนดจะเข้าชี้แจงข้อกล่าวหาต่อกกต.ในวันที่ 30 เมษายน 2562   หลังจากออกมายืนยันอีกครั้งว่า  ไม่กังวล เพราะการโอนหุ้นวี-ลัค มีเดีย  เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย   ก่อนจะไปไกลถึงการแสดงความเห็นต่อพลังเคลื่อนไหวของมวลชน  ในเชิงเปรียบเทียบว่าเป็นไปเพื่อปกป้องประชาธิปไตย  ไม่ใช่ตัวนายธนาธร  

 

ในกรณีนี้ถ้าถอดถ้อยคำของนายธนาธร  จะเห็นว่านายธนาธรยังมั่นใจว่า  ขั้นตอนการโอนหุ้นเสร็จครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562    โดยไม่สนใจว่า  จะมีข้อสงสัยว่ากระบวนการทั้งหมด   ได้ดำเนินการย้อนหลัง  หรือไม่   อย่างไร   จากผลที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง   เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562  จนทำให้นายภูเบศวร์    เห็นหลอด    ถูกถอดถอนออกจากรายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร ของพรรคอนาคตใหม่ 

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

 

รวมไปถึงการตั้งข้อสังเกตของสื่อมวลชน  ต่อกรณีการลงวันที่โอนหุ้นตามหนังสือแจ้งต่อ  นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร  ในวันที่ 21  มีนาคม  2562 จนนำไปสู่การสืบค้นอีกหลายประเด็นต่อมา   กระทั่งมีการนำแสดงเอกสาร  หนังสือขาย-โอนหุ้น  จำนวน  675,000  หุ้น  หมายเลขหุ้น 1350001-2025000   ให้แก่ นางสมพร  จึงรุ่งเรืองกิจ   ต่อหน้าพยานบุคคล   ลงวันที่  8  มกราคม 2562   


 

ประการสำคัญก็คือ  การยืนในหลักการต่อสู้ข้อกล่าวหาของนายธนาธร   หลายคนยังจำได้ว่า  นายปิยบุตร  เคยออกมาเคลื่อนไหวในประเด็นนี้  โดยการกล่าวอ้างถึง   การโอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ของนายธนาธร  กับนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ  ภรรยา   แก่นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ  ผู้เป็นมารดา  ว่าแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562

 

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

 

โดยมีเอกสาร เป็นเช็คขีดคร่อมการชำระค่าหุ้น ใบหุ้น และตราสารโอนหุ้น  ซึ่งเป็นหลักฐานว่ามีการโอนหุ้นจริง   ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรค 2  ที่ระบุว่าการโอนหุ้นจะมีผลสมบูรณ์ด้วยการลงรายมือชื่อ ของผู้โอน ผู้รับโอน และพยาน ซึ่งแสดงว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว และในมาตรา 1129

 

"เรื่องนี้ควรจบตั้งแต่ 8 มกราคม ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจอีกแล้ว หุ้นไม่อยู่ในมือคุณธนาธรอีกแล้ว แต่มีสื่อบางสำนักไปโฟกัสการยื่นวันที่ 21 มีนาคม  ซึ่งสมัครส.ส.ไปแล้ว ขอบอกว่า การโอนหุ้นมีผลทางกฎหมายไปหมดแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนการแจ้ง ไม่เกี่ยวกับการถือหุ้นของนายธนาธรเลย ประเด็นปัญหาเรื่องนี้ไม่ควรจะบายปลายขนาดนี้”

 

ชัดเจนว่ากรณีการชี้แจงของนายปิยบุตรเป็นการนำเสนประเด็นข้อกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เป็นประโยชน์โดยตรงกับนายธนาธร  ทั้ง ๆ ที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1129  มีใจความสำคัญระบุว่า "อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"

 

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย ... การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

 

โดยเฉพาะในวรรคสาม  ที่เขียนว่า “การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น” 

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

 

ขณะเดียวกันในเพจเฟสบุ๊กของ  นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ  ได้โพสต์แสดงความเห็นต่อกรณีดังกล่าว  มีรายละเอียดน่าสนใจทั้งหมด ดังนี้

ในกฎหมายมหาชนจะยึดถือเกณฑ์ตามกฎหมายเอกชนเพียงใด - ประเด็นสำคัญกรณีหุ้นต้องห้ามของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  ได้คิดใคร่ครวญประกอบการติดตามข่าวมาต่อเนื่อง ประเด็นข้อกฎหมายหลักที่ต้องพิจารณาในกรณีหุ้นบริษัทวี-ลัคมีเดียของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจคือ ก.ก.ต.จะยึดถือวันใดเป็นวันโอนหุ้นจริง

 

1. ยึดวันที่บริษัทฯส่งแบบ “บอจ. 5”   ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ คือ วันที่ 21 มีนาคม 2562 อันเป็นวันหลังวันสมัครรับเลือกตั้ง

หรือ...  2. ยึดถือวันที่มีการโอนกันจริงตามที่ฝ่าย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กล่าวอ้าง คือ วันที่ 8 มกราคม 2562 อันเป็นวันก่อนวันสมัครรับเลือกตั้ง

 

นอกเหนือจากรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 98 (3) และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง 2561 มาตรา 42 (3)  แล้ว  มีข้อกฎหมายสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรา 1129 วรรคสาม   "มาตรา 1129  อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น   "การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทําเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอนมีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ

 

อนึ่งตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย "การโอนเช่นนี้จะนํามาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น"

 

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และฝ่ายสนับสนุน ยึดถือเวลาตามข้อ 2 โดยมีประมวลแพ่งมาตรา 1129 วรรคสามนี้เป็นฐานสำคัญ   ความหมายตามมาตรา 1129 วรรคสามนี้  คือเมื่อมีการจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็ถือว่ามีผลสมบูรณ์แล้ว ไม่ถึงขนาดต้องส่งแบบ บอจ. 5 แจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะโดยปกติจะแจ้งปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

 

แต่การที่สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นอยู่ที่บริษัทนี่แหละคือปมปัญหาเมื่อนำมาใช้กับกรณีนี้ เพราะโดยทั่วไปแล้วบุคคลภายนอกย่อมยากจะรู้ได้ว่าในระหว่างปีมีการโอนหุ้นกันกี่ครั้ง และเอกสารการโอนหุ้นในแต่ละครั้งก็ยากที่จะรู้ได้แน่นอนว่าเป็นจริงตามวันที่ในเอกสารหรืออาจจะมีการทำขึ้นย้อนหลังหรือไม่

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??


 

ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยตรง โดยเฉพาะกฎหมายแพ่ง แต่มีหลักคิดผุดขึ้นมาว่ามาตรา 1129  วรรคสาม  คือเหตุผลของกฎหมายแพ่ง   ซึ่งเป็น “กฎหมายเอกชน”  มีวัตถุประสงค์ในการวางกฎเกณฑ์ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคลที่ได้รับการสันนิษฐานว่ามีความเท่าเทียมกัน ทำมาค้าขายกัน ซึ่งจะต้องใช้ความระมัดระวังตนเองกันตามสมควร  รัฐไม่ควรวางกฎเกณฑ์ที่อาจจะสร้างภาระให้แต่ละฝ่ายมากเกินไป

 

คำถามคือจะเอากฎเกณฑ์ตาม “กฎหมายเอกชน”  มาใช้กับ “กฎหมายมหาชน” ได้แค่ไหน เพียงใด  ... โดยเฉพาะ “กฎหมายมหาชน”  ในระดับรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่วางกฎเกณฑ์  “ลักษณะต้องห้าม” ของบุคคลที่จะเข้าสู่อำนาจรัฐ

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

 

ผมเชื่อโดยบริสุทธิ์ว่ากฎเกณฑ์ “กฎหมายเอกชน”  นั้นไม่สามารถนำมาใช้เป็นกฎเกณฑ์ทาง “กฎหมายมหาชน”  ได้ทั้งหมด  หากแต่สามารถนำมาใช้ได้เฉพาะบางประการที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อการทำหน้าที่ขององค์กรที่ทำหน้าที่ในทางมหาชนเท่านั้น  เพราะวัตถุประสงค์หลักของกฎหมายทั้ง 2 ลักษณะแตกต่างกัน

 

กฎหมายมหาชนมุ่งคุ้มครองมหาชนที่ประกอบด้วยบุคคลมีระดับความรู้ความสามารถและสถานะแตกต่างกัน รัฐจำเป็นต้องให้ความคุ้มครองบุคคลส่วนใหญ่ที่ด้อยโอกาสกว่า ซึ่งแตกต่างโดยพื้นฐานกับกฎหมายเอกชนที่รัฐเพียงวางกฎเกณฑ์สำหรับการทำมาหากิจของบุคคลที่ได้รับการสันนิษฐานว่าเท่าเทียมกัน รัฐไม่ควรเข้าไปก้าวก่ายมากเกินความจำเป็น

 

กลับมาสู่กรณีธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ... ในกรณีนี้ “คนภายนอก” ตามประมวลแพ่งมาตรา 1129 วรรคสาม เป็นองค์กรอิสระนาม 'ก.ก.ต.' ที่ทำหน้าที่สำคัญยิ่งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในการกลั่นกรองบุคคลที่มี  “ลักษณะต้องห้าม”  ออกไปจากการเข้าสู่อำนาจรัฐ !

 

มิหนำซ้ำ “ลักษณะต้องห้าม” นี้ยังมีโทษค่อนข้างแรง !!  ถามว่าถ้าจะยึดถือประมวลแพ่งมาตรา 1129 เป็นเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ก.ก.ต.จะรู้ได้อย่างไรว่า  ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจยังคงถือหุ้นที่มี “ลักษณะต้องห้าม”  อยู่หรือไม่ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 อันเป็นวันสมัครรับเลือกตั้ง

 

ในเมื่อเอกสารแบบ บอจ. 5 ที่ทางราชการรับทราบการโอนหุ้นของเขาเป็นครั้งแรกคือวันเวลาตามข้อ 1 วันที่ 21 มีนาคม 2562 หลังวันสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ก.ก.ต.จะไปรู้ถึงการโอนหุ้นตามข้อ 2 ที่มีการกล่าวอ้างว่าเกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม 2562 ได้อย่างไร โดยเฉพาะเมื่อเกิดการโต้แย้งแตกแขนงไปอีกหลายประเด็นว่าการโอนหุ้นในวันนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่

 

กฎเกณฑ์ทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสาม จึงไม่น่าจะนำมาหักล้างกับรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3) และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งมาตรา 42 (3) ได้ทั้งหมด

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??

 

เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เชื่อว่าก.ก.ต.น่าจะต้องยึดถือระยะเวลาตามข้อ 1 ตามเอกสารที่ปรากฎต่อราชการเป็นหลัก กล่าวคือยึดตามแบบ บอจ. 5 ที่ปรากฎเป็นครั้งแรกต่อทางราชการ  นั่นคือวันที่ 21 มีนาคม 2562 อันเป็นวันหลังวันสมัครรับเลือกตั้ง


ทั้งหมดนี้ พยายามพูดตามความเข้าใจด้วยภาษาชาวบ้านที่พอเรียนพอรู้กฎหมายอยู่บ้างเท่านั้น ที่ลองตั้งประเด็นขึ้นมาเพราะเห็นว่าน่าสนใจในทางวิชาการ ข้อยุติ จะอยู่ที่ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรง คือ ก.ก.ต.ในเบื้องต้น และศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งหรือศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่กรณีในท้ายที่สุด

 

อ่านชัดๆแล้วไม่ต้องแปลความ!! ทำไมกม.แพ่ง มาตรา 1129  ในความหมาย “ปิยบุตร”  เข้าข่ายเจตนาบิดเบือน ”หุ้นวี-ลัคมีเดีย” ให้สาธารณชนเข้าใจผิด??