นักวิชาการกฎหมายอิสระ  ชำแหละ ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง ‘ดอน-ธนาธร’ แนะน้องฟ้า อย่าเคลิ้มจนลืมประเด็นสำคัญ

ประเด็นการถือหุ้นของคู่สมรสของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศที่จะมีผลให้ต้องหลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรี กับการถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่จะมีผลให้หลุดจากการเป็น ส.ส.มีประเด็นที่เหมือนกัน คือ มีการโอนหุ้นเมื่อไรกันแน่ เป็นการทำเอกสารย้อนหลังหรือไม่

ผ่านมากว่าหนึ่งเดือนแล้ว   สำหรับกรณีนายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ  มีส่วนร่วมพัวพันปมฉาวการถือครองหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน  โดยหุ้นดังกล่าวนายธนาธรและนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ภรรยา เคยถือหุ้นรวมกัน 900,000 หุ้น โอนไปให้นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดา ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2562 ซึ่งเป็นวันหลังวันสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อ 6 ก.พ.2562 จึงกลายเป็นประเด็นร้อน เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของคนในสังคม ว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

ต่อมาได้มีการปลุกกระแส นำเปรียบเทียบระหว่างคดีของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศ และนายธนาธร มีความแตกต่างกันหรือไม่

ล่าสุดทางด้านสำนักข่าวอิศรา ได้เผยแพร่ บทความของ “สมผล ตระกูลรุ่ง” นักวิชาการกฎหมายอิสระ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระแสดังกล่าว ระบุว่า....

ประเด็นการถือหุ้นของคู่สมรสของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศที่จะมีผลให้ต้องหลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรี กับการถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ที่จะมีผลให้หลุดจากการเป็น ส.ส.มีประเด็นที่เหมือนกัน คือ มีการโอนหุ้นเมื่อไรกันแน่ เป็นการทำเอกสารย้อนหลังหรือไม่

แม้จะเป็นประเด็นเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกัน

ประเด็นนี้เป็นประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป เพราะข้อเท็จจริงต่างกัน จะนำข้อเท็จจริงในคดีของนายดอนมาสรุปเป็นบรรทัดฐานนำไปใช้กับคดีของนายธนาธรไม่ได้  เนื่องจากไม่ใช่ข้อกฎหมายที่จะถือเป็นบรรทัดฐานได้

 

นักวิชาการกฎหมายอิสระ  ชำแหละ ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง ‘ดอน-ธนาธร’ แนะน้องฟ้า อย่าเคลิ้มจนลืมประเด็นสำคัญ

 

กรณีของนายดอน เป็นเรื่องที่แม่โอนหุ้นให้ลูก ไม่มีการจ่ายเช็ค จึงไม่มีคำถามว่า นำเช็คไปเรียกเก็บเงินหรือไม่ อย่างไร

 

ไม่มีคำถามว่า บริษัทขาดทุนอย่างมาก ทำไมยังใจร้ายโก่งราคาขายให้แม่ตัวเองในราคาพาร์

ภรรยานายดอนโอนให้ลูกโดยตรง ไม่ต้องโอนผ่านหลานกลับไปกลับมา จึงไม่มีประเด็นว่า หลานจ่ายเงินค่าหุ้นให้แม่หรือไม่ เพราะขนาดลูกยังไม่ยอมให้แม่ฟรีๆ แม่จะให้หลานฟรีๆ ได้อย่างไร

 

นักวิชาการกฎหมายอิสระ  ชำแหละ ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง ‘ดอน-ธนาธร’ แนะน้องฟ้า อย่าเคลิ้มจนลืมประเด็นสำคัญ

บริษัทของภรรยานายดอน ไม่มีประเด็นว่าจะเลิกกิจการจนต้องโอนหุ้นให้หลานเพื่อให้ฝึกหัดวิทยายุทธในการทวงหนี้ แต่หลานกลับบอกว่า เข้ามาถือหุ้นเพื่อจะดำเนินกิจการต่อ แต่เห็นว่าไม่คุ้มจึงโอนหุ้นกลับคืนให้แม่  

การทำสัญญาโอนหุ้นของภรรยานายดอน ไม่ต้องทำต่อหน้าทนายโนตารี เพราะไม่ได้นำสัญญาไปใช้ต่างประเทศ จึงไม่มีใครเขาทำกัน

วันทำสัญญา ภรรยานายดอนไม่ต้องตาลีตาเหลือกบึ่งเร็วจี๋รถจนได้ใบสั่ง 3 ใบ จากอำเภอสตึก บุรีรัมย์ เพื่อกลับบ้านลงชื่อในสัญญาโอนหุ้นให้ทันในวันลงในสัญญา

นักวิชาการกฎหมายอิสระ  ชำแหละ ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง ‘ดอน-ธนาธร’ แนะน้องฟ้า อย่าเคลิ้มจนลืมประเด็นสำคัญ

 

นายดอน ต่อสู้คดีตามครรลองด้วยความสงบ นำพยานหลักฐานชี้แจงต่อศาลว่า ได้โอนหุ้นไปตามวันที่ลงในสัญญาจริง โดยไม่ดราม่าอ้างประชาธิปไตย ไม่โวยวายว่าถูกกลั่นแกล้ง ไม่ต้องเรียกฝรั่งต่างชาติเข้าแถวมาให้กำลังใจ

 

คดีของนายดอน ศาลรัฐธรรมนูญเชื่อว่า โอนหุ้นกันจริงตามวันที่ทำสัญญา โดยคะแนนเสียง 6:3 เท่ากับมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางท่านไม่เห็นด้วย แต่เมื่อผ่านกระบวนการพิจารณาแล้วเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ผิด ทุกคนก็ต้องยอมรับ

 

น้องฟ้าช่วยไปบอกพ่อธนาธรด้วยว่า ให้ต่อสู้คดีตามระบบ หยุดดราม่า พิสูจน์ให้ได้ว่าโอนหุ้นจริงในวันที่ 8 มกราคม 2562 การกลับบ้านวันที่ 8 มกราคม ไม่ว่าเวลาใด ไม่ใช่ประเด็นชี้ขาดว่า มีการโอนหุ้นในวันนั้น

นักวิชาการกฎหมายอิสระ  ชำแหละ ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่าง ‘ดอน-ธนาธร’ แนะน้องฟ้า อย่าเคลิ้มจนลืมประเด็นสำคัญ

 

ถ้ากลับมาไม่ทัน ข้ออ้างเรื่องทำสัญญาโอนหุ้นวันที่ 8 มกราคม ก็เป็นเท็จ แต่ถ้ากลับมาทัน อาจจะทำสัญญากันจริงหรือไม่จริงก็ได้ ต้องพิสูจน์กันต่อไป

น้องฟ้าทั้งหลายอย่าหลงไหลเคลิบเคลิ้มไปตามวาทะกรรมที่พ่อก่อขึ้นจนลืมประเด็นสำคัญ

 

 อ้างอิง https://www.isranews.org/isranews-article/76239-donek.html?fbclid=IwAR2YaNDWN7MKqEF5NZDhvJenhO6k93yCte1s4fHR6LMv6wG7rdbpsDHdwwM

 

อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีของนายดอน เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2561 ศาลรัฐธรรมนูญ นัดวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ร้อง นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ เป็นผู้ถูกร้อง กรณีความเป็นรัฐมนตรีของนายดอนต้องสิ้นสุดเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 187 หรือไม่ โดยสืบเนื่องจากที่นางนรีรัตน์ ปรมัตถ์วินัย ภรรยานายดอน ถือหุ้นเกิน 5% ในบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด และบริษัท ปานะวงศ์ รีแอลที จำกัด ทั้งนี้ภายหลังรัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ นายดอนไม่ได้แจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าภรรยาครอบครองหุ้นดังกล่าว รวมถึงแจ้งการครอบครองเกินกว่ากำหนดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยหุ้นส่วนรัฐมนตรี พ.ศ.2543

 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก วินิจฉัยว่า ภรรยานายดอน โอนหุ้นภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 และเป็นการโอนหุ้นที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ดังนั้น นายดอนจึงไม่สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตามที่ กกต.ร้อง