พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ..มหาราชองค์ที่ ๗ แห่งบุรพมหากษัตริย์ไทย

5 พ.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ อาลักษณ์ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อ่านประกาศพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

(5 พ.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ นายภูมินทร ปลั่งสมบัติ อาลักษณ์ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อ่านประกาศพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์

 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ..มหาราชองค์ที่ ๗ แห่งบุรพมหากษัตริย์ไทย

การนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ เพื่อถวายพระเกียรติยศตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ..มหาราชองค์ที่ ๗ แห่งบุรพมหากษัตริย์ไทย

 

ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธย

 

 

มหาราช เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี  และด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของพระมหากษัตริย์ที่มีบุญคุณต่อประเทศไทยประชาชนถึงถวายคำว่า "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม

ทั้งนี้นับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันพระมหากษัตริย์ไทยที่ได้รับสมัญญานาม "มหาราช" มีด้วยกัน พระองค์

๑.พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือ พญาร่วง เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณพ.ศ. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๘๔๑

 

๒. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ มีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ สิริรวมการครองราชสมบัติ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘

 

๓.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๒๗ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

๔.สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ มีพระนามเดิมว่า สิน พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ นกเอี้ยง ภายหลังเป็นกรมพระเทพามาตย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๐ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ เมื่อมีพระชนมายุได้ 48 พรรษา

 

๕.พระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกในราชวงศ์จักรี ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕

 

๖.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ผู้คนมักออกพระนามว่า "ปิยมหาราช" แปลว่า มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก และว่า "พระพุทธเจ้าหลวง"

 

๗.พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

 

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ..มหาราชองค์ที่ ๗ แห่งบุรพมหากษัตริย์ไทย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพระยุหยาตราทางสถลมารค

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์ จิมมี่ ชวาลา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศานุวงศ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ

สมเด็จพระราชินีสุทิดา ทรงกราบพระบาทสมเด็จพระเทพฯ ฟ้าหญิงจุฬาภรณฯ

ราชกิจจาฯแพร่พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีฯ