"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

(17 พฤษภาคม) บนเฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเรื่อง 250 ส.ว.ไว้อย่างน่าสนใจ โดยเนื้อหามีดังนี้ "หน้าที่และอำนาจในระยะเปลี่ยนผ่านของสมาชิกวุฒิสภาชุดบทเฉพาะกาล


สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามบทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญจำนวนทั้งสิ้น 250 คนจาก 3 ประเภทเป็น 'ผู้แทนปวงชนชาวไทย' เช่นเดียวกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 500 คนจาก 2 ประเภท มีหน้าที่ต้องปฏิบัติและมีอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ทั้งในบททั่วไปและบทเฉพาะกาล

 

"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

 

หน้าที่และอำนาจตามบทเฉพาะกาลเป็นหน้าที่พิเศษที่ได้รับการบัญญัติเพิ่มขึ้นเพื่อให้วุฒิสภาเป็นหนึ่งในกลไกป้องกันไม่ให้บ้านเมืองกลับไปสู่วิกฤตทางการเมืองเดิมก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557  ทั้งนี้ สมาชิกวุฒิสภาชุดนี้ไม่ได้มีหน้าที่เพียงร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น

 

อันที่จริง หน้าที่ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีนี้ตามมาภายหลัง โดยเป็นผลมาจากผลการออกเสียงประชามติใน 'คำถามเพิ่มเติม' ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ทำให้ต้องมีกระบวนการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560

สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกมีหน้าที่หลักเฉพาะกาลอยู่ก่อนหน้าแล้วถึง 3 ประการ

ประการที่ 1 ติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิรูปประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีจะต้องรายงานความคืบหน้าทุก 3 เดือน

ประการที่ 2 ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตั้งแต่ต้นในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา แทนที่จะให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้เสร็จก่อนแล้วจึงค่อยส่งมาที่วุฒิสภาเหมือนร่างกฎหมายทั่วไปที่เคยเป็นมา

ประการที่ 3 ร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างกฎหมายสำคัญเฉพาะบางลักษณะซึ่งสภาใดสภาหนึ่งยับยั้งไว้และพ้นกำหนดเวลา 180 วัน หรือ 10 วันในกรณีที่เป็นร่างกฎหมายการเงิน แทนที่จะให้เป็นอำนาจเต็มของสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวเท่านั้น

 

"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

 

เฉพาะประการที่ 1 และ 2 นี่คือเอกลักษณ์ของรัฐธรรมนูญ 2560 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศที่มีกำหนดไว้โดยเฉพาะให้ทุกรัฐบาลที่เข้ามาต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศตามแผนปฏิรูปประเทศรวม 12 ด้าน โดยในปัจจุบันแผน 10 ด้านแล้วเสร็จและประกาศราชกิจจานุเบกษาไปแล้วกว่า 1 ปี ส่วนอีก 2 ด้านคือด้านการศึกษาและด้านตำรวจนั้นตัวร่างกฎหมายหลักเสร็จแล้วในชั้นกฤษฎีกา

 

ทั้งหมดเหลือแต่การทำตามแผน สมาชิกวุฒิสภาชุดเฉพาะกาลนี้ได้รับการออกแบบไว้ให้เป็นคล้าย ๆ 'องครักษ์พิทักษ์การปฎิรูปประเทศ' ทั้งติดตาม เร่งรัด ตรวจสอบ และอาจถึงการมีส่วนในกระบวนการกล่าวโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม รวมทั้งเข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายตามแผนปฏิรูปประเทศผ่านช่องทางพิเศษโดยร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรตั้งแต่ต้น

 

ทั้งนี้ เพราะการปฎิรูปประเทศคือการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศที่สมุฏฐาน ส่วนประการที่ 3 นี่ก็สำคัญมากเช่นกัน แต่แทบไม่ค่อยได้รับการพูดถึง ทั้ง ๆ ที่เป็นกลไกสำคัญที่จะมีส่วนช่วยระงับวิกฤตในลักษณะที่เคยเกิดขึ้นก่อน 22 พฤษภาคม 2557 ได้ หากจะเกิดซ้ำขึ้นอีกในอนาคต

 

นั่นคือโดยปกติแล้วเมื่อร่างกฎหมายใดถูกยับยั้ง ไม่ว่าเพราะวุฒิสภาไม่เห็นด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร หรือสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาหรือของคณะกรรมาธิการร่วม โดยปกติแล้วร่างกฎหมายนั้นยังคงอยู่ ไม่ตกไป เพียงแค่อยู่ระหว่างถูกยับยั้งเท่านั้น เพราะเมื่อพ้น 180 วัน หรือ 10 วันในกรณีเป็นร่างกฎหมายการเงิน สภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวสามารถหยิบยกกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่ได้ทันที และมีมติชี้ขาดได้โดยไม่ต้องฟังเสียงวุฒิสภาอีก พูดภาษาชาวบ้านคือร่างกฎหมายปัญหายังไม่ตาย แค่สลบไป สภาผู้แทนราษฎรสามารถปลุกชีวิตให้ฟื้นขึ้นมาได้

 

คงยังจำร่างกฎหมาย 'นิรโทษกรรมสุดซอย' ต้นเหตุของการยึดอำนาจ 22 พฤษภาคม 2557 กันได้นะ ข้างนอกรัฐสภา - มีมวลชนชุมนุมคัดค้าน ข้างในรัฐสภา - สภาผู้แทนราษฎรลงมติให้ผ่านวุฒิสภาลงมติยับยั้ง แต่ไม่จบ เพราะร่างกฎหมายยังไม่ตาย วุฒิสภาทำได้แค่เพียงให้สลบไปชั่วคราวเท่านั้น เมื่อพ้น 180 วันแล้วสภาผู้แทนราษฎรสามารถปลุกให้ตื่นขึ้นมามีชีวิตใหม่โดยหยิบยกขึ้นพิจารณาใหม่โดยสภาเดียวได้ทันที.

 

นี่อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ผู้ชุมนุมนอกรัฐสภาไม่สลายตัวทันที เพราะไม่ไว้ใจเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่มีมติผ่านร่างกฎหมายนั้นออกมา

บทเฉพาะกาลได้ปรับเปลี่ยนเป็นว่าให้วุฒิสภาชุดเฉพาะกาลเข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาด้วย ถ้าจะมีมติให้ร่างกฎหมายปัญหานั้นผ่านก็ต้องใช้มติ 2 ใน 3 ของที่ประชุมร่วม 2 สภา

อำนาจหน้าที่สำคัญประการที่ 3 นี้ไม่ได้ใช้กับร่างกฎหมายทุกฉบับ ใช้เฉพาะแต่กับร่างกฎหมาย 2 ลักษณะเท่านั้น คือ  1. ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมโทษหรือองค์ประกอบความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ เฉพาะเมื่อการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีผลให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากความผิดหรือไม่ต้องรับโทษ

 

2. ร่างกฎหมายที่มีผลกระทบต่อการดำเนินกระบวนการยุติธรรมอย่างร้ายแรง  เฉพาะข้อ 2 ร่างกฎหมายใดจะเข้าข่ายนี้ วุฒิสภาต้องมีมติไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกเท่าที่มีอยู่   พูดง่าย ๆ รวม ๆ ภาษาชาวบ้านได้ว่าให้เข้ามามีส่วนร่วมชี้ขาดร่างกฎหมายที่จะทำให้คนผิดไม่ต้องรับโทษ หรือร่างกฎหมายที่ทำลายกระบวนการยุติธรรม นี่ก็เป็นการป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อ 5 - 6 ปีที่ผ่านมา  อย่างน้อยก็จำกัดวงให้ปัญหายังมีทางแก้ไขในระบบรัฐสภามากขึ้นกว่าเดิม

ทั้ง 3 ประการนี้ มีผลบังคับเฉพาะอายุของสมาชิกวุฒิสภาชุดแรก 5 ปีเท่านั้น  ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559  ด้วยเสียงข้างมาก 16,820,402 เสียง หรือเท่ากับร้อยละ 61.35 ของจำนวนผู้มาออกเสียงทั้งหมด

ส่วนการให้สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามบทเฉพาะกาลเข้ามาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น เดิมทีไม่ได้บัญญัติอยู่ในบทเฉพาะกาลของร่างรัฐธรรมนูญแต่ต้น แต่เกิดจากมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมีความเห็นตรงกันโดยสรุปว่า ไหน ๆ จะให้ช่วง 5 ปีของอายุสมาชิกวุฒิสภาชุดเฉพาะกาลเป็นระยะเปลี่ยนผ่านที่สำคัญแล้ว

 

แทนจะให้สมาชิกวุฒิสภาชุดนี้คอยแต่ติดตามการปฏิรูปประเทศและการเป็นกลไกยับยั้งวิกฤตตามอำนาจหน้าที่ 3 ประการดังที่กล่าวมา ซึ่งล้วนเป็นกลางทางและปลายทาง หากจะเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้อีกสักประการหนึ่งโดยให้มีส่วนร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีที่จะมาเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศด้วย ให้เป็นการมีส่วนร่วมเสียตั้งแต่ต้นทางเลย จะดีกว่าหรือไม่

 

"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

 

อย่างไรก็ตาม บทบาทชี้ขาดในการเลือกนายกรัฐมนตรียังคงอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร เพราะหากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 376 คนขึ้นไปจากสมาชิกทั้งหมด 500 คนลงมติไปในทิศทางเดียวกัน เสียงของสมาชิกวุฒิสภา 250 คนก็ไม่มีความหมาย

ทุกคนรู้อยู่ว่านี่เป็นประเด็นละเอียดอ่อน อย่ากระนั้นเลย ถามประชาชนตรง ๆ เลยจะถูกต้องที่สุด จึงเป็นที่มาของคำถามเพิ่มเติมในการออกเสียงประชามติเมื่อ 7 สิงหาคม 2559

 

"ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี"

 

ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตอบคำถามนี้มาแล้วในการลงประชามติว่า  "เห็นด้วย"  ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 15,132,050 เสียง หรือเท่ากับร้อยละ 58.07 ของจำนวนผู้มาออกเสียงประชามติทั้งหมด  หน้าที่และอำนาจของสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามบทเฉพาะกาลจึงมีจุดเชื่อมโยงกับประชาชนผ่านการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559


เพื่อให้การปฏิรูปประเทศทุกด้านเดินหน้าตามแผน  หน้าที่และอำนาจนี้จะคงอยู่เพียงชั่วคราว  สวิตช์ส.ว.ชุดเฉพาะกาลที่ได้เปิดแล้วในวันนี้ เมื่อครบเวลา 5 ปีก็จะปิดเองโดยอัตโนมัติ

 

"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

 

ขอบคุณ : เฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ประวิตรบอกมีเพื่อนเป็นสว.แค่2-3คน ส่วนน้องคนเดียว

ปชช.อุ่นใจบิ๊กหมายนั่งสว. อดีตนายตร.ผู้ประกาศ เราเป็นลูกหลานพระมหากษัตริย์

"ครูหยุย" เปิดใจหลังเข้ารายงานตัว สว. เผยจะเลือกใครเป็นนายกฯคนต่อไป

จบแล้ว ปิดสวิตซ์ สว.!! 11พรรคหนุนพลังประชารัฐ ถึงนาทีนี้..ลุงตู่เป็นนายกแน่นอน?