"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

ยิ่งสถานการณ์การเมืองเข้าด้ายเข้าเข็มมากขึ้นเท่าใด ก็ดูเหมือนว่าแหที่พันร่างนายธนาธร จึงรุงเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จะยิ่งรัดแน่นมากขึ้นเท่านั้น เมื่อปรากฏว่ามรสุมทางการเมืองที่ถาโถมเข้ามาไม่หยุดหย่อน อาจทำให้วิมานที่ตนก่อร่างสร้างไว้ไว้ในมโนคติ จวนเจียนจะสูญสลายกลายเป็นอากาศธาตุ เข้าทุกขณะ

 

หากทั้งหมดทั้งมวลล้วนเกิดจากผลกรรมที่ตนได้กระทำทั้งสิ้น แต่ที่เห็นได้ชัดคืออาการแบ่งรับแบ่งสู้ด้วยวิธีการโยงประเด็นให้ซ้อนทับกับสถานะทางการเมืองของตนหวังเรียกร้องความชอบธรรมจากเหล่าผู้สนับสนุนในทุกวิถีทาง ล่าสุดมรสุมลูกใหม่ได้ก่อตัวขึ้นอีกครั้ง จาก กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้พิจารณาวินิจฉัยสมาชิกภาพส.ส.ของนายธนาธรสิ้นสุดลง  เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชน

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

ท่ามกลางการลุ้นระทึกว่าอนาคตทางการเมืองของนายธนาธร ที่ก่อนหน้าได้แผ่ซ่านความหวังอาบชะโลมใจผู้สนับสนุน จะต้องถูกปลาสนาการให้สิ้นหรือไม่ เช่นเดียวกับหลายครั้งก่อนหน้าที่นายธนาธรยังคงยืนกราน และไม่แสดงอาการวิตกแต่อย่างใด ทั้งยังพาดพิงยัง คสช.ว่า "ตนมองว่านี่คือความพยายามเฮือกสุดท้ายของคสช.ที่จะสกัดกั้นพรรคอนาคตใหม่ โดยคาดหวังว่า ถ้าจัดการกับแกนนำพรรคได้แล้ว จะจัดการกับพรรคได้ อย่างไรก็ตาม เรามั่นใจในพยานหลักฐานเอกสารของพวกเรา ว่าไม่มีอะไรมาเอาผิดได้"

 

ไม่เพียงเท่านั้นนายธนาธรกลับทำประหนึ่งแทงสวนด้วยการเข้าชิงพื้นที่สื่อทันควัน เมื่อปรากฏว่าในวันเดียวกันนั้น นายธนาธร ประกาศกร้าวว่าพร้อมนั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อยุติการเมืองคลุมเครือ และเตรียมเจรจากับพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคภูมิใจ ด้วยตนเอง

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

ดังที่เคยประพฤติปฏิบัติตลอดดมา เพราะปรากฏว่านายธนาธร ได้หยิบยกวาทกรรมสืบทอดอำนาจของ คสช. มากล่าวถึงอีกครั้งด้วยระบุว่า เหตุที่สนอตัวเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งการหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของ คสช. ภายใต้ความคลุมเคลือ ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือพรรคพลังประชารัฐ จึงอาสามาเป็นนายกรัฐมนตรีเอง

 

ดุจเดียวกับการชักแม่น้ำทั้งห้ามาสร้างน้ำหนักให้เหตุผลของตนเองมีความน่าเชื่อถือ เพราะคำพูดของนายธนาธรในตอนนี้ ตรงข้าม กับอุดมการณ์ของตนแต่แรกที่ปฏิเสธตำแหน่งนายกฯ มาโดยตลอด คล้ายสังวรณ์เองได้ว่า พรรคอนาคตใหม่ นั้นหาได้มีคะแนนเสียงจากประชาชนเป็นอันดับหนึ่ง 

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 


 

ครั้นแล้วทำให้ความสนใจในแวดวงการเมือง พุ่งตรงไปยังนายอนุทิน ชาญวีรกูล ผู้กุมบังเหียนพรรคภูมิใจไทย ที่จนถึงเวลานี้ชัดเจนว่ามีสถานะเป็นพรรคตัวแปรที่อาจชี้ขาดเกมการเมืองในครั้งนี้ แม้อาการไว้เชิง วางกลยุทธ์แบบยุรยืด หรืออาจถือตัวว่าตนเป็นกุญแจสำคัญที่จะคลายผนึกความคลุมเครือในเวลานี้ให้เป็นไปได้ดังใจนึก จะทำให้ใครหลายคนนึกฉิวใจขึ้นมาบ้าง

 

โดยเฉพาะปีกทางด้านของ กลุ่มสนับสนุนพรรคอวดอ้างประชาธิปไตย ที่เหมือนจะพยายามจะง้างให้คายออกมาว่า โมงยามแห่งความขมุกขมัวที่นายอนุทินทำทีถือสองราง ท้ายสุดจะสับให้รถไฟขบวนนี้วิ่งไปยังสายใด ...

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

แต่เมื่อย้อนกลับไปพินิจให้ถี่ถ้วน จะพบว่า แท้จริงแล้วนายอนุทิน ได้ส่งสัญญาณแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนของตนมาโดยตลอด และหากเป็นเช่นว่านั้นจริง นั่นอาจทำให้ความหวังของนายธนาธร ที่หวังคว้าตัวนักการเมืองเนื้อหอมผู้นี้ มาอยู๋ใต้ปีกของตนถึงกับต้องดับวูบลง

 

โดยเหตุที่ว่าความต่างด้านทัศนะอย่างสิ้นเชิง ของทั้งตัวนายธนาธร และนายอนุทิน ดูจะผิดฝั่งผิดฝามิอาจผนึกพลังร่วมกันขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเป็นเอกภาพ และนั่นอาจเป็นเหตุผลให้นายอนุทิน ปฏิเสธในตัวนายธนาธร และพรรคอนาคตใหม่ ตั้งแต่แรกเริ่ม เพียงแต่เป็นการทดไว้ในใจมิได้เผยไต๋ต่อสาธารณะ ก็เป็นได้

 

สำหรับจุดยืนที่ชัดเจนของนายอนุทินนั้น ประกาศไว้เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2562 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาว่า ถ้าพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเชิญพรรคภูมิใจไทยร่วมจัดตั้งรัฐบาล พรรคดังกล่าวต้องมีคุณบัติ 4 ข้อ ที่ตนจะนำมาพิจารณา อันประกอบไปด้วย

 

1.เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

2.ประเทศไทยต้องไม่เดินหน้าไปสู่ความขัดแย้ง

3.รัฐบาลต้องมีเสถียรภาพบริหารประเทศได้

4.ประชาชนต้องได้รับการแก้ไขปัญหาปากท้อง

และปิดท้ายด้วยประโยคที่ระบุว่า "ถ้าพิจารณาแล้วไม่เป็นไปตามข้อ 1-4 ผมก็เป็นฝ่ายค้านเพราะไม่ต้องการทำร้ายประเทศชาติ และประชาชน"

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

แค่เพียงชั้นแรกหยิบยกแต่เพียงข้อหนึ่งที่สำคัญที่สุด มาเปรียบเทียบกับอุดมการณ์และท่าทีของพรรคอนาคตใหม่ที่นำโดยนายธนาธร และมีนายปิยบุตร เป็นมือขวานั้น ก็ดูจะขัดแย้งกับคุณสมบัติของพรรคที่นายอนุทิน กำหนดไว้เสียแล้ว

 

ด้วยเพราะต้องไม่ลืมว่าถึงแม้ นายธนาธร และนายปิยบุตร จะลดดีกรีความแข็งกร้าว หลังเดินเข้าสู่สนามการเมืองอาจด้วยวิธีอาศัยครูพักลำจำนักการเมืองรุ่นพี่ จนยอมโอนอ่อนผ่อนตามคติรากฐานของสังคม และก้มหน้าสมาทานจารีตแบบกึ่งจำยอม แต่ก่อนหน้านี้ ทั้งสองเคยมีพฤติการณ์หมิ่นเหม่ จากวาจาและแนวคิดที่กระทบกระทั่งต่อสถาบันพระมากษัตริย์ตลอดมา

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

https://www.tnews.co.th/contents/506545

ที่เด่นชัดที่สุดเห็นจะเป็น ในคราวแรกพรรคอนาคตใหม่มีการแย้มว่า จะทำการยกเลิก ม.112 ทีมีไว้เพื่อปกป้องพระเกียรติขององค์พระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อโดนกระแสสังคมตีกลับ กลายเป็นว่าผลิกตะแบงจะไม่ขอยกเลิก แต่เป็นการปรับแก้ จนท้ายสุดเมื่อเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวทางการเมืองก่อนการเลือกตั้ง กลับมีการยืนยันว่าจะไม่ขอแตะต้องกับกฏหมาย ม.112

 

การแสดงความเห็นในลักษณะดังกล่าว ย่อมเลี่ยงไม่พ้นที่จะทำให้สังคมมองว่าเป็นการแสดงความเห็นอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองของรัฐอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา ไม่เพียงเท่านั้นเพราะบางช่วงบางตอนระหว่างการหาเสียงของพรรคอนาคตใหม่

 

โดยนายธนาธรได้ให้สัมภาษณ์ว่า จะสานต่อภารกิจของคณะราษฎรให้สำเร็จ ซึ่งหากเอ่ยชื่อของคณะราษฎรย่อมตระหนักทราบกันดีว่า คือชื่อเรียกกลุ่มคณะผู้ก่อการยึดอำนาจ ที่ทำการฉกฉวยช่วงชิงพระราชอำนาจจากพระปกเกล้าฯ อย่างฉับพลัน

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

อีกทั้งนายธนาธรยังเป็นนายทุน ของนิตยสารฟ้าเดียวกัน  ชัดเจนว่านิตยสารฉบับนี้เป็นนิตยสารที่ได้แสดงอาการการเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  ที่เป็นกระบอกเสียงการเผยแพร่ บทความหมิ่นสถาบันฯ อยู่หลายครั้ง

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

ขณะที่นายปิยบุตร ที่ก่อนจะกระโจนลงสนามการเมืองนั้น เคยเป็นนักวิชาการสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์ เป็นกลุ่มที่มีข้อเสนอทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ต่อสังคมไทย โดยหลักคือการเคลื่อนไหวเพื่อขับเคลื่อนการยกเลิก ม.112 และเคยปรากฏมีคลิปที่ประเด็น

 

จนเจ้าตัวต้องออกมาปัดพัลวัน ว่าเป็นเรื่องราวในอดีตสมัยตนเป็นอาจารย์เท่านั้น..? หรืออ้างว่าไม่ได้พูดถึงสถาบันกษัตริย์ในราชอาณาจักรไทย..?

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

แม้จะฟังไม่ขึ้นแต่เมื่อนำข้อเท็จจริงเหล่านี้มาพิจารณา โดยที่นายธนาธร อาจทำแสร้งลืมตำหนิและมลทินของตนในอดีตจากทุกพฤติกรรมที่สาธยายมาแต่ต้น จากความหวังที่หมายมั่นปั้นมือจะหว่านล้อม พรรคภูมิใจไทยให้มาร่วมหอลงโรง จะกลายเป็นตอกฝาโลงตนแทนหรือไม่ ก็ชวนให้ขบคิดอยู่ไม่น้อย

 

"ธนาธร" วาดฝันดึง "ภูมิใจไทย" ร่วมรัฐบาล ดันตัวเองเป็นนายกฯ ชำแหละอุดมการณ์ความต่าง "อนุทิน-ธนาธร" ถนนสายนี้ ร่วมทางกัน(ไม่)ได้??

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"คำนูณ" คลายทุกข้อสงสัย ที่มา ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล เจตจำนงค์ ระงับวิกฤตการเมืองด้วยกลไกในสภา ปิดประตูซ้ำรอย "นิรโทษกรรมสุดซอย"

รู้จักนักการเมืองไทยน้อยไป!! "ไพศาล" วิเคราะห์ สูตรเดินเกม "พปชร" หลังส่อวุ่น ดีลเก้าอี้พรรคร่วมไม่ลงตัว?? หวั่นซ้ำรอย ยุค "ป.-ถนอม"

"หมอพรทิพย์" ขำไม่ออก นักการเมืองชิงเก้าอี้รมว. ที่หาประโยชน์ได้ "ยุติธรรม" กลายเป็นกระทรวงเกรดC

"บิ๊กป้อม" อารมณ์ดี ยิ้มไปตอบไป เผยไม่รู้ทิศทางการเมือง-ยังไม่ถูกทาบทาม ระบุไม่มีส่วนร่วมจัดตั้งรัฐบาล! (คลิป)