"เพนกวิน" แท็กทีม"จ่านิว" ก้าวล่วง พล.อ.เปรม หลังถึงอสัญกรรม

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเป็น บุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ  องค์กร  หน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายชัย ชิดชอบ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมชั่วคราว ได้ขอให้สมาชิกยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาทีเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อการอสัญกรรมของพล.อ.เปรม  จากนั้นจึงมีการประชุมเพื่อเข้าสู่ระเบียบวาระต่อไป

นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่าเศร้าของพี่น้องชาวไทย ของการจากไปของ “ป๋าเปรม” พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน ถึง อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเช้าของวันที่ 26 พค.2562 นับเป็นการสูญเสียผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งประเทศชาติ ในความเป็นผู้นำและมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ พร้อมทั้งการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด

 

"เพนกวิน" แท็กทีม"จ่านิว" ก้าวล่วง พล.อ.เปรม หลังถึงอสัญกรรม

สำหรับคนส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเป็น บุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ  องค์กร  หน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายชัย ชิดชอบ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมชั่วคราว ได้ขอให้สมาชิกยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาทีเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อการอสัญกรรมของพล.อ.เปรม  จากนั้นจึงมีการประชุมเพื่อเข้าสู่ระเบียบวาระต่อไป ร่วมไปถึงนานาชาติ ต่างพากันแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียในครั้งนี้

 

แต่ทว่าทางด้านของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ”เพนกวิน”  แนวร่วมพรรคอานคตใหม่ กลับมีพฤติกรรมสวนทาง โดยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Parit Chiwarak ระบุว่า..

 

การอสัญกรรมของ พล.อ.เปรม เชื่อว่าจะส่งผลให้การเมืองของชนชั้นนำ (elite) ระส่ำขึ้นไม่มากก็น้อย ที่ผ่านมา พล.อ.เปรมมีบทบาทในฐานะ "มือประสานสิบทิศ" ในสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ พล.อ.เปรมเป็นผู้มากบารมีที่คอยประสานประโยชน์ระหว่างมุ้ง (faction) ต่าง ๆ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีได้เกือบ 10 ปี ต่อมาเมื่อได้เป็นประธานองคมนตรีก็เชื่อว่ายังคงมีบทบาทด้านการประสานงานระหว่างมุ้งอยู่หลังม่าน เมื่อ พล.อ.เปรมสิ้นไปแล้ว คงยากที่จะหาใครคอยประสานผลประโยชน์ระหว่างมุ้งได้ลงตัว ดังนั้น การเมืองระหว่างมุ้งของชนชั้นนำน่าจะเดือดขึ้นไม่มากก็น้อย รอดูกันต่อไปครับ  ว่าแต่ บ้านหลวงว่างแล้ว จะมีใครได้ไปอยู่ฟรีต่อไหมครับ

 

"เพนกวิน" แท็กทีม"จ่านิว" ก้าวล่วง พล.อ.เปรม หลังถึงอสัญกรรม

 

ในเวลาต่อมา นายแพนกวิน ได้โพสต์ต่อด้วยว่า ..ระบอบเปรมคือความฝันอันสูงสุดของระบอบประยุทธ์ ..การเมืองยุค พล.อ. เปรม (ประชาธิปไตยครึ่งใบ) เป็นนายกคือความฝันสูงสุดของนายทหาร ข้าราชการ และกลุ่มทุนใหญ่ เพราะเป็นการเมืองที่ผลประโยชน์ถูกต่อรองอยู่แค่ในระหว่าง 3 กลุ่มนี้ โดยไม่มีนักการเมืองที่เป็นตัวแทนประชาชนมาเกี่ยวข้อง การเมืองยุคนั้นเป็นยุคที่ทหารเป็นรัฐมนตรี ข้าราชการเป็นคนคิดและขับเคลื่อนนโยบาย กลุ่มทุนเป็นผู้รับผลประโยชน์ ส่วนนักการเมืองเป็นไม้ประดับ ทหารอยากมีอำนาจเหมือนสมัยเปรม ข้าราชการอยากมีบทบาทและทำงานได้โดยไม่ต้องฟังนักการเมือง ส่วนนักธุรกิจก็อยากกินรวบแบบไม่ต้องสนใจประชาชน

 

ความฝันนี้ถูกสะท้อนออกมาได้ชัดผ่านการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบด้วยทหาร-ข้าราชการ-นายทุน และมีอำนาจควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจนแทบจะทำให้นักการเมืองเป็นไม้ประดับ ขัดคณะกรรมการนี้ไม่ได้เลย อีกทั้งในสมัยประยุทธ์ยังมีการรวมศูนย์อำนาจเข้าส่วนกลางผ่านระบบราชการ ดังนั้น 5 ปีที่ผ่านมา ประยุทธ์ได้ #ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แล้ว แต่เป็นการปฏิรูปเพื่อหมุนเข็มนาฬิกากลับไปยุค พล.อ.เปรม ซึ่งบอกเลยว่าไม่ง่ายเพราะในปัจจุบัน กลุ่มผลประโยชน์มีความซับซ้อนมากขึ้น พล.อ.ประยุทธ์จะต้องประสานประโยชน์เก่งกว่า พล.อ.เปรมหลายเท่าจึงจะประคองระบอบนี้ให้รอดไปได้

 

มือประสานยี่ห้อตู่จะสู้มือประสานยี่ห้อเปรมได้หรือไม่ มาดูกัน

 

"เพนกวิน" แท็กทีม"จ่านิว" ก้าวล่วง พล.อ.เปรม หลังถึงอสัญกรรม

เช่นเดียวกับนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว  นักเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟสบุ๊ค "Sirawith Seritiwat" ในลักษณะเดียวกันด้วยถ้อยคำ รุนแรง บางช่วงบางตอนระบุว่า.. จากบ้านหลวงพระธำมรงค์สู่บ้านสี่เสาเทเวศ ชีวิตคนๆนี้เขาโชคดีนะครับ บ้านฟรี น้ำฟรี ตั้งแต่เกิดจนตาย

 

"เพนกวิน" แท็กทีม"จ่านิว" ก้าวล่วง พล.อ.เปรม หลังถึงอสัญกรรม

 

"เพนกวิน" แท็กทีม"จ่านิว" ก้าวล่วง พล.อ.เปรม หลังถึงอสัญกรรม

 

จนนำไปมาสู่การตั้งคำถามจากสังคมถึงความเหมาะสมกับพฤติกรรมดังกล่าวของกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มนี้ที่เรียกขานตัวเองว่า "นักประชาธิปไตย"  นี่หรือคือพฤิตกรรมของ "ปัญญาชน" เชิดชูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่สำคัญ ไม่ละเมิดผู้อื่น  อีกทั้งพฤติกรรมครั้งนี้ว่าสะท้อนตนตัวที่แท้จริง

 

อย่างไรก็ตาม ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐ ระบุว่า...

พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่งและองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี

คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ