บทความพิเศษ ดร. เวทิน ชาติกุล :: ใครที่ควรสำนึกในบุญคุณของ "ป๋า" มากที่สุด?

วันนั้นถ้าไม่มีนโยบาย 66/2523? บ้านเมืองเราวันนี้จะเป็นอย่างไร? ...ขอความเห็นจากท่านผู้รู้ ท่านผู้รู้มั่งไม่รู้มั่ง และท่านผู้ไม่รู้ด้วย กับหนึ่งคำถามข้างบน

วันนั้นถ้าไม่มี​นโยบาย​ 66/2523? บ้านเมืองเราวันนี้จะเป็นอย่างไร? ...ขอความเห็นจากท่านผู้รู้​ ท่านผู้รู้มั่งไม่รู้มั่ง​ และท่านผู้ไม่รู้ด้วย​ กับหนึ่งคำถามข้างบน

 

ปี​ 2519  ขั้วขวาจัดกับซ้ายจัดถึงคราวแตกหักกันด้วยเหตุการณ์สังหารหมู่ที่สนามหลวงในวันที่​ 6​ ตุลาฯ  นักศึกษา​ ทั้งแกนนำ​ แกนตาม​ แทนที่จะยอมศิโรราบกลับฮึกเหิม​ "ปืนต่อปืนมันยิงมาเรายิงไป" หนีออกจากเมือง​ ไปเป็นนักรบจรยุทธ์ต่อสู้ในป่า​ เปลี่ยนชื่อนำหน้าจากนาย​ นางสาว​ เป็น​ สหาย​ เข้าทางพรรคคอมมิวนีสต์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น

บทความพิเศษ ดร. เวทิน ชาติกุล :: ใครที่ควรสำนึกในบุญคุณของ "ป๋า" มากที่สุด?

 

ที่ต้องการให้​เกิด​ "สงครามประชาชน" การลุกฮือ​ ไปทั่วทุกหัวระแหง  เลือดที่หลั่งรดที่ธรรมศาสตร์​ ที่สนามหลวง​ เพราะฝีมือ​ไทยฆ่าไทยด้วยกัน​ ลุกลาม​ ขยายวงไปทั่วทุกพื้นที่​ ทั่วประเทศ​  แผ่นดินไทยแตกแยกกันยิ่งกว่าตอนเสื้อเหลือง​ เสื้อแดง​ ไอ้ที่เย้วๆทำเป็นเก่งกันในสงครามโซเซียลตอนนี้เทียบไม่ได้แม้ขี้เล็บ  สู้รบกันจนถึงปี​ 2523 พรรคคอมมิวนีสต์แห่งประเทศไทยแตก​  สาเหตุที่พรรคแตกมาจากหลายปัจจัย​

 

ปัจจัยหนึ่งก็คือการแตกขั้วในฝ่ายสังคมนิยมเองที่แบ่งเป็นคอมฯสายจีน​ กับ​ คอมฯสายรัสเซีย​  เรื่องนี้ซับซ้อน​ เล่าย่อๆ​ เพราะเวียดนามเป็นคอมมิวนีสต์สายรัสเซีย​ ฝ่ายรัฐบาลไทยตอนนั้นมีท่าทีเจรจาพาทีกับพรรคคอมมิวนีสต์จีน​ ผลก็คือ​ พรรคคอมมิวนีสต์จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนีสต์ไทย​  "สถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย" ถูกสั่งปิด​

 

บทความพิเศษ ดร. เวทิน ชาติกุล :: ใครที่ควรสำนึกในบุญคุณของ "ป๋า" มากที่สุด?

 

ปัจจัยอีกหนึ่งก็คือ​ อุดมการณ์แบบตายตัวของแกนนำพรรคคอมมิวนีสต์ไทยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับแกนนำนักศึกษาที่หนีเข้าป่าไป​ จนนำไปสู่เหตุการณ์​ "วิกฤติศรัทธา" ภายในพรรค​ ซึ่งนำไปสู่จุดแตกหักในช่วงปี​ 2522-2523 ระหว่าง​ "คนรุ่นใหม่" กับ​ "คนรุ่นเก่า" ในพรรค​

 

ตอนนั้น​ 23 เมษายน 2523 รัฐบาลที่มีนายกฯชื่อ​ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้ออกคำสั่ง​ที่เรียกกันว่า​ "นโยบาย​ 66/2523"  เปลี่ยนท่าทีจากนโยบายทหารสายแข็งที่เป็นมาตั้งแต่หลัง​ 6​ ตุลาฯ​ มาเป็น​ "การเมืองนำการทหาร" โดยกำหนดให้มีการจัดการความอยุติธรรมทางสังคม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและกระบวนการประชาธิปไตย

รวมถึงการออกกฎหมายนิรโทษกรรม​ สอดคล้องกับคำสั่งอนุญาตให้​ "ผู้แปรพักตร์" ผละออกมาจากพรรคเพื่อร่วมเป็น "ผู้พัฒนาชาติไทย" ได้  แปลกันง่ายๆก็คือ​ ยอมให้ผู้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนีสต์​ ออกมาจากป่า​ เข้ามอบตัว​  ไม่ต้องถูกยิงหัวตายในป่ากันอีกต่อไป

 

นักศึกษาที่หนีเข้าป่าแทบทุกคน​ แม้จะออกมามอบตัว​อย่าง​ "ผู้แพ้" (ทั้งทางความจริงในพรรคที่ต่างจากอุดมการณ์​ในความคิด​ ทั้งทางการเดินเกมการเมืองของรัฐ)

 

แต่สิ่งที่ยังคงเหลือรอดกลับมาก็คือ​ "ชีวิต"

 

ใครจะเรียกว่า​ "กุศโลบาย" หรืออะไรก็ตามแต่​ แต่นั่นทำให้แผ่นดินที่แตกแยก​ เข่นฆ่ากันเองมานาน​หลายปี ได้ยุติลง​  คนไทยต่างความคิดไม่ต้องจับปืนขึ้นประหัตประหารกัน​เอง​

 

แม้จะไม่สนามฉันท์​  ลงรอยกันอย่างสมบูรณ์แบบ​ ถูกใจทุกคน​ แต่สังคมไทยก็เคลื่อนผ่านหัวเลี้ยวหัวต่อตรงนั้นมาได้​อย่างเสียเลือดเสียเนื้อน้อยกว่าสถานการณ์แบบเดียวกันในประเทศอื่น

 

แม้จะเป็นนายกฯที่ไม่เคยเป็น​ ส.ส.​ ไม่เคยมาจากการเลือกตั้ง​ พล.อ.เปรม​ ก็เป็นคนตัดสินใจครั้งสำคัญที่ทำให้ความขัดแย้ง​ แตกแยก​ที่เป็นอยู่มานาน​ คลี่คลายลงไปได้แบบที่เลือดไม่ท่วมแผ่นดิน​  ต่างกับนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งที่อ้าง​ "หลักการ" แต่ไม่เห็น​ "ชีวิต" คนอยู่ในสายตา​  พร้อมจะทำทุกอย่างโดยไม่คำนึงว่าประเทศชาติจะวิบัติฉิบหายอย่างไร

 

คำถามก็คือ​ ถ้าวันนั้นไม่มี​ "ป๋า" ถ้าวันนั้นไม่มี​ "66/2523" นักศึกษา​ และ​ พรรคคอมมิวนีสต์​ จะพบจุดจบเช่นไร?

 

บทความพิเศษ ดร. เวทิน ชาติกุล :: ใครที่ควรสำนึกในบุญคุณของ "ป๋า" มากที่สุด?

 

อันนี้นึกหรือจินตนาการไม่ได้  แกนนำนักศึกษาที่เห็นมีหน้ามีตาอยู่ตอนนี้ในมหาวิทยาลัยก็ดี​ ในพรรคการเมืองก็ดี​ น่าจะหายหน้าหายตา​ ไปหลายคน

 

หรือ​พวก​ "สวะประชาธิปไตย" ที่ออกมาสำรอกถ้อยคำต่างๆก็ควรจะสำเหนียกกันเอาไว้หน่อย​  ถ้า​ "พวกมึง" ไปอยู่ในสังคมไทย​ "ยุคก่อนป๋า" ป่านนี้วิญญาณของพวกมึงคงจะรู้แล้วว่า​ "เผด็จการ" ของจริงเป็นอย่างไร

 

และควรรู้เอาไว้ด้วยว่า​ ที่​ "พวกมึง" ออกมาระเริงกันอยู่ตอนนี้ได้​ ก็เพราะ "ต้นตอ" ทางความคิด​ "อาจารย์ของพวกมึง" ครั้งหนึ่งก็เคย​ "ยังเหลือชีวิต" รอดออกมาจากป่า​ มาสั่งมาสอนให้พวกมึง​เป็นลิเบอร่านในปัจจุบันได้​ ก็เพราะ​นโยบาย​ 66/2523​ ของ​ "ป๋า"

 

บทความพิเศษ ดร. เวทิน ชาติกุล :: ใครที่ควรสำนึกในบุญคุณของ "ป๋า" มากที่สุด?

 

ยุคเสรีติดเน็ต​ ใครจะด่าใครมันห้ามกันไม่ได้แล้ว​ พวกอาจารย์ทั้งหลายที่เคยเป็น​ "อดีต​ พคท." และยังเป็นคนสั่งคนสอน​ ลิเบอร่าน​ ธนาธร​ ปิยบุตร​ ฯลฯ​ (มีใครบ้างคงไม่ต้องเอ่ยชื่อ)​  จะชอบจะชัง​ "ป๋า" หรือการเมืองของ​ "ป๋า" แต่เป็นคนทั้งทีก็ให้มี​ "สำนึก" ไว้หน่อย​ ไม่ห้ามไม่ปราม​ ก็บอกไอ้เพนกวิน​ ไอ้จ่านิว​ สั่งสอนลูกศิษย์ลูกหากันหน่อย​ ว่า​

 

พวกมึง​ ชีวิตกู​ที่มีมาถึงวันนี้ได้ก็เพราะ​ "ป๋า"

 

หนังสือเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนีสต์แห่งประเทศไทยที่ควรอ่าน

 

ธิกานต์ ศรีนารา.​ หลัง 6 ตุลาฯ: ว่าด้วยความขัดแย้งทางความคิดระหว่างขบวนการนักศึกษากับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก, 2552