“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”

ควันหลงการโหวตตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และยังถือเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ นั่นก็ คือ นายชวน หลีกภัย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ด้วยคะแนนเสียง 258 คะแนน ต่อ 235 คะแนน เอาชนะ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่25 พ.ค. 2562

ควันหลงการโหวตตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร และยังถือเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ นั่นก็ คือ นายชวน หลีกภัย ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ด้วยคะแนนเสียง 258 คะแนน ต่อ 235 คะแนน เอาชนะ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย   เมื่อวันที่25 พ.ค. 2562

 

“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”

 ต่อมาใน วันรุ่งขึ้น (26พ.ค.) ได้มีการนัดประชุม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2 เพื่อเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 และรองประธานสภาผู้แทนราษฏร คนที่ 2  โดยรองประธานสภา คนที่ 1 ตกเป็นของ  นายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเทริงเทรา จากพรรคพลังประชารัฐ ชนะเฉียดฉิว น.ส.เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ด้วยมติ 248 ต่อ 246 คะแนน  ขณะที่รองประธานสภา คนที่ 2 คือนายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม จากพรรคภูมิใจไทย ชนะขาดลอย นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคเสรีรวมไทย ด้วยมติ 256 ต่อ 2239 คะแนน

 

“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”

 

หากย้อนกลับไปในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการโหวตเลือกประธานสภา นั้นก็คือในวันที่ 24  พ.ค. ซึ่ง ณ.เวลาต้องเรียกได้ว่า อยุ่ในช่วงที่กำลังสับสนอย่างหนักความไม่แน่นอนของฝั่งพรรคพลังประชารัฐ และพรรคประชาธิปัตย์ ที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ โดยขณะนั้นพรรคพลังประชารัฐ ได้มีมติส่งชื่ออแคนดิเดทประธานสภา คือ นายสุชาติ แต่เพียงผู้เดียว

 

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเวลา 19.45 น. ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหาร(กก.บห.)พรรคประชาธิปัตย์ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรค เป็นประธานการประชุม โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที จากนั้นได้เริ่มประชุมร่วมระหว่างกก.บห.และสส.ของพรรค  จากนั้นเวลา 20.45 น. นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคปชป. แถลงภายหลังประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารพรรค(กก.บห.)และสส. ว่า เมื่อเวลา 19.45 น. ได้มีการประชุมคณะกก.บห. และมีมติส่งนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค ชิงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฏร จากนั้นได้นำมติดังกล่าวเข้าที่ประชุมร่วมเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งผลปรากฏว่าเห็นชอบให้นายชวนเป็นบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ เนื่องจากเป็นคนที่เป็นหลักให้แก่บ้านเมือง อีกทั้งเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต

 

 

ดังนั้นเมื่อผลออกมาในรูปแบบนี้ ก็ชัดเจนแล้วว่าการเจรจาระหว่าง 2 พรรคนั้นไม่สำเร็จ  จนกระทั้งช่วงเช้าของวันที่ 25ถึงเวลาการนัดประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดแรก และมีวาระอันสำคัญยิ่ง นั้นก็คือการเลือกตำแหน่ง ประธานสภา แม้เหมือนว่าทั้ง2พรรค จะไม่ได้ข้อสรุป ที่ลงตัว แต่ทว่าอย่างไรเสียการประชุมกก็ต้องเกิดขึ้น และด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้วาระการเลือกประธานสภาส่อเค้ายืดเยื้อ  ในเมื่อเวลาประมาณ 10 .00 น. นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พลังประชารัฐ เสนอญัตติให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อน ทำให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นประท้วงและเสนอญัตติให้เลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรไปตามระเบียบวาระ   ขณะที่พรรคเพื่อไทยและพรรคแนวร่วม ยืนยันให้มีการเดินหน้าเลือกประธานสภา ในวันนี้นั้น หลังจากนั้นทั้ง 2 ฝ่ายได้มีการลุกขึ้นประท้วงกันไปมา โดยนายชัย ชิดชอบ ประธานชั่วคราวของที่ประชุม ได้เปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูด  

 

“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”

 

ในเวลาเดียวกัน ตัดมาที่ความเคลื่อนไหวภายในพรรคพลังประชารัฐที่เร่ง เดินหน้าเจรจาข้อสรุป ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ โดย นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ รับหน้าที่ในการเจรจา จนได้ข้อสรุป

 

“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”

 

จนกระทั้ง เมื่อเวลา 15.39 น.  นายชัย  ได้ขอมติว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่จะเลื่อนการโหวตประธานและรองประธานสภา โดยใช้การลงคะแนนแบบขานชื่อเรียงตามตัวอักษร และได้มีการตั้งคณะกรรมการจาก 6 พรรคการเมือง เพื่อนับคะแนนดังกล่าว ประกอบด้วย พรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ อนาคตใหม่ เพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ผลสรุปว่าที่ประชุมมีมติเห็นด้วย 246  เสียง  ไม่เห็นด้วย 248 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง

 

การชนะโหวตในครั้ง เกิดจากการที่ 5ส.ส. ขึ้นต้นด้วย  “อ.” แห่งพรรคพลังประชารัฐพร้อมใจกัน แกล้งลงมติ  “ไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนโหวต” โดยทางด้าน นายอนุชา นาคาศัย ส.ส.ชัยนาท พรรคพลังประชารัฐ ได้โหวต “ไม่เห็นด้วย” กับการเลื่อนการเลือกประธานสภา ซึ่งสวนทางกับเสียงส่วนใหญ่ จากพรรคพลังประชารัฐที่โหวต “เห็นด้วย” ในการเลื่อนการเลือกประธานสภาออกไป

 

อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมานายอนุชา ลุกขึ้นเพื่อขอแก้มติโหวตเปลี่ยนมาเป็น “เห็นด้วย” นอกจากนี้ พร้อมกับ นายอัครวัฒน์ อัศวเหม ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ  , นายอนุชา น้อยวงศ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคพลังประชารัฐ  ,  นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ ส.ส.กาญจนบุรี พรรคพลังประชารัฐ และนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะ ส.ส.ยะลา พรรคพลังประชารัฐ ต่างขอแก้มติมาเป็น “เห็นด้วย” เช่นกัน  แต่ทางพรรคเพื่อไทย อนาคตใหม่ และพรรคแนวร่วมไม่ยอม ต้องการให้โหวตประธานสภาให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้นการโหวตประธานสภาจึงเกิดขึ้น

 

“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”

 

จุดนี้ต้องบอก ทางพรรคเพื่อไทย อนาคตใหม่ ติดกับเข้าอย่างจัง เป็นที่น่าสังเกตหรือไม่ว่า เพราะเหตุใด  ทำไม 5ส.ส. ขึ้นต้นด้วย  “อ.” หรือ 5คนสุดท้ายจากพลังประชารัฐจึงพร้อมใจกันโหวต ไม่เห็นด้วย จะใช่การลงผิดจริงๆเช่นหรือนั้นไม่  หรือนี่เป็นสัญญาณแห่งการ “ปิดดีล” เจรจากับพรรคประชาธิปัตย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  และต้องการให้จบภายในวันนี้ ซึ่งจะเป็นเครื่องการันตีในการเข้าร่วมรัฐบาล

 

เรื่องนี้กระจ่างทันที เมื่อเวลา 16.20 น. โดยนายณัฏฐพล เสนอชื่อนายชวน เป็นชิงตำแหน่งประธานสภาฯ แทนที่นายสุชาติ ที่ยอมถอย นั่งรองประธานสภานคนที่ 1แทน  และด้วยแรงหนุนของพรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย ชาติไทยพัฒนา  รวมพลังประชาชาติไทย  ประชาชนปฏิรูป และ 11 พรรคเล็ก ผนวกการเกิดขึ้นของ “งูเห่า” อีก 7 เสียง ส่งผลให้นายชวนก้าวสู้ตำแหน่งประธานสภา อย่างสง่างาม ด้วยคะแนนที่กล่าวไปเมื่อข้างต้น

 

ทั้งนี้ถ้าหากมีการเลื่อนมติเลือกประธานสภาออกไป  ไม่แน่ว่าประธานสภาอาจจะไม่ได้ชื่อ “ชวน หลีกภัย” เพราะว่าเกมการเมืองเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา นี่จึงเป็นบทเรียน ค่าโง่ของพรรคเพื่อไทย ในวันที่ไร้แกนนำ  อนาคตใหม่ ที่ยังไม่เดียงสา ตามไม่ทันเกมการเมือง

 

“ค่าโง่”ฝ่ายประชาธิปไตย ตำแหน่ง “ประธานสภา” แผนซ้อนแผน “พลังประชารัฐ”