อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

บทความพิเศษ เวทิน​ ชาติกุล

 

"...ไม่ต้องปรบมือ อย่าทำอย่างนั้น อย่าได้รู้สึกแบบนี้ ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เราเห็นต่างก็ได้พูดกันไปหมดแล้ว มีเรื่องมีราวกันมากมาย เราเป็นคนไทย ผมเป็นคนพุทธ เมื่อทุกอย่างจบก็ให้อโหสิกรรมกัน นี่เป็นโลกปกติของคนที่เกิดมาเป็นคนพุทธ และอยู่อย่างวิญญูชนทั้งหลาย...

 

...เรื่องราวของมนุษย์แต่ละช่วงเวลามันแตกต่างกัน บางช่วงเวลาเขาก็ได้สร้างคุณูปการไว้มากมาย อย่างน้อย 2 เรื่อง  คือเรื่องคำสั่งที่ 66/23 ที่ยุติสงครามที่ฆ่ากันทั้งประเทศ ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(พคท.) และ​ กองทัพของรัฐบาลไทย ซึ่ง พล.อ.เปรม ออกประกาศสำนักนายกฯ​ฉบับเดียวตามข้อเสนอของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ  อีกฝ่ายก็วางอาวุธเข้ามาร่วมพัฒนาชาติไทยด้วยกันได้ ยุติการฆ่ากันตายเป็นหมื่นๆคน... ..

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

 

... ประเด็นที่ 2 เรื่องคำว่า​ "ผมพอแล้ว" ในการประกาศไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง​ นี่ก็เป็นสัจธรรมทางการเมืองของคนที่รู้จักพอ เพราะฉะนั้นตนเองก็ได้พูดในมิติเรื่องราวต่างๆไปหมดแล้ว คุณงามความดีก็มีในมนุษย์แต่ละห้วงเวลา...เพราะฉะนั้น พวกเราควรจะมองในทุกด้าน นี่ก็คือโดยหลักการ อย่างน้อยเราก็ได้รักษาพื้นที่ความเป็นมนุษย์..."

หลายคนคงจะรู้แล้วว่าข้อความข้างบนนั้นใครเป็นคนพูด  หรือถ้ายังไม่รู้​ ผมก็จะบอกให้รู้ว่าคนที่พูดคือ​" จตุพร​ พรหมพันธ์ุ​ แกนนำ​ นปช.​ คนที่เคยนำกลุ่มคนเสื้อแดงบุกบ้านป๋าเปรม​  พูดเมื่อวันที่​ พล.อ.เปรม​ ถึงแก่อสัญกรรม​ โดยได้ห้ามปรามมิให้คนเสื้อแดงโห่ร้องยินดี​ 

 

ใครจะคิดเห็นอย่างไร​ หลายคนอาจไม่เชื่อที่จตุพร​พูดออกมา​ เพราะที่ผ่านมาหลายคนเข็ดขยาดกับวาทกรรมบนเวทีเสื้อแดงของจตุพร(และณัฐวุฒิ)​ แต่ผมเชื่อว่าจตุพรพูดจากใจจริง​  ย้อนไปเมื่อครั้งที่​ "หลวงปู่พุทธะอิสระ" ติดคุก​ จตุพรได้เล่าถึงการเจอกันในคุกในครั้งนั้นว่า

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

 

"...ทุกวันนี้ผมมีแต่ความเมตตา ไม่ได้ไปย้อนนึกถึงอดีตที่ใครเคยทำอะไรกับเราไว้ ยิ่งต้องเข้ามาอยู่ในคุก ยิ่งรู้ว่าเราต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำความเข้าใจเรียนรู้กัน ในฐานะที่ผมอยู่มาก่อน ผมเห็นความไม่แน่นอนของอะไรหลายๆอย่าง โดยเฉพาะกับมนุษย์อย่างเราๆ วันนึงสูง วันนึงต่ำได้ เมื่อวันนี้โชคชะตานำพาให้ พระพุทธะอิสระ ต้องเข้ามาอยู่ด้วยกันที่นี่ ก็พร้อมจะดูแลอย่างดี ช่วยเหลือเท่าที่ทำได้ ด้วยความเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้ประชดหรือมีความในอย่างอื่นแฝง..." (ไทยรัฐ.​ 25​ พ.ค.​ 2561)

 

และคำพูดของ​ "หลวงปู่พุทธะอิสระ" ที่กล่าวถึงจตุพรเรื่อง​ "มิตรภาพในยามยาก"​ น่าจะเป็นสิ่งยืนยัน​ "หลวงปู่" เล่าว่า​" จตุพร" โทรมาหาเป็นห่วงเรื่องมหาเถรฯออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ต้องคำพิพากษา​ อยู่ระหว่างรอลงอาญาบวช​  หลวงปู่ก็ตอบไปว่า​ "ไม่เป็นไร​ ถือว่าเป็นการดีต่อพระธรรมวินัยในอนาคตเสียด้วยซ้ำ จักได้มีการคัดกรองบุคคลที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ให้เข้ามาทำความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนา​ จะเป็นอะไร​ ยังไงจิตใจฉันก็ยังเป็นพระอยู่...และจะไม่กลัวมาห่มผ้าเหลืองจนกว่าจะหมดเวลาคุมประพฤติ"

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

 

"....คุณจตุพร จึงถามย้ำว่า ท่านไม่เป็นไรแน่นะ

"....ฉันตอบกลับพร้อมเสียงหัวเราะว่า ไม่เป็นไร ประเทศชาติต้องมาก่อน ความสงบสุขของสังคมภายในประเทศ และความงดงามของพระธรรมวินัย ต้องสำคัญกว่าบุคคล​ เหมือนที่ฉันบอกแก่คุณไงล่ะว่า ประชาชนต้องมั่งคั่ง ประเทศชาติต้องมั่นคง สถาบันต้องปลอดภัย คนไทยต้องเป็นสุข นั่นแหละคือสิ่งที่นักการเมืองอย่างพวกคุณควรจักทำ..."

 

"...สุดท้ายคุณจตุพร แจ้งว่า สัปดาห์หน้าหากมีเวลาจักขอเข้ามากราบเยี่ยม​ ฉันตอบเขาไปว่า ยินดี คงต้องแจ้งมาก่อนว่า ฉันอยู่หรือเปล่า..."  หลวงปู่พุทธะอิสระบอกว่า​ เหตุที่นำเอาเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง​....

 

"...ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เห็นภาพอีกด้านหนึ่งของแกนนำ นปช. ที่เราท่านทั้งหลายคนอาจจะรู้สึกจงเกลียดจงชังไม่ชอบขี้หน้าเขา​ แต่เขาก็ยังมีอีกด้านหนึ่ง ที่เราท่านทั้งหลาย ยังมองไม่เห็น ไม่เคยได้สัมผัส ซึ่งเป็นด้านที่จริงใจ มีไมตรี และถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรม ซึ่งก็ถือว่าเป็นการรักษาบรรยากาศของความปรองดอง ให้ได้เห็นในแผ่นดิน

และสิ่งที่คุณจตุพรแสดงออกมาต่อพุทธะอิสระ ตลอดเวลาที่รู้จัก สนทนา พบปะพูดคุยกันหลายครั้ง ยิ่งทำให้เห็นถึงความจริงใจ ตั้งใจ ที่จักทำสิ่งดีๆ ให้แก่คนรอบข้างและบ้านเมืองนี้ หากมีคนคอยพูดคุยชี้แนะเขา

ขอบคุณในน้ำใจที่คุณๆทั้งหลายและคุณจตุพรมีให้ต่อฉัน ทั้งที่สถานะของพุทธะอิสระในเวลานี้ดุจดังคนล้มละลายในสายตาของผู้อื่นที่เฝ้ามองประมาณว่า ไม่มีอะไร ไม่ได้อะไร ไม่เหลืออะไร อยู่เพื่อเตรียมตัวตายแน่ๆ แต่ก็ยังได้รับน้ำใจจากพวกท่านทั้งหลาย ขอบคุณ ขอบคุณมากๆ..." (ไทยโพสต์.​ 10 พ.ย.​ 2561)

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

 

จตุพร​ พูดถึงคนที่เคยเป็น​ ศัตรู​ทางการเมือง​ อย่าง​​ พล.อ.เปรม​ ที่บอกว่า​ "ผมพอแล้ว" (คือการตัดสินใจปิดฉาก​ "ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ" ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ​ และให้​ พล.อ.ชาติชาย​ หัวหน้าพรรคชาติไทย​เป็นนายกฯคนต่อ)​ คือ​ คุณงามความดีของมนุษย์​ในแต่ละห้วงเวลา​ เราต้องมองคนคนหนึ่งให้ครบทุกด้าน

หลวงปู่พุทธะอิสระ​ พูดถึง​ จตุพร​ ก็แบบเดียวกัน​ จตุพรก็ยังมีอีกด้านหนึ่ง ที่เราท่านทั้งหลาย ยังมองไม่เห็น ไม่เคยได้สัมผัส ซึ่งเป็นด้านที่จริงใจ มีไมตรี และถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรม

ว่ากันว่า​ พล.อ.เปรม​ สมัยคุมทัพภาค​ 2​ เคยลงไปในพื้นที่​และประสบพบเจอกับตัวเองว่า ในหมู่บ้านหนึ่งๆนั้น​ แยกกันไม่ได้ว่าชาวบ้านคนไหนเป็นชาวบ้าน​ คนไหนเป็นคอมมิวนีสต์​  จึงเป็นที่มาของความคิดที่เปลี่ยนไป​ ซึ่งเลิกมองชาวบ้านเป็นศัตรูแบบเหมารวม​ (แบบทหารอเมริกันมองเวียดกง)​ มองคนอย่างเป็นคนด้วยกัน​ จนในที่สุดก็นำไปสู่แนวทางของการจัดการกับ​ พคท.ที่เปลี่ยนไป​ และ​ นโยบาย​ 66/2523

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

 

อุดมการณ์​ อุดมคติ​ ต่อให้เอาหลักการล้ำลึกแค่ไหนมายันมายึด​ มันก็คือ​ "สมมุติ" แห่งโลกธรรมที่มนุษย์บัญญัติกันขึ้นมา เราจะเรียกมันว่า" ประชาธิปไตย"" เสรีภาพ" " ความยุติธรรม" " ความเท่าเทียม"  หรืออะไรก็ตาม​  มันอาจทำให้สังคมมนุษย์ดีขึ้น(บ้าง)​ แต่มันก็ไม่พ้นจากความดำรงอยู่​ ความรุ่งเรือง​ และความเสื่อมถอย​ เฉกเช่นเดียวกับ​ ลาภ​ ยศ​ คำสรรเสริญเยิยยอ คำนินทาก่นด่า

 

การต่อสู้ให้ได้มาซึ่งความดีงามในสังคมต้องนับว่าไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ไม่ว่าจะทำจากฝ่ายไหน​ แต่ความน่ากลัวเมื่อเรามิใช่แค่​ "ผู้ใช้สมมุติ" หากแต่ถูกครอบงำด้วยอำนาจแห่งสมมุติที่เรากำหนดขึ้นมาเอง​ บงการ​ ปะทะ​ เผชิญหน้า​ มุ่งหวังเอาชนะ​ สุดท้ายก็สูญเสีย​ บาดเจ็บ​ ล้มตาย​ ขุ่นแค้น​ พยาบาท​ ก็เพราะ ความยึดถืออยู่ในสมมุติ​ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ​ รัฐ​ ระบบปกครอง​ เงิน​ ชื่อ​ ยศตำแหน่ง​ หรือ​ผ้าเหลือง

 

การสู้เพื่อความถูกต้อง... นั่นถูก

แต่เหนือความถูกต้องก็คือความรักและความเมตตา... ที่มิใช่แค่ถ้อยคำสวยหรูหรือความคิด​หล่อๆ แต่มาจากการเห็นคนอื่นเป็นมนุษย์ที่มีดีมีเลว​เฉกเช่นตน​

และรู้ว่า​ ขอบเขต​ การต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมือง​ กับ​ การมองเห็นคุณค่า​ความเป็นคน​ เป็นมนุษย์​ ทุกผู้นามนั้นมันอยู่ตรงไหน​

อมตะวาจาของป๋า​ว่า​ "ผมพอแล้ว" อาจสะท้อนได้มากกว่าบทตอนของการปล่อยวางจากอำนาจ​ของป๋า (ซึ่งยังคงถูก​ ธนาธร​ และเครือข่าย​ ฟ้าเดียวกัน​ มองต่างออกไปถึงบทบาทของ​ พล.อ.เปรม​ หลังจากยุคที่พวกเขาเรียกว่า​ "เปรมมาธิปไตย" และเฉกเช่นเดิม​ "คนอย่างธนาธร" ที่ยังคงมองเห็น​ "ศัตรู" เป็น​ "ศัตรู" ไม่เป็นอื่น)​

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ

 

แต่มันยังสะท้อนถึงคนที่รู้​ว่า​การเมืองความจบลงตรงไหน​

และ​ความเห็นอกเห็นใจ​ระหว่างกันของเพื่อนมนุษย์ควรเริ่มขึ้นตรงไหน

 

อมตะวาจาของป๋า​ "ผมพอแล้ว" ถึง​ "มิตรภาพในยามยาก" ของ​ จตุพร​ และ​ หลวงปู่พุทธะอิสระ