อย่างไรก็ตามสถานการณ์ตอนนี้ที่หลายฝ่ายโฟกัสไปนั่นคือ จากการเทียบเชิญพรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทย ก่อนหน้านี้ มีหลายประเด็นที่ต้องพิจารณากันต่อไป ซึ่งอาจมีการเกลี่ยกระทรวงกันใหม่ จากเดิมที่วางไว้แล้ว โดยพิจารณาที่ด้านนโยบายของแต่ละพรรคการเมือง โดยตำแหน่งในกระทรวงต่างๆ จะต้องจัดลำดับความสำคัญ และคำนึงถึงเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย และกับท่าทีพรรคประชาธิปัตย์ เราคงต้องมาติดตาม ๓ แนวทางของประชาธิปัตย์ที่จะต้องเดินไปนับต่อจากนี้

เริ่มกันที่ ความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ หลังจากที่ 28 พ.ค. ว่า พรรคประชาธิปัตย์ เลื่อนประชุมกรรมการบริหารและสมาชิกสภาผู้แทน ของพรรค ที่จะหารือเรื่องการร่วมจัดตั้งรัฐบาล  

จน (29 พ.ค.) อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ นำทีมแกนนำพรรคแถลง ว่าขณะนี้การหารือกับพรรคประชาธิปัตย์ยังคงดำเนินต่อไป และพรรคก็กำลังเจรจาเช่นนี้กับพรรคอื่นๆ ซึ่งส่วนตัวมองว่าการเจรจาหารือเป็นเรื่องปกติของการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคการเมืองหลากหลายเข้าร่วม แต่การไม่เจรจาต่างหากคือสิ่งที่ผิดปกติ //   ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวที่สะพัดว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่คนในพรรคพลังประชารัฐก็ต้องการกระทรวงนี้ จนเป็นสาเหตุให้ไม่ได้ตกลงรับข้อเสนอของประชาธิปัตย์ //   นายอุตตม ให้ความเห็นว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่ละพรรคก็มีคนเก่งที่พร้อมทำงานในทุกกระทรวงของตัวเอง ถึงอย่างนั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงการวางคนมาเข้าไปเป็นรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ เพราะยังอยู่ระหว่างการเจรจา

ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ 30 พฤษภาคม 62 “ดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ “สถานการณ์ในปัจจุบัน การจะตัดสินใจเดินหน้าไปในทิศทางใด จะร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล ถือเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับผู้บริหารทุกคน และเป็นเรื่องภายในพรรคที่ต้องนำมาพูดคุยหารือกันอย่างเข้มข้น เพื่อให้ได้ทางออกที่ดีที่สุด โดยต้องคำนึงทั้งข้อดี-ข้อเสีย และมีปัจจัยหลายอย่างที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาประกอบ ไม่ใช่เกมการต่อรองหรือยื้อเวลาแต่อย่างใด ขอให้ทุกฝ่ายเคารพการตัดสินใจของพรรค

ทั้งนี้เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ จะตัดสินใจแบบมีวุฒิภาวะ โดยยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง”

เพราฉะนั้นเรามาดูพฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์กัน เพราะต้องถือว่าเป็นพรรคการเมืองที่มีลีลาเยอะสุดและจนถึง วันนี้ยังไม่มีอะไรชัดเจนว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเอาอย่างไร  ??

 

ทั้งๆที่หากพิจารณาพรรคประชาธิปัตย์ โดยข้อเท็จจริงมี 3 ทางเลือกในทางการเมืองเท่านั้น

 

ทางเลือกที่ หนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ

 

เพราะหากย้อนไปติดตาม สถานการณ์ที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์มีท่าทีและมีน้ำหนักในการที่จะร่วมกับพรรคพลังประชารัฐในการจัดตั้งรัฐบาล

 

ย้อนกับไปที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั่นคือกรณี การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ผลปรากฏว่า นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 258 คะแนน

ทางเลือกที่สอง  พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมพรรคเพื่อไทย

 

นั่นก็หมายความว่าคงต้องสนับสนุนแนวทางของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ไม่ให้พลเอกประยุทธ์สืบทอดอำนาจ ซึ่งก่อนหน้านี้ “อภิสิทธิ์” ได้ออกมาประกาศอย่างชัดเจนว่า ตนเองจะไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่ออย่างแน่นอน โดยให้เหตุผลว่า การสืบทอดอำนาจสร้างความขัดแย้ง และขัดกับอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ว่าประชาชนเป็นใหญ่

 

ซึ่งแนวทางนี้ก็คงไม่ต้องไปกลัวเรื่องที่ว่าวุฒิจะไม่โหวตให้ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไปรวมกับพรรคเพื่อไทย การที่มีเสียง สส.ในสภา 300 เสียง แม้จะไม่ถึง 376 เสียง วุฒิจะถูกกดดันจากประชาชน ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างอื่นได้แน่นอน

ทางเลือกที่สาม  พรรคประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้าน

 

หากพิจารณาดูทางเลือกที่สามนี้นั่นก็หมายความว่า ไม่เลือกทั้งสองทางยืนยันเลยว่าพรรคประชาธิปัตย์คบกับทั้งสองพรรคไม่ได้ ไม่โหวต ใครจะจัดตั้งรัฐบาลก็ไปจัดตั้งกันนะครับ จัดตั้งไม่ได้ก็จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ยุบสภาไป ก็ประกาศให้ชัดเจน คืนอำนาจให้กับประชาชน