สว.ผ่านประชามติรธน.60 คนส่วนใหญ่ให้ร่วมเลือกนายกฯมาตั้งแต่ต้น

สว.ผ่านประชามติรัฐธรรมนูญปี 60 คนส่วนใหญ่ให้ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีมาตั้งแต่ต้น พวกอ้างประชาธิปไตยเงิบไหม

พรุ่งนี้แล้วก็จะได้รู้กันแล้วว่า ใครจะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่30ของประเทศ จะเป็นลุงตู่คนเดิม ที่สามารถรักษาตำแหน่งไว้ได้อีกครั้ง หรือเข็มขัดผู้นำจะเปลี่ยนเอว และสาระสำคัญที่ต้องจับตากันนั่นก็คือ การเปิดเกมป่วนของฝั่ง7พรรคพันธมิตร ที่เชื่อว่าจะลุยเต็มพิกัด โดยหยิบเอาเรื่องคุณสมบัตินายกฯ การโชว์วิสัยทัศน์มายำใหญ่แน่นอน รวมทั้งการพุ่งเป้าไปที่ 250ส.ว.ที่ถือดาบร่วมเลือกนายกฯด้วย ซึ่งเรื่องนี้คาดหมายกันว่า อาจเป็นการเปิดศึกกันระหว่างว่าที่ฝ่ายค้านอย่าง7พรรคพันธมิตรกับฟากวุฒิสภา ที่จะเปิดหน้าใส่กันในเรื่องที่มาและการโหวต ทั้งที่ความจริงแล้วบรรดาสว.ก็ได้รับความเห็นชอบจากประชาชนเช่นเดียวกันด้วยการผ่านประชามติเมื่อ3ปีที่แล้วนั่นเอง

 

ประเด็นเรื่องที่มาส.ว.และอำนาจในการร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี ถูกกระพือโหมกระหน่ำจากอีกฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดฉากโจมตี ล่ารายชื่อให้งดโหวต รวมทั้งการจุดกระแสปิดสวิซต์ส.ว.จากนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ถามว่าทำไมฝ่ายที่ไม่เอาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องพยายามอย่างสูงในการสกัดเสียงจากสภาสูง นั่นเพราะเหตุผลง่ายๆ ส.ว.250คนมีสิทธิ์ในการร่วมลงคะแนนเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งที่ต้องใช้เสียงในที่ประชุมร่วมรัฐสภา 376 เสียง เพราะฟาก7พรรคที่อ้างความเป็นประชาธิปไตยรู้เต็มอกว่าลำพังทั้งหมดรวบรวมเสียงกันแล้วได้ไม่ถึง 376 ซึ่งรวมทั้งกลุ่มแนวร่วมพลังประชารัฐก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครสามารถยึดเสียงข้างมากจากส.ส.ในมือได้ถึง!?!

 

สว.ผ่านประชามติรธน.60 คนส่วนใหญ่ให้ร่วมเลือกนายกฯมาตั้งแต่ต้น

 

 

 

กระนั้นเสียงส.ว.จึงมีสำคัญ มีหมายความอย่างยิ่งยวด หากฝ่ายไหนได้เสียงจากสภาสูงมาเติมก็จะสามารถเป็นนายกรัฐมนตรีได้ทันทีนั่นคือ 376 เสียง แต่ก็เป็นอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กันเมื่อ ส.ว.ส่วนหนึ่งมาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแหง่ชาติด้วย จึงมีการคาดเดากันว่า ส.ว.ไม่มีทางที่จะไปโหวตให้ฝ่ายตรงข้ามคสช. เช่นนี้ฝั่ง7พรรคพันธมิตรฯเมื่อรู้แบบนี้ จึงเดินเกมเต็มพิกัดไม่ให้ส.ว.เข้ามาร่วมลงคะแนน และก็มีบางเสียงที่ออกยืนยันในการเลือกพลเอกประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยเหตุผลที่อธิบายถึงที่มาวุฒิสภาได้อย่างชัดแจ้ง   

 

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีเนื้อหา ระบุถึง เหตุผลที่ตนเองนั้นจะเลือกบิ๊กตู่เป็นนายกฯดังนี้

 

“พล อ.ประยุทธ์ และคสช.ถูกโจมตีว่าต่อท่ออำนาจในการตั้งพรรคพลังประชารัฐที่จะเป็นแกนเสนอชื่อตัวเองเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่5มิย.นี้

 

ไม่มีใครพูดว่า “เพื่ออะไร”

 

คำถามพ่วงหรือคำถามเพิ่มเติมที่ถามประชาชนในการทำประชามติร่างรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย2560ฉบับนี้ มีว่า

 

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

 

ผลการออกเสียงประชามติ ประชาชนให้ความเห็นชอบ 15,132,050คน=58.07%

 

ไม่ให้ความเห็นชอบ 10,926,648คน=41.93%

 

ในขณะที่ประชาชนให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญทั้งฉบับถึง 16,820,402คน หรือ 61.35%

 

สว.ผ่านประชามติรธน.60 คนส่วนใหญ่ให้ร่วมเลือกนายกฯมาตั้งแต่ต้น

 

รัฐธรรมนูญจึงตราให้สว.มีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีตามมาตรา272

โดยให้คสช.มีอำนาจเลือกสว.ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหา194คนและจากการเลือกกันเอง50คนตามมาตรา269 (รวมมีสว.โดยตำแหน่ง6คน)

 

สว.ตามบทเฉพาะกาลนี้มีระยะเวลาเพียง5ปีแรก ครบแล้ว สว.ในลักษณะนี้ก็จะหมดไปเองโดยไม่ต้องรอให้ปิดสวิทซ์

 

นั่นคือความคิดเห็นบางส่วนของนายแพทย์เจตน์ ซึ่งพูดในฐานะสมาชิกส.ว.ที่ฟังดูแล้ว สมเหตุสมผลหรือไม่ให้ประชาชนลองพิจารณากันดู เพราะได้ร่วมลงคะแนนประชามติมาแล้วตามกระบวนการประชาธิปไตย เพราะการออกเสียงประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้มีการถามคำถามพ่วงให้ประชาชนทั่วประเทศตัดสินใจ ว่าจะให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ ผลการโหวตปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ 15.13 ล้านเสียง (58.07%) เห็นด้วยที่จะให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกฯด้วย ในขณะที่เสียงส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวนี้มีทั้งสิ้น 10.9 ล้านเสียง (41.93%)

 

ทั้งนี้การออกเสียงประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญฉบับ2560 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยมีประชาชนคนไทยทั่วประเทศมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 29,740,677 คน คิดเป็น 59.4% ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50.07 ล้านเสียง โดยในการออกเสียงประชามติครั้งนี้ มีคำถามที่ประชาชนผู้มีสิทธิต้องตอบทั้งสิ้น 2 ข้อ ได้แก่

1. การรับรองร่างรัฐธรรมนูญ ว่าจะ “ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช … ทั้งฉบับ”

2. การให้ความเห็นชอบคำถามพ่วง ว่าจะให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่

 

สว.ผ่านประชามติรธน.60 คนส่วนใหญ่ให้ร่วมเลือกนายกฯมาตั้งแต่ต้น

 

สำหรับคำถามพ่วง ถ้อยคำที่อยู่ในบัตรออกเสียงประชามติระบุไว้ว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนด ไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

 

และผลการลงคะแนนเสียงในประเด็นคำถามพ่วงนี้ปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิส่วนใหญ่ 15,132,050 คน (58.07%) เห็นด้วยกับการให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ในขณะที่เสียงส่วนน้อย 10,926,648 คน (41.93%) ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบกับประเด็นดังกล่าว รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จึงได้บัญญัติบทเฉพาะกาลไว้ในมาตรา 272 ให้การเลือกนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยมติของสภาร่วม (ส.ส. + ส.ว.) หรือก็คือให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกฯ ด้วยนั่นเอง

 

ฉะนั้นจะเห็นแล้วอย่างชัดเจนว่า บรรดาสว.นั้นที่จริงแล้วก็มาจากประชาชน เดินมาตามครรลองประชาธิปไตยทั้งหมด เพียงแต่อีกฝ่ายเมื่อเห็นว่าไม่ใช่พวกของตนก็ออกอาการตีรวน ก่อกวนเพราะไม่เป็นประโยชน์กับพวกตน ดังนั้นในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อโหวตหานายกรัฐมนตรี ฟันธง!!! เปิดไฮโลแทงกันไปได้เลยว่า ต้องมีเกมป่วน ก่อกวนเพื่อให้การประชุมวุ่นวายไม่ราบลื่นแน่นอน และให้จับตาดูกันให้ดี เที่ยวนี้จะได้เห็นว่าที่พรรคฝ่ายค้านกับคนสภาสูง ซัดกันมันส์หยด!!! เปิดหน้า-เปิดศึกให้ประชาชนเอือมระอาด่ากันสนั่นเมืองอีก!?!?

 

สว.ผ่านประชามติรธน.60 คนส่วนใหญ่ให้ร่วมเลือกนายกฯมาตั้งแต่ต้น