บทความพิเศษ :: "ช่อ" พรรณิการ์, พรรคอนาคตใหม่​ และ​ เบ้าหลอมความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (ดร.เวทิน​ ชาติกุล)

1.​ ความคิดแบบ​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (anti-royalism)​  คือ​อะไร? ความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" มองว่า​ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เป็นมาโดยตลอดในสังคมไทย

1.​ ความคิดแบบ​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (anti-royalism)​  คือ​อะไร?

ความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" มองว่า​ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เป็นมาโดยตลอดในสังคมไทยไม่สามารถไปด้วยกันได้กับการเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง​ กระทั่งจะต้องมีการดำเนินการลดทอนสถานะและอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ​ ทางกฏหมาย​ และทางวัฒนธรรม​ (ดังที่มีความพยายามดำเนินการตลอดมา)​เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์​ โดยแท้จริง

ที่ผ่านมาพรรคอนาคตใหม่​ ธนาธร​ และปิยบุตร​ แสดงจุดยืนเช่นนี้มาโดยตลอด

 

บทความพิเศษ :: "ช่อ" พรรณิการ์, พรรคอนาคตใหม่​ และ​ เบ้าหลอมความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (ดร.เวทิน​ ชาติกุล)

 

2.​ ความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" ไม่จำเป็นต้อง​ "ล้มเจ้า"

ความแตกต่างระหว่างพรรคอนาคตใหม่​ กับ​ พรรคคอมมิวนีสต์แห่งประเทศไทย​ ก็คือ​ไม่ประกาศเป้าหมายของพรรคอย่างชัดเจนเหมือน​ พคท.​ เรื่องล้มล้างการปกครอง​  กระนั้นความเหมือนกันของพรรคอนาคตใหม่และ​พคท.ก็คือ​ ต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมไทย

พคท.​ ต้องการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์​

แต่​ พรรคอนาคตใหม่โดยเฉพาะ​ ธนาธร​ ต้องการมีอำนาจเพื่อ​ "ต่อรอง" กับสถาบันพระมหากษัตริย์​  ให้​ xxx เรียกธนาธรไป​ xxx (สนธิญาณ, 9​ มิ.ย.​ 2562.​ คม​ ชัด​ ลึก​ สุดสัปดาห์)​ อ้างถึง​บทสัมภาษณ์ของธนาธร​ "นี่ต่างหากคือเป้าหมาย​ ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้​ เอาทหารออกจากการเมืองไม่ได้หรอก​ จัดการเรื่องศาลไม่ได้หรอก​ จัดการเหี้ยห่าอะไรไม่ได้' (Portrait​ ธนาธร​ (2018))

 

บทความพิเศษ :: "ช่อ" พรรณิการ์, พรรคอนาคตใหม่​ และ​ เบ้าหลอมความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (ดร.เวทิน​ ชาติกุล)

 

3.​ ความคิดปฏิกษัตริย์นิยม​ก็ไม่ปฏิเสธ​ "การล้มเลิกสถาบัน" ถ้าเป็นฉันทามติของประชาชน

ดังที่ปิยบุตรได้ชี้แจงเรื่องนโยบายของพรรคอนาคตใหม่ที่ไม่เขียนว่าจะสนับสนุนระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข​ แต่เขียนว่าจะสนับสนุนประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ​ ว่าในเมื่อ​ รัฐธรรมนูญเขียนไว้แล้วว่า​สนับสนุนระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข​ ก็เท่ากับพรรคอนาคตใหม่ก็สนับสนุนด้วย(ตามตัวอักษร)

แต่นโยบายและการเคลื่อนไหวของพรรคก็คือ​ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ​ ซึ่งแม้ไม่ระบุว่าเป็นหมวดไหน​ มาตราใด​ แต่ก็เป็นไปได้ที่พรรคอนาคตใหม่จะเสนอแก้เรื่องนี้​ทันทีที่พร้อมและยึดกุมอำนาจการเมืองในมือได้

 

4.​ การเคลื่อนไหวแบบปฏิกษัตริย์นิยมของพรรคอนาคตใหม่​ "โดยเปิดเผย" ในเบื้องต้น​จึงเป็นการคัดง้างและลดทอนอำนาจทางกฏหมายของ สถาบันทหาร​ และ​ ศาล​ แทนการพุ่งเป้าไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง​ 

โดยพรรคมองว่าทั้ง​ "ศาล" และ​ "ทหาร" คือ​ "ตัวแทน" ของการเมืองแบบกษัตริย์นิยม​ที่สืบเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ดังปรากฏวาทกรรม​ "ตุลาการภิวัฒน์", ต่อต้าน​ ม.112​ และ​ "ระบบเปรมาธิปไตย" (รวมถึงวาทกรรม​ "อำมาตย์" ในช่วงการชุมนุมของนปช.) มาจนถึงวาทกรรมต่อต้านรัฐประหาร, คสช.และ​พล.อ.ประยุทธ์​ ต่างๆนานา​ จนถึงปัจจุบัน

 

ประกอบกับการแสดงความเห็นทางวิชาการเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากระบบกษัตริย์ไปสู่ระบบประชาธิปไตยในต่างประเทศของปิยบุตร(ต่างกรรมต่างวาระ)​เรื่อง​"ระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีพระมหากษัตริย์" ที่กล่าวถึง​ การลงประชามติตามรัฐธรรมนูญว่าจะให้สถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่หรือสลายไป

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้แยกขาดกับการ​ "ล้มเลิก" สถาบันกษัตริย์ไปอย่างชิ้นเชิง​ เพียงแต่เก็บซ่อนความคิดนี้เอาไว้​ รอวันเวลาที่เหมาะสม

5.​ แต่การเคลื่อนไหว​คู่ขนาน "ในทางอ้อม" ก็คือการลดทอนสถานะสูงส่งทางวัฒนธรรมและจารีตของสถาบันพระมหากษัตริย์

ซึ่งก็คือ​ "การลดทอนสถานะอันศักดิ์สิทธิ์" (demytified)​ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์​ ไม่ว่าจะเป็นการไม่ใช้คำราชาศัพท์, การพูดถึงอย่างไม่ได้ให้ความเคารพ, การเสียดสี​ (แซะ) ความจงรักภักดีของผู้อื่น (ในที่นี้ไม่นับรวมถึงการอาฆาตมาดร้าย​ ใส่ร้ายด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จ​ที่ผิดกฏหมาย​ ม.112​ อยู่แล้ว)​ เช่น​ 

5.1​ การกล่าวถึงแบบคาบลูกคาบดอก​ กำกวม​ แต่เป็นที่เข้าใจกันในพวกเดียวกัน​ (กฏหมายเอาผิดไม่ได้)​
5.2​ การล้อเลียนกระทบกระทั่งโดยอ้างว่ากล่าวถึงประเทศอื่นๆ​ (กฏหมายเอาผิดไม่ได้)
5.3 การแสดงความเห็น, ทัศนะ​ วิพากษ์วิจารณ์ ทางวิชาการที่อ้างเสรีภาพทางวิชาการรองรับ​ (มีกรณีที่เอาผิดไม่ได้​ และถูกฟ้องร้องดำเนินคดี)

 

ทั้งนี้เพราะความคิดที่เป็นแกนกลางของแนวคิดปฏิกษัตริย์นิยมก็คือ​ การครอบงำและมีอำนาจนำ(hegemony)​ ที่มีอิทธิพลต่อโครงสร้างในระดับลึกในสังคม​ มากกว่าการกดขี่​ข่มเหงหรือการเอารัดเอาเปรียบ​อย่างที่เป็นรูปธรรมทางสังคม​

 

ซึ่งการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนี้​ ไม่ใช่แค่การปฏิวัติสังคมแค่ผิวเปลือกนอก​ (ดังความล้มเหลวของ​ "คณะราษฏร์")​ แต่เป็นการปฏิวัติถึงระดับความคิด​ คุณค่า​ โลกทัศน์​ กระบวนทัศน์​ ในทางอัตวิสัยอีกด้วย

 

จะเห็นว่า​พฤติกรรมของ​ "ช่อ-พรรณิการ์" ก่อนที่จะมาเป็น​ ส.ส.ปาร์ตี้ลีสต์พรรคอนาคตใหม่​ ก็มีลักษณะที่บ่งชี้ว่าตกอยู่ใต้กระบวนการเช่นนี้มาช้านานแล้ว

 

บทความพิเศษ :: "ช่อ" พรรณิการ์, พรรคอนาคตใหม่​ และ​ เบ้าหลอมความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (ดร.เวทิน​ ชาติกุล)

 

จุดประสงค์ไม่ใช่การล้มล้าง​ หรือ​ ล้มเลิก​ หากแต่ทำให้สถาบันหลักของชาติ​ค่อยๆสูญเสียคุณค่าและอำนาจนำทางสังคมวัฒนธรรมในหมู่คนรุ่นถัดไป​และในระยะยาว พร้อมๆกับการสร้างคุณค่าใหม่ของตะวันตกขึ้นมาทดแทน​ผ่านวาทกรรมนอกกะลา​ เสรีภาพ​ อิสระ​  ประชาธิปไตย​ 

 

6.​ มหาวิทยาลัย​-โซเซียล​ เบ้าหลอมแนวคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม"

กระบวนการสั่นคลอนรากฐานทางจารีตนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในวันสองวันหรือปีสองปี​ แต่ใช้เวลาสั่งสมมาเป็นเวลาช้านานแล้ว​ ผ่านการปลูกฝังอุดมคติ​ "เสรีนิยมประชาธิปไตย" ในหมู่อาจารย์มหาวิทยาลัย(ที่เป็นเครือข่ายวิชาการแนวร่วม​ "ประชาธิปไตย")​ จนเกิดเป็น​ "วัฒนธรรมใต้ดิน" ที่สืบทอดกันมาในกลุ่มนิสิต​ นักศึกษา​รุ่นแล้วรุ่นเล่า

แม้แต่​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​ ที่​ "ช่อ" เรียนจบมาก็ไม่รอดพ้นจากการปลูกฝัง​และหล่อหลอมความคิดแบบปฏิกษัตริย์นิยม​ โดยอาศัยความชอบธรรมทางการวิจัย​ วิชาการ​ สัมมนา(ระดับชาติ​ นานาชาติ)​เพื่อไม่ให้ผิดกฏหมาย​

 

ส่วนการใช้โซเซียลมีเดียนั้นเป็นเพียงปลายยอดของการแสดงออกในการ​ "แซะ​เจ้า" ซึ่งเมื่อก่อนในสมัย​ พคท.ที่มีข้อจำกัดเรื่องการสื่อสาร​ งานมวลชนเหล่านี้ต้องปิดลับ​ แต่ในปัจจุบันสามารภสร้าง​ "เขตปลดปล่อย" บนโลกโซเซียลได้อย่างเสรี​ และแทบไม่มีข้อจำกัด​ 

 

บทความพิเศษ :: "ช่อ" พรรณิการ์, พรรคอนาคตใหม่​ และ​ เบ้าหลอมความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" (ดร.เวทิน​ ชาติกุล)

 

ดังกรณี​ "ช่อ" ที่ถูกขุดคุ้ยขึ้นมานี้​ เป็นเพียง​ "ก้อนน้ำแข็ง" ก้อนเล็กๆ​ของภูเขาน้ำแข็ง​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" ขนาดมหึมาที่ซุกซ่อนตัวอยู่เท่านั้น