"โต้​ "นิติ-มช."ไร้จรรยาบรรณ​ปรักปรำ"ทีนิวส์​"ย้ำสื่อ​-สังคมมีสิทธิ์ตรวจสอบ​อาจารย์มหาลัยฯที่สนับสนุน​อนาคตใหม่ที่มีความคิด​ปฏิกษัตริย์นิยม

"โต้​ "นิติ-มช." ไร้จรรยาบรรณ​ ปรักปรำ "ทีนิวส์​" ย้ำสื่อ​-สังคมมีสิทธิ์ตรวจสอบ​อาจารย์มหาลัยฯที่สนับสนุน​อนาคตใหม่ที่มีความคิด​ "ปฏิกษัตริย์นิยม"

ตามที่สำนักข่าวทีนิวส์นำเสนอข่าว​ "เบ้าหลอมความคิด "ปฏิกษัตริย์นิยม" อาจารย์-นักวิชาการสาย ช่อ" มีในมหาลัยฯไหนบ้าง?" (ตามลิงค์​ https://www.tnews.co.th/contents/510522)​ จนได้มี​อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่​ คือ​ ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล, นัทมน คงเจริญ, สมชาย ปรีชาศิลปกุล, สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์​ ได้ออกแถลงการณ์​ "หยุดพฤติกรรมสำนักข่าวทีนิวส์ก่อนกลายเป็นดาวสยาม 2562" (ข่าวสด.​ ‘นิติ มช.’ จี้สื่อมีชื่อ หยุดพฤติกรรมป้ายสี ยกดาวสยาม ปลุกคนมาฆ่ากัน เหมือน 6 ตุลา)​

 

สำนักข่าวทีนิวส์ถือว่าแถลงการณ์ดังกล่าวเป็นพฤติกรรมปรักปรำสำนักข่าวทีนิวส์โดยปราศจากข้อมูลความจริง​ และเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าเชื่อว่าบุคคลระดับปัญญาชน​ เป็นครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย​ จะมีพฤติกรรมที่เยี่ยงนี้​ เพราะ

นสพ.​ ดาวสยาม​ เป็นสื่อที่สร้างข่าวเท็จ​ สร้างข้อมูลเท็จเพื่อกระตุ้นเร้ามวลชนฝ่ายขวาจัดให้โกรธแค้นนักศึกษาและฝ่ายซ้ายในเหตุการณ์​ 6​ ตุลาฯ​

แต่​ สิ่งที่สำนักข่าวทีนิวส์นำเสนอนั้นไม่ใช่ข่าวเท็จ​ หรือ​ข้อมูลเท็จ​ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ต่อสังคมแล้วทั้งสิ้น

ข้อเท็จจริงที่ว่านั้นก็คือ

ข้อเท็จจริง​ 1.​ ความคิดทางวิชาการของธนาธร-ปิยบุตร​แห่งพรรคอนาคตใหม่​ ที่ถูกสังคมตั้งถามถามและตรวจสอบอย่างรุนแรงในช่วงวันที่​ 5​ เม.ย.2562​ นั้น​ คือความคิดแบบปฏิกษัตริย์นิยม​ คือ​

การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เป็นมาโดยตลอดในสังคมไทยไม่สามารถไปด้วยกันได้กับการเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง​ กระทั่งจะต้องมีการดำเนินการลดทอนสถานะและอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ​ ทางกฎหมาย​ และทางวัฒนธรรม​ (ดังที่มีความพยายามดำเนินการตลอดมา)​เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์​ โดยแท้จริง

ข้อเท็จจริง​ 2.​ ธนาธร​ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่​ ต้องการมีอำนาจเพื่อ​ "ต่อรอง" กับสถาบันพระมหากษัตริย์​  ให้​ xxx เรียกธนาธรไป​ xxx (สนธิญาณ, 9​ มิ.ย.​ 2562.​ คม​ ชัด​ ลึก​ สุดสัปดาห์)​ อ้างถึง​บทสัมภาษณ์ของธนาธร​ "นี่ต่างหากคือเป้าหมาย​ ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้​ เอาทหารออกจากการเมืองไม่ได้หรอก​ จัดการเรื่องศาลไม่ได้หรอก​ จัดการเหี้ยห่าอะไรไม่ได้' (Portrait​ ธนาธร​ (2018))

ข้อเท็จจริง​ 3.​ ส่วนปิยบุตร​ เลขาพรรคอนาคตใหม่ฯ แสดงความเห็นทางวิชาการเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากระบบกษัตริย์ไปสู่ระบบประชาธิปไตยในต่างประเทศของปิยบุตร(ต่างกรรมต่างวาระ)​เรื่อง​"ระบอบประชาธิปไตยที่อนุญาตให้มีพระมหากษัตริย์" ที่กล่าวถึง​ การลงประชามติตามรัฐธรรมนูญว่าจะให้สถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่หรือสลายไป

ข้อเท็จจริง​ 4.​ ส่วน​ "ช่อ" พรรณิการ์​โฆษกพรรค​ โพสต์รูป​หมิ่นเหม่​ในปีที่จบรับปริญญา​ คือ​ปี​ 2553​  "พรรณิการ์" เข้าเรียนที่รัฐศาสตร์จุฬาฯ​ปี​ 2550​ หลังปีที่​ คมช.ทำรัฐประหารรัฐบาลทักษิณ​ ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีความเคลื่อนไหวของการต่อต้านสถาบันปรากฏขึ้นมาใหม่ในกลุ่มฐานมวลชนเสื้อแดงของทักษิณ​และกลุ่มที่ต่อต้านรัฐประหาร

ต่อมาจึงมาทำงานที่​ Voice​TV​ ปี​ 2554​ ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มเครือข่ายของทักษิณ​ จนลาออกมาเล่นการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่​ (ที่เป็นแนวร่วมกับฝ่ายทักษิณ)​ ในปี​ 2560​ จนถึงปัจจุบัน​ รวมระยะเวลาก็ร่วม​ 10​ ปี

 

5.​ ความคิดของปิยบุตร​ ที่เคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยฯ​ ธนาธร​-พรรณิการ์ที่เป็นนิสิต​ นักศึกษา​จนมากลายเป็นแกนนำสำคัญของพรรคอนาคตใหม่ เป็นความคิดในทิศทางแบบเดียวกันคือ​ "ลดทอนสถานะและอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในทางรัฐธรรมนูญ​ ทางกฎหมาย​ และทางวัฒนธรรม" ซึ่งความคิดนี้สังคมสามารถตั้งคำถามได้ว่า​ มีที่มาอย่างไร? เป็นความคิดที่ได้รับการอบรมบ่มเพาะมาในรั้วมหาวิทยาลัยหรือไม่?

6.​ 69​ นักวิชาการที่ระบุว่า​ "เป็นรายชื่อที่แสดงเจตนาสนับสนุนแถลงการณ์ ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562 เรื่อง การแทรกแซงการเลือกตั้งและการคุกคามพรรคการเมือง คือการบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยด้วยข้อกังวลต่อการดำเนินคดีต่อ ปิยบุตร แสงกนกกุล อันเนื่องมาจากการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ" ได้รับรู้​ รับทราบ​ พฤติกรรมของ​ ธนาธร, ปิยบุตร​ และ​ พรรณิการ์​ (ตามข้อเท็จจริง​ 2,3 และ​4) หรือไม่?​ อย่างน้อยก็ต้องรับรู้พฤติกรรมในข้อ​เท็จจริง 3​ ของปิยบุตร​ (เพราะยอมลงชื่อออกแถลงการณ์มาปกป้อง)​ ซึ่งเท่ากับว่า​ 69​ นักวิชาการ​ (รวมถึง​ 4​ อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)​ ย่อมรับทราบและไม่ปฏิเสธความคิดแบบ​ "ปฏิกษัตริย์นิยม" ของปิยบุตร​ ใช่หรือไม่?

7.​ ซึ่งในเมื่อทั้งธนาธร​ ปิยบุตรและพรรณิการ์​ มีความคิดและพฤติกรรมอันเป็นข้อเท็จจริงว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน​ การสนับสนุนและปกป้องความคิดของใครคนใดคนหนึ่ง​ก็ย่อมแสดงนัยถึงการไม่ปฏิเสธความคิดและการกระทำของคนอื่นๆไปด้วยใช่หรือไม่? ตรงนี้สังคมมีสิทธิ์ตั้งคำถาม​ ว่าการที่นักวิชาการออกมาปกป้องการแสดงออกทางวิชาการแบบปฏิกษัตริย์นิยมที่รุนแรงของปิยบุตร​นั้น​เท่ากับการสนับสนุนหรือยอมรับความคิดเหล่านี้ไปด้วยหรือไม่?

อันจะแสดงให้เห็นว่า​ การเคลื่อนไหวของพรรคอนาคตใหม่​ และกลุ่มนักวิชาการ-อาจารย์มหาวิทยาลัยกลุ่มนี้​ เป็นไปในทิศทางสนับสนุนซึ่งกันและกัน​

และมีรายชื่อปรากฏอยู่ในกลุ่มเคลื่อนไหวอื่นๆ​

บุคคลในกลุ่ม “69 ปัญญาชน” ที่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่ม “118 รายชื่อรณรงค์แก้ ม.112” มีดังนี้​ (ข้อมูลจาก​ เพจ​ The​ Mettad)​

.
1. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช, คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ใช่ 1 ใน 118 รายชื่อคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 แต่อาจมีความเกี่ยวข้องกับ นายอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 ใน 118 รายชื่อคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112
3. เกษียร เตชะพีระ, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. โกสุมภ์ สายจันทร์, นักวิชาการอิสระ อดีตประธานโครงการเอเชียศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. ชาตรี ประกิตนนทการ, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
7. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีภรรยาเป็นอเมริกัน 
8. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9. พิพัฒน์ สุยะ, อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
10. ภัควดี วีระภาสพงษ์ (จิตสกุลชัยเดช), นักวิชาการอิสระ *
11. สมชาย ปรีชาศิลปะกุล, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
12. อนุสรณ์ อุณโณ, คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ * 
13. อภิชาต สถิตนิรามัย, อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รายชื่อ “69 ปัญญาชน” ที่ตรงกับ “รายชื่อ 1,094 คนที่ร่วมลงชื่อสนับสนุน ใจล์ อึ้งภากรณ์ ยกเลิก ป.อาญา ม.112 ปี2552”
1. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีภรรยาเป็นอเมริกัน 
2. ภัควดี วีระภาสพงษ์ (จิตสกุลชัยเดช), นักวิชาการอิสระ *
3. วรวิทย์ เจริญเลิศ, นักวิชาการอิสระ (อดีตอาจารย์ประจำ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. อนุสรณ์ อุณโณ, คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ *
5. Craig J. Reynolds, Australian National University **

และใช่หรือไม่ที่จะมีการสอน​ และปลูกฝัง​ ความคิดเหล่านี้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ​หลายแห่ง โดยที่สังคมภายนอกไม่ได้รับรู้รับทราบโดยอ้างเสรีภาพทางวิชาการเพื่อปกปิดการตรวจสอบจากสื่อและสังคม

8.​ สำนักข่าวทีนิวส์ได้ประกาศจุดยืนชัดเจนแล้วว่า​ พรรคอนาคตใหม่และธนาธร​มีความคิดและทัศนะที่เป็นอันตราย​  ทั้งนี้​ เป็นความชัดเจนว่าสำนักข่าวทีนิวส์แยกกลุ่มความคิดแบบปฏิกษัตริย์นิยม(ของอนาคตใหม่)​ออกจากขบวนการล้มเจ้า​  เพราะตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์สู่ภายนอก​ ธนาธรและพรรคอนาคตใหม่ไม่ได้แสดงท่าทีล้มล้างสถาบันพระมหากษริย์แบบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย(ที่มีอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนเคยเข้าป่า​ ร่วมเป็นสมาชิก)​

และสำนักข่าวทีนิวส์ได้เรียกร้องเสมอมาว่า​ ถ้าเชื่อมั่นว่ามีอุดมการณ์​ และอุดมการณ์ของตนถูกต้อง​ ก็ให้ประกาศให้สังคมรับทราบไปเลยโดยเปิดเผย​ เพื่อที่ผู้คนจะได้ตัดสินใจ​ อย่าปิดบัง​ ซ่อนเร้น​ อำพราง​ โกหกประชาชน​ คนทั่วไปได้เข้าใจเพียงในด้านเดียว​ หรือเข้าใจเป็นอื่น​