อ้าปากเห็นลิ้นไก่ !! แบไต๋ “อนาคตใหม่” ขีดเส้นตายศาลรธน. เร่งวินิจฉัย 41 ส.ส.ถือหุ้นสื่อ เจตนาใช้ต่อรอง #อนาตต“ธนาธร”??

ถือเป็นหนึ่งเกมส์การเมืองที่ต้องเฝ้าติดตาม   เพราะด้วยเจตนาจะแปลความเป็นอื่นไม่ได้  นอกจากการเอาคืนพรรคร่วมรัฐบาล  หลังจาก  "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"   โดนข้อกล่าวหาถือครองหุ้นสื่อ  ซึ่งถือเป็นข้อห้ามตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ     และ   พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ  โดยการเอาคืนพรรคร่วมรัฐบาล    ยื่นฟ้องเอาผิดกับ  41 ส.ส.  ในประเด็นเดียวกับที่  "ธนาธร"   โดนคำสั่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ให้พักการทำหน้าที่ ส.ส. เพื่อรอคำวินิจฉัย   

 

ทั้งนี้เหตุกรณีการเคลื่อนไหวดังกล่าว  เริ่มต้นจากการที่สมาชิกพรรคอนาคตใหม่  ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร  เมื่อวันที่   4   มิถุนายน   2562   เพื่อขอให้มีการส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยสมาชิกภาพของสมาชิกผู้แทนราษฎร   เนื่องจากการเป็นเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ หรือ สื่อมวลชนใด ๆ   อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา   98  

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ด่วน!!ศาลรัฐธรรมนูญมติ เอกฉันท์ รับพิจารณาคุณสมบัติ "ธนาธร" ถือหุ้นสื่อ พร้อมสั่งยุติปฏิบัติหน้าที่ส.ส.

 

 

 

ถัดมาไม่ถึง 10 วัน  นายชวน หลีกภัย  ประธานสภาผู้แทนราษฎร  ก็ดำเนินการตามคำร้อง โดยการลงนามในหนังสือส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตามคำร้องที่ ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่ ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติของ ส.ส.จำนวน 41 คน ที่พบเข้าข่ายขาดคุณสมบัติการถือครองหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน ตามมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560

 

อ้าปากเห็นลิ้นไก่ !! แบไต๋ “อนาคตใหม่”  ขีดเส้นตายศาลรธน. เร่งวินิจฉัย 41 ส.ส.ถือหุ้นสื่อ  เจตนาใช้ต่อรอง #อนาตต“ธนาธร”??

โดยรายชื่อและสัดส่วนส.ส.ของแต่ละพรรคการเมือง ที่อยู่ในลิสต์ถูกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ  ประกอบด้วย  

พรรคพลังประชารัฐ  จำนวน 26 ราย   แยกเป็น   ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 ราย 
1. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ถือครองหุ้นบริษัท แปซิฟิค เอ็กซ์คลูซิฟ ซิตี้ คลับ จำกัด
2. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ถือครองหุ้นบริษัท เท็คลิ้งค์ จำกัด
3. นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ ถือครองหุ้นบริษัท ธรี สุขุมวิท โฮลดิ้ง จำกัด
4. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ถือครองหุ้นบริษัท ที.ดี.อี.พัฒนาแลนด์ จำกัด, บริษัท ธุรกิจพัฒนาแลนด์ จำกัด

 

และ ส.ส.เขต  จำนวน  22 ราย  คือ  
1. นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม. เขต 8 ถือครองหุ้นบริษัท โอ ที ซุปเปอร์เซอร์วิส จำกัด 
2. นางกุลวลี นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท มาลัยดอกรัก จำกัด
3. นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. เขต 30 ถือครองหุ้นบริษัท มัชฌิมา-มาวิน จำกัด
4. นายชาญวิทย์ วิภูศิริ ส.ส.กทม. เขต 15 ถือครองหุ้นบริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) 
5. นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท สระแก้ว เวลธี กรุ๊ป จำกัด
6. นายฐาปกรณ์ กุลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ เขต 6 ถือครองหุ้นบริษัท เค.โอ.พี.เวลท์ตี้ จำกัด
7. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว เขต 2 ถือครองหุ้นบริษัท สระแก้ว เวลธี กรุ๊ป จำกัด
8. นายทวิรัฐ รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา เขต 4 ถือครองหุ้นบริษัท ดราฟท์ อพาร์ทเม้นท์ จำกัด, บริษัท คลัง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
9. นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี เขต 2 ถือครองหุ้นบริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด 
10. นายปฐมพงศ์ สูญจันทร์ ส.ส.นครปฐม เขต 4 ถือครองหุ้น หจก.โรงสีไฟปฐมวิวัฒน์
11. น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราขบุรี เขต 3 ถือครองหุ้นบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด
12. น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ เขต 3 ถือครองหุ้น หจก.ตระกูลพูลเจริญ 
13. นายภิญโญ นิโรจน์ ส.ส.นครสวรรค์ เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท นครสวรรค์ สปอร์ต คลับ จำกัด
14. นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ เขต 2 ถือครองหุ้นบริษัท เบสท์ พริ้นท์ เลเบล จำกัด
15. พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.กำแพงเพชร เขต 2 ถือครองหุ้น หจก.กิมไล้ทรายทอง
16. นายศาตรา ศรีปาน ส.ส.สงขลา เขต 1 ถือครองหุ้น หจก.ศรีปัญญารักษ์
17. นายสมเกียรติ วอนเพียร ส.ส.กาญจนบุรี เขต 2 ถือครองหุ้นบริษัท ศรีเจริญสุข เอส โอ จำกัด
18. นายสัมพันธ์ มะซูโซ๊ะ ส.ส.นราธิวาส เขต 2 ถือครองหุ้น หจก.หะยีมะดาโอ๊ะ (สุไหงโก-ลก)
19. นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. เขต 9 ถือครองหุ้นบริษัท บ้านทรงไทยแจ้งวัฒนะ จำกัด
20. นายสุชาติ ชมกลิ่น ส.ส.ชลบุรี เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท อรินสิริ แลนด์ จำกัด (มหาชน) 
21. นายสุรศักดิ์ ชิงนวรรณ์ ส.ส.สระแก้ว เขต 3 ถือครองหุ้น หจก.อรัญญาพร 
22. นายอนุชา น้อยวงศ์ ส.ส.พิษณุโลก เขต 3 ถือครองหุ้น หจก.สันติธรรมฟาร์ม, บริษัท อมาณัติ จำกัด

 

ขณะที่ในส่วนของ พรรคประชาธิปัตย์   จำนวน 12 ราย    ประกอบด้วย  กลุ่ม ส.ส.บัญชีรายชื่อ 
1. นายกรณ์ จาติกวณิช       ถือครองหุ้นบริษัท เกษตรเข้มแข็ง จำกัด
2. น.ส.จิตรภัสร์ กฤดากร    ถือครองหุ้นบริษัท ซี.บี.โฮลดิ้ง จำกัด
3. นายอัศวิน วิภูศิริ              ถือครองหุ้นบริษัท ภัทรเฮ้าส์ แอนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

 

และ ส.ส.เขต จำนวน  9  ราย   ประกอบด้วย
1. นางกันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส.ส.พังงา เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท เทพวนา จำกัด
2. นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร  ส.ส.สุรินทร์ เขต 1  ถือครองหุ้นบริษัท สุรินทร์ ซิตี้ จำกัด
3. นายประมวล พงศ์ถาวราเดช  ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์  เขต 3 ถือครองหุ้นบริษัท พงศ์วราปิโตรเลียม จำกัด
4. นายภานุ ศรีบุศยกาญจน์ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท ศรีบุศยกาญจน์ จำกัด
5. น.ส.วชิราภรณ์ กาญจนะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 3 ถือครองหุ้นบริษัท เวียงสระศิลา จำกัด
6. นายสมชาติ ประดิษฐพร ส.ส.สุราษฎร์ธานี เขต 4 ถือครองหุ้นบริษัท สุราษฎร์สรรพกิจ จำกัด 
7. นายสาคร เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท อ่าวนาง แทรเวล แอนด์ ทัวร์ จำกัด
8. นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง เขต 1 ถือครองหุ้นบริษัท พี.ที.รุ่งเรืองคอนกรีต จำกัด
9. นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี เขต 4 ถือครองหุ้นบริษัท ไทย โกลเด้น แมชชีนเนอรี่ จำกัด

 

ทางด้าน  พรรคชาติพัฒนา  จำนวน  1 ราย ได้แก่  นายเทวัญ ลิปตพัลลภ  ส.ส.บัญชีรายชื่อ   ถือครองหุ้นบริษัท เอส.ซี.เค.แลนด์ จำกัด

 

ส่วน  พรรคประชาภิวัฒน์ 1 ราย ได้แก่ นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือครองหุ้นบริษัท เออีซี ดาต้า ออนไลน์ จำกัด
ส่วนพรรคเล็กอื่น ๆ คือ พรรครวมพลังประชาชาติไทย 1 ราย ได้แก่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุลส.ส.บัญชีรายชื่อ ถือครองหุ้นบริษัท เจ.ซี.ฟู๊ด คอร์ทส จำกัด

 

ล่าสุดทางพรรคอนาคตใหม่  เดินหน้าต่อทันทีในการกดดันให้ศาลรัฐธรรมนูญ  ดำเนินการตามกรอบที่เคยมีคำวินิจฉัยกับกรณีของ นายธนาธร   โดยเป็นทางด้าน  นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ รองโฆษกพรรคอนาคตใหม่  ที่เปิดแถลงข่าวในลักษณะติดตามการทำงานของศาลรัฐธรรมนูญ

 

โดยระบุว่า  จากขั้นตอนการยื่นคำร้องให้ตรวจสอบคุณสมบัติของ 41 ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล กรณีถือหุ้นสื่อ ตามมาตรา 98(3)  ไปสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่ผ่านมา 

 

พรรคอนาคตใหม่กำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดว่า  บรรทัดฐานการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร   หากเทียบกับกรณีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่  ที่ศาลมีมติรับคำร้องไว้พิจารณาและสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวภายใน 7 วัน 

 

คือ ถ้ากรณีของ 41 ส.ส . ตามคำร้องไปในทิศทางเดียวกันกับนายธนาธร  ภายในวันที่ 19 มิถุนายนนี้   ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมีคำสั่งเช่นเดียวกัน  คือสั่งพักการทำหน้าที่ของส.ส.กลุ่มดังกล่าว 

 

สำคัญยิ่ง  ถ้าโฟกัสจากคำพูดของ   น.พ.วาโย อัศวรุ่งเรือง  รองโฆษกพรรคอนาคตใหม่   จะยิ่งชัดในสิ่งที่เรียกว่าเป้าหมายทางการเมือง   โดยมีการะบุว่า   พรรคอนาคตใหม่ไม่เห็นด้วยกับการใช้สาระในใบริคณห์สนธิฐานประกอบกิจการสื่อมาโจมตีกัน   เพราะเจตนารมย์ของกฎหมายมีไว้เพื่อไม่ให้ส.ส.ครอบงำสื่อ 

อ้าปากเห็นลิ้นไก่ !! แบไต๋ “อนาคตใหม่”  ขีดเส้นตายศาลรธน. เร่งวินิจฉัย 41 ส.ส.ถือหุ้นสื่อ  เจตนาใช้ต่อรอง #อนาตต“ธนาธร”??

 

อย่างกรณี  นายภูเบศวร์   เห็นหลอด   ผู้สมัคร  ส.ส. สกลนคร เขต 2 พรรคอนาคตใหม่  ซึ่งถูกศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งตัดสิทธิสมัครเลือกตั้ง    ทั้ง ๆ ที่ทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง  หรือ  กรณีนายธนาธร  ก็ชัดเจนแล้วว่าโอนหุ้นก่อนสมัครรับเลือกตั้ง   แตกต่างจากกรณีของ 41 ส.ส.ที่พรรคอนาคตใหม่ยื่นคำร้อง  ซึ่งภายใน 1-2 วันนี้ ( 19 มิ.ย.)   ทุกคนจะได้เห็นถึงบรรทัดฐานกระบวนการยุติธรรม 

 

จากจุดนี้จึงต้องย้ำว่าชัดยิ่งกว่าชัด   ว่า     พรรคอนาคตใหม่เดินเกมส์ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีการถือครองหุ้นของ  41 ส.ส. ครั้งนี้   มีเป้าประสงค์สร้างแรงเหวี่ยงทางการเมือง    ด้วยการเปิดประเด็นกดดันโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ  โดยเฉพาะกรณีหากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยแตกต่างไปจากกรณีของ  นายธนาธร  

 

เนื่องจากในรายของนายธนาธร   ทางกกต.ได้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ  ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560  มาตรา 82  วรรค 4  เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562  จากนั้นในวันที่ 23 พฤษภาคม  2562   หรือ รวมเป็นเวลา  7 วัน  องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา   ซึ่งพรรคอนาคตใหม่ก็ใช้เงื่อนไขนี้มาเป็นกลไกเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน

 

ซับซ้อนไปกว่านั้นต้องไม่ลืมว่าก่อนหน้านั้น   เมื่อวันที่  7  กรกฏาคม 2562  ซึ่งวันสุดท้ายของการยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหา   นายธนาธรเลือกใช้วิธียื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ   ขอขยายเวลาไปอีก 30 วัน  ทั้ง ๆ ที่ ก่อนหน้า นายธนาธร   มั่นใจในความถูกต้องของกระบวนการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย มาโดยตลอด  

 

จากกรณีดังกล่าว   จึงควรได้พิจารณามุมมองของ  อาจารย์ชูชาติ  ศรีแสง   อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  ประกอบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคอนาคตใหม่   เพื่อทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นถึงนัยยะซ่อนเร้น

 

“.....นายทักษิณ ชินวัตร และบริวารได้สร้างวาทกรรม ศาลยุติธรรมสองมาตรฐาน ตั้งแต่นายทักษิณถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาในคดีที่ดินรัชดาให้ลงโทษจำคุก 2 ปี เมื่อปี 2551 จวบจนกระทั่งปัจจุบัน

 

.....นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และบริวารกำลังดำเนินการในทิศทางเดียวกันเพื่อจะสร้างวาทกรรม ศาลรัฐธรรมนูญสองมาตรฐาน กล่าวคือ

 

........เมื่อ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า นายธนาธรมีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้รับสมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) คือเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ หรือไม่และจะขาดจากสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ตามตามมาตรา 101 (6) หรือไม่

 

........ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งวันที่ 23 พฤษภาคม 2562ให้รับคำร้องไว้พิจารณาและให้นายธนาธรยื่นคำให้การแก้คดีภายใน 15 วัน กับมีคำสั่งให้นายธนาธรหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

 

........เมื่อครบกำหนดยื่นคำให้การในวันที่ 7 มิถุนายน 2562  นายธนาธรขอขยายเวลายื่นคำให้การออกไปอีก 30 วัน ซึ่งศาลอนุญาตตามที่ขอ ทั้งๆ ที่การยื่นคำให้การแก้คดีในคดีนี้ผู้ที่พอมีความรู้ทางกฎหมายไม่ต้องเก่งอะไรมากมายก็น่าจะใช้เวลาอย่างมากที่สุดไม่เกิน 1 วัน เพราะข้อเท็จจริงต่างๆ นายธนาธรมีอยู่พร้อมแล้ว

 

.......ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ได้เข้าชื่อกันตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 วรรคแรก ยื่นคำร้องต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า ส.ส.พรรครัฐบาลจำนวนหนึ่งสมาชิกภาพได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 101(6) เพราะมีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) และประธานสภาฯได้ส่งคำร้องดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว

 

........นี่คือเหตุผลที่นายธนาธรขอขยายเวลายื่นคำให้การ เพื่อรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องทีประธานสภาฯ ส่งไปอย่างไร

 

.....กรณีของนายธนาธร กกต.ไต่สวนพยานหลักฐานแล้ว   ฟังได้ว่า นายธนาธรถือหุ้นในบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ซึ่งประกอบกิจการพิมพ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ จึงเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) จริง มีประเด็นเพียงว่า ในขณะรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.นายธนาธรโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นไปแล้วหรือไม่เท่านั้น

 

.....แต่ ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลที่ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เข้าชื่อกันขอให้ประธานสภาฯส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้น ยังไม่มีองค์กรใดได้ทำการไต่สวนตรวจสอบพยานหลักฐานมาก่อนเลย จึงไม่อาจทราบได้ว่า มีพยานหลักฐานยืนยันได้หรือไม่เพียงใดว่า ส.ส.ดังกล่าวมีคุณสมบัติต้องห้ามมาตรา 98(3)

 

.....ตัวอย่าง เช่น นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราขบุรี พรรคพลังประชารัฐ ที่ถูกยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง โดยระบุว่าถือหุ้นบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในข้อ 17 ว่า ประกอบกิจการค้า กระดาษ เครื่องเขียน แบบเรียน แบบพิมพ์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์การพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ตู้เก็บเอกสาร ฯลฯ

 

.....คำว่าประกอบกิจการค้า หมายความว่า ประกอบกิจการซื้อขายนั่นเอง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบริษัท ปารีณา ไกรคุปต์ จำกัด ก็คือการซื้อขาย กระดาษ เครื่องเขียน แบบเรียน แบบพิมพ์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์การพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ตู้เก็บเอกสาร ฯลฯ 

 

.....สรุปก็คือประกอบกิจการซื้อหรือขายสิ่งพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์ เท่านั้น ไม่ได้ประกอบกิจการโรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือจำหน่าย และออกหนังสือพิมพ์ แต่อย่างใด

 

.....จึงเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3)

 

.....พรรคอนาคตใหม่มีนักกฎหมายมากมายย่อมรู้ดีว่า นางสาวปารีณาไม่เข้าข่ายมีคุณสมบัติต้องห้ามตามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98(3) จึงต้องรู้อยู่แล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำร้อง

 

.....ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเกี่ยวกับ ส.ส.คนใดหรือรับคำร้องแต่ไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เพราะข้อเท็จจริงไม่ชัดเจนอย่างกรณีของนายธนาธร

 

.....นายธนาธรและบริวารก็จะโวยวายปลุกระดมผู้สนับสนุน โดยสร้างวาทกรรมว่า ศาลรัฐธรรมนูญสองมาตรฐาน เฉกที่นายทักษิณและบริวารสร้างวาทกรรมว่า ศาลยุติธรรมสองมาตรฐาน

 

 

.....นี่คือการก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยให้มีเพิ่มมากยิ่งๆ ขึ้นอีก !!!