เหตุรุนแรง 10 ปีไม่เคยพูดความจริง!! นักการเมืองต้านคสช.เห็นแก่ได้  ใช้กรณี “จ่านิว” เคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์ตัวเอง??

กลายเป็นประเด็นอาชญากรรม ที่ถูกนำไปใช้เพื่อสู้รบทางการเมืองโดยสมบูรณ์ สำหรับกรณีเหตุทำร้าย นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว แกนนำกลุ่มนักศึกษา ที่เคยเคลื่อนไหวต่อต้านคสช.ในหลากหลายรูปแบบ แต่กิจกรรมที่ผ่านๆ มา ก็แทบไม่มีผล และจบลงไปโดยสงบ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ เป็นการแสดงออกของกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่ไม่มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง

กลายเป็นประเด็นอาชญากรรม   ที่ถูกนำไปใช้เพื่อสู้รบทางการเมืองโดยสมบูรณ์     สำหรับกรณีเหตุทำร้าย นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว แกนนำกลุ่มนักศึกษา ที่เคยเคลื่อนไหวต่อต้านคสช.ในหลากหลายรูปแบบ  แต่กิจกรรมที่ผ่านๆ มา ก็แทบไม่มีผล  และจบลงไปโดยสงบ  ด้วยเหตุผลสำคัญคือ  เป็นการแสดงออกของกลุ่มคนเล็ก ๆ  ที่ไม่มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง

 

ในทางตรงข้ามจุดน่าสนใจนาทีนี้   ก็คือการใช้ความรุนแรงกับ  นายสิรวิชญ์     กลับถูกหยิบฉวยไปใช้การปลุกระดมกล่าวหารัฐบาล และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่เบื้องหลัง   ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนใด ๆ ทางคดี    และมูลเหตุจูงใจให้คนในรัฐบาลต้องทำ เพราะรู้ว่าอย่างไรก็หนีไม่พ้นต้องเป็นเป้าหมายถูกโจมตี

 

โดยเฉพาะแกนนำมวลชนอย่างนปช.   รวมถึงนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล  ทั้งพรรคเพื่อไทยและอนาคตใหม่   เห็นชัดเจนว่าพร้อมใจกระโดดออกมา  เคลื่อนไหวผ่านทุกช่องทางสื่อ  อย่างมีนัยยะเข้าใจเป็นอื่นไม่ได้  นอกจากมุ่งโจมตีรัฐบาลทหาร  เพื่อหวังประโยชน์ทางการเมือง   

 

แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวหนนี้  ถือการขยายรอยแผลใหม่ให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยอีกครั้ง   โดยวิธีการเดิม ๆ คือ โฆษณาชวนเชื่อ  แต่เลือกไม่พูดถึงความรุนแรง และความสูญเสียในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาอย่างรอบด้าน   เพราะเชื่อว่าจะเป็นผลลบต่อตัวเอง !!!

 

ย้ำชัดเจนการทำร้ายร่างกายผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองอย่าง นายสิริวิชญ์   ไม่มีผลดีต่อฝ่ายรัฐบาลอย่างแน่นอน  โดยเฉพาะกับสถานะผู้นำอย่าง พล.อ.ประยุทธ์   ที่ถูกจ้องบั่นทอนภาพลักษณ์อยู่แล้ว    จึงน่าพิจารณาประกอบไปพร้อมกันว่า   ข้อกล่าวหา  หรือ  ความพยายามเชื่อมโยงให้ประชาชน   เชื่อว่าการทำร้ายนายสิรวิชญ์  เป็นการกระทำโดยคำสั่งการจากผู้บังคับบัญชาในกองทัพ  หรือ แม้แต่ผู้บริหารประเทศ   มีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่  อย่างไร    

 

ความกระเหี้ยนในการเดินหน้าโค่นล้มรัฐบาลของแกนนำนปช. และนักการเมือง  ที่มีจุดยืนเรื่องการต่อต้านรัฐประหาร   โดยการโยงกรณีนายสิรวิชญ์มาเป็นเครื่องมือ   จะว่าไปแล้วไม่ต่างอะไรกับสถานการณ์ปี  2553    ซึ่งมีการปลุกระดมความคิดมวลชน   ให้ออกมาชุมนุมปกป้อง  ทักษิณ ชินวัตร  ซึ่งหนีคดีอาญาไปอยู่ต่างประเทศ    

 

กระทั่งตัวทักษิณเองก็อ้างในช่วงการชุมนุม  กล่าวหาว่า  อำมาตย์ชนชั้นสูง  คือ  ศัตรูของประชาชนรากหญ้า   แต่สุดท้ายเมื่อผู้คนที่มีความเห็นร่วมทางการเมือง   สวมเสื้อแดงออกมาชุมนุม  พวกเขาต้องกลับกลายเป็นเหยื่อการเมือง   ถูกทำร้าย  ยิง  เพื่อโยนความผิดให้กองทัพ  และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ   ส่วนภาพสงครามกลางเมืองในปี  2553  ยังคงสร้างบาดแผลลึกให้กับประเทศมาจนถึงทุกวันนี้

 

ย้อนภาพปรากฏการณ์ความรุนแรงในรอบ 10 ปี  โดยเฉพาะกับการชุมนุมคนเสื้อแดงในปี  2553  ที่ยืดเยื้อมาหลายวัน   จนหลายคนเชื่อว่าสุดท้ายก็จะจบลง หรือ สถานการณ์จะถูกควบคุมได้   โดยเจ้าหน้าที่ทหารเข้าสลาย   เหมือนปี 2552  ซึ่งไม่มีคนบาดเจ็บ ล้มตาย  ถูกดัดแปลงให้แตกต่าง  ด้วยแผนปฏิบัติการพุ่งเป้าให้มวลชนเป็นเหยื่อความรุนแรง

 

เริ่มต้นจากช่วงเที่ยงวัน   วันที่ 10  เมษายน  2553    โดยขวัญชัย  ไพรพนา  แกนนำนปช.อุดรธานี  ได้นำมวลชนคนเสื้อแดงกว่า 500  คน บุกไปที่กองทัพภาคที่ 1  สภาพการณ์เวลานั้น เห็นได้ชัดเจนว่า  เจตนาของแกนนำคนเสื้อแดง  พุ่งเป้ายั่วยุให้กองกำลังทหาร  เคลื่อนตัวออกจากที่ตั้ง   ด้วยการพยายามบุกรุกเข้าไปสถานที่ราชการ  พร้อม ๆ กับการขว้างปาสิ่งของใส่ทหาร และอาคารสถานที่ของกองทัพภาค ที่ 1  อย่างต่อเนื่อง 

 

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้นทุกอย่างเป็นไปตามแผนวางไว้    ปฏิบัติการขอคืนพื้นที่เจ้าหน้าที่ทหารมีความจำเป็นต้องเกิดขึ้น    เริ่มต้นจากการฉีดน้ำเข้าใส่ผู้ชุมนุม  ก่อนใช้แก๊สน้ำตา และกระสุนยาง   ตามหลักปฏิบัติจากเบาไปหาหนัก  ทำให้ผู้ชุมนุมถอยร่นออกมา

 

จากนั้นทหารได้เดินแถวเรียงหน้ากระดาน   เพื่อเริ่มปฏิบัติการขอคืนพื้นที่จากกลุ่มเสื้อแดง   ไล่เรียงตั้งแต่บริเวณแยกมิสกวัน   ไปจนถึงบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์  ทำให้เกิดการปะทะกันเป็นระยะๆ แม้จะมีผู้บาดเจ็บบ้างแต่ก็ไม่หนักหนาสาหัส   เพราะทหารถูกคำสั่งห้ามใช้กระสุนจริงในปฏิบัติการ

 

ก่อนสถานการณ์จะมาถึงจุดวิกฤต    เมื่อกองกำลังชุดดำแฝงตัวในกลุ่มผู้ชุมนุม   เริ่มออกมาปฏิบัติการที่สี่แยกคอกวัว    ด้วยการใช้อาวุธสงคราม    ตามหลักฐานปรากฏเป็นคลิป และภาพนิ่ง  ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง    ว่ามีการกราดยิงด้วยปืนอาร์ก้าโดยกองกำลังชุดดำ    ซึ่งไม่ได้พุ่งเป้าเฉพาะเจ้าหน้าที่ทหาร  แต่กระทั่งมวลชนคนเสื้อแดง   ก็ไม่ได้มีข้อยกเว้น

 

แน่นอนว่าการรัวยิงด้วยอาวุธสงคราม   มีเป้าหมายเพื่อต้องการให้การชุมนุม   ยกระดับกลายเป็นปมขัดแย้งรุนแรง  แตกหัก   เพราะไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเกิดเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะๆ  แกนนำนปช.ก็เดินหน้าปลุกระดม   สร้างข้อกล่าวหา  ทหารทำร้ายประชาชน    

 

สำคัญยิ่งก็คือหลักฐานข้อเท็จจริง  จากศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร  (ศูนย์เอราวัณ)   ซึ่งรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ในวันนั้น   พบว่า มีผู้บาดเจ็บ  จำนวน 863 คน  แยกเป็นพลเรือน  519 คน  ทหารและตำรวจ 344 คน และผู้เสียชีวิต จำนวน 27 คน  แยกเป็นพลเรือน 22 คน  ทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 คน   รวมผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือน  ทั้งหมด 890 คน  

 

โดยเฉพาะการยิงเอ็ม   79 ใส่บริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา  ซึ่งมีหลักฐานชี้ชัดว่ากลุ่มคนร้ายต้องการเอาชีวิต  เพราะมีการใช้แสงเลเซอร์พุ่งตรงไปยังจุดที่ตั้งกองปฏิบัติการ  ในตำแหน่งเดียวกับที่มีนายทหารระดับสูงคอยทำหน้าที่ควบคุมสถานการณ์   ส่งผลทำให้ทหารเสียชีวิต 2 ราย ได้แก่  พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม อดีตรองเสนาธิการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์  (ยศในขณะนั้น)   และ ส.ท.  ภูริวัฒน์ ประพันธ์   (ยศในขณะนั้น) 

 

นอกจากนี้ยังมีนายทหารบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง   อาทิ   พล.ต.วลิต โรจนภักดี (ผบ.พล.ร.2 รอ.) พ.ท.  เกียรติศักดิ์ นันทโพธิ์เดช  , พ.อ. ประวิตร ฉายะบุตร ,  พ.อ. สิงห์ทอง หมีทอง , พ.อ. สันติพงษ์ ธรรมปิยะ , พ.อ. ดนัย บุญตัน และ พ.อ. ธรรมนูญ วิถี

ย้ำชัด ๆ ว่าสถานการณ์ความรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553   มีผู้อยู่เบื้องหลังอย่างแน่นอน  และกลุ่มผู้ก่อการร้าย  มีเจตนาจะสร้างความปั่นป่วนครั้งใหญ่ให้กับประเทศ   โดยใช้ประชาชนคนไทยเป็นเหยื่อ   เพราะในขณะที่กลุ่มคนชุดดำใช้อาวุธสงคราม ก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหารและมวลชน เพื่อสร้างภาพลบ  ให้มวลชนทางการเมืองปักใจเชื่อว่าทหารฆ่าประชาชน

ในวันที่  10 เมษายน  2553   เช่นเดียวกัน  กลุ่มคนร้ายก็มีการลงมือปฏิบัติการวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูง  แบบ 4 ขา หนักประมาณ 320 ตัน สูงประมาณ 45 เมตร ที่วังน้อย จ.อยุธยา  และเป็นสายไฟแรงสูงที่มีหน้าที่สำคัญในการส่งไฟเลี้ยงกรุงเทพมหานคร   โดยการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่พบเสาไฟฟ้าดัง กล่าวถูกลอบวางระเบิดเสียหายไปแล้ว 2 ต้น

โดยต้นแรก  ถูกแรงระเบิดทำให้ขาตั้งเสียหาย 2 ขา  สำหรับต้นที่สอง  เสียหาย 1 ขา  และในบริเวณใกล้เคียงยังพบสายไฟฟ้า และระเบิดซีโฟร์อีก 3 ลูก จุดชนวนด้วยนาฬิกา วางอยู่บริเวณ ขาของเสาไฟฟ้าจึงทำการเก็บกู้

จากการสอบสวนเชิงลึกพบว่า   ปฏิบัติการของคนร้ายพุ่งเป้าก่อวินาศกรรม   เพื่อต้องการให้บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในไฟฟ้าดับมืดสนิท    แต่เดชะบุญระเบิดทำงานไม่เต็มวงจร ทำให้ระเบิดที่เหลือไม่ทำงาน  

ในกรณีกลับกันถ้าระเบิดทั้งหมดทำงาน    ผลที่จะเกิดก็คือ ไฟฟ้าที่ถูกจ่ายมาจากโรงไฟฟ้าวังน้อย   ด้วยกำลังส่งแรงดันไฟฟ้ากว่า 2 แสนกว่าโวลต์    เพื่อจ่ายกระแสไฟไปยังพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในทั้งหมด อาทิ   สีลม ราชประสงค์  ฯลฯ  จะถูกตัดขาดทันที

ไม่เท่านั้นด้วยแผนการจัดวางระเบิดเสาไฟฟ้า  โดยการเลือกระเบิดเสาไฟฟ้าที่อยู่กึ่งกลางแนวเสาไฟฟ้าทั้งหมด  หากเสาที่ถูกวางระเบิดล้มครืน    ก็จะฉุดดึงเสาไฟฟ้าต้นอื่นให้ล้มไปด้วยอีกอย่างน้อย 5 ต้น   ทำให้กรุงเทพฯในวันที่ 10  เมษายน  2553   กลายเป็นมหานครมืดสนิทอย่างสิ้นเชิง 

ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็คือ   ในวันที่กลุ่มคนชุดดำแฝงตัวในมวลชนคนเสื้อแดง  ออกมาไล่ยิงเจ้าหน้าที่ทหาร และประชาชน  ที่บริเวณโดยรอบสี่แยกคอกวัว   ถ้าคืนวันที่ 10  เมษายน  2553  กรุงเทพมหานครเกิดไฟดับซ้ำค่อนเมือง   จะเกิดอะไรขึ้นกับปฏิบัติการทำลายล้าง  จะมีเจ้าหน้าที่บ้านเมือง และชาวบ้านอีกกี่คนต้องบาดเจ็บ ล้มตาย   

สอดรับกับคำพูดของ  นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง  แกนนำนปช.  ในการปราศรัยหน้ากองบัญชาการกองทัพบก  เมื่อวันที่   29  มกราคม  2553    และมีถ้อยคำเชื่อมโยงกับเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน  2553  ว่า     "วันนี้การต่อสู้เป็นครั้งสุดท้าย ถ้าไม่ชนะ เป้าหมายคือคุกหรือไม่ก็ตายเท่านั้น พี่น้อง ผมขอบอกข่าวดีว่า   เดิมทีนั้น คนเสื้อแดงมีเพียงพรรคการเมืองและมวลชนเท่านั้น แต่วันนี้ แก้วอีกประการหนึ่งที่เรารอ นั่นคือ กองกำลังไม่ทราบฝ่าย เขาพร้อมสนับสนุน และปกป้องคนเสื้อแดง และพร้อมที่จะเป็นปรปักษ์กับกองทัพถ้ากองทัพทำร้ายประชาชน

 

ย้อนค้นซ้ำแล้วซ้ำอีก  ในรอบ 10 ปี ข้อเท็จจริงของเหตุรุนแรง  แทบไม่เคยถูกนำมาพูดต่อสาธารณะ  และสื่อมวลชน   จากแกนนำนปช. หรือ  แม้แต่บุคลากรในซีกพรรคเพื่อไทย  ในทางกลับกันเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงทางการเมือง  ทหารต้องกลายเป็นเป้าหมายการโจมตีทางเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ขณะที่ความสูญเสีย  จากเหตุลอบสังหาร   พล.อ.ร่มเกล้า  ธุวธรรม   การยิงอาวุธปืนใส่โดยกองกำลังชุดดำ   ทำให้เจ้าหน้าที่ทหาร  ประชาชนได้รับบาดเจ็บ   และเหตุกรณีที่เกิดจากการปลุกระดม  ผ่านเวทีการชุมนุมราชประสงค์    ก่อนไปสู่การลงมือเผาสถานที่สำคัญหลายแห่ง  กลายเป็นข้อมูลที่ถูกซ่อนเร้นเอาไว้ 

รวมถึงแทบไม่เคยกล่าวถึงเลยว่า  ในการก่อเหตุรุนแรงเมื่อวันที่ 10 เมษายน  2553  มีการจับกุมผู้ต้องหา เกี่ยวเนื่องกับกองกำลังชุดดำ  จำนวน  5  ราย  ประกอบด้วย

1.นายกิตติศักดิ์ หรือ อ้วน สุ่มศรี อายุ 50  ปี

2.นายปรีชา หรือ ไก่เตี้ย อยู่เย็น อายุ 30 ปี

3.นายรณฤทธิ์ หรือ นะ สุริชา อายุ 39 ปี

4.นายชำนาญ หรือ เล็ก ภาคีฉาย อายุ 51 ปี

5.นางปุนิกา หรือ อร ชูศรี อายุ 45 ปี

 

ในความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธ เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิดที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 และข้อหาพาอาวุธปืนไปในเมือง ที่ชุมชนหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต  ซึ่งทั้งหมดอยู่ในกระบวนการพิจารณาความผิดของศาลยุติธรรม และบางคนถูกตัดสินว่ากระทำผิดจริง ถูกพิพากษาสั่งลงโทษจำคุกแล้ว

ประเด็นสำคัญลืมไม่ได้เลย   ก็คือ   เหตุกรณีความรุนแรงในปี  2553   นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่   ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าร่วมกับมวลชนคนเสื้อแดง   บริเวณสี่แยกคอกวัว  และมีประสบการณ์ตรง   ว่าปฏิบัติการทางทหาร  วันที่ 10 เมษายน 2553  ใช้กระสุนยาง  แต่มีคนบางกลุ่มในหมู่คนเสื้อแดงใช้อาวุธและกระสุนจริง   จนทำให้เกิดการเจ็บตาย    ไม่เคยปริปากพูดความจริงในเรื่องเหล่านี้  

รวมทั้งเป็นความจริงที่   นายธนาธร  และ   แกนนำนปช.  รวมถึงนักการเมืองในเครือข่าย  ทักษิณ  ไม่เคยออกมาปกป้อง  ทักท้วง  การใช้อำนาจรัฐ   กับกรณีการชุมนุมทางการเมือง ในปี 2556-2557   ซึ่งมีผู้บาดเจ็บ  เสียชีวิต  จากการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย  แม้แต่ครั้งเดียว  ทั้งๆ ที่เป็นความสูญเสียที่เริ่มต้นมาจากการแสดงออกตามวิถีประชาธิปไตย

 โดยข้อมูลของศูนย์เอราวัณ ปี 2557 ได้สรุปจำนวนครั้งของเหตุการณ์ความรุนแรงจากชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 ถึงวันที่ 29 พฤษภาคม 2557   รวมทั้งสิ้น 96 เหตุการณ์   มียอดรวมผู้บาดเจ็บ 782 ราย   และผู้เสียชีวิต 27 ราย

แยกย่อยเป็นความสูญเสียบุคคลถึงแก่ชีวิต   ประกอบด้วย  

เหตุการณ์  วันที่  30 พฤศจิกายน 2556   กรณีการยิงปะทะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ผู้เสียชีวิต 5 ราย

1) นายทวีศักดิ์ โพธิ์แก้ว อายุ 21 ปี

2) นายวิษณุ เภาภู่ อายุ 26 ปี

3) นายวิโรจน์ เข็มนาค อายุ 43 ปี

4) พลทหารธนสิทธิ์ เวียงคำ อายุ 22 ปี และ

5) นายสุรเดช คำแปงใจ อายุ 19 ปี

 

เหตุการณ์วันที่ 26 ธันวาคม 2556   กรณีการชุมนุมบริเวณสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น

 

ผู้เสียชีวิต 2 ราย

1) ด.ต.ณรงค์ ปิติสิทธิ์ อายุ 45 ปี

2) นายวสุ สุฉันทบุตร อายุ 30 ปี

 

เหตุการณ์ วันที่  28 ธันวาคม 2556   กรณีผู้ชุมนุมกลุ่ม คปท. ถูกยิงบริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์

 

ผู้เสียชีวิต 1 ราย

1) นายยุทธนา องอาจ อายุ 27 ปี

 

เหตุการณ์วันที่  17 มกราคม  2557  กรณีการเดินขบวนของกลุ่ม กปปส. ถูกระเบิดบริเวณถนนบรรทัดทอง

ผู้เสียชีวิต 1 ราย

1) นายประคอง ชูจันทร์ อายุ 46 ปี

 

เหตุการณ์วันที่ 19 มกราคม   2557  กรณีการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ถูกระเบิดที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

 

ผู้เสียชีวิต 1 ราย

1) นายอานนท์ ไทยดี อายุ 65 ปี

เหตุการณ์วันที่  26  มกราคม  2557  กรณีการชุมนุมของกลุ่ม กคป. บริเวณหน้าวัดศรีเอี่ยม

ผู้เสียชีวิต 1 ราย

 

1) นายสุทิน ธราทิน อายุ 52 ปี

เหตุการณ์  วันที่  18 กุมภาพันธ์ 2557  กรณีการสลายการชุมนุมกลุ่มกองทัพธรรม บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศผู้เสียชีวิต 6 ราย

1) นายสุพจน์ บุญรุ่ง อายุ 52 ปี

2) ด.ต.เพียรชัย ภารวัตร อายุ 45 ปี

3) นายธนูศักดิ์ รัตนคช อายุ 29 ปี

4) นายศรัทธา แซ่ด่าน อายุ 43 ปี

 

5) นายจีรพงษ์ ฉุยฉาย อายุ 29 ปี

6) ส.ต.ต.ศราวุฒิ ชัยปัญหา อายุ 28 ปี

 

เหตุการณ์  วันที่  21 กุมภาพันธ์ 2557  กรณีลอบยิงกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ที่จังหวัดตราด

ผู้เสียชีวิต 3 ราย

1) นางพิศตะวัน อุ่นใจ อายุ 39 ปี

2) ด.ญ.ฬิฬาวัลย์ พรหมชัย อายุ 5 ปี

3) ด.ญ.ณัฐยา รอสูงเนิน อายุ 5 ปี

 

เหตุการณ์  วันที่  23 กุมภาพันธ์ 2557   กรณีระเบิดบริเวณหน้าห้างบิ๊กซี สาขาราชดำริ

ผู้เสียชีวิต 3 ราย

1) น.ส.ฐิพาพรรณ สุวรรณมณี อายุ 59 ปี

2) ด.ช.กรวิชญ์ ยศอุบล อายุ 4 ปี

3) ด.ญ.พัชรากร ยศอุบล อายุ 6 ปี

 

เหตุการณ์วันที่ 1 เมษายน  2557  กรณีลอบยิงกลุ่ม คปท. บริเวณทางด่วนแจ้งวัฒนะ

ผู้เสียชีวิต 1 ราย

1) ส.อ.วสันต์ คำวงศ์ อายุ 53 ปี

เหตุการณ์วันที่ 15 พฤษภาคม 2557  กรณีลอบยิง-ระเบิด กลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ผู้เสียชีวิต 3 ราย

1) นายนรายศ จันทร์เพ็ชร อายุ 21 ปี

2) นายสมควร นวนขนาย อายุ 51 ปี

3) นายมารุต เที่ยงลิ้ม อายุ 45 ปี

 

คำถามข้อใหญ่  ถึงนักประชาธิปไตยทั้งหลาย   ก็คือ  จากวันที่ 10 เมษายน  2553  ถึง  ปี  2557   ความสูญเสียของเจ้าหน้าที่ทหาร   ชีวิตประชาชน ที่มีความเห็นต่างจากรัฐบาล ทักษิณ และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร   ทำไมไม่เคยมีใครจากฝั่งตรงข้ามรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  พูดถึง หรือ ออกมาแสดงภาพการปกป้องอย่างจริงจัง   เหมือนกรณี นายสิรวิชญ์  ที่กำลังเกิดขึ้น

 

ทั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสาเหตุจริง ๆ ที่คนร้ายกระทำกับนายสิริวิชญ์มีสาเหตุจูงใจจากอะไร  เพราะเป็นไปได้เช่นกันว่า  พฤติการณ์ของนายสิรวิชญ์ที่ผ่าน ๆ มา  ก็สร้างความไม่พอใจกับคนอื่น ๆ อยู่ไม่น้อย  โดยไม่ต้องนำไปโยงถึงการทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลคสช. อย่างที่มีความพยายามนำไปชี้ประเด็นให้เชื่อว่า นายสิรวิชญ์ถูกกระทำ เพราะเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล 

 

โดยเฉพาะเหตุกรณีการโพสต์ข้อความก้าวล่วง  พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ  ภายหลังถึงแก่อสัญกรรม   ในลักษณะกระทำดูหมิ่นซ้ำ ๆ ถึง 2 หน   จนทำให้คนไทยจำนวนมากรับไม่ได้   กับสิ่งที่นายสิรวิชญ์กระทำ  และเจ้าตัวก็ไม่เคยสำนึกรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำไป 

 

อย่างไรก็ตาม สนข.ทีนิวส์ไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน กับการใช้ความรุนแรงใด ๆ ในทางการเมือง  รวมถึงเหตุกรณีนายสรวิชญ์   ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายจะต้องพิสูจน์และตามจับบุคคลผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง  แต่ขณะเดียวกัน สนข.ทีนิวส์ ก็ไม่เห็นด้วย กับวิธีการนำเหตุการณ์ทำร้าย นายสรวิชญ์ มาใช้ประโยชน์ทางการเมือง  

 

ยิ่งถ้าย้อนกลับไปมองเหตุการณ์รอบ 10 ปีที่ผ่านมา  วิธีการเดิมๆ  แบบนี้มีข้อบ่งชี้ชัดว่า  นักการเมืองและ  นักเคลื่อนไหวทางการเมือง    กำลังยกระดับให้กรณีการบาดเจ็บนายสรวิชญ์   กลายเป็นเครื่องมือทำลายล้าง  รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์    ทั้ง ๆ ที่วันนี้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์  ไม่ต้องทำในสิ่งให้เกิดผลเสีย เกิดผลกระทบ    สถานะของรัฐบาลก็อยู่ในสถานการณ์เสี่ยงอยู่แล้ว จากจำนวนเสียงในสภาฯที่ปริ่มน้ำ     

 

ดังนั้นประเด็นที่สังคมไทยต้องเฝ้าจับตาต่อไป   ก็คือ   ท้ายสุด  นายสรวิชญ์   จะกลายเป็นหมากเบี้ย หรือ เหยื่อทางการเมือง  เหมือนกับมวลชนคนเสื้อแดง    ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาหรือไม่??     และกรณีนายสรวิชญ์   จะเป็นเหตุกรณี  ที่ถูกฉกฉวยมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง ในรูปแบบไหน อย่างไร  ต่อไปนับจากนี้  !!!