“ทักษิณ” ควรหยุดพิสูจน์ความจริงใจ เปิด “คดี” ยังเหลือชั้นศาล ดับฝันกลับประเทศ

หนึ่งประเด็นที่มาจากกรณีวันเกิดครบรอบ 70 ปี ของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั่นก็คือข้อความที่ทักษิณแจ้งข่าว(งด)จัดงานวันเกิด 70 ปี โดยระบุขอทานข้าวกับลูกหลานในบ้านที่ดูไบ แจ้งสถานที่มีจำกัด

หนึ่งประเด็นที่มาจากกรณีวันเกิดครบรอบ 70 ปี ของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นั่นก็คือข้อความที่ทักษิณแจ้งข่าว(งด)จัดงานวันเกิด 70 ปี โดยระบุขอทานข้าวกับลูกหลานในบ้านที่ดูไบ แจ้งสถานที่มีจำกัด

เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 62 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ @ThaksinLive ถึงการจัดงานวันคล้ายวันเกิด 26 ก.ค. นี้ ว่า

"วันเกิดครบ 70 ปีของผม หลายท่านแจ้งว่าจะมาร่วมงาน ผมต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้จัดงานในปีนี้ ผมคงทานข้าวกับลูกหลานในบ้าน ซึ่งสถานที่มีจำกัด และอากาศที่ดูไบร้อนเกือบ 50 องศา ไม่สามารถจัดนอกอาคารได้ ขอบคุณทุกท่านสำหรับความปรารถนาดี และยังนึกถึงกันเสมอครับ"

 

“ทักษิณ” ควรหยุดพิสูจน์ความจริงใจ เปิด “คดี” ยังเหลือชั้นศาล ดับฝันกลับประเทศ

แน่นอนว่านี่เป็นเพียงข่าวสารที่ออกมาของ “ทักษิณ” ซึ่งระยะนี้ก็มีข่าวตามมาเป็นระยะว่าหรือครั้งนี้ “ทักษิณ” จะเลิกเล่นการเมือง ซึ่งก็ต้องเรียนว่าไม่มีความชัดเจนอะไร เพราะก็ถือว่า เป็นวาทกรรมเดิมๆ ที่.ทักษิณ พูดมาตลอดนับตั้งแต่หลบหนีออกนอกประเทศ

และหากว่าครั้งนี้ “ทักษิณ” จริงใจ ก็ควรพิสูจน์ให้เห็นว่าจะไม่มีพฤติกรรมเหมือนเช่นที่ผ่านมา ด้วยการยุติทุกๆ ความเคลื่อนไหว และหยุดให้การสนับสนุนทางการเมืองกับเครือข่ายทุกกลุ่ม หรือไม่ ?? ดังนั้น สิ่งที่ “ทักษิณ” ควรจะทำจริงๆ ในขณะนี้ คือ ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบในต่างประเทศ เลิกข้องเกี่ยวกับการเมืองไทยในทุกๆ ด้าน

ขณะเดียวกัน หาก “ทักษิณ” ยังอยากที่จะเดินทางกลับประเทศไทย ก็ต้อง กลับมารับโทษในคดีที่มีการพิพากษาไปแล้ว และต่อสู้กันตามกระบวนการทางกฎหมายในคดีที่ยังพิจารณาค้างกันอยู่

สำหรับคดีที่ยังพิจารณาค้างกันอยู่ ประกอบด้วย

คดีหมายเลขดำ อม.3/2555 กรณีทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย ศาลฎีกาฯ สั่งออกหมายจับหลังไม่เดินทางมาศาลในการนัดพิจารณาคดีครั้งแรก และไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนนัดพิจารณาคดี เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2561 และขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกา

คดีนี้สืบเนื่องจากที่ อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายทักษิณ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 เป็นจำเลยที่ 1 ร่วมกับนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือของบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กับพวกรวม 27 ราย

ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 , ความผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 , ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505  , ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 และ ความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ.2535 กรณีร่วมอนุมัติสินเชื่อของ ธ.กรุงไทยฯ ให้กับกลุ่มกฤษดามหานครไปโดยทุจริต ทำให้ธนาคารเสียหาย

โดยคดีนี้ ได้กล่าวหา "ทักษิณ" จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวก กระทำความผิด กรณีอดีตผู้บริหารธนาคารอนุมัติสินเชื่อจำนวนมากโดยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของรัฐ โดยข้อเท็จจริงพบว่า ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้สินเชื่อกลุ่ม บมจ.กฤษดามหานคร ที่มีสถานะอยู่ในกลุ่มลูกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร เนื่องจาก ผอ.ฝ่ายกลั่นกรองสินเชื่อธุรกิจนครหลวง เคยจัดอันดับความเสี่ยงของกลุ่มกฤษดามหานครในอันดับ 5 คือไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้

ต่อมามีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้มีเงื่อนไขระบุว่า บมจ.กฤษดามหานครฯ ไม่สามารถที่จะขอสินเชื่อได้อีก เนื่องจากมียอดขาดทุนสะสมสูง คือมียอดสะสมสูงมาก แต่ได้มีการอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทในกลุ่มกฤษดามหานคร 3 กรณี

 

1. การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทอาร์เค โปรเฟสชั่นนัล จำกัด จำนวนเงิน 500 ล้านบาท

2. การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด วงเงิน 9,900 ล้านบาท (วงเงินไฟแนนซ์  8,000 ล้านบาท วงเงินซื้อที่ดินเพิ่ม 500 ล้านบาท และวงเงินพัฒนาโครงการ1,400 ล้านบาท)

3.การอนุมัติขายหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของ บมจ.กฤษดามหานคร ให้กับบริษัท แกรนด์ คอมพิวเตอร์คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวนเงิน 1,185,735,380 บาท

 

ถือว่าผู้เกี่ยวข้องมีพฤติการณ์ ร่วมกันหรือสนับสนุนการกระทำความผิดกรณีธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ เป็นการกระทำโดยทุจริต เพื่อฟื้นฟูกิจการของ บมจ.กฤษดามหานคร ประโยชน์ส่วนตนกับพวก

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้นเพราะมีคดีที่ยังพิจารณาค้างกันอยู่อีกคือ

 

คดีหมายเลขดำที่ อม.9/2551 กรณีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ-ดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัทชินคอร์ปฯ ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท ศาลฎีกาฯ สั่งออกหมายจับ หลังไม่เดินทางมาศาลในการนัดพิจารณาคดีครั้งแรก 6 มี.ค.2561

สำหรับคดีนี้ อัยการ ระบุพฤติการณ์สรุปว่า ระหว่างวันที่ 9 ก.พ. 44 – วันที่ 19 ก.ย. 49 จำเลยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปในการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งการสั่งราชการที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพสามิต ผ่านทาง รมว.คลัง และที่เกี่ยวข้องกับทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่าน รมว.ไอซีที ได้ปฏิบัติหรือและเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการโทรคมนาคมด้วยการกระทำการ สั่งการตามอำนาจหน้าที่ให้มีการแปลงค่าสัมปทานในกิจการโทรคมนาคมให้เป็นภาษีสรรพสามิตเพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของ บมจ.ชินคอร์ปฯ

โดยค่าสัมปทานดังกล่าว บมจ.แอดวานซ์ฯ บมจ.ดิจิตอลโฟนฯ ที่ บมจ.ชินคอร์ปฯ ถือหุ้นใหญ่ มีหน้าที่ต้องชำระให้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

 

โดยจำเลยมอบนโยบายและสั่งการให้ออก พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2546 พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องลดอัตราและยกเว้นภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 68 ) ลงวันที่ 28 ม.ค.46 และมติ ครม. วันที่ 11 ก.พ.46กรณีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม

และให้นำค่าสัมปทานหักกับภาษีสรรพสามิต โดยการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ , กระทรวงการคลัง , กระทรวงไอซีที , บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท. รวมทั้งบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยทำให้ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท.ที่เป็นคู่สัญญานำค่าภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากค่าสัมปทาน ทำให้เสียหายจำนวน 41,951.68 ล้านบาท และจำนวน 25,992.08 ล้านบาท

นอกจากนี้จำเลยไม่กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในกิจการดาวเทียม ทั้งที่เป็นกิจการโทรคมนาคม และเป็นกิจการที่ บมจ.ชินคอร์ปฯ ได้รับสัมปทานจากรัฐเช่นเดียวกับโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเป็นการใช้อำนาจของจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีโดยไม่สุจริต

เหตุตามฟ้องเกิดที่แขวง-เขตดุสิต และ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กทม.โดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทีโอที มีหนังสือลงวันที่ 29 พ.ย.49 ถึงประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ตรวจสอบการตรา พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราสรรพสามิต ดังกล่าว ซึ่งดำเนินการโดยรัฐบาล ที่มี.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี

ซึ่ง คตส.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน ได้รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ แล้วเห็นว่า พยานหลักฐานที่ตรวจสอบมาพอที่จะแจ้งข้อกล่าวหากับ ทักษิณ ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ให้บุคคลอื่นเป็นผู้ถือหุ้นแทนใน บมจ.ชินคอร์ปฯ ซึ่งเป็นบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ เป็นการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม

นอกเหนือ จากคดีคดีที่ยังพิจารณาค้างกันอยู่ยังมีคดีที่มีการพิพากษาไปแล้วทักษิณ จะหลุดบ่วงนั้นย่อมเป็นไปได้ยาก และถือเป็นการนับถอยหลังปิดฉากระบอบทักษิณอย่างสิ้นเชิง   สำหรับคดีที่มีคำพิพากษาไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น

-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดำเนินคดีลับหลังจำเลย พิพากษาจำคุก 3 ปี ทักษิณ ชินวัตร คดีสั่ง เอ็กซิมแบงก์ปล่อยกู้เมียนมา

-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 2 ปี ทักษิณ ชินวัตร โดยไม่รอลงอาญา คดีออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 และ 3 ตัว หรือ "หวยบนดิน" เมื่อปี 2546 - 2549

-ทั้งนี้ยังมีคดีกองทัพบก ยื่นฟ้อง"ทักษิณ" หมิ่นประมาท กรณีเมื่อ  19-20 พ.ค.58  ได้มีการเผยแพร่คำสัมภาษณ์ของ“ ทักษิณ” จากประเทศเกาหลีใต้ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและการยึดอำนาจการปกครองของ คสช ซึ่งกระทบถึงกองทัพบกศาลอาญาออกหมายจับ "ทักษิณ" เมื่อ 12 ต.ค.58

ท้ายที่สุด คดีต่างๆก็กลายมาเป็นวันที่เปลี่ยนชะตากรรมของ.ทักษิณ จากผู้ที่มีอำนาจล้นฟ้ากลายเป็นนักโทษหนีคดี เมื่อศาลพิพากษาว่า ทักษิณ ให้มีความผิดในคดีต่างๆ  และทักษิณ ทุกคดีหากทักษิณต้องการกลับไทยก็ต้องกลับมารับโทษตามคำพิพากษาของกระบวนการยุติธรรม