ททวงสัญญา  !!! ย้อนดูนโยบายเศรษฐกิจหาเสียงพรรคร่วมรัฐบาล โพลชี้ ไม่ทำตามที่ปากพูดเจอเอาผิดแน่

เห็นหน้าค่าตากันไปแล้วสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากรอมาซึ่งในวันนี้เราจะไปโฟกัสกันที่ กระทรวงที่เกี่ยวเนื่องกับโต๊ะเศรษฐกิจ ซึ่งคงต้องติดตามนโยบายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับพี่น้องประชาชนซึ่งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ มีหลายพรรคการเมือง ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยเข้มแข็งมีความสามารถสูงในอนาคต รวมถึงการช่วยเหลือฐานรากให้มากขึ้น แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด

เห็นหน้าค่าตากันไปแล้วสำหรับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากรอมาซึ่งในวันนี้เราจะไปโฟกัสกันที่ กระทรวงที่เกี่ยวเนื่องกับโต๊ะเศรษฐกิจ ซึ่งคงต้องติดตามนโยบายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับพี่น้องประชาชนซึ่งนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ มีหลายพรรคการเมือง ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยเข้มแข็งมีความสามารถสูงในอนาคต รวมถึงการช่วยเหลือฐานรากให้มากขึ้น แต่ก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด 


สำหรับ “ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ” จะต้องพิสูจน์ฝีมือในการเข้ามา แก้ปมปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจไทย  ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจประกอบด้วย  

-สมคิด จาตุศรีพิทักษ์เป็นรองนายกรัฐมนตรี
-จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
-อุตตม สาวนายน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
-เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
-ศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
-สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
-พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
-พิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
-สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

เสร็จสิ้นการเลือกตั้งก้าวมาสู่การแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี แต่ละพรรคการเมืองช่วงการเลือกตั้ง ต่างเร่งสร้างความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกคะแนนนิยมกันอย่าง แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจคือจุดขายที่สำคัญ เพราะประชาชนคนไทยอยากรู้ว่าพรรคต่างๆ จะมาแก้ไขปัญหาปากท้องของพวกเขาอย่างไร 

เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2562 ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เสียงของประชาชน ทวงสัญญานโยบายเร่งด่วน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,063 คน ระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2562 เมื่อถามถึงความต้องการต่อรัฐบาลทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 91.4 ระบุต้องการในขณะที่ร้อยละ 8.6 ไม่ต้องการ


เมื่อถามถึงนโยบายของพรรคร่วมรัฐบาลที่ประชาชนต้องการตามที่เคยหาเสียงไว้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 83.3 ระบุ นโยบายประกันรายได้ของพรรคประชาธิปัตย์ พืชผลทางการเกษตร เช่น ยางพารา กิโลละ 60 บาท ข้าวไม่ต่ำกว่าเกวียนละ 10,000 บาท ปาล์ม 10 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ร้อยละ 74.2 ระบุ จบปริญญาตรีรับขั้นต่ำ 20,000 บาทต่อเดือนของพรรคพลังประชารัฐ  ร้อยละ 70.2  ระบุขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทต่อเดือนของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 68.4 ระบุ พักหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 5 ปี ผ่อนคืนเงินต้น 10 ปี ใช้ภาษีเงินได้หักลดยอดหนี้ได้ของพรรคภูมิใจไทย

นอกจากนี้ ร้อยละ 66.2 ระบุ ตั้งท้องรับ 3,000 บาท ค่าคลอด  10,000 บาท ค่าดูแลลูก 2,000 บาทต่อเดือนนาน 6 ปีของพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 65.4 ระบุ เพิ่มสิทธิประชาชนได้ลดค่าน้ำ 100 บาทต่อเดือน ค่าไฟฟ้า 230 บาทต่อเดือน เงินซื้อสินค้า 500 บาทของพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 59.1 ระบุ กัญชาเสรี ให้ประชาชนปลูกหารายได้ได้ของพรรคภูมิใจไทย

เมื่อถามถึงแนวทางแก้ปัญหาที่ประชาชนต้องการเห็นในนโยบายรัฐบาล พบว่าร้อยละ 61.5 ระบุค่าครองชีพสูง  ร้อยละ 55.2 ระบุปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ร้อยละ 51.4 ระบุความไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 49.1 ระบุความไม่ปลอดภัยทางถนน อุบัติเหตุ หวาดกลัวแม้ข้ามทางม้าลาย  ร้อยละ 45.4 ระบุปัญหาคนไทยตกงาน ถูกแย่งอาชีพ อาชีพไม่มั่นคง ร้อยละ 37.8 ระบุอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 35.7 ระบุความไม่มีวินัยของคนไทย ร้อยละ 34.2 ระบุทัศนคติที่ไม่ดี การสร้างความเกลียดชังต่อกัน ร้อยละ 31.5 ระบุหนี้นอกระบบ และร้อยละ 27.8 ระบุกฎระเบียบรัฐ อุปสรรคทำมาหากิน ตามลำดับ

เมื่อถามถึงรัฐมนตรีที่ประชาชนเชื่อมั่นมากที่สุด พบว่า ประชาชนร้อยละ 73.8 เชื่อมั่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  ขณะที่ประชาชนร้อยละ 7.1 เชื่อมั่นนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ร้อยละ 4.8 เชื่อมั่นนายวิษณุ เครืองาม  ร้อยละ 3.6 เชื่อมั่นนายอนุทิน ชาญวีรกูล  ร้อยละ 3.2 เชื่อมั่นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์  ร้อยละ 2.4 เชื่อมั่นนายเทวัญ ลิปตพัลลภ ร้อยละ 1.2 เชื่อมั่น ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล และร้อยละ 3.9 เชื่อมั่นคนอื่น ๆ เช่น คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และ นายดอน ปรมัตถ์วินัย เป็นต้น

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความต้องการเอาผิดพรรคการเมืองตามกฎหมาย ถ้าไม่ทำตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้กับประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 92.1 ระบุต้องการเอาผิด ขณะที่ร้อยละ 7.9 ระบุไม่ต้องการเอาผิด

 เพราะฉะนั้นเราลองมากางนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละพรรคดู ว่าสวยหรู ‘ชวนฝัน’ แต่ทำได้จริงมากน้อยแค่ไหน ?? 


เริ่มต้นกันก่อนด้วย นโยบายเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์   ซึ่งก็มี โครงการโฉนดสีฟ้า จัดทำเป็นโฉนดชุมชนจัดการตัวเอง  ออก พ.ร.บ.โฉนดชุมชน เพื่อให้สิทธิในการจัดการชุมชนอย่างแท้จริง และ จัดตั้งกองทุนน้ำชุมชน ให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี มีเงินทำแหล่งน้ำทุกหมู่บ้าน รวมถึงประกันรายได้เกษตรกร  ข้าวไม่ต่ำกว่า เกวียนละ 10,000บาท  ยางพารา ไม่ต่ำกว่า 60 บาท ต่อกิโลกรัม ปาล์ม 10 บาท ต่อกิโลกรัม รวมถึง ทำประกันภัยพืชผลคุ้มครองต้นทุนการผลิต ยังมีประกันรายได้แรงงาน ไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท ต่อปี แต่ถ้ามีรายได้ต่อเดือน เมื่อคำนวณแล้วไม่ถึงที่กำหนด รัฐบาลก็จะจ่ายเงินส่วนต่างให้   เบี้ยผู้สูงอายุ 1,000 บาท ต่อเดือน รวมถึงเบี้ยสวัสดิการผู้ยากไร้ 800 บาท ต่อเดือน โอนตรงสมุดบัญชีผู้มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาท ต่อปี 


ต่อกันที่ ‘นโยบายสร้างชาติ เพิ่มพลังเศรษฐกิจ’  ของพรรคพลังประชารัฐมีแนวทาง ‘นโยบาย 7-7-7’ ต่อยอดนโยบายรัฐบาล ‘ประยุทธ์’ ประกอบด้วย 3 พันธกิจ ได้แก่ 7 สวัสดิการประชารัฐ, 7 สังคมประชารัฐ และ 7 เศรษฐกิจประชารัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างสังคมเข็มแข็ง ปรับโครงเศรษฐกิจ สร้างโอกาสที่เท่าเทียมและสร้าง
ความสามารถให้แข่งขันกับโลก

ด้านเศรษฐกิจประชารัฐ โจทย์ใหญ่คือ สร้างความสามารถของคน สร้างกลุ่มสตาร์ทอัพให้เพิ่มขึ้น ตั้งเป้า 5 ล้านสมาร์ทเอสเอ็มอี, 1 ล้าน สมาร์ทฟาร์มเมอร์, 1 ล้านสตาร์ทอัพ, 1 ล้านเมกเกอร์, และ 1 ล้านร้านค้าปลีกชุมชน สำหรับทำให้เป็นโชห่วย 4.0

พรรค พปชร.เชื่อว่าสังคมประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ 1.กระจายอำนาจ 2.กระจายโอกาส และ 3.กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค เช่น โครงการอีอีซี ที่กำลังทดสอบในรัฐบาลชุดนี้ จากนั้นจะกระจายศูนย์กลางความเจริญสู่ภูมิภาค เช่น  อีสาน 4.0, ล้านนา, 4.0 และด้ามขวาน 4.0 รวมไปถึงสร้างเมืองน่าอยู่, สังคมประชารัฐสีขาว ปลอดโลก ปลอดภัย ปลอดยา ปลอดฝุ่น ปลอดควัน ตลอดจน Bangkok 5.0


ขณะที่ พรรคภูมิใจไทย  ‘มาพร้อมสโลกแกน “ลดอำนาจรัฐ เพื่อปากท้องประชาชน: แก้กฎหมาย ทลายทุกข้อจำกัด ที่ขัดขวางการสร้างรายได้ของประชาชน ” และชูนโยบายในเชิงเศรษฐกิจแยกย่อยออกไปหลายอย่างที่ถือว่าหวือหวาพอสมควร อาทินอกจากนโยบายบกัญชาเสรี ยังประกาศทวงคืนกำไรให้เกษตรกร โดยเสนอกฎหมายระบบกำไรแบ่งปัน, ตั้งกองทุนข้าว, ราคาข้าวหอมมะลิ ตันละ 18,000 บาท บวกกำไรเพิ่ม 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 19,500 บาท, มันสำปะหลัง ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 4 บาท อ้อย ไม่ต่ำกว่าตันละ 1,200 บาท, ปาล์มทะลาย ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 5 บาท, ยางพารา เป้าหมายราคา กก.ละ 70 บาท


นโยบายด้านเศรษฐกิจของ “พรรคชาติพัฒนา” แบ่งเป็นสองส่วน เศรษฐกิจภาพรวมทั้งประเทศและเศรษฐกิจรากหญ้า โดยชูนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้า ดังนี้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการเพื่อเกษตรกร ,เกษตรกรทันสมัย ,จัดตั้งกองทุนกู้ยืมเพื่อการพัฒนาสมาร์ท เอสเอ็มอี,สร้างตลาดทุนขนาดย่อม สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย ,ปรับปรุงกลไกตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า ,สร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
 

ทั้งหมดเป็น นโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองในฝั่งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่กลายเป็นประเด็นหลัก เพราะใครๆ ก็ห่วงเรื่องปากท้อง 

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐกิจและการเมือง  มอง ครม.ทางด้านเศรษฐกิจชุดใหม่ ว่า  ก็ยังเป็นนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์และตัวหลักๆเดิม อาจจะมีมาแซมบ้างในส่วนของกระทรวงพาณิชย์  ดังนั้นแม้รัฐบาลนี้จะมาจากหลายพรรคแต่ทิศทางเศรษฐกิจก็ไม่ได้แตกต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วเลย คือ ตัวคนที่จะผลักดันในเรื่องอีอีซี แต่อาจมีความแตกต่างในเรื่องของกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับการแก้ปัญหาราคาพืชผล  เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลให้ความสำคัญมากในเรื่องการแก้ปัญหาราคาพืชผลหลักๆเช่น ข้าว ,ยางพารา ,ปาล์ม ,มันฝรั่ง ซึ่งคือการเพิ่มรายได้ให้กับชาวไร่ ชาวนา  แต่ก็ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วคราว ไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันของชาวไร่ชาวนา  ที่สำคัญต้องดูว่ามีการปรับโครงสร้างของพืชผลเกษตรหรือไม่  ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนอยากเห็น

 “ ดังนั้นโดยภาพรวมผมเห็นว่าทิศทางในด้านเศรษฐกิจไม่ได้แตกต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้ว คือเน้นในเรื่องพัฒนา สาธารณูปโภคพื้นฐาน ส่วนในด้านเกษตรแม้ว่าจะมีความตั้งใจ แต่ก็เป็นนโยบายที่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการแก้ปัญหาความเดือดร้อน แต่ไม่ได้แก้ศักยภาพในการแข่งขันของระบบและการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างความแตกต่างระหว่างรวยกับจน ซึ่งรัฐบาลต้องทำการบ้านในเรื่องนี้"

ขณะที่ความเคลื่อนไหว12 ก.ค. 2562 พลังประชารัฐ เชิญพรรคร่วมรัฐบาลมาหารือกันเกี่ยวกับการจัดทำกรอบนโยบายเป็นครั้งที่ 2 โดยมีตัวแทนพรรคร่วมเดินทางมาเข้าประชุม ซึ่ง“สนธิรัตน์” ได้เปิดเผยว่าพรรคร่วมรัฐบาลได้ข้อยุติเรื่องนโยบายแล้ว เตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีเร็วๆนี้ ยืนยันอยู่ในกรอบของงบประมาณ 

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะทำงานประสานงานพรรคร่วม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมหารือเรื่องนโยบายกับพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง 19 พรรรค ว่า วันนี้ที่ประชุมพรรคร่วมได้พิจารณาร่างนโยบายรัฐบาลที่ได้หารือกันไปเมื่อวาน ซึ่งทุกพรรคได้ส่งนโยบายที่ต้องการขับเคลื่อนมา และวันนี้ได้นำมาปรับและดำเนินการจัดบรรจุเข้าสู่นโยบายรัฐบาล โดยวันนี้ถือเป็นข้อยุติในเรื่องของนโยบายพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเบื้องต้นมีความครอบคุมทุกด้าน จะเหลือเพียงบางประเด็นที่จะต้องดำเนินการอีกเล็กน้อย ก่อนจะนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป 

โดยนโยบายทั้งหมด มี2ส่วน คือ นโยบายในปีแรกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของปากท้อง การลดความเหลื่อมล้ำ เพราะเป็นสิ่งที่ประชาชนรอคอยอยู่ ส่วนนโยบาย 4ปี จะต้องตอบสนองความยั่งยืนของประเทศในทุกมิติ

สำหรับนโยบายด้านการเกษตร เป็นนโยบายที่ในช่วงการหาเสียงส่วนใหญ่ได้พูดกันในเรื่องของมาตรการมากกว่า แต่เป้าหมายที่ตรงกันคือต้องยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถลืมตาอ้าปากได้ โดยจะต้องพิจารณาทั้งระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งต่อจากนี้จะได้นำมาตรการต่างๆที่เคยหาเสียงมาหารือร่วมกันเพื่อปรับใช้อีกครั้ง โดยจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นของพรรคพลังประชารัฐเป็นหลัก แต่ทุกพรรคที่เป็นรัฐบาลต้องร่วมกันหารือ เพราะวันนี้เป็นเรื่องของรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของพรรคใดพรรคหนึ่ง 


การจัดทำนโยบายต่างๆ จะต้องคำนึงถึงกรอบวงเงินงบประมาณ โดยจะต้องอยู่บนพื้นฐานของงบประมาณที่จะต้องจัดสรรด้วย ซึ่งในระหว่างที่จัดทำนโยบายได้มีการหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของงบประมาณ แต่ขณะนี้ตนไม่สามารถตอบเป็นตัวเม็ดเงินได้ แต่ยืนยันยังคงอยู่ในกรอบของงบประมาณ 

นอกจากนี้ นายสนธิรัตน์ ยังบอกว่าพรรคร่วมทุกพรรคเห็นตรงกันในเรื่องของนโยบายสวัสดิการแม่และเด็ก รวมถึงนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ400 บาท ที่ทุกพรรคเห็นตรงกันว่าควรจะต้องปรับให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ซึ่งในช่วงของการหาเสียง เป้าหมายค่าแรงขั้นต่ำของทุกพรรคก็ใกล้เคียงกัน ส่วนมาตรการจะเป็นอย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องมาหารือกันอีกครั้ง