“Big boss ทักษิณ” พ้นผิดคดีปล่อยกู้กรุงไทย  แต่คนละเงื่อนไข “พานทองแท้” โดนข้อหาฟอกเงิน !??

นับไปก็ปวดหัวเปล่า ๆ สำหรับจำนวนคดีความของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ก่อกรรมเอาไว้แล้วก็ใช้วิธีการซิกแซก หนีออกจากประเทศไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศอย่างมีความสุข แต่ขณะเดียวกันก็สร้างเรื่องสร้างราวให้กับประเทศอย่างมากมาย ก่อนจะชักชวนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว หนีเอาตัวรอด ในความผิดทุริตโครงการรับจำนำข้าว

นับไปก็ปวดหัวเปล่า ๆ สำหรับจำนวนคดีความของ ทักษิณ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี  ที่ก่อกรรมเอาไว้แล้วก็ใช้วิธีการซิกแซก  หนีออกจากประเทศไทยไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศอย่างมีความสุข  แต่ขณะเดียวกันก็สร้างเรื่องสร้างราวให้กับประเทศอย่างมากมาย ก่อนจะชักชวนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  น้องสาว หนีเอาตัวรอด ในความผิดทุริตโครงการรับจำนำข้าว

รวมถึงกรณีล่าสุด  เมื่อศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ อม.55/2558  ในคดีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทักษิณ  ร่วมทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มกฤษดามหานคร 

 

“Big boss ทักษิณ” พ้นผิดคดีปล่อยกู้กรุงไทย  แต่คนละเงื่อนไข “พานทองแท้” โดนข้อหาฟอกเงิน !??
    

โดยการยื่นฟ้องในคดีนี้เป็นคดีที่พนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษได้รับมอบอำนาจจากอัยการสูงสุด  ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯ  ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อจากคดีร่วมทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับกลุ่มบริษัท กฤษดามหานคร หมายเลขดำที่ อม.3/2555   ที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายทักษิณกับพวกรวม 27 คน เป็นจำเลย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน  2555 และศาลมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยอื่นที่เกี่ยวข้องไปแล้ว 
    

 

 

ขณะเดียวกันแม้ว่านายทักษิณจะหลบหนีไปก่อนหน้า   แต่ด้วยเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560  มาตรา 28  ที่บัญญัติสาระสำคัญว่า ในกรณีที่ศาลประทับรับฟ้องไว้ตามมาตรา 27   เมื่อศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว    แต่จำเลยไม่มาศาล   ให้ศาลออกหมายจับจำเลย  และให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องติดตามหรือจับกุมจำเลย  รายงานผลการติดตามจับกุมเป็นระยะตามที่ศาลกำหนด

 


แต่ถ้าไม่สามารถจับจำเลยได้ภายในสามเดือนนับแต่ออกหมายจับ   ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้โดยไม่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลย แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะตั้งทนายความมาดำเนินการแทนตนได้ และไม่ตัดสิทธิจำเลยที่จะมาต่อสู้คดี  ดังนั้นกรณีนี้  ศาลฎีกาฯจึงอ่านคำพิพากษาตามขั้นตอนทางกฎหมาย  โดยไม่ต้องมีจำเลยมาร่วมรับฟังการพิจารณา  

 

 


@ทั้งนี้ความเป็นมาของคดีดังกล่าว ก่อนหน้านั้นศาลฎีกาฯ ได้เคยมีคำพิพากษาไปก่อนหน้า  ด้วยการลงโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องการกระทำผิด  แต่กรณีของทักษิณเป็นได้แค่การออกหมายจับเท่านั้น

 

 


โดยรายชื่อบุคคลสำคัญ ๆ ที่ถูกพิจารณาโทษว่ากระทำผิดจริงตามคำฟ้อง  ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ,  ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502  , ความผิด พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505  , ความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535  และความผิด พ.ร.บ.บริษัท มหาชน จำกัด พ.ศ.2535   

 


ประกอบด้วย    ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ   อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย   , นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย  ,  นายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา กรรมการบอร์ดกรุงไทย  และ  นายไพโรจน์  รัตนะโสภา   อดีตกรรมการสินเชื่อและเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารกรุงไทย   ถูกคำสั่งให้จำคุกคนละ 18 ปี   ส่วนจำเลยที่เหลือ คือ  จำเลยที่ 5-27  โดนลงโทษจำคุก 12 ปี  พร้อมชดใช้เงินคืนธนาคารกรุงไทย  รวมดอกเบี้ย  อีกเกือบ 4 หมื่นล้าน  

 

“Big boss ทักษิณ” พ้นผิดคดีปล่อยกู้กรุงไทย  แต่คนละเงื่อนไข “พานทองแท้” โดนข้อหาฟอกเงิน !??

ประเด็นที่คงค้างมานานถึงวันนี้และเกี่ยวเนื่องไปถึงตัว ทักษิณ ชินวัตร  ก็คือ  “คำกล่าวอ้างของพยานรายหนึ่งที่เป็นอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ที่ระบุว่า ร.ท. สุชาย  ได้โทรศัพท์มาหา พร้อมระบุว่า การอนุมัติสินเชื่อให้บริษัทในกลุ่มของบริษัท กฤษดามหานครฯ จะต้องให้ผ่านให้ได้ เพราะ Big boss สั่งมา  และ ความหมายของ  Big boss ถูกตีความว่าเป็น  ทักษิณ ชินวัตร"

 

“Big boss ทักษิณ” พ้นผิดคดีปล่อยกู้กรุงไทย  แต่คนละเงื่อนไข “พานทองแท้” โดนข้อหาฟอกเงิน !??


@ อย่างไรก็ตามถึงแม้ในการพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรม   จะเชื่อได้ว่าในการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับบริษัทในเครือกฤษดามหานครมีการทุจริตเกิดขึ้น   แต่เมื่อหลักฐานไม่ได้ชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับ ทักษิณ ชินวัคร  คำพิพากษาล่าสุดจึงออกมาว่า นักโทษชายหนีคดีคนนี้ไม่มีความผิด

 

 


ทั้งนี้องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ    พิเคราะห์แล้ว    องค์คณะเสียงข้างมากเห็นว่า ข้อโต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายที่นายทักษิณต่อสู้ว่า  คตส.ไม่มีอำนาจไต่สวนนั้น   ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีอื่น ซึ่งเป็นคำวินิจฉัยที่ 5/255 1 ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ด้วย

 

 


แต่ในประเด็นคำฟ้องว่า  นายทักษิณ  กระทำผิดหรือไม่  องค์คณะเห็นว่าพยานของอัยการโจทก์   ซึ่งเป็นอดีตกรรมการของธนาคารกรุงไทย  ผู้เสียหาย   เบิกความเกี่ยวกับซุปเปอร์บอส หรือ  Big boss เห็นชอบและสั่งการให้อนุมัติสินเชื่อให้กลับกลุ่มกฤษฎามหาคร  ยังไม่ชัดเจนว่านายทักษิณ ในฐานะจำเลยที่ 1 หรือไม่  เพราะพยานได้รับฟังมาจากจำเลยอีกคนหนึ่งในคดีนี้  จึงวินิจฉัยว่าพยานปากนี้ยังไม่มีน้ำหนักว่า  นายทักษิณ จำเลยที่ 1 สั่งการให้จำเลยที่ 2-4 ซึ่งเป็นผู้บริหารธนาคารกรุงไทย  ที่มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อให้กลุ่มกฤษฎามหานคร  จึงพิพากษายกฟ้อง

 


@ประเด็นดังกล่าวแม้ว่า ทักษิณ  ชินวัตร  จะหลุดรอดคดี  แต่ก็มีข้อพิจารณาประกอบอื่น ๆ ที่ต้องให้ลุ้นระทึกต่อไป     

 

 

เนื่องจากในประเด็นการฟ้องเอาผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ   ปรากฎว่าเมื่อวันที่ 1 มีนาคม  2560   พนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ  หรือ ดีเอสไอ ได้มีการส่งสำนวนการสอบสวนคดีการปล่อยกู้เงินธนาคารกรุงไทยให้กับบริษัทกฤษดามหานคร เป็นการเพิ่มเติมจากบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ  และผู้ต้องหาที่ถูกฟ้องกระทำความผิด ตามสำนวนการสอบสวนของดีเอสไอ  ประกอบด้วย 1.นางเกศินี จิปิภพ  2.นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร   , นายวันชัย หงษ์เหิน  สามีนางกาญจนาภา   และ  นายพานทองแท้ ชินวัตร   ในคดีร่วมกันฟอกเงินทุจริตอนุมัติสินเชื่อ  ของอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ให้กับกลุ่มธุรกิจในเครือกฤษดามหานคร โดยมิชอบ เป็นจำนวนเงิน 36 ล้านบาท    และนายพานทองแท้ ชินวัตร 

 


ต่อมาคณะทำงานสำนักคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้พิจารณาก่อนมีความเห็นว่า  กรณีเช็ค 26 ล้านบาท คณะทำงานพิจารณาแล้วมีความเห็น   1.สั่งไม่ฟ้องนางเกศินี จิปิภพ ผู้ต้องหาที่ 1  และนายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้ต้องหาที่ 4    2.สั่งฟ้องนางกาญจนาภา หงษ์เหิน ผู้ต้องหาที่ 2 นายวันชัย หงษ์เหิน ผู้ต้องหาที่ 3 ฐานสมคบกันฟอกเงิน และร่วมกันฟอกเงิน  จำนวน 26 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5, 9 , 60 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ.2526 มาตรา 4

 

 

อย่างไรก็ตามกรณีเช็ค10 ล้านบาท  คณะทำงานสำนักคดีพิเศษ  มีความเห็นสั่งฟ้อง   นายพานทองแท้ ชินวัตร ผู้ต้องหาที่ 4 ฐานสมคบกันฟอกเงิน และร่วมกันฟอกเงิน จำนวน 10 ล้านบาท ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5, 9 , 60 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ.2526 มาตรา 4 

 

 

@กรณีดังกล่าวมีการให้ความเห็นในเชิงกฎหมาย ว่า  อาจเกี่ยวเนื่องกับการกระทำผิดของ นายพานทองแท้  ที่จะนำไปสู่การลงโทษได้ 

 

 

เนื่องจากคำพิพากษากลางตอนหนึ่ง   ระบุว่า  ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบเส้นทางการเงิน นายวิชัย กฤษดาธานนท์   ผู้บริหารเครือกฤษดามหานคร   มีการโอนเงินให้แก่บุตร และบุคคลใกล้ชิดนายทักษิณจริง

 

 

และผลการสอบสวนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  พบว่ามีแคชเชียร์เช็ค 11 ฉบับ รวม 7,985,762,000 บาท เป็นเงื่อนงำปริศนา

 

 

โดยพบว่ามีแคชเชียร์เช็ค  6 ฉบับ รวม 2,540,096,000 บาท  นำเข้าฝากบัญชีบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาศรีย่าน

 

 


นอกจากนี้ ยังปรากฏพฤติกรรม  การทำธุรกรรมเบิกถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวระหว่างบุคคล หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด   ในหลายขั้นตอน และยังมีการนำส่งให้บริษัท โบนัสบอร์น จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกฤษดามหานคร  ซื้อหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพของเครือกฤษดามหานคร ทั้งหมดเป็นเงิน 369,685,200 บาท  ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 197,622,555 บาท โอนให้บุคคลต่างๆ ในกลุ่มกฤษดามหานคร

 

 

ส่วนที่เหลืออีก 5 ฉบับ ถูกนำไปชำระหนี้รีไฟแนนซ์กับธนาคารกรุงเทพฯ จำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน 4,445,130,000 บาท   และนำไปซื้อหุ้นบุริมสิทธิชนิดแปลงสภาพของเครือกฤษดามหานคร คืนจากธนาคารกรุงเทพฯ ในนามของบริษัท แกรนด์ คอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด จำนวน 2 ฉบับ อีกเป็นเงิน 1,000,536,000 บาท 

 

 

นอกจากนี้ยังพบว่าเงินกู้จำนวน 500 ล้านบาท  โดยทางบริษัท อาร์เค โปรเฟสชั่นแนล จำกัด ได้รับจากธนาคารธนาคารกรุงไทยนั้น มีจำนวน 20 ล้านบาท ได้ถูกนำไปชำระค่าธรรมเนียมเงินกู้ที่บริษัท โกลเด้นฯ กู้ไปจากธนาคารกรุงไทย จำนวน 45 ล้านบาท ถูกนำไปชำระค่ามัดจำรีไฟแนนซ์ให้กับบริษัท โกลเด้นฯ  ผ่านธนาคารกรุงเทพฯ 

 

 

ส่วนเส้นทางการโอนเงินถึง พานทองแท้ กับพวก ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์นั้น   ปรากฎการอ้างอิงผลการไต่สวนของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และ จากปากคำให้การของพยาน พบว่ามีเครือเอกชน-นักการเมือง ที่เข้าข่ายรับเช็คจากนายวิชัย อย่างน้อย 4 ราย ได้แก่

 

 

1. นายพานทองแท้ ชินวัตร ที่รับเช็คจากนายวิชัย กฤษดาธานนท์ และนายรัชฎา กฤษดาธานนท์ (บุตรนายวิชัย) กรณีชำระค่าหุ้นบริษัท ช.การช่าง จำกัด ที่ระบุว่าจะจ่ายผ่านนายวันชัย แต่ไม่ทัน จึงให้จ่ายโดยตรงผ่านนางเกศินี และนางเกศินี โอนเงินเข้าบัญชีนายพานทองแท้ จำนวน 1.8 ล้านบาท และกรณีร่วมลงทุนกับนายรัชฎา จำนวน 10 ล้านบาท

 

 

2. นายมานพ ทิวารี กรณีได้รับเช็คจากบริษัท แกรนด์ แซทเทิลไลท์ฯ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกฤษดามหานคร และเงินที่มีการโอนเข้าบัญชีก่อนหน้านี้ ซึ่งนายมานพ ระบุว่ายืมมาจากนายวิชัย รวมเป็นเงินประมาณ 172 ล้านบาท เพื่อเข้าซื้อหุ้นบริษัท กฤษดามหานคร จำกัด

 

 

3. บริษัท ฮาวคัม จำกัด และ 4. บริษัท มาสเตอร์โฟน จำกัดที่นายรัชฎา นำเงินที่ได้จากสินเชื่อที่บริษัท โกลเด้นฯ ได้รับจากธนาคารกรุงไทย ไปซื้อหุ้นจองของบริษัท ท่าอากาศยานไทยฯ 4.2 แสนหุ้น และนำมาเสนอขายแก่พนักงานของบริษัท ฮาวคัมฯ และบริษัท มาสเตอร์โฟนฯ ของนายพานทองแท้

 

 

ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าธุรกรรมของนายพานทองแท้ และนายมานพ  เข้าข่ายเป็นการรับผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่บริษัท โกลเด้นฯ ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย ซึ่งถือเป็นขั้นตอนความผิดว่าด้วยการฟอกเงิน

 

 

และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีกำหนดฟังคำพิพากษาคดีดังกล่าว ในวันที่ 25  พฤศจิกายน 2562  ที่จะถึงนี้

 

“Big boss ทักษิณ” พ้นผิดคดีปล่อยกู้กรุงไทย  แต่คนละเงื่อนไข “พานทองแท้” โดนข้อหาฟอกเงิน !??