ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เมินวินิจฉัยศาลรธน. และนัยข้อกม. ผลผูกพัน ลั่นต้องอภิปราย ถวายสัตย์ ปิยบุตร ยกคำปชช.คือ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด?

ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เมินวินิจฉัยศาลรธน. และนัยข้อกม. ผลผูกพัน ลั่นต้องอภิปราย ถวายสัตย์ ปิยบุตร ยกคำปชช.คือ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด?

ยังเป็นกระแสที่พูดไม่จบ  สำหรับประเด็นว่าด้วยกล่าวคำถวายสัตย์ ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับตำแหน่ง  และถูกนำจับไปเป็นเงื่อนไขในการขอเปิดอภิปรายเป็นการทั่้วไป  โดยไม่ลงมติ  รวมถึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ  วินิจฉัยว่าการกระทำของ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม  กระทำการผิดต่อบทบัญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา   161  หรือไม่  

เนื่องด้วยคำพูดของ นายชวน หลีกภัย   ประธานสภาผู้แทนราษฎร   นิติศาสต์บัณฑิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  พ.ศ. 2505  และ   เนติบัณฑิตไทย แห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2507   ยังคงยืนยันว่าการอภิปรายทั่วไปครม.ในวันที่ 18  กันยายน 2562  จะยังคงดำเนินไปตามวาระปกติ    เพราะการอภิปรายดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญมีความเห็น ไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน   ว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบทางกฎหมายรัฐธรรมนูญ  ซึ่งเขียนกำหนดไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิอภิปราย ซักถาม เสนอแนะ และให้คำแนะนำตามกรอบข้อบังคับการประชุมสภาฯ

 

 

ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เมินวินิจฉัยศาลรธน. และนัยข้อกม. ผลผูกพัน ลั่นต้องอภิปราย ถวายสัตย์ ปิยบุตร ยกคำปชช.คือ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด?

 

ขณะที่อีกแง่มุมความเห็นของมือกฎหมายรัฐบาล อย่าง   ดร.วิษณุ เครืองาม  รองนายกรัฐมนตรี    อดีตนิติศาสตรบัณฑิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  พ.ศ.2515 และ เนติบัณฑิตไทย เนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2516  กล่าวถึงประเด็นดังกล่าว  แต่ดูเหมือนจะมีรายละเอียดแตกต่างที่มีนัยยะพอสมควร   อาทิเช่น กรณีระบุว่า  หากญัตติยังอยู่ก็เป็นหน้าที่รัฐบาลต้องไปชี้แจง   เพราะญัตตินี้ไม่ได้ตกไปโดยอัตโนมัติ   แต่จะต้องมีใครไปทำอะไรสักอย่างหนึ่ง  เพราะถ้ามีการถอนญัตติดังกล่าวออก   รัฐบาลก็ไม่ต้องไปชี้แจง หรืออาจจะอภิปรายให้สั้นลง  โดยไม่ต้องใช้เวลามาก 

 

 


ทั้งนี้นายวิษณุย้ำว่า  จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ   ขอบเขตอภิปรายคงจะต้องเปลี่ยนจากเดิมที่คิดไว้   คือการอภิปรายต้องอยู่ภายในข้อบังคับของสภาที่มีอยู่แล้ว   และผู้อภิปรายจะต้องระมัดระวังกรณีจะไปวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็น พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 

 


 
“ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้เหตุผลไว้อย่างชัดเจนว่าทำไมถึงไม่รับ   ถือเป็นเหตุผลที่สำคัญ    และเป็นไปตามที่เคยบอกไว้ว่า    เรื่องนี้จะไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าไม่รับถือว่าจบ  และศาลยังได้อธิบายเหตุผลที่เป็นประโยชน์ทั้งนั้นในทุกคำพูด ส่วนจะเป็นผลดีกับรัฐบาลหรือไม่ ไม่แน่ใจ    รวมถึงไม่แน่ใจว่า นายกรัฐมนตรีจะไปชี้แจงด้วยตัวเองหรือไม่  เพราะมีวาระงานในวันที่ 18  กันยายน มาก่อนล่วงหน้าแล้ว”

 

 

 


@สรุปความสำคัญ ก็คือ  ญัตติการอภิปรายเรื่องการถวายสัตย์เพื่อบรรจุเป็นวาระแล้ว  มีความจำเป็นต้องเดินหน้าต่อหรือไม่  และมุมความคิดของ ดร.วิษณุ มีประเด็นให้ต้องคำนึงถึงอย่างไร  ก่อนการอภิปรายจะเกิดขึ้น

 

ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เมินวินิจฉัยศาลรธน. และนัยข้อกม. ผลผูกพัน ลั่นต้องอภิปราย ถวายสัตย์ ปิยบุตร ยกคำปชช.คือ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด?
 

สาระสำคัญที่สุดคือคำอธิบายขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ได้มีการแสดงถึงการวินิจฉัยคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน  ไว้อย่างละเอียดแล้ว   จึงมีมติไม่รับคำร้อง   ไม่ใช่การใช้คำว่าไม่วินิจฉัยเหมือนที่มีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนบางแห่ง     
    

เริ่มต้นจากข้อที่ 1   การกระทำของรัฐบาล"  และมาตรา  46 วรรคสาม   บัญญัติว่า  "... ถ้าศาลเห็นว่า  เป็นกรณีต้องห้ามตามมาตรา 47  ให้ศาลสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา"  เห็นว่า  การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำทางการเมือง (Political Issue) ของคณะรัฐมนตรีในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ    ฝ่ายบริหารในความสัมพันธ์เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ อันอยู่ในความหมายของการกระทำของรัฐบาล (Act of Government) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 47 (1)


โดยถ้อยคำที่ปรากฎในประเด็นวินิจฉัยนี้   ระบุชัดเจนว่า     การที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องไว้พิจารณา    ด้วยเห็นว่  า   การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ของคณะรัฐมนตรี  ถือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหาร  เฉพาะกับพระมหากษัตริย์     

 

 

ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้    ตามมาตรา 46 วรรคสาม   ซึ่งระบุว่า  " ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคําร้องตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย   ศาลจะไม่รับคําร้องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้  และถ้าศาลเห็นว่าเป็นกรณีต้องห้ามตามมาตรา   47  ให้ศาลสั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณา"

 

 


@ไม่ใช่แค่หลักกฎหมายตาม พรบ.ประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561  แต่ในคำอธิบายขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังได้กล่าวถึงวาระสำคัญเกี่ยวเนื่องกับขั้นตอนการถวายสัตย์ไว้ด้วย

 

 

กล่าวคือ "เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2562   เวลา 17.45น.   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรี   นำคณะรัฐมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต 

 

ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เมินวินิจฉัยศาลรธน. และนัยข้อกม. ผลผูกพัน ลั่นต้องอภิปราย ถวายสัตย์ ปิยบุตร ยกคำปชช.คือ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด?

 

หลังจากนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีกล่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณจบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรัส เพื่อให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดิน" 

 

 


นอกจากนี้  "เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เวลา 09.00 น.นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะรัฐมนตรีได้เข้ารับพระราชดำรัสในโอกาสเข้าเฝ้าทูลละออง  ธุลีพระบาทถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ซึ่งพระราชทานเป็นลายลักษณ์อักษร 

 

 

พร้อมทั้งทรงลงพระปรมาภิไธยโดยเข้ารับต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ห้องรับรอง ชั้น 5 ตึกบัญชาการ  ทำเนียบรัฐบาล   การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าวจึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด"  

 

 


ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 46 วรรคสาม และมาตรา 47 (1)

 

 


@ข้อพิจารณาที่ต้องวิเคราะห์ต่อไป  ก็คือ   ความเหมาะสมที่จะเกิดขึ้นต่อการอภิปรายเรื่องการถวายสัตย์ในวันที่ 18 กันยายนนี้  ถ้าพิจารณาจากกรอบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

 

 


โดยประเด็นใหญ่ ๆ  ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ก็คือ   อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ   ตามมาตรา 211   ซึ่งมีใจความสำคัญว่า   วรรคหนึ่ง  "องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทําคําวินิจฉัย   ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ไม่น้อยกว่าเจ็ดคน   

 

 

วรรคสอง  "คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น"

 

 

วรรคสาม  "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องใดไว้พิจารณาแล้ว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดจะปฏิเสธไม่วินิจฉัย  โดยอ้างว่าเรื่องนั้นไม่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญมิได้

 

 

วรรคสี่  "คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา , คณะรัฐมนตรี  , ศาล  , องค์กรอิสระ  และหน่วยงานของรัฐ"  

 

 


กรณีดังกล่าวนี้  อ.ชูชาติ ศรีแสง  อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา  ได้สรุปเป็นความเห็นสำคัญ  ประกอบคำวินิจฉัยของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ   ว่า  "รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา  211   วรรคสี่  บัญญัติว่า  คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา , คณะรัฐมนตรี ,  ศาล  ,  องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ

 

 

.....ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่า "การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ดังกล่าว   จึงไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใด" จึงผูกพันรัฐสภา

 

 

 

.....ดังนั้นรัฐสภาจึงไม่อาจยื่นญัตติ  เพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริง   จากนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152  ได้อีกต่อไป

 

 

.....การที่สภาผู้แทนราษฎรนัดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ในวันที่ 18 กันยายน 2562 จึงต้องยุติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ"

 

 


@ดังนั้นจึงเป็นที่มาของข้อพิจารณาต่อไปว่า   การที่พรรคฝ่ายค้านยังแสดงเจตนา   จะอภิปรายประเด็นเรื่องถวายสัตย์ในวันที่ 18 กันยายน ต่อไป  มีเป้าประสงค์อะไรกันแน่  เนื่องด้วยมีความพยายามจะบิดเบือนหลักการว่าด้วยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 

 

 


ตัวอย่างสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นและต้องจับตาอย่างใกล้ดชิด  อย่างเช่น  คำพูดของ  นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปรัฐบาล)  ซึ่งกล่าวอ้างว่า แม้ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน   แต่ฝ่ายค้านจะเดินหน้าอภิปรายทั่วไป   

 

 

เพราะคำชี้แจงของศาลรัฐธรรมนูญ  ว่าด้วยเหตุไม่มีอำนาจวินิจฉัยและไม่มีองค์กรตามรัฐธรรมนูญใดมีอำนาจวินิจฉัย  และองค์กรตามรัฐธรมนูญที่ว่านั้น คือ  องค์กรอิสระ เช่น  ป.ป.ช.  ,  ปปง.  เป็นต้น ก็ยิ่งชอบธรรมที่สภาต้องตรวจสอบเรื่องนี้   

 

 


หรือกรณีของนายปิยบุตร แสงกนกกุล  เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่   ซึ่้งดูจะไปไกลสุดโต่ง   ในการโพสต์บางช่วงกล่าวอ้างว่า  "....ตามหลักกฎหมายมหาชน การกระทำทางรัฐบาล หรือ การกระทำทางการเมือง คือ การกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการกระทำที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับรัฐบาล

 

ฝ่ายค้านดื้อแพ่ง เมินวินิจฉัยศาลรธน. และนัยข้อกม. ผลผูกพัน ลั่นต้องอภิปราย ถวายสัตย์ ปิยบุตร ยกคำปชช.คือ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด?


การกระทำเหล่านี้อาจหลุดพ้นไปจากการตรวจสอบทางกฎหมายโดยองค์กรตุลาการ  ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้องค์กรตุลาการหรือศาลได้เข้ามาตัดสินชี้ขาดประเด็นทางการเมืองหรือทางนโยบาย จนเกิดสภาพ “การปกครองโดยผู้พิพากษา” เว้นแต่ รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจการตรวจสอบการกระทำทางการเมืองเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ

 

 


และเพื่อให้เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจและการตรวจสอบถ่วงดุล  จึงต้องมีการตรวจสอบทางการเมืองแทนการตรวจสอบทางกฎหมาย นั่นก็คือ สภาผู้แทนราษฎรต้องมีอำนาจในการตรวจสอบทางการเมืองต่อการกระทำทางรัฐบาลและการกระทำทางการเมืองทั้งหลาย

 

 

 

กรณีศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ด้วยถ้อยคำที่ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 โดยให้เหตุผลว่า การถวายสัตย์ฯเป็น “การกระทำทางการเมือง” หรือ “การกระทำทางรัฐบาล” จึงไม่อยู่ภายใต้การตรวจสอบองค์กรใด

 

 

ยิ่งทำให้สภาผู้แทนราษฎรมีความชอบธรรมอย่างยิ่งในการทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลในทางการเมือง โดยผ่านกลไกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 151 ตลอดจนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง  เพราะนี่คือภารกิจของ “ผู้แทน” ของประชาชนซึ่งเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุด??

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ข่าวดี!!! "ประยุทธ์" ใจใหญ่ ลั่น พี่น้องชาวสุรินทร์ เดือนนี้ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ (คลิป)
-พล.อ.ประยุทธ์​ เคลื่อนไหว หลังเหตุป่วนกรุงระทึกหลายจุด
-พล.อ.ประยุทธ์ ฟิวส์ขาด​ ชี้หน้า​ เสรีพิสุทธ์​ ประกาศตัดรุ่นพี่ ลั่น ท่านไม่เคยให้เกียรติผมเลย...ก่อนเดินออกจากที่ประชุมทันที(คลิป)
-ประกาศราชกิจจานุเบกษา คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ แถลงต่อรัฐสภา